โดย ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553 เป็นต้นมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจากระดับ 32.214 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2553 มาอยู่ที่ระดับ 30.748 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2553 หรือแข็งค่าขึ้นราว 4.8% ภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือนเศษ หรือหากย้อนไปตั้งแต่ต้นปี 2553 พบว่าเงินบาทแข็งค่า ขึ้นมาแล้วกว่า 8.0%
ทั้งนี้ หากพิจารณาการแข็งค่าของเงินบาทเปรียบเทียบกับการแข็งค่าของสกุลเงินคู่แข่งสำคัญทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชียตั้งแต่ต้นปี 2553 พบว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าคู่แข่งอื่นๆ ยกเว้นมาเลเซียที่ค่าเงินแข็งขึ้นกว่าไทย
การแข็งค่าของเงินสกุลคู่แข่งสำคัญของไทยนับตั้งแต่ต้นปี 2553
ประเทศคู่แข่ง% ค่าเงิน(เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ) สินค้าส่งออกที่เป็นคู่แข่งกับไทย
มาเลเซีย +10.4 ถุงมือยาง ไทย +8.2 ฟิลิปปินส์ +5.4 ทูน่ากระป๋อง อินโดนีเซีย +4.5 ทูน่ากระป๋อง กระดาษ ยางแปรรูปขั้นต้น กุ้ง ออสเตรเลีย +4.1 น้ำตาลทราย บราซิล +1.3 น้ำตาลทราย ไก่แปรรูป จีน +1.0 กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป กระดาษ ยางรถยนต์ อัญมณีและ
เครื่องประดับผลิตภัณฑ์พลาสติกรองเท้า ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น
เฟอร์นิเจอร์ไม้
เกาหลีใต้ +0.5 ยางรถยนต์ ผ้าผืน ตู้เย็น อินเดีย +0.5 ข้าว ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป เอกวาดอร์ 0 ทูน่ากระป๋อง กุ้ง เวียดนาม -5.1 รองเท้า ยางแปรรูปขั้นต้น เสื้อผ้าสำเร็จรูป ข้าว เฟอร์นิเจอร์ไม้ ยูโรโซน -10.2 ทูน่ากระป๋อง อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์พลาสติก แป้งแปรรูป
เฟอร์นิเจอร์ไม้
เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเร็วกว่าค่าเงินสกุลคู่แข่งสำคัญหลายประเทศเป็นสัญญาณอันตรายว่า สินค้าส่งออกของไทยหลายรายการอาจเริ่มเสีย เปรียบคู่แข่งด้านราคา โดยเฉพาะสินค้าที่ไทยเป็นคู่แข่งกับบราซิล จีน เกาหลีใต้ นเดีย เอกวาดอร์ เวียดนาม รวมถึงยูโรโซน อาทิ ข้าว น้ำตาล ทราย กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป ทูน่ากระป๋อง กระดาษผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้า ผ้าผืน เป็นต้น เนื่องจากสกุลเงินของประเทศเหล่านั้นแข็งค่า น้อย/อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
การแข็งค่าของเงินบาทนอกจากจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้ว ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ผลประกอบการของผู้ส่งออก ทั้งนี้ โดยทั่วไปการแข็งค่าของเงินบาทจะส่งผลกระทบผ่านไปยังรายได้และต้นทุนของผู้ประกอบการ ดังนี้
ผลกระทบด้านรายได้ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลให้รายได้ของผู้ประกอบการเมื่อแปลงเป็นเงินบาทลดลงดังนั้น ผู้ประกอบการที่เน้นตลาด ส่งออกเป็นหลักหรือมีรายได้ส่วนใหญ่ในรูปเงินตราต่างประเทศจะได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าค่อนข้างมาก ตรงข้ามกับผู้ประกอบการที่เน้น จำหน่ายในประเทศจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
ผลกระทบด้านต้นทุน เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าถูกลง (Import Content) ดังนั้นผู้ประกอบการที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า มากก็จะได้รับประโยชน์จากการที่ต้นทุนดังกล่าวลดลงเป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อพิจารณาสัดส่วนการส่งออกต่อผลผลิตควบคู่ไปกับสัดส่วนการใช้วัตถุดิบนำเข้า ของแต่ละอุตสาหกรรมพบว่า ผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าที่มีต่อผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรมแตกต่างกัน ดังนี้
อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ข้าว กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป น้ำตาลทราย แป้งแปรรูปยางแปรรูปขั้นต้น ถุงมือยาง เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์ไม้ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากทำให้รายได้ของผู้ประกอบการลดลงมากเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมดังกล่าวยังเน้นใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลักจึงไม่ได้ประโยชน์จากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงตามเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบปานกลาง ได้แก่ ผลไม้ เครื่องดื่ม ทูน่ากระป๋อง ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผ้าผืนยางรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกต่อผลผลิตรวมใกล้เคียงกับสัดส่วนการใช้วัตถุดิบ นำเข้า ทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวมีการป้องกันความเสี่ยงแบบธรรมชาติ (Natural Hedge) จากความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยนอยู่พอสมควร
อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก ได้แก่ กระดาษ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบนำเข้ามากซึ่งจะได้ประโยชน์จากการที่ต้น ทุนถูกลง ขณะเดียวกันก็เน้นจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก ทำให้รายได้ไม่ถูกกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทมากนัก
ปัจจุบันเริ่มมีเสียงสะท้อนจากผู้ส่งออกในหลายอุตสาหกรรมซึ่งได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแข็งค่าของเงินบาทในรอบนี้ ซึ่งหากเงินบาท ยังแข็งค่าอย่างรวดเร็วเกินไปจนผู้ส่งออกไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อลดต้นทุนหรือการปรับขึ้น ราคาขาย ผลกระทบก็อาจขยายวงกว้างออกไปมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีอัตราผลกำไร (Margin) ไม่มากนัก ทั้ง นี้ จากการศึกษาของฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM BANK ภายใต้สมมติฐานที่ว่าผู้ส่งออกมี Margin อยู่ที่ 5% พบว่า หากอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าอย่างรวดเร็ว จนแตะระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอาจทำให้ผู้ส่งออกในหลายอุตสาหกรรมไม่สามารถส่งออกต่อไปได้ ดังนี้
เป็นที่น่าสังเกตว่า หากเงินบาทยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในระยะสั้นการปรับตัวด้านต่างๆ ของผู้ประกอบการยังมีข้อจำกัด ไม่ว่า จะในเรื่องการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มราคาขายหรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุน แน่นอนว่าภาคส่งออกจะได้รับผลกระทบมาก และ นับเป็นการสูญเสียโอกาสขณะที่ตลาดส่งออกขยายตัวดี เงินบาทแข็งค่าจึงเป็นเสมือนลูกตุ้มถ่วงการขยายตัวของภาคส่งออก และหากสถานการณ์ยังคงยืด เยื้อ แรงขับเคลื่อนจากภาคส่งออกซึ่งเป็นความหวังสำคัญของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอาจต้องสะดุดลง ท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM BANK
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 2114
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2553--