ข้อมูลที่น่าสนใจ
จำนวนผู้บริโภค : 87 ล้านคน รายได้เฉลี่ยต่อหัว : 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
ปริมาณนำเข้าน้ำตาลทราย : 1-3 แสนตันต่อปี
ทำไมตลาดเวียดนามจึงน่าสนใจ
- GDP ของเวียดนามที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7.3 ต่อปี ในช่วงปี 2548-2552 และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 ในปี 2553 รวมทั้งจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการบริโภคน้ำตาลทรายของเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
- ปริมาณการบริโภคน้ำตาลทรายของเวียดนามอยู่ในระดับต่ำเพียง 12-13 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ขณะที่ไทยอยู่ที่ 31 กิโลกรัมต่อคนต่อปี เวียดนามจึงน่าจะมีความต้องการน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต
- ปัจจุบันเวียดนามจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำตาลทรายปีละ 1-3 แสนตัน
ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค...เวียดนามจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำตาลทราย
การผลิต
ผลผลิตน้ำตาลทรายของเวียดนามในแต่ละปีค่อนข้างผันผวนเนื่องจากพื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก อีกทั้ง ในบางปีเกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าอาทิ ข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา ทั้งนี้พื้ที่เพาะปลูกอ้อยในเวียดนามในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเหลือเพียง 271,100 เฮกตาร์ ในปีการผลิต 2551/52 (จาก 302,300 เฮกตาร์ในปีการผลิต 2542/43) และคาดว่าพื้นที่จะลดลงอีก 36,000 เฮกตาร์ในปีการผลิต 2552/53
Vietnam Sugar and Cane Association คาดว่าในปีการผลิต 2552/53 เวียดนามจะมีปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายเพียง 984,000 ตัน ใกล้เคียงกับผลผลิตในปีการผลิตก่อนหน้า
การบริโภค
ความต้องการบริโภคน้ำตาลทรายของเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีความต้องการจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ทั้งนี้ Vietnam Sugar and Cane Association คาดว่าในปีการผลิต 2552/53 เวียดนามจะมีความต้องการบริโภค น้ำตาลทรายสูงถึง 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากปีการผลิตก่อนหน้า Business Monitor International คาดว่าในช่วงปี 2552 — 2556 อุตสาหกรรมอาหารกระป๋องและอุตสาหกรรมขนมหวานในเวียดนามจะขยายตัวร้อยละ 8.1 และร้อยละ 7.7 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังคาดว่าอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม โดยเฉพาะน้ำอัดลม มีแนวโน้มขยายตัวสูง เนื่องจากได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ในเวียดนาม อีกทั้งราคาไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ อาทิ เครื่องดื่มชูกำลังและน้ำผลไม้ทำให้ความต้องการน้ำตาลทรายในเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ไทยสามารถผลิตได้ทั้งน้ำตาลทรายดิบน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ สอดคล้องกับความต้องการนำเข้าของเวียดนาม ทั้งนี้เวียดนามนำเข้าน้ำตาลทรายดิบ (Raw Sugar) ราวร้อยละ 40 ของปริมาณนำเข้าน้ำตาลทรายทั้งหมด ขณะที่อีกร้อยละ 60 เป็นการนำเข้าน้ำตาลทรายขาว(White Sugar) และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์(Refined Sugar)ทำเลที่ตัง ของไทยอยู่ใกล้เวียดนาม ส่งผลให้ไทยได้เปรียบประเทศ คู่แข่งอื่นด้านต้นทุนค่าขนส่งรัฐบาลเวียดนามประกาศเพิ่มโควตาการนำเข้าน้ำตาลทรายเป็น 200,000 ตันในปี 2553 ในจำนวนดังกล่าวเป็นน.ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 150,000 ตัน และน้ำตาลทรายดิบ 50,000 ตัน (จากโควตาน้ำเข้าที่ผูกพันกับ WTO ซึ่งกำหนดไว้ที่ 64,000 ตันในปี 2553)
ไทยได้ประโยชน์จากอัตราภาษีนำ เข้าน้ำตาลทรายที่ลดลงตามข้อตกลง AFTA โดยเกือบทุกหมวดย่อยได้ปรับลดภาษีลงเหลือ ร้อยละ 5 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งต่ำกว่าที่เวียดนามเรียกเก็บจากประเทศคู่แข่งอื่นที่มิใช่ประเทศสมาชิกอาเซียน อาทิ อินเดีย และจีน
โครงสร้างตลาดน้ำตาลทรายในเวียดนาม
- ร้อยละ 73 ของปริมาณการบริโภคน้ำตาลทรายทั้งหมดเป็นการใช้ในอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมขนมหวานและอุตสาหกรรมยา ขณะที่อีกร้อยละ 27 เป็นการบริโภคในครัวเรือน
- ผู้ใช้หลักของน้ำตาลทรายแต่ละประเภท
- น้ำตาลทรายดิบ: ผู้ใช้หลัก คือ โรงงานน้ำตาลทราย (เพื่อนำน้ำตาลทรายดิบมาละลายและแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์
- น้ำตาลทรายขาวและทรายขาวบริสุทธิ์ ผู้ใช้หลัก คือ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งผู้บริโภคในประเทศ
ราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายในเวียดนามปรับขึ้นลงตามกลไกตลาดทั้งนี้ ในภาวะที่ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกปรับสูงขึ้นมากในช่วงต้นปี 2553 ส่งผลให้ราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายในเวียดนามปรับสูงขึ้น ไปเป็น 25,000 ด่องต่อกิโลกรัม ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ที่ 15,000 ด่องต่อกิโลกรัม เมื่อราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงเดือนเมษายน 2553
การแข่งขันของตลาดน้ำตาลทรายในเวียดนาม: อยู่ที่น้ำตาลทรายขาวและทรายขาวบริสุทธิ์เป็นหลัก
คู่แข่งสำคัญในตลาดนตาลทรายเวียดนาม
- ผู้ผลิตน้ำตาลทรายในเวียดนาม ปัจจุบันเวียดนามยังต้องพึงพาการนำเข้าน.ำตาลทรายราวร้อยละ 10 ของปริมาณความต้องการ
อย่างไรก็ตาม ผลผลิตน้ำตาลทรายของเวียดนามในระยะข้างหน้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากรัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตน้ำตาลทรายให้ได้ 2 ล้านตันภายในปี 2563 เพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภค อีกทั้งการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานน้ำตาลทรายของนักลงทุนต่างชาติ อาทิ อังกฤษ อินเดีย และไต้หวัน รวมถึงนักลงทุนไทย อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำตาลทรายของไทยไปเวียดนามในระยะข้างหน้า
ประเทศคู่แข่งในการส่งออก
- ตลาดน้ำตาลทรายดิบ ไทยครองส่วนแบ่งตลาดน้ำตาลทรายดิบนำเข้าเกือบทั้งหมดในเวียดนาม
- ตลาดน้ำตาลทรายขาวและทรายขาวบริสุทธิ์คู่แข่งในการส่งออกน้ำตาลทรายขาวและทรายขาวบริสุทธิ์ของไทย คือ จีน และอินเดีย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองประเทศจะส่งออกเฉพาะในปีที่ผลผลิตในประเทศมีมากเกินความต้องการบริโภคในประเทศเท่านั้น
กฎระเบียบการนำเข้าน้ำตาลทราย
มาตรการที่มิใช่ภาษี
เวียดนามมีการกำหนดโควตานำเข้าน้ำตาลทรายทุกประเภทตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิก WTO โดยในปี 2550 เวียดนามกำหนดโควตานำเข้าน้ำตาลทรายทั้งหมดเริ่มต้นไว้ที่ 55,000 ตัน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี
อัตราภาษีนำเข้าน้ำตาลทรายของเวียดนาม
ประเภทน้ำตาลทราย ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศที่มิใช่สมาชิกอาเซียน ในโควตา นอกโควตา ในโควตา นอกโควตา น้ำตาลทรายดิบ 5% 80-100% 25% 80-100% น้ำตาลทรายขาวและทรายขาวบริสุทธิ์ทำจากอ้อย 5% 80-100% 60% 80-100% น้ำตาลทรายขาวและทรายขาวบริสุทธิ์ทำจากหัวบีท 5% 80-100% 50% 80-100% ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แม้เวียดนามจะมีความพยายามในการปกป้องอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายในประเทศด้วยการกำหนดโควตานำเข้า อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวได้ผลไม่มากนัก เนื่องจากผู้ผลิตน้ำตาลทรายในประเทศยังไม่สามารถผลิตน้ำตาลทรายได้เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในบางปี เช่น ในปี 2553 เวียดนามต้องขยายโควตานำเข้าน้ำตาลทรายเพื่อให้มีน้ำตาลทรายเพียงพอใช้ในประเทศ
ตลาดน้ำตาลทรายในเวียดนามเป็นตลาดที่ผู้ส่งออกไทยยังมีโอกาสขยายการส่งออกในระยะข้างหน้า จากปัจจุบันที่ไทยส่งออกน้ำตาลทรายไปเวียดนามในสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 ของปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายทั้งหมดของไทย โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนจากความต้องการบริโภคน้ำตาลทรายในเวียดนามที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ่นอีกมาก โดยเมื่อเทียบกับการบริโภคน้ำตาลทรายของไทย เวียดนามจะต้องการน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นอีกเกือบร้อยละ 80 อีกทั้งปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายในประเทศที่ค่อนข้างผันผวนและไม่เพียงพอต่อการบริโภคจนทำให้ในบางปีเวียดนามต้องขยายโควตานำเข้าน้ำตาลทราย อันเนื่องจากการเพาะปลูกอ้อยพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลักและพื่นที่เพาะปลูกอ้อยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อประกอบกับทำเลที่ตั้งของไทยที่อยู่ใกล้เวียดนามและการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าน้ำตาลทรายที่เรียกเก็บจากไทยตามข้อตกลง AFTA ยิ่งเอื้อให้ผู้ส่งออกไทยได้เปรียบประเทศคู่แข่งอื่นอย่างชัดเจนที่เดียว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2553--