Economic Highlights: อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายนชะลอลงเป็นเดือนที่สี่

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 11, 2008 15:27 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

Macro

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 2551 อยู่ที่ระดับ 2.2% ชะลอลงเป็นเดือนที่ 4 และเป็นระดับต่ำที่สุดใน รอบ 14 เดือน เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ชะลอลงอยู่ที่ 2.0% ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 5.9% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.5% (เทียบกับกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ระดับ 0-3.5%)เป็นที่น่า สังเกตว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงค่อนข้างเร็ว เนื่องจากระดับราคาสินค้าในหมวดพลังงานปรับลดลงมากตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปี 2551 อยู่ที่ระดับ 5.6-5.9% ก่อนจะชะลอลงเหลือ 2.5-3.0% ในปี 2552

Business

กล้วยไม้ : การปิดสนามบินสุวรรณภูมิตั้งแต่เวลา 21.00 น. ของวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกกล้วยไม้ซึ่งจำ เป็นต้องขนส่งทางเครื่องบินจนได้รับความเสียหายแล้วประมาณ 35 ล้านบาท และจะส่งผลกระทบเชื่อมโยงถึงเกษตรกรด้วย เนื่องจากกล้วยไม้เป็น สินค้าที่ต้องตัดบรรจุ และส่งออกเป็นรายวัน เกษตรกรมีรายได้เป็นรายวัน เมื่อผู้ส่งออกไม่สามารถรับซื้อกล้วยไม้เพื่อส่งออกได้เกษตรกรก็จะขาดรายได้ ทันที

ผัก-ผลไม้ : การปิดให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิส่งผลให้ผู้ส่งออกผักและผลไม้ไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ จึงต้องขนสินค้ากลับเข้าห้อง เย็นเพื่อป้องกันการเน่าเสีย อย่างไรก็ตาม ล่าสุดผู้ส่งออกผักและผลไม้บางส่วนได้ปรับตัวโดยขนส่งสินค้าทางรถยนต์แล้วไปขึ้นเครื่องที่มาเลเซียและ สิงคโปร์แทนซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 25% ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าแม้สนามบินจะเปิดให้บริการได้ตามปกติอีกครั้ง แต่การส่งออกผักและผลไม้ก็จะ ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติทันที เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของสายการบินต่างชาติ อีกทั้งผู้นำเข้าอาจยังไม่กล้าสั่งซื้อสินค้าอีก ระยะหนึ่งเพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาส่งมอบสินค้าไม่ตรงเวลา อนึ่ง การส่งออกผักและผลไม้ผ่านสนามบินสุวรรณภูมิมีมูลค่าวันละประมาณ 300 ล้านบาท

ท่องเที่ยว : เหตุการณ์ปิดสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ตลอดจนความวุ่นวายทางการเมืองของไทย ส่งผลให้ 24 ประเทศทั่ว โลก ประกาศเตือนพลเมืองของตนในการเดินทางมายังประเทศไทย คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และอาจทำให้ไทย สูญเสียรายได้เฉลี่ยราว 2 แสนล้านบาทจากการท่องเที่ยวในช่วงฤดูท่องเที่ยว (เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) หรือราว 40% ของรายได้จากการท่อง เที่ยวทั้งปี ทั้งนี้คาดว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบชัดเจนในไตรมาสแรกปี 2552 เนื่องจากนักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทางอย่างต่อเนื่อง โดย ธุรกิจนำเที่ยวและธุรกิจโรงแรมจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรก และคาดว่าในไตรมาส 2 ปี 2552 ธุรกิจท่องเที่ยวอาจมีการเลิกจ้างงานถึงราว 2 แสนคน

International

OECD คาดเศรษฐกิจประเทศหลักจะหดตัวลงในปี 2552

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) คาดเศรษฐกิจประเทศหลักของโลกจะหดตัวลงในปี 2552 โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงถึง 0.9% เช่นเดียวกับประเทศใน กลุ่มยูโรโซนที่คาดว่าจะหดตัวเป็นส่วนใหญ่และส่งผลให้เศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซนหดตัว 0.6% ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะหดตัว 0.1% เนื่องจากได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกนอกจากนี้ เศรษฐกิจของประเทศตลาดใหม่ทั้งจีนอินเดีย รัสเซีย และบราซิลต่างมีแนวโน้มชะลอการขยายตัวลงมาก ตามกำลังซื้อที่ลดลงในตลาดหลัก

   Countries            2551          2552 p        2553 p
OECD Member             1.4           -0.4           1.5
    - United States     1.4           -0.9           1.6
    - Japan             0.5           -0.1           0.6
    - Euro Area         1.0           -0.6           1.2
          - Germany     1.4           -0.8           1.2
          - France      0.9           -0.4           1.5
          - Italy      -0.4           -1.0           0.8
          - Spain       1.3           -0.9           0.8
    - United Kingdom    0.8           -1.1           0.9
    - Canada            0.5           -0.5           2.1
Non-OECD
    - China             9.5           8.0           9.2
    - South Korea       4.2           2.7           4.2
    - India             7.0           7.3           8.3
    - Brazil            5.3           3.0           4.5
    - Russia            6.5           2.3           5.6
Note : p = projected.
Source : OECD, November 25, 2008

IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชีย

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)ปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียชะลอลงจาก 7.6% ในปี 2550 เหลือ 6.0% ในปี 2551 และ 4.9% ในปี 2552 เนื่องจากรายได้จากการส่งออกสินค้าของเอเชียลดลงตามการชะลอตัวของ เศรษฐกิจโลก ประกอบกับสถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพื่อป้องกันผลกระทบจากปัญหาวิกฤติการเงินโลก อย่างไรก็ตาม IMF คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเอเชียจะชะลอลงจาก 6.0% ในปี 2551เหลือ 3.0% ในปี 2552

   Countries                2550           2551p           2552p
Asia                         7.6             6.0             4.9
 Industrial Asia             2.4             0.8             0.1
          - Japan            2.1             0.5            -0.2
          - Australia        4.4             2.4             1.8
          - New Zealand      3.2             0.7             1.5
Emerging Asia                9.5             7.7             8.5
          - China           11.9             9.7             8.5
          - India            9.3             7.8             6.3
   NIEs                      5.6             3.9             2.1
          - Hong Kong        6.4             3.7             2.0
          - Korea            5.0             4.1             2.0
          - Singapore        7.7             2.7             2.0
          - Taiwan           5.7             3.8             2.2
   ASEAN-5                   6.3             5.4             4.2
          - Indonesia        6.3             6.0             4.5
          - Malaysia         6.3             5.7             3.8
          - Philippines      7.2             4.4             3.5
          - Vietnam          8.5             6.3             5.5
          - Thailand         4.8             4.5             4.0
Note : p = projected.
Source : IMF, November 24, 2008.

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2551--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ