Economic Highlights: เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 และ 4 ปี 2551 มีแนวโน้มชะลอตัว

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 5, 2008 15:28 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

Macro

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 และ 4 ปี 2551 มีแนวโน้มชะลอตัวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดการณ์เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 2551 ขยายตัวที่ระดับ 4.5% เทียบกับ 6.1% และ 5.3% ในไตรมาส 1 และ 2 ตามลำดับ ทั้งนี้ แม้ว่าการส่งออกมีแนวโน้มชะลอลง แต่ยังเป็น แรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยในปี 2551 พร้อมกันนี้ สศค. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2551 ขยายตัวที่ระดับ 4.3% ส่งผลให้ เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2551 ขยายตัว 5.1% ก่อนชะลอลงเหลือ 4.0-5.0% ในปี 2552 โดยปัจจัยที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษและมีผลกระทบต่อการส่ง ออก การบริโภค และการลงทุนในระยะข้างหน้า ได้แก่ วิกฤติการเงินโลกและสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศเป็นสำคัญ ---------------------------------------------------------------------------

                                    2551               |
 -------------------------------------------------------    2551f      2552f
                         Q1      Q2      Q3f      Q4f  |
---------------------------------------------------------------------------
 GDP Growth             6.1     5.3      4.5      4.3  |     5.1      4.0-5.0
หมายเหตุ : f คาดการณ์

Business

พาณิชยนาวี : ปัญหาวิกฤติการเงินโลกส่งผลกระทบต่อธุรกิจพาณิชยนาวี โดยดัชนี BDI (Baltic Dry Index) ลดลงกว่า90% เหลือ 851 จุดในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2551 จากที่เคยสูงถึง 11,793 จุดในเดือนพฤษภาคม 2551 เนื่องจากปริมาณความต้องการขนส่งสินค้าทางเรือลด ลงมาก ทั้งจากภาวะสินเชื่อที่ตึงตัวไปทั่วโลก จนเป็นอุปสรรคบั่นทอนการนำเข้าและส่งออก ประกอบกับความต้องการแร่เหล็กและถ่านหินของจีนมีแนว โน้มลดลง ตามการชะลอตัวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของจีน นอกจากนี้ คาดว่าในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า จะมีกองเรือใหม่เข้าสู่ตลาดอีกจำนวน หนึ่ง ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ ล่าสุด A.P. Moeller-Maersk สายการเดินเรือคอนเทนเนอร์รายใหญ่อันดับ 1 ของโลก ประกาศลดการให้บริการในสายเอเชีย-ยุโรป ลง 10% ขณะที่Neptune Orient Lines สายการเดินเรือใหญ่อันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ประกาศลดการให้บริการในสายยุโรปลง 25%

ผลิตภัณฑ์ยาง : ราคายางพาราในปัจจุบันที่ลดลงราว 50% เทียบกับช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์ถุงมือยาง ต้องลดราคาผลิตภัณฑ์ยางที่จำหน่ายในประเทศและต่างประเทศลง 3-5% และ 10-15% ตามลำดับ แม้ว่าวัตถุดิบที่ใช้ใน การผลิตเป็นยางในสต็อกเดิมที่มีราคาสูงก็ตาม นอกจากนี้ ราคายางพาราที่ลดลงยังทำ ให้มีคำ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ยางเข้ามาน้อยลง เพราะผู้ซื้อคาดว่า ราคายางพาราจะลดลงอีก

ข้าว : เวียดนามปรับลดราคาส่งออกข้าวเหลือตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐ จากเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2551 ที่เสนอขายตันละ 410 ดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มจะปรับลดลงอีก ขณะที่ราคาส่งออกข้าวไทยอยู่ในระดับต่ำกว่าตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ทั้ง นี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยคาดว่าการที่ราคาข้าวไทยสูงกว่าเวียดนามถึงเกือบตันละ 200 ดอลลาร์สหรัฐเช่น ในปัจจุบัน อาจส่งผลให้การส่งออกข้าว ของไทยในเดือนตุลาคม 2551 มีปริมาณเพียง 6 แสนตัน และลดลงเหลือเดือนละ 5 แสนตันในช่วงที่เหลือของปี จากปริมาณส่งออกเฉลี่ยสูงถึงเดือนละ เกือบ 1 ล้านตัน ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2551 สำหรับในปี 2552 คาดว่าปริมาณส่งออกข้าวของไทยจะลดลงเหลือ 8 ล้านตันเนื่องจากขณะ นี้ผู้ซื้อต่างรอซื้อข้าวจากเวียดนามซึ่งมีอยู่ในสต็อกสูงถึง 1 ล้านตัน

International

BoE คาดความเสียหายจากวิกฤติการเงินโลกสูงถึง 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England : BoE) รายงานยอดความเสียหายจากวิกฤติการเงินโลกที่เกิดขึ้นสูงถึงราว 2.8 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐมากกว่าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) คาดการณ์ไว้เท่าตัวที่ระดับ 1.4 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นเริ่มส่งผลกระทบไปยังภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ซึ่งเป็นเหตุให้กลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักอย่าง สหรัฐฯ ญี่ปุ่น รวมทั้งสหภาพยุโรปบางประเทศ มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจประเทศตลาดใหม่อย่างจีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิลมี แนวโน้มชะลอการขยายตัวลง ทั้งนี้แม้ว่าธนาคารกลางทั่วโลกร่วมกันอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนสูงถึง 5 ล้านล้านปอนด์ (ราว 8.2 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติดังกล่าวก็ตาม แต่จนถึงขณะนี้ธนาคารกลางทั่วโลกยังทยอยออกมาตรการช่วยเหลือใน ด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อพยุงเศรษฐกิจ โดยล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve : Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal Funds Rate) ลง 0.5% เหลือ 1% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี พร้อมทั้งอนุมัติเพดานสวอปเงินดอลลาร์สหรัฐแก่ธนาคาร กลางบราซิล เม็กซิโก เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ สูงสุดประเทศละ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และธนาคารกลางนิวซีแลนด์ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและบรรเทาภาวะขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐ ในตลาดการเงินโลก นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายลงจาก 6.93% เหลือ 6.66% (นับเป็นการปรับลดครั้งที่ 3 ในรอบ 2 เดือน) เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกใน รอบ 7 ปี จาก 0.5% เหลือ 0.3% ขณะที่ IMF เสนอจะปล่อยเงินกู้ประเภท 3 เดือนจำนวน 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบ จากวิกฤติการเงินในครั้งนี้

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2551--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ