Economic Highlights: อัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคมชะลอลงเป็นเดือนที่สาม

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 17, 2008 15:47 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

Macro

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนตุลาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 3.9% ชะลอลงเป็นเดือนที่ 3 เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อพื้น ฐานซึ่งชะลอลงอยู่ที่ 2.4% เป็นที่น่าสังเกตว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงค่อนข้างเร็ว เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานปรับลดลงมากตามราคา น้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบกับมาตรการ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” เห็นผลเป็นลำดับในการช่วยบรรเทาปัญหา ค่าครองชีพให้กับประชาชน ทำให้กระทรวงพาณิชย์ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2551 อยู่ที่ระดับ 5.9-6.3% (จากเดิม 6.5-6.9%)

Business

ครม. เห็นชอบแผนงานโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) วงเงินรวม 1.6 ล้านล้านบาท

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนงานโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) มูลค่า 1.6 ล้าน ล้านบาท ในช่วงปี 2552-2554 โดยเน้นการลงทุนในระบบขนส่งมวลชนและโลจิสติกส์ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและพลังงานทด แทนเป็นสำคัญ เป็นที่คาดว่าโครงการลงทุนดังกล่าวจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศรวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ในปี 2552

มูลค่า : ล้านบาท

2552-2554

          โครงการ                            2552    2553      2554       มูลค่า  สัดส่วน(%)
พัฒนาคุณภาพการศึกษา                            2,224  11,464     8,494     22,182    1.4
พัฒนาระบบสาธารณสุข                           24,408  27,682    26,520     78,612    4.9
พัฒนาระบบชลประทาน                           41,722  79,328    87,294    208,345   12.9
พัฒนาระบบขนส่งมวลชนและโลจิสติกส์                35,183  300,292  540,298    875,774   54.4
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและพลังงานทดแทน  121,428  135,895  109,830    367,154   22.8
พัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคม                     25,579   15,077   11,538     52,194    3.2
พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้                         248    2,559    2,360      5,167    0.3
รวม                                       250,792  572,297  786,334  1,609,428    100

Business

ข้าว : บริษัท ซีพีอินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของไทย คาดว่าราคาส่งออกข้าวขาวในปัจจุบันที่ตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นราคาต่ำที่สุดแล้ว หลังจากขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ตันละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2551 เนื่องจากคาดว่าสต็อกข้าวโลก ณ สิ้น ปี 2551/52 ที่ระดับ 80 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 4% หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 17-18% ของปริมาณการบริโภคข้าวของโลก ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่ มากเกินไปจึงไม่น่าฉุดให้ราคาข้าวลดลงไปกว่านี้ ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าราคาข้าวขาวในตลาดโลกปี 2551/52 จะไม่ต่ำกว่าตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่คาดว่าราคาข้าวหอมมะลิจะอยู่ที่ตันละ 850-950 ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับสาเหตุที่ราคาข้าวในปัจจุบันลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่เริ่มออกสู่ตลาดจำนวนมาก ประกอบกับ เวียดนามกดราคาส่งออกข้าว เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้ต้องเร่งระบายข้าวเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ ประกอบกับสถานที่เก็บข้าว ของเวียดนามมีเพียงยุ้งฉางขนาดเล็ก ทำให้ไม่สามารถเก็บข้าวได้นาน จึงต้องรีบระบายข้าวออก

ยางพารา : ราคายางพาราที่ปรับลดลงมากในช่วงที่ผ่านมา มีผลให้สภาความร่วมมือด้านยางระหว่างประเทศ (International Tripartite Rubber Council : ITRC) และบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ (International Rubber Consortium : IRCo) ซึ่ง ประกอบด้วย 3 ประเทศผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลก คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย (ผลิตยางพาราได้รวมกันประมาณ 70% ของผลผลิต ยางพาราทั่วโลก) ทำความตกลงร่วมกันในการลดปริมาณการผลิตยางพารา โดยการโค่นต้นยางเก่ารวม 1,056,250 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ในไทย 400,000 ไร่ อินโดนีเซีย 343,750 ไร่ มาเลเซีย 312,500 ไร่ รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรลดความถี่ในการกรีดยางลง 1 ใน 3 ตลอดจนยุติการ ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง นอกจากนี้ ประเทศไทย ยังมีแผนชะลอการเปิดกรีดยางสำหรับต้นยางปลูกใหม่จากห้าปีครึ่งเป็นหกปีครึ่ง

International

IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ปรับลดคาดการณ์อัตรา ขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2552 เหลือ 2.2% จากคาดการณ์เดิมในเดือนตุลาคม 2551 ที่ระดับ 3.0% โดย IMF คาดว่าประเทศเศรษฐกิจหลัก ทั้งสหรัฐฯ กลุ่มยูโรโซน อังกฤษ และญี่ปุ่น จะเผชิญปัญหาเศรษฐกิจถดถอยในปี 2552 ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) จะขยายตัวในอัตราชะลอลงเหลือราว 5% เนื่องจากปัญหาวิกฤติการเงินโลกมีความรุนแรงมากกว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้ IMF เสนอให้รัฐบาลของ ประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาผลกระทบจากปัญหาวิกฤติการเงินโลก

    Countries                        2550          2551p         2552p
World Output                          5.0           3.7           2.2
Advanced Economies                    2.6           1.4          -0.3
  - United States                     2.0           1.4          -0.7
  - Euro Area                         2.6           1.2          -0.5
  - Japan                             2.1           0.5          -0.2
  - United Kingdom                    3.0           0.8          -1.3
Emerging and Developing Economies     8.0           6.6           5.1
  - Africa                            6.1           5.2           4.7
  - Central and Eastern Europe        5.7           4.2           2.5
  - CIS                               8.6           6.9           3.2
     - Russia                         8.1           6.8           3.5
     - Excluding Russia               9.8           6.9           1.6
  - Developing Asia                  10.0           8.3           7.1
     - China                         11.9           9.7           8.5
     - India                          9.3           7.8           6.3
     - ASEAN — 5                      6.3           5.4           4.2
  - Middle East                       6.0           6.1           5.3

Notes : p = projected.

Source : IMF, November 6, 2008.

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2551--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ