ตลาดรองเท้าใน EU

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 6, 2008 14:04 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

สหภาพยุโรป (European Union: EU) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ เป็นตลาดรองเท้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยมูลค่าตลาดสูง ถึง 50,430 ล้านยูโร ในปี 2549 หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของมูลค่าตลาดรองเท้าของโลก นอกจากนี้ EU ยังเป็นตลาดส่งออกรองเท้าสำคัญที่สุดของ ไทยด้วยสัดส่วนกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าส่งออกรองเท้ารวม จึงเป็นตลาดที่ผู้ส่งออกรองเท้าของไทยไม่ควรมองข้ามสำหรับข้อมูลพื้นฐานตลาดรองเท้า ใน EU ที่น่าสนใจ มีดังนี้

  • ตลาดสำคัญ เยอรมนีเป็นตลาดรองเท้าสำคัญที่สุดใน EU ด้วยสัดส่วนร้อยละ 16.8 ของมูลค่าตลาดรองเท้าทั้งหมดของ EU ในปี
2549 รองลงมา คือ ฝรั่งเศส (ร้อยละ 16.5) สหราชอาณาจักร(ร้อยละ 16.2) และอิตาลี (ร้อยละ 12.5) ตามลำดับ
  • ค่าใช้จ่ายในการซื้อรองเท้าเฉลี่ยต่อคน อยู่ที่ 102 ยูโร หรือราว 4.3 คู่ต่อปี ประเทศสมาชิก EU ที่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อรองเท้า
เฉลี่ยต่อคนอยู่ในระดับสูง คือ เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกสออสเตรีย เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ส่วนประเทศที่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อ
รองเท้าเฉลี่ยต่อคนอยู่ในระดับต่ำ คือ บัลแกเรีย โรมาเนีย และฮังการี
  • ขนาดของตลาดรองเท้าแต่ละประเภท ข้อมูลจาก Euromonitor พบว่า รองเท้าสตรีมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดใน EU รองลงมา คือ
รองเท้าบุรุษ และรองเท้าเด็ก ตามลำดับ ทั้งนี้ ส่วนแบ่งตลาดรองเท้าสตรี โดยเฉพาะในประเทศสมาชิกใหม่ 12 ประเทศของ EU ซึ่งถือเป็นตลาด
เกิดใหม่ที่มีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกีย
สโลวีเนีย โรมาเนีย และบัลแกเรีย มีแนวโน้มขยายตัวตามจำนวนผู้หญิงวัยทำงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้หญิงนิยมซื้อรองเท้าหลายคู่เพื่อให้เข้า
ชุดกับเสื้อผ้าที่สวมใส่ ส่วนรองเท้าบุรุษแม้ปัจจุบันมีราคาเฉลี่ยถูกกว่ารองเท้าสตรี แต่ราคาเริ่มมีแนวโน้มปรับขึ้นมาสูงกว่ารองเท้าสตรี

อย่างไรก็ตาม การที่ผู้หญิงนิยมมีรองเท้าหลายคู่ ทำให้ตลาดรองเท้าสตรียังคงเป็นตลาดสำคัญที่สุด ขณะที่ตลาดรองเท้าเด็กใน EU มีแนว โน้มลดลง เนื่องจากครัวเรือนของประเทศสมาชิก EU นิยมมีบุตรน้อย

สัดส่วนมูลค่าตลาดรองเท้าแต่ละประเภทในตลาดรองเท้าสำคัญของ EU ปี 2549 ---------------------------------------------------------------------------

          ประเทศ        |   รองเท้าสตรี (%) |  รองเท้าบุรุษ (%)  |  รองเท้าเด็ก (%)
---------------------------------------------------------------------------
          เยอรมนี        |      53.0       |    32.0         |     15.0
          ฝรั่งเศส        |      51.6       |    31.7         |     16.7
          สหราชอาณาจักร  |      43.9       |    35.0         |     21.1
          อิตาลี          |      62.1       |    26.9         |     11.0

ที่มา : Euromonitor, Mintel, Trade Estimates (2007)

  • ช่องทางการกระจายสินค้า แบ่งเป็น
  • ช่องทางจากโรงงานผลิตในต่างประเทศเข้าสู่ตลาด EU มีหลากหลายช่องทาง แต่ที่นิยมมากที่สุดสำหรับประเทศกำลัง
พัฒนาที่ต้องการส่งออกรองเท้าไป EU คือ การส่งออกผ่านผู้นำเข้าและผู้ค้าส่งใน EU เนื่องจากเป็นผู้ใกล้ชิดตลาดและรู้จักช่องทางในการกระจายสินค้า
สู่มือผู้บริโภคใน EU เป็นอย่างดี จึงสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ผลิตในประเทศกำลังพัฒนาเกี่ยวกับแนวโน้มกระแสความนิยมทั้งเรื่องรูปแบบ คุณภาพ และ
วัสดุที่ได้รับความนิยม
  • ช่องทางกระจายสินค้าสู่มือผู้บริโภค มี 2 ช่องทางสำคัญ คือ ร้านจำหน่ายเฉพาะรองเท้า (สัดส่วนราวร้อยละ 60)

ประกอบด้วยร้านเดี่ยว ร้านในระบบสาขา และแฟรนไชส์ รวมถึงร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลาย (สัดส่วนราวร้อยละ 40) ซึ่งพบว่าร้านขายเครื่องกีฬา

เป็นร้านที่ผู้บริโภคชาว EU นิยมซื้อรองเท้ามากที่สุดในบรรดาร้านกลุ่มหลังนี้ ส่วนการซื้อรองเท้าจากห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายเสื้อ

ผ้า แม้ปัจจุบันยังมีสัดส่วนไม่มาก แต่มีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อรองเท้าให้เข้าชุดกับเครื่องแต่งกาย

อื่น ๆ

แนวโน้มตลาดรองเท้าใน EU

การที่ EU เป็นตลาดส่งออกรองเท้าสำคัญที่สุดของไทย ผู้ส่งออกจึงควรติดตามการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มความ ต้องการรองเท้าในตลาด EU อย่างใกล้ชิด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการผลิตและการตลาดล่วงหน้าให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อันจะ ช่วยสร้างโอกาสในการขยายตลาดรองเท้าใน EU ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่ามีหลายปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มความต้องการรองเท้าในตลาด EU ดังนี้

  • ผู้บริโภคใน EU นิยมสินค้าหรูหราขึ้น โดยมักเลือกใช้สินค้าที่มีตราสินค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักตามแบบที่นักร้อง นักแสดง และกลุ่มบุคคลที่
มีชื่อเสียง (Celebrities) เลือกใช้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอิทธิพลของสื่อต่าง ๆ
  • กลุ่มผู้สูงวัยกลายเป็นผู้บริโภคที่มีบทบาทมากขึ้น เนื่องจาก EU กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยจากการที่จำนวนประชากรซึ่งมีอายุมากกว่า 65
ปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจะกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคสำคัญในอนาคต เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง
  • การย้ายที่อยู่ระหว่างประเทศสมาชิก EU ด้วยกันทำได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันมากขึ้น ผู้บริโภคจึงมีแนว
โน้มต้องการรองเท้าที่มีรูปแบบแตกต่างไปจากเดิม จึงอาจมีผลให้รองเท้าที่วางจำหน่ายในแต่ละประเทศมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น
  • ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น ทั้งนี้ ผู้บริโภคใน EU โดยเฉพาะวัยรุ่นเริ่มหันมาสั่งซื้อรองเท้าโดยตรงจากผู้ผลิตผ่านทางอินเทอร์เน็ตมาก
ขึ้น อย่างไรก็ตาม การซื้อรองเท้าทางอินเตอร์เน็ตยังมีข้อจำกัด เนื่องจากผู้บริโภคบางกลุ่มยังมีความกังวลใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการชำระค่า
สินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และบางส่วนต้องการทดลองสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะรองเท้าเด็ก ซึ่งผู้ปกครองมักต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วัด
ขนาดเท้าและเลือกรองเท้าที่เหมาะสมให้
  • สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้รับความนิยมมากขึ้น ประชากรวัยรุ่นมีแนวโน้มต้องการสินค้าที่ผลิตจากวัสดุใช้แล้ว หรือวัสดุที่สามารถนำ
กลับมาใช้ใหม่ได้มากขึ้น ประเด็นเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงกลายเป็นหัวข้อหลักที่เหล่านักออกแบบรองเท้าต้องนำมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • ประชากรนิยมทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น ทั้งการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ อาทิ ปีนเขา ขี่จักรยาน เดิน ซึ่ง

เป็นผลจากการมีวันหยุดมากขึ้น ทำให้รองเท้ากีฬาหรือรองเท้าที่ใช้ได้ในหลากหลายโอกาสเป็นที่ต้องการมากขึ้น

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤจิกายน 2551--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ