วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2551 ส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกของไทยอย่างรุนแรง ทั้งนี้ นับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2551 จนถึงไตรมาส 2 ปี 2552 มูลค่าส่งออกของไทยหดตัวในระดับสองหลักอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าส่งออกลดลงเหลือเพียงเดือนละ 10,000- 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตที่การส่งออกของไทยในแต่ละเดือนสูงถึง 15,000-17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ ตาม ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา การส่งออกของไทยเริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ โดยในเดือนตุลาคม 2552 การส่งออกมีมูลค่า 14,812 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เริ่มขยับใกล้เคียงกับมูลค่าส่งออกในช่วงก่อนเกิดวิกฤต ทั้งนี้ หากพิจารณารายละเอียดของมูลค่าส่งออกพบว่า การส่งออก ของไทยไปจีนกำลังขยายตัวอย่างมาก และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การส่งออกโดยรวมของไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ
จีนเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบมากจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในรอบนี้ โดยเศรษฐกิจจีนชะลอการขยายตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 6.1% ใน ไตรมาสแรกปี 2552 ต่ำสุดในรอบ 17 ปี ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปจีนในช่วงดังกล่าวหดตัวอย่างรุนแรง โดยในเดือนมกราคม 2552 มูลค่าส่ง ออกของไทยไปจีนอยู่ที่ราว 830 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวลงกว่า 40% จากช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งไทยเคยส่งออกไปจีนสูงถึง 1,400- 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (Stimulus Package) มูลค่า 4 ล้านล้านหยวน รวมถึงมาตรการอัดฉีดสินเชื่อมูลค่ามหาศาลเข้าสู่ระบบ ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งที่ ระดับ 7.9% ในไตรมาส 2 และ 8.9% ในไตรมาส 3 ขณะที่หลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะกลับมาขยายตัวทะลุระดับ 10% อีกครั้งในไตรมาสสุด ท้ายของปี 2552
ด้วยอานิสงส์จากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปจีนฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจนสามารถกลับมาขยาย ตัวได้อีกครั้งนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 เป็นต้นมา ด้วยมูลค่าส่งออกราว 1,400-1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ซึ่งเป็นระดับเดียวกับที่ไทยส่ง ออกได้ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของไทยไปจีนหลายรายการกลับมาขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดและทำลายสถิติมูลค่าส่งออกสูง สุดได้แล้ว อาทิ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น
เปรียบเทียบมูลค่าส่งออกของไทยไปจีนในแต่ละช่วง
หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้า ช่วงก่อนเกิดวิกฤต(ม.ค.-ต.ค. 51) ช่วงเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ช่วงเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว (พ.ย. 51-มี.ค. 52) ตั้งแต่ เม.ย. 52 เป็นต้นมา สูงสุด ต่ำสุด สูงสุด เคมีภัณฑ์ 87.4 (พ.ค . 51) 47.6 (พ.ย. 51) 133.6 (ส.ค. 52) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 45.4 (มี.ค. 51) 10.0 (พ.ย. 51) 101.3 (ต.ค. 52) เครื่องใช้ไฟฟ้า 83.1 (ต.ค. 51) 41.5 (ม.ค. 52) 89.9 (มิ.ย. 52) ผลิตภัณฑ์ยาง 66.3 (ส.ค. 51) 17.3 (ธ.ค. 51) 81.2 (ก.ย. 52) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 28.5 (ต.ค. 51) 15.1 (ธ.ค. 51) 45.0 (ต.ค. 52) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ 2550 2551 2552f 2553f สหรัฐฯ 2.1 0.4 -2.7 1.5 EU 2.7 0.7 -4.2 0.3 ญี่ปุ่น 2.3 -0.7 -5.4 1.7 จีน 13.0 9.0 8.5 9.0
การส่งออกของไทยไปจีนที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งดังกล่าวส่งผลให้สัดส่วนมูลค่าส่งออกของไทยไปจีนเทียบกับมูลค่าส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้น จาก 9.1% ในปี 2551 เป็น 10.2% ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ซึ่งเรียกได้ว่าไล่กวดบรรดาตลาดส่งออกหลักอื่นๆ ของไทยมาติดๆ ทั้ง สหรัฐฯ (สัดส่วน 11.0%) และญี่ปุ่น (10.3%) และหากมองไปในระยะข้างหน้า แม้ว่ารัฐบาลจีนอาจต้องแตะเบรกเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเพื่อหลีกเลี่ยง ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ แต่หน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่เชื่อว่า เศรษฐกิจจีนจะยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตรงข้ามกับประเทศเศรษฐกิจหลักทั้ง หลายซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะจากปัญหาการว่างงานและหนี้ภาคครัวเรือนที่ยังแก้ไม่ตก เมื่อประกอบกับปัจจัยสนับสนุน จากการเปิดเสรีการค้าอาเซียน-จีน (ASEAN-China FTA : ACFTA) ซึ่งกำหนดให้คู่เจรจาลดภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือ 0% สำหรับสินค้า ปกติ (Normal List) ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 ก็น่าจะช่วยกระตุ้นการส่งออกไปจีนได้ในระดับหนึ่ง ทำให้เชื่อว่าการส่งออกของไทยไปจีนจะมี บทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการส่งออกโดยรวมของประเทศให้กลับมาเป็นฮีโร่หนุนนำเศรษฐกิจไทยได้อีกครั้ง พร้อมๆ กับการที่จีนจะเปลี่ยนสถานะ จากการเป็นตลาดส่งออกใหม่กลายมาเป็นตลาดส่งออกหลักที่สำคัญของไทยในอีกไม่ช้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM BANK
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 2114
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2551--