Economic Highlights: กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3.75%

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 21, 2008 15:50 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

Macro

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2551 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (R/P 1 วัน) ที่ ระดับ 3.75% เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับการส่งผ่านต้นทุนการผลิตสินค้าในระยะข้างหน้าซึ่งอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาสูงขึ้นได้อีก ขณะที่ราย ได้เกษตรกรยังขยายตัวในระดับสูง ซึ่งมีส่วนช่วยพยุงเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวได้ อย่างไรก็ตามปัญหาวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ที่เริ่มขยายวงกว้าง ไปยังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งล้วนเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ตลอดจนปัญหาการเมืองใน ประเทศที่มีทีท่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดต่อไป

Business

มันสำปะหลัง : ราคามันสำปะหลังในปีการผลิต 2551/52 มีแนวโน้มลดลง หลังวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนและนักเก็ง กำไรต่างชะลอการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ประกอบกับปริมาณผลผลิตธัญพืชใน EU มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่า 50 ล้านตัน ส่งผลให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์ใน EU หันไปใช้ธัญพืชเป็นวัตถุดิบแทนมันสำปะหลังอัดเม็ด ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์เตรียมพิจารณาสรุปโครงการ แทรกแซงราคามันสำปะหลังปีการผลิต 2551/52 ซึ่งคาดว่าจะรับจำนำหัวมันสดไม่ต่ำกว่า 5 ล้านตัน โดยกำหนดราคาแบบขั้นบันไดเริ่มจาก 1.90 บาท ต่อกิโลกรัม และเพิ่มขึ้น 5 สตางค์ต่อเดือน

สำหรับปริมาณผลผลิตหัวมันสำปะหลังสดของไทยในปีการผลิต 2551/52 สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อน หน้าเป็น 28 ล้านตัน (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 29-30 ล้านตัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกบางแห่งประสบปัญหาน้ำท่วม) ขณะที่ปริมาณความต้อง การใช้คาดว่าจะใกล้เคียงกับปีก่อน โดยเป็นการใช้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง 15 ล้านตัน วัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ 3-4 ล้านตัน และเอทานอล 3 ล้านตัน สำหรับการส่งออก ไทยมีโควตาส่งออกมันสำปะหลังไป EU เป็นเวลา 4 ปี (ปี 2551-2554) ปริมาณ 21 ล้านตัน (ปีละ 5.25 ล้านตัน) และมีคำสั่ง ซื้อจากตลาดใหม่นอกเหนือจาก EU เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 1 ล้านตัน

น้ำตาลทราย : วิกฤติการเงินสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกผันผวนในระยะสั้น แต่คาดว่าราคาจะไม่ต่ำกว่า 10 เซ็นต์ ต่อปอนด์(จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 12 เซ็นต์ต่อปอนด์) เนื่องจากปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง อันเป็นผลจากอินเดีย (ผู้ผลิต น้ำตาลทรายรายใหญ่ของโลก) ลดกำลังการผลิตลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ผู้ส่งออกน้ำตาลทรายกังวลมากในขณะนี้ คือ ความผันผวนของค่าเงินบาท ทั้ง นี้ ผู้ส่งออกส่วนใหญ่เห็นว่าค่าเงินบาทที่เหมาะสมควรอยู่ที่ระดับ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

สิ่งทอ : ปัจจุบันผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มบางส่วนเริ่มปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังนี้

  • ผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มในตลาดระดับล่าง เช่น กลุ่มโบ๊เบ๊ และกลุ่มใบหยก มีแผนหาตลาดส่งออกใหม่ โดยเน้นส่งออกไปประเทศ
ในแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกา
  • ผู้รับจ้างผลิตหันมาเน้นทำตลาดญี่ปุ่นและ EU มากขึ้น โดยใช้โอกาสที่ปัจจุบันทั้งสองประเทศลดสัดส่วนการนำเข้าจากจีนลง ขณะที่
ไทยมีจุดแข็งในเรื่องการส่งมอบสินค้าตรงเวลา
  • ผู้ผลิตที่มีตราสินค้าเป็นของตนเองหันมาเน้นผลิตและจำหน่ายในประเทศแถบเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และ

ไต้หวัน จากเดิมที่เน้นส่งออกไปสหรัฐฯ และ EU

International

เศรษฐกิจโลก : IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2551 เหลือ 3.9%

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2551 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ได้เผยแพร่ รายงาน “World Economic Outlook” โดยปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2551-2552 เหลือ 3.9% และ 3.0% จากคาดการณ์เดิมเมื่อเดือนกรกฎาคมซึ่งอยู่ที่ 4.1% และ 3.9% ตามลำดับ เทียบกับ 5.0% ในปี 2550 เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะ ชะลอการขยายตัวลงเหลือ 1.6% ในปี 2551 และ 0.1% ในปี 2552 เทียบกับ 2.0% ในปี 2550 อันเป็นผลจากปัญหาซับไพร์มและวิกฤติสินเชื่อตึงตัว ในสหรัฐฯ ซึ่งมีท่าทีจะลุกลามไปทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งญี่ปุ่น กลุ่มยูโรโซน รวมทั้งสหราชอาณาจักร ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศ ดังกล่าวมีแนวโน้มชะลอลงมากเช่นเดียวกับประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างจีน อินเดีย และรัสเซียก็ชะลอการขยายตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง

                                                          2550          2551p        2552p
World                                                      5.0           3.9           3.0
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
Advanced Economies                                         2.6           1.5           0.5
          - United States                                  2.0           1.6           0.1
          - Euro Area (15)                                 2.6           1.3           0.2
          - Japan                                          2.1           0.7           0.5
          - United Kingdom                                 3.0           1.0          -0.1
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
Emerging and Developing Economies                          8.0           6.9           6.1
          - Africa                                         6.3           5.9           6.0
          - Central and Eastern Europe                     5.7           4.5           3.4
          - Commonwealth of Independent States (CIS)       8.6           7.2           5.7
                    - Russia                               8.1           7.0           5.5
                    - Excluding Russia                     9.8           7.6           6.2
          - Developing Asia                               10.0           8.4           7.7
                    - China                               11.9           9.7           9.3
                    - India                                9.3           7.9           6.9
                    - Thailand                             4.8           4.7           4.5
          - Middle East                                    5.9           6.4           5.9
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

Note : p = projection.

Source : IMF, October 8, 2008.

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2551--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ