Macro
กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 6.4% ชะลอลงจากระดับ 9.2% ในเดือนกรกฎาคม เนื่อง
จากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงเป็นลำดับ ขณะที่ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” เริ่มเห็นผลในการช่วยบรรเทาปัญหา
ค่าครองชีพให้กับประชาชน พร้อมกันนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2551 อยู่ที่ 6.5-6.9% (จากเดิมที่ระดับ 5.0-5.5%)
เนื่องจากในช่วงที่เหลือของปี ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ อาทิ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน รวมทั้งเงินบาท
ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเป็นสำคัญ
Business
กุ้ง : เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2551 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศผลการพิจารณาทบทวนอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) กุ้งสด
แช่เย็นแช่แข็งที่เรียกเก็บจากไทยรอบสอง (ระยะเวลาทบทวนตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549-31 มกราคม 2550) ขั้นสุดท้าย โดยบริษัทส่งออกกุ้งของ
ไทยส่วนใหญ่ถูกเรียกเก็บ AD ในอัตรา 3.18% ส่วนบริษัทที่ไม่ให้ความร่วมมือถูกเรียกเก็บในอัตรา57.64% อย่างไรก็ตาม สมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง
ไทยเปิดเผยว่า ผลการพิจารณาดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถคัดค้านผลการทบทวน
ดังกล่าวได้ภายใน 1 เดือนนับจากวันประกาศ นอกจากนี้ หากบริษัทใดมีอัตรา AD ลดลงมากก็อาจถูกพันธมิตรชาวประมงกุ้งภาคใต้ 8 มลรัฐยื่นคัดค้าน
ผลการทบทวนได้
อัตราทบทวน AD กุ้งขั้นสุดท้ายที่ประกาศใช้กับผู้ส่งออกกุ้งของไทย
บริษัท* อัตราทบทวน AD รอบสองขั้นต้น อัตราทบทวน AD รอบสองขั้นสุดท้าย
(ประกาศเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2551) (ประกาศเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2551)
- บริษัท แพคฟู้ด จำกัด 2.40% 2.44%
- บริษัท เอเชียแปซิฟิค (ประเทศไทย) จำกัด 2.40% 2.44%
- กลุ่มรูบิคอน 5.24% 3.77%
- บริษัท ไทยเอกมัย จำกัด 3.02% 3.09%
- บริษัท ไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) 15.30% 2.85%
- บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัทอื่น ๆ อีก 40 แห่ง 6.09% 3.18%
- บริษัทที่ไม่ให้ความร่วมมือ 12 แห่ง 57.64% 57.64%
หมายเหตุ : * ตัวอย่างบริษัทส่งออกกุ้งที่ถูกเรียกเก็บ AD
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ
International
ยูโรโซนและสหราชอาณาจักรคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย..เหตุแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังมีอยู่
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2551 ธนาคารกลางยุโรป(European Central Bank : ECB) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ
4.25% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังมีอยู่ ซึ่งแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงจาก 4.0% ใน
เดือนกรกฎาคม 2551 เหลือ 3.8% ในเดือนสิงหาคมแต่ระดับดังกล่าวยังสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่เกิน 2.0% ขณะที่สัญญาณการชะลอตัว
ทางเศรษฐกิจเริ่มชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ECB
จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจนถึงสิ้นปี 2551 ก่อนจะปรับลดในปี 2552 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเริ่มลดลงจาก
เศรษฐกิจที่ชะลอตัว
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2551 ธนาคารกลางอังกฤษ(Bank of England : BoE) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.0%
ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ เนื่องจากยังมีความกังวลด้านอัตราเงินเฟ้อ (ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ 4.4%
สูงสุดในรอบ 11 ปี) ขณะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยชัดเจนขึ้น หลังจากที่อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในไตรมาส 2
ปี 2551 ลดลงเหลือ 0% (q-o-q) ต่ำสุดในรอบ 16 ปี ประกอบกับดัชนีราคาบ้านในสหราชอาณาจักรเดือนสิงหาคม 2551 ลดลง 12.7% จากช่วง
เดียวกันของปีก่อน นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ซึ่งสะท้อนถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังเข้าสู่วัฏจักรขาลงอย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์
หลายสำนักคาดว่า BoE อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงสิ้นปี 2551 จนถึงต้นปี 2552
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2551--
-พห-
กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 6.4% ชะลอลงจากระดับ 9.2% ในเดือนกรกฎาคม เนื่อง
จากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงเป็นลำดับ ขณะที่ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” เริ่มเห็นผลในการช่วยบรรเทาปัญหา
ค่าครองชีพให้กับประชาชน พร้อมกันนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2551 อยู่ที่ 6.5-6.9% (จากเดิมที่ระดับ 5.0-5.5%)
เนื่องจากในช่วงที่เหลือของปี ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ อาทิ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน รวมทั้งเงินบาท
ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเป็นสำคัญ
Business
กุ้ง : เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2551 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศผลการพิจารณาทบทวนอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) กุ้งสด
แช่เย็นแช่แข็งที่เรียกเก็บจากไทยรอบสอง (ระยะเวลาทบทวนตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549-31 มกราคม 2550) ขั้นสุดท้าย โดยบริษัทส่งออกกุ้งของ
ไทยส่วนใหญ่ถูกเรียกเก็บ AD ในอัตรา 3.18% ส่วนบริษัทที่ไม่ให้ความร่วมมือถูกเรียกเก็บในอัตรา57.64% อย่างไรก็ตาม สมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง
ไทยเปิดเผยว่า ผลการพิจารณาดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถคัดค้านผลการทบทวน
ดังกล่าวได้ภายใน 1 เดือนนับจากวันประกาศ นอกจากนี้ หากบริษัทใดมีอัตรา AD ลดลงมากก็อาจถูกพันธมิตรชาวประมงกุ้งภาคใต้ 8 มลรัฐยื่นคัดค้าน
ผลการทบทวนได้
อัตราทบทวน AD กุ้งขั้นสุดท้ายที่ประกาศใช้กับผู้ส่งออกกุ้งของไทย
บริษัท* อัตราทบทวน AD รอบสองขั้นต้น อัตราทบทวน AD รอบสองขั้นสุดท้าย
(ประกาศเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2551) (ประกาศเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2551)
- บริษัท แพคฟู้ด จำกัด 2.40% 2.44%
- บริษัท เอเชียแปซิฟิค (ประเทศไทย) จำกัด 2.40% 2.44%
- กลุ่มรูบิคอน 5.24% 3.77%
- บริษัท ไทยเอกมัย จำกัด 3.02% 3.09%
- บริษัท ไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) 15.30% 2.85%
- บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัทอื่น ๆ อีก 40 แห่ง 6.09% 3.18%
- บริษัทที่ไม่ให้ความร่วมมือ 12 แห่ง 57.64% 57.64%
หมายเหตุ : * ตัวอย่างบริษัทส่งออกกุ้งที่ถูกเรียกเก็บ AD
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ
International
ยูโรโซนและสหราชอาณาจักรคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย..เหตุแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังมีอยู่
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2551 ธนาคารกลางยุโรป(European Central Bank : ECB) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ
4.25% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังมีอยู่ ซึ่งแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงจาก 4.0% ใน
เดือนกรกฎาคม 2551 เหลือ 3.8% ในเดือนสิงหาคมแต่ระดับดังกล่าวยังสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่เกิน 2.0% ขณะที่สัญญาณการชะลอตัว
ทางเศรษฐกิจเริ่มชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ECB
จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจนถึงสิ้นปี 2551 ก่อนจะปรับลดในปี 2552 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเริ่มลดลงจาก
เศรษฐกิจที่ชะลอตัว
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2551 ธนาคารกลางอังกฤษ(Bank of England : BoE) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.0%
ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ เนื่องจากยังมีความกังวลด้านอัตราเงินเฟ้อ (ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ 4.4%
สูงสุดในรอบ 11 ปี) ขณะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยชัดเจนขึ้น หลังจากที่อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในไตรมาส 2
ปี 2551 ลดลงเหลือ 0% (q-o-q) ต่ำสุดในรอบ 16 ปี ประกอบกับดัชนีราคาบ้านในสหราชอาณาจักรเดือนสิงหาคม 2551 ลดลง 12.7% จากช่วง
เดียวกันของปีก่อน นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ซึ่งสะท้อนถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังเข้าสู่วัฏจักรขาลงอย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์
หลายสำนักคาดว่า BoE อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงสิ้นปี 2551 จนถึงต้นปี 2552
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2551--
-พห-