ทำไมตลาดน้ำผลไม้ในอินเดียจึงน่าสนใจ
- อินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรกว่า 1,100 ล้านคน หรือราวร้อยละ 17 ของประชากรโลก
- ระดับรายได้ (Disposable Income) ของชาวอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยระดับรายได้ของครัวเรือนส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจาก 1,000-1,750 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (มีสัดส่วนร้อยละ 42 ของครัวเรือนทัง้หมด) ในปี 2538 เป็น 2,500-5,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี(มีสัดส่วนร้อยละ 31) ในปี 2550 และยังมีการคาดการณ์ว่ากลุ่มชนชั้นกลางในอินเดียจะเพิ่มขึ้นจาก 50 ล้านคนในปี 2548 เป็น 583 ล้านคนภายในปี 2568 ซึ่งจะทำให้การบริโภคของชาวอินเดียเพิ่มขึ้นจาก 17 ล้านล้านรูปี เป็น 70 ล้านล้านรูปี ในช่วงดังกล่าว
- ชาวอินเดียมีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่มสูงราวร้อยละ 40-50 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.6 ต่อปี ในช่วงปี 2543-2550
น้ำผลไม้พร้อมดื่ม...ตลาดที่กำลังขยายตัว
แม้ชาวอินเดียมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพียง 822.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่การที่เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระดับรายได้เพิ่มขึ้น และรูปแบบการดำเนินชีวิตของประชากรเปลี่ยนแปลงไปความต้องการอาหารรวมถึงเครื่องดื่มสำเร็จรูปจึงมีแนวโน้มขยายตัว โดยเฉพาะตลาดค้าปลีกน้ำผลไม้พร้อมดื่มที่มูลค่าตลาดขยายตัวจาก9.7 พันล้านรูปี (214 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2547 เป็น 2.4 หมื่นล้านรูปี(496 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2552
ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของตลาดน้ำผลไม้พร้อมดื่มในอินเดีย มีดังนี้
- การเพิ่มขึ้นของครอบครัวขนาดเล็ก โดยเฉพาะครอบครัวเดี่ยวที่การเตรียมอาหารและน้ำ ผลไม้รับประทานเองเป็นเรื่องที่เสียเวลาและไม่คุ้มค่า นอกจากนี้ การที่สตรีชาวอินเดียออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้มีเวลาทำงานในบ้านลดลง น้ำผลไม้พร้อมดื่มจึงเป็นทางเลือกที่สะดวกและคุ้มค่าสำหรับผู้บริโภค
- ชาวอินเดียเริ่มหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น สังเกตได้จากความนิยมที่มีมากขึ้นในเครื่องดื่มประเภทน้ำ ผัก-ผลไม้ซึ่งดีต่อสุขภาพ จากเดิมในปี 2547 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 16 ของตลาดเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นร้อยละ 22 ในปี 2552 ขณะที่น้ำอัดลมที่เคยครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดได้รับความนิยมลดลง
- ชาวอินเดียให้ความสำคัญกับสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น น้ำ ผลไม้พร้อมดื่มในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดได้มาตรฐาน จึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับชาวอินเดียที่ต้องการความมัน่ ใจว่าได้บริโภคเครื่องดื่มที่สะอาด ถูกหลักอนามัย และมีคุณภาพดี ต่างจากน้ำผลไม้ที่จำหน่ายตามท้องถนนทัว่ไปที่ไม่มีการควบคุมคุณภาพ
โครงสร้างตลาดน้ำผลไม้พร้อมดื่มในอินเดีย
- น้ำผลไม้ที่จำหน่ายในอินเดีย ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 เป็นน้ำผลไม้คัน้ สดตามร้านน้ำผลไม้ หรือรถเข็นข้างทาง และอีกราวร้อยละ 15 เป็นน้ำผลไม้พร้อมดื่มในบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
- น้ำผลไม้พร้อมดื่มที่จำหน่ายในอินเดีย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือน้ำผลไม้แท้ 100% (100% Juice) เนกตาร์ (Nectars) ซึ่งหมายถึงเครื่องดื่มที่มีน้ำผลไม้แท้ผสมอยู่ 25-99% และน้ำผลไม้ผสม (Juice Drinks) ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำผลไม้แท้ต่ำกว่า 25% น้ำผลไม้ประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ น้ำผลไม้ผสม เนื่องจากราคาจำหน่ายถูกกว่า อย่างไรก็ตาม พบว่ายอดจำหน่ายเนกตาร์มีอัตราการขยายตัวสูงสุด (ร้อยละ 278) ระหว่างปี 2547-2552 เพราะมีรสชาติดีกว่าน้ำผลไม้แท้ 100% ที่มักมีรสขมเล็กน้อยและไม่หวานเท่าเนกตาร์ ทั้งนี้ ชาวอินเดียส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความแตกต่างของน้ำผลไม้แต่ละประเภท จึงมักเลือกซื้อน้ำผลไม้ที่มีรสชาติถูกปากและมีราคาไม่สูงจนเกินไปเป็นหลัก
- ผลไม้ที่นิยมนำมาผลิตน้ำผลไม้พร้อมดื่ม 3 อันดับแรก คือ มะม่วง ส้ม และแอปเปิล ทั้งนี้ ชนิดของน้ำผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับน้ำผลไม้แต่ละประเภทที่กล่าวถึงข้างต้นมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ น้ำส้มและน้ำมะม่วงได้รับความนิยมสูงสุดในตลาดน้ำผลไม้แท้ 100% มีสัดส่วนชนิดละร้อยละ 29 ของปริมาณจำหน่ายน้ำผลไม้แท้ 100% ทั้งหมด ขณะที่น้ำแอปเปิลครองส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 74 ของปริมาณจำหน่ายเนกตาร์ทัง้หมดส่วนน้ำผลไม้ผสมที่ได้รับความนิยมสูงสุด (ร้อยละ 88) คือ น้ำมะม่วง
- การจัดจำหน่ายน้ำผลไม้พร้อมดื่มในอินเดีย มี 2 ช่องทางหลัก คือผ่านทางร้านอาหารและภัตตาคาร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 และจำหน่ายผ่านทางตลาดค้าปลีก อีกร้อยละ 73 โดยราวร้อยละ 70 ของน้ำผลไม้ที่จำหน่ายผ่านช่องทางค้าปลีก วางจำหน่ายในร้านขายของชำขนาดเล็ก(Kirana stores) ในชุมชน เนื่องจากตัง้อยู่ใกล้บ้านและมักมีบริการส่งถึงบ้านชาวอินเดียจึงสามารถสัง่ซื้อน้ำผลไม้พร้อมสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ และให้ร้านขายของชำเหล่านี้นำ มาส่งที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังครอบครัวที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูงเริ่มหันมาซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีสินค้าที่หลากหลายกว่าร้านขายของชำน้ำ ผลไม้จึงถูกจำหน่ายผ่านทางซูเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้น้ำผลไม้นำเข้าส่วนใหญ่จะวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต
ข้อควรทราบในการเข้าตลาด
- ผู้บริโภคชาวอินเดียยังเปิดกว้างต่อน้ำผลไม้รสใหม่ๆ เช่น Black Currant พีช มะนาวนอกเหนือจาก 3 รสหลัก ส่วนหนึ่งเนื่องจากการมีโอกาสได้เดินทางไปยังต่างประเทศและได้ทดลองดื่มน้ำผลไม้หรือรับประทานผลไม้ชนิดใหม่ๆ เมื่อเดินทางกลับมาแล้วก็ยังอยากรับประทานหรือดื่มน้ำผลไม้ชนิดนั้นอีก
- ปัจจัยสำคัญในการเปิดตัวสินค้าใหม่ในตลาดอินเดีย คือ การมีตัวแทนจำหน่ายหรือผู้กระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพในท้องถิ่น ประกอบกับการใช้กลยุทธ์ด้านราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ผู้บริโภคในแต่ละรัฐมีพฤติกรรมการบริโภคแตกต่างกัน ผู้ส่งออกอาจเลือกใช้ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้กระจายสินค้าต่างรายกันในแต่ละพื้นที่
- ความต้องการสินค้าพิเศษจำพวกขนม ผลไม้จากต่างประเทศ และน้ำผลไม้ จะสูงสุดในช่วงเทศกาล Diwali (เทศกาล 5 วันในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองที่ชาวฮินดูในอินเดียจะประดับไฟตามบ้านเรือน และมอบของหวานให้แก่ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้าน จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะแนะนำสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด-
ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย เพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ส่งออกไทย
- นอกจากตลาดน้ำ ผลไม้ในอินเดียจะเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ประชากรกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงกำลังขยายตัว ผู้ส่งออกน้ำผลไม้ของไทยยังได้รับผลดีจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ที่อินเดียเริ่มปรับลดอัตราภาษีนำ เข้าน้ำผลไม้จากประเทศสมาชิกอาเซียน จากอัตราปกติร้อยละ 30-35 เหลือร้อยละ 25ในปี 2553 และจะทยอยลดลงจนเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2556 สำหรับน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมของน้ำผลไม้ชนิดเดียว และปี 2559 สำหรับน้ำผลไม้หลายชนิดผสมกันส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของน้ำผลไม้ไทยสูงขึ้น และเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดน้ำผลไม้ไทย ทัง้นี้ มูลค่าส่งออกน้ำผลไม้ไทยไปอินเดียในปี 2552ยังมีเพียง 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดของตลาดน้ำผลไม้อินเดีย แต่มีอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 40 ต่อปี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
มูลค่าส่งออกน้ำผลไม้ของไทยไปอินเดีย
2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553(ม.ค.-เม.ย.)
มูลค่าส่งออก (ล้านดอลาร์สหรัฐ) 0.55 0.74 0.92 1.52 0.95 2.04 1.21 % 165.6 33.8 24.5 64.6 -37.5 114.9 70.9
ตารางลดภาษีของอินเดียตามกรอบอาเซียน-อินเดีย
อัตราปกติ 1 ม.ค. 1 ม.ค. 1 ม.ค. 1 ม.ค. 31 ธ.ค. 1 ม.ค. 1 ม.ค. 1 ม.ค. 31 ธ.ค.
2553 2554 2555 2556 2556 2557 2558 2559 2559 - น้ำผลไม้หรือน้ำผักชนิดใดชนิดหนึ่ง 30-35 25 20 10 5 0 0 0 0 0 (HS 2009 ยกเว้น HS 200990) - น้ำผลไม้หรือน้ำผักหลายชนิดผสมกัน 30 25 20 15 13 13 11 8 5 0 (HS 200990)
ที่มา : http://www.aseansec.org
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฏาคม 2553--