ในบรรดากลุ่มเศรษฐกิจต่างๆ ของโลก อาเซียน หรือทีมีชือทางการว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of Southeast Asian Nations) นับเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในแวดวงการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน เพราะนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นมา ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบรูไน) จะต้องลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันลงเหลือ 0% ในเกือบทุกสินค้าที่ค้าขายกันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือที่คุ้นเคยกันในชือ AFTA (ASEAN Free Trade Area) ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวเพียงไม่กี่รายการ ขณะที่สมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ (กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม) จะต้องทยอยลดอัตราภาษีลงเหลือ 0% ภายในปี 2558ซึ่งในปีเดียวกันนั่นเองก็เป็นปีเร่มต้นของการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะพัฒนากรอบข้อตกลงไปสู่การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
อาเซียน...โอกาสสินค้าไทยในการขยายตลาดส่งออก
แม้กรอบข้อตกลงภายใต้ AEC ประกอบด้วยการเปิดเสรีในหลายๆ ด้าน ทั้งสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุนและแรงงานฝีมือ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเด็นการค้าสินค้ามีกรอบข้อตกลงที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากที่สุดเมือเทียบกับการเปิดเสรีในด้านอื่นๆ ทั้งนี้จากการศึกษาในเบื้องต้นของธนาคารเพือการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเกียวกับโอกาสและการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดอาเซียนโดยพิจารณาจากแต้มต่อทางภาษีที่ผู้ส่งออกไทยได้รับจากอัตราภาษีที่ลดลงภายใต้ข้อตกลงเทียบกับอัตราภาษีนำเข้าเดิม ซึงมีส่วนต่างทีจูงใจให้มีการขยายตลาดส่งออกไปอาเซียนมากขึ้น ควบคู่กับส่วนแบ่งตลาดของผู้ส่งออกไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาที่เพิมขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึงสะท้อนถึงศักยภาพของสินค้าไทยทีอยู่ในสถานะได้เปรียบตลอดจนอัตราการใช้สิทธิ*ส่งออกภายใต้กรอบข้อตกลง พบว่าสินค้าส่งออกทีไทยได้เปรียบและมีศักยภาพเหนือคู่แข่งในตลาดอาเซียน ซึ่งนับเป็นโอกาสทางการค้าของผู้ประกอบการไทย จำแนกรายตลาดได้ดังนี้
ตลาดอินโดนีเซีย
ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสในการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องสำอางและสบู่ ซึ่งในกรณีของผลิตภัณฑ์ยางนั้นอินโดนีเซียมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แม้ว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ผลิตยางพารารายสำคัญและมีวัตถุดิบยางพาราจำนวนมากก็ตาม แต่เทคโนโลยีในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางประเภทต่างๆ ยังไม่สามารถเทียบชั้นกับไทยได้ ทำให้ผลิตภัณฑ์ยางของไทยมีโอกาสขยายตลาดในอินโดนีเซีย ประเทศไทยจึงควรรุกตลาดเพื่อใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบข้อตกลงให้เต็มประสิทธิภาพสำหรับเฟอร์นิเจอร์และเครื่องปรับอากาศ ความต้องการในอินโดนีเซียก็มีมากตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัว โดยเฟอร์นิเจอร์ที่มีโอกาสทำตลาดในอินโดนีเซียเป็นสินค้าระดับกลางถึงบนซึ่งไทยได้เปรียบด้านคุณภาพเหนือคู่แข่งอย่างจีนและเวียดนามที่เน้นสินค้าราคาถูก ส่วนเครื่องปรับอากาศไทยได้เปรียบตรงที่อินโดนีเซียเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากคู่แข่งสำคัญของไทยทั้งจีนและเกาหลีใต้ สูงกว่าที่เรียกเก็บจากไทย ทั้งที่จีนเองก็ได้ประโยชน์จากข้อตกลงอาเซียน-จีน ซึ่งต้องลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันลงด้วยเช่นกัน แต่เครื่องปรับอากาศจากจีนยังถูกอินโดนีเซียเรียกเก็บภาษีสูงกว่าไทย
ตลาดมาเลเซีย
เฟอร์นิเจอร์และเครื่องปรับอากาศก็มีโอกาสดีด้วยเหตุผลเดียวกับในอินโดนีเซีย คือ สินค้าไทยมีคุณภาพดีเหนือคู่แข่งเช่นจีนและเวียดนาม และไทยได้เปรียบด้านภาษีเหนือคู่แข่งอย่างจีนและเกาหลีใต้ในกรณีเครืองปรับอากาศนอกจากนี้ยังมีสินค้าอื่นที่ไทยมีโอกาสขยายตลาดในมาเลเซีย คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ตลาดฟิลิปปินส์
เส้นใยประดิษฐ์เป็นที่ต้องการมากในฟิลิปปินส์ ขณะที่ไทยได้เปรียบด้านภาษีเหนือประเทศคู่แข่งนอกกลุ่มอาเซียน เช่น จีน เกาหลีใต้ และอินเดีย ส่วนคู่แข่งในอาเซียนด้วยกันเองไทยมีศักยภาพการผลิตที่เหนือกว่า สินค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่มีโอกาสดีในฟิลิปปินส์ คือ ปูนซีเมนต์ เนื่องจากความต้องการมีมากตามการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ ขณะที่การผลิตในฟิลิปปินส์ยังมีไม่เพียงพอและต้นทุนสูง ซึ่งไทยได้ประโยชน์ เนื่องจากศักยภาพการผลิตอยู่ในระดับสูงและได้ประโยชน์ด้านภาษี ประกอบกับมีผู้ประกอบการเอกชนไทยเข้าไปดำเนินธุรกิจก่อสร้างในฟิลิปปินส์หลายราย จึงหันมานำเข้าปูนซีเมนต์จากไทยเป็นจำนวนมาก
ตลาดเวียดนาม
สินค้าไทยที่มีโอกาสดี ได้แก่ น้ำตาลทราย เนื่องจากเวียดนามผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ และไทยได้เปรียบด้านระยะทางขนส่งและภาษีเมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญอย่างบราซิล อินเดีย และสหภาพยุโรป ส่วนผลิตภัณฑ์ยางเศรษฐกิจทีขยายตัวอย่างร้อนแรง นอกจากทำให้เวียดนามมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ยางมากจนผลิตได้ไม่พอใช้ในประเทศแล้วศักยภาพในการแปรรูปยางพาราของเวียดนามก็ยังไม่ดีนักเมือเทียบกับไทย สำหรับผลไม้ เทคโนโลยีและองค์ความรู้ในการเพาะปลูกแปรรูป และเก็บรักษาผลไม้ของเวียดนามยังล้าหลัง ทำให้เวียดนามต้องพึงพาผลไม้นำเข้าจากไทย เช่น ลำไย มังคุด และมะขามขณะที่เฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้าอีกรายการหนึ่งที่ขยายตัวดีในเวียดนาม เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์เติบโตมากอย่างเห็นได้ชัด
อย่างไรก็ตามโอกาสอาจจำกัดอยู่ในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ระดับกลางถึงบนซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับที่เวียดนามมีความเชียวชาญ นอกจากนี้ เครื่องปรับอากาศ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ สินค้าไทยล้วนมีโอกาสส่งออกไปเวียดนาม เนื่องจากศักยภาพการผลิตของไทยอยู่ในระดับสูง และไทยได้เปรียบด้านภาษีเหนือคู่แข่งนอกกลุ่มอาเซียน ขณะที่คู่แข่งในอาเซียนด้วยกัน เช่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สินค้าไทยได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งทีใกล้กับเวียดนามมากกว่า
ตลาดกัมพูชาและสปป.ลาว
ปัจจุบันยังลดภาษีไม่มากนัก ทำให้อัตราการใช้สิทธิ์ด้านภาษีของผู้ส่งออกไทยยังอยู่ในระดับตำอย่างไรก็ตาม สินค้าทีมีโอกาสส่งออกไปกัมพูชา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เนืองจากกัมพูชายังผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการและศักยภาพในการแปรรูปยางพารายังอยู่ในระดับตำ นอกจากนี> อาหารสัตว์ ก็มีโอกาสดี เพราะกัมพูชาหันมาเลี้ยงสัตว์มากขึ้น เพื่อป้อนความต้องการในประเทศทดแทนการนำเข้า ทำให้มีความต้องการอาหารสัตว์มากขึ้น และในปี 2553 กัมพูชาจะลดภาษีนำเข้าอาหารสัตว์เพิ่มเติมหลายรายการ สำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติกและเคมีภัณฑ์ก็เป็นสินค้าอีกหมวดหนึ่งที่มีโอกาสสูงในการส่งออกไปกัมพูชา เพราะกัมพูชายังไม่มีอุตสาหกรรมต้นน้ำจำพวกปิโตรเคมี ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ และจะมีการลดภาษีในหมวดนี้เพิ่มเติมอีกหลายรายการในปี 2553 ขณะที่การส่งออกไป สปป.ลาว สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เครื่องดื่ม รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ล้วนมีโอกาสขยายตลาดใน สปป.ลาว ขณะเดี่ยวกันในปี 2553 สปป.ลาว มีการลดภาษีสินค้าเหล่านี้เพิ่มเติมหลายรายการ
เป็นที่นสังเกตว่า สินค้าที่ไทยได้เปรียบและมีโอกาสขยายตลาดได้มากมักเป็นสินค้าที่ไทยมีคู่แข่งอยู่นอกอาเซียน ทำให้สินค้าไทยได้เปรียบด้านอัตราภาษี ขณะที่หากเป็นคู่แข่งในอาเซียน สินค้าไทยเองมักได้เปรียบด้านเทคโนโลยีการผลิต/คุณภาพสินค้าที่สงกว่าเป็นสำคัญ
สินค้าที่ไทยได้เปรียบ..เร่งรุกตลาด ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงให้เต็มที่ ตลาดส่งออก สินค้าทีไทยได้เปรียบ อินโดนีเซีย ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง เฟอร์นิเจอร์และชิน> ส่วน เครืองปรับอากาศ เครืองสำอางและสบู่ มาเลเซีย เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครืองปรับอากาศ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ฟิลิปปินส์ อาหารสัตว์เลี้ยงเส้นใยประดิษฐ์ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ บรูไน ผลิตภัณฑ์ยาง สิงคโปร์ เครื่องดืม เวียดนาม ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ปูนซีเมนต์ กัมพูชา ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารสัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ สปป.ลาว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เครืองดืม รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ที่มา : ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพือ การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
สินค้าที่ไทยต้องปรับตัว..เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเน้นแข่งขันด้านคุณภาพ ตลาดส่งออก สินค้าทีต้องปรับตัว อินโดนีเซีย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก มาเลเซีย หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด วงจรพิมพ์ ฟิลิปปินส์ ยางพารา เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เวียดนาม ยางพารา อาหารสัตว์เลีย> ง กัมพูชา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด ผ้าผืน สปป.ลาว หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เครืองรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง
อาเซียน...กดดันให้สินค้าไทยบางรายการต้องเร่งปรับตัว
ขณะที่สินค้าไทยจำนวนไม่น้อยมีโอกาสสร้างความได้ปรียบจากการเปิดเสรี แต่ในเวลาเดียวกันก็มีสินค้าอีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบทางลบจากการเปิดเสรีทางการค้าอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งมีทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม โดยในกรณีสินค้าไทยทีเสียเปรียบการแข่งขันในตลาดอินโดนีเซีย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ส่วนแบ่งตลาดของไทยลดลง เพราะอินโดนีเซียนำเข้าจากประเทศอื่นมากขึ้น เช่น สิงคโปร์ มาเลเซียและจีน) เม็ดพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติก (ส่วนแบ่งตลาดของไทยลดลง การแข่งขันรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะจากคู่แข่งสำคัญอย่างจีน มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม) ส่วนในตลาดมาเลเซีย ได้แก่หนังและผลิตภัณฑ์หนัง (ไทยเริ่มสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้เวียดนาม) วงจรพิมพ์ เป็นต้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า สินค้าในกลุ่มดังกล่าวจะอยู่รอดได้จำเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยในกรณีสินค้าเกษตร แนวทางการปรับตัวที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ซึงอาจทำได้โดยการปรับปรุงพันธุ์การบำรุงดิน การปรับปรุงระบบชลประทาน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีการผลิตเข้ามาช่วยในการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว ขณะที่บางสินค้าควรหันไปแปรรูปเพื่อเพิ่ม มูลค่าแทนการส่งออกเป็นวัตถุดิบขั้นต้น ส่วนแนวทางในการปรับตัวของสินค้าอุตสาหกรรมได้แก่ การหันมาแข่งขันด้านคุณภาพแทนการแข่งขันด้านราคา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ซึ่งต้องสอดคล้องไปกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามโครงสร้างประชากร รายได้ และการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่างๆ ทางสังคม เป็นต้น
จากตลาดอาเซียนขยายวงกว้างมุ่งเป้าสู่อาเซียน+6
ปัจจุบันอาเซียนซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีประชากรราว 580 ล้านคน และมี GDP คิดเป็น 2.6% ของ GDP โลก ถือเป็นตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยตลอดระยะเวลาหลายปีทีผ่านมา ทั้งนี้ ในปี 2552 ไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดอาเซียนสูงที่สุดราว 22%ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด และมีสัดส่วนการนำเข้าจากอาเซียนราว 19% ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด เป็นรองแค่ญี่ปุ่น บทบาทของตลาดอาเซียนต่อเศรษฐกิจไทยที่ทวีความสำคัญมากขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนที่ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นเวลากว่า 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2510 ซึ่งในระยะแรกกรอบความร่วมมือเป็นไปอย่างหลวมๆ จนกระทั้ง ในปี 2536ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ทำข้อตกลงที่จะลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันภายใต้ AFTA อีกทั้งยังได้มีเป้าหมายร่วมกันที่จะพัฒนาไปสู่ AEC โดยมีจุดมุ่งหมายให้ประเทศอาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base)ดังรายละเอียดทีได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ขณะเดียวกัน อาเซียนก็ได้ขยายความร่วมมือออกไปสู่ประเทศนอกกลุ่มอีก 6 ประเทศ ได้แก่ญีปุ่น จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย โดยปัจจุบันอาเซียนได้มีข้อตกลงการเปิดเสรี (FTA) ทั้ง การค้าสินค้า บริการการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ กับ 6 ประเทศข้างต้น ซึ่งข้อตกลงทั้ง 6 ฉบับมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเฉพาะ ในส่วนของการเปิดเสรีการค้าสินค้า แต่ในส่วนของการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุนนั้นยังอยู่ระหว่างการเจรจาในรายละเอียด นอกจากนี้ ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะจัดตั่ง เขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area : EAFTA) หรืออาเซียน+3 และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับอีก 6 ประเทศ (Comprehensive Economic Partnership in East Asia : CEPEA) หรืออาเซียน+6 (ญีปุ่น จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียนกับอีก 6 ประเทศในรูปแบบพหุภาคี ที่จะครอบคลุมทั้ง การเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุนรวมทั้งความร่วมมือด้านพลังงาน สิงแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศและการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน ซึ่งสถานะล่าสุดของความตกลงทั้ง สองมีความชัดเจนมากขึ้น เป็นลำดับ โดยในส่วนของ CEPEA คณะผู้เชียวชาญฯ ได้สรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้และนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้ง ที่ 41 ณ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 13-16 สิงหาคม 2552 เป็นที่เรียบร้อย ขณะที่ในส่วนของความตกลง EAFTA คณะผู้เชียวชาญฯ อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้เพิ่มเติมและจะเสนอให้เริ่มมีการเจรจาจัดทำความตกลง EAFTA อย่างช้าสุดภายในปี พ.ศ. 2555
เป็นทีน่าสังเกตว่า ตลาดการค้าระหว่างประเทศของไทยภายใต้ความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มจะขยายวงกว้างขึ้น จากเดิมที่จำกัดอยู่เพียงประเทศในอาเซียนทีมีประชากรเพียง 8.6% ของประชากรโลกไปสู่ตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรราวครึ่งหนึ่งของประชากรโลก นั้น หมายความว่าผู้ประกอบการจะมีโอกาสมากขึ้นในการขยายการค้าการลงทุน ตลอดจนความร่วมมือต่างๆ ผ่านช่องทางที่เปิดกว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม พร้อมไปกับโอกาส ย่อมมีความท้าทายตามมาจากการที่คู่แข่งทั้ง ประเทศในอาเซียนเองและประเทศนอกกลุ่มที่มีข้อตกลงก็จะสามารถขยายตลาดส่งออกได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้ประกอบการไทยควรเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อใช้โอกาสจากความร่วมมือ ควบคู่ไปกับการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมและการแข่งขันในตลาดการค้าโลกที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้นทุกขณะ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2553--