ชิลี และเขตพื้นที่ดูแลของ สคร. ณ กรุงซานติอาโก ได้แก่ เปรู โคลัมเบีย และเอกวาดอร์
1. ภาวะการค้ากับประเทศไทย
1.1 ในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 การส่งออกจากไทยไปตลาดชิลี โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู โดยรวมมีมูลค่า 537.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 100.34 ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มที่สูงกว่าสภาวะการณ์การส่งออกของไทยไปกลุ่มประเทศดังกล่าวในเดือนมกราคม-เมษายน 2553 ซึ่งมีมูลค่า 411.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 87.26
1.2 ตลาดที่สถานะการณ์การส่งออกของไทยในช่วงมกราคม-พฤษภาคม 2553 มีอัตราเพิ่มที่สูงขึ้นกว่าอัตราเพิ่มในช่วงมกราคม- เมษายน 2553ได้แก่
- โคลัมเบีย มูลค่าการส่งออก 129.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 40.74 (มกราคม-เมษายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.34) สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมากคือ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.47 เครื่องซักผ้า ร้อยละ 12.30 ผลิตภัณฑ์ยางร้อยละ 51.37 เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบเพิ่มขึ้นร้อยละ 221.62 สินค้าที่ไทยส่งออกไปตลาดนี้ได้ลดลง ได้แก่ เครื่องจักรกลลดลงร้อยละ -31.29 ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ร้อยละ -28.97 รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ —66.47 ผลิตภัณฑ์พลาสติก ลดลงร้อยละ -5.20 ผ้าผืนลดลงร้อยละ -38.02 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ ลดลงร้อยละ -38.02
- เปรู มูลค่าการส่งออก 107.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 202.67 (เดือนมกราคม — เมษายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 165.68) สินค้าที่ไทยส่งออกเพิ่มขึ้นมากได้แก่ รถยนต์ เพิ่มร้อยละ 426.67 เครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.60 ตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.52 ผลิตภัณฑ์ยางร้อยละ 92.60 เม็ดพลาสติกร้อยละ 186 ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 554.60 เครื่องยนต์สันดาปภายในเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,933.89 เครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นร้อยละ 198.04 สินค้าที่ส่งออกได้ลดลง ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟลดลงร้อยละ -24.62 หลอดไฟฟ้า ลดลงร้อยละ -27.32
- เอกวาดอร์ มูลค่าการส่งออก 109.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 15.93 (มกราคม —เมษายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.79) สินค้าที่ไทยส่งออกไปตลาดนี้เพิ่มขึ้น ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.19 เครื่องยนต์สันดาปภายในเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.62 เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนร้อยละ 17.06 ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.03 สินค้าที่ส่งออกได้ลดลง ได้แก่ เครื่องจักรกลลดลงร้อยละ —27 ผลิตภัณฑ์ยางลดลงร้อยละ —8.47 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ลดลงร้อยละ —10.44 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆลดลงร้อยละ —11.69
- ชิลี มูลค่าการส่งออก 190.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 313.64 (มกราคม - เมษายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 322.19) สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมากคือ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,720.95 เครื่องซักผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.94 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.80 ปูนซีเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.58 ผลิตภัณฑ์พลาสติกร้อยละ 113.34 เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,566.80 ผลิตภัณฑ์ยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.97 ยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 580.64 ตู้เย็นตู้แช่แข็งและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,060.12 สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องจักรกล ลดลงร้อยละ —0.62 ผลไม้กระป๋องและแปรรูปลดลงร้อยละ —10.80 เสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ -31.44 เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ลดลงร้อยละ —71.61 เม็ดพลาสติกลดลงร้อยละ —14.56
2. ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
2.1 ภาวะการนำเข้าจากประเทศไทยในช่วงระยะเวลา 5 เดือนแรกของปีนี้ เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลา 4 เดือนแรกของปีนี้ โดยรวม 4 ตลาด มีอัตราเพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่สูงขึ้น โดยมีสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์ และชิ้นส่วน เป็นตัวแปรที่สำคัญ เพราะเป็นสินค้าที่นำเข้ามากเป็นอันดับหนึ่งในทุกตลาดและมีอัตราขยายตัวจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนในทุกตลาด ทั้งนี้ ภาวะการนำเข้ารถยนต์โดยเฉพาะรถกระบะจากไทยสูงขึ้นมาก และตลาดชิลีเริ่มมีการนำเข้ารถยนต์นั่งบุคคลจากไทย (ฮอนด้า) ซึ่งเดิมยังไม่มีการนำเข้ามากนัก โดยคาดว่าจะยังคงนำเข้าในอัตราที่สูงอยู่อีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ภาวะการนำเข้าจากไทยโดยรวมเพิ่มขึ้น (เริ่มมีการ Order สินค้ารถยนต์กระบะจากไทยในปลายส.ค. 52 เมื่อสต๊อคเริ่มงวดลงมาก ผลิตเสร็จและเริ่มส่งออกสินค้า Shipment ใหม่ไปตลาดในช่วง ธ.ค. 52 ถึงต้นปี 2553 และยังส่งออกมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน) ในส่วนของสินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ สคร. ได้มีโอกาสสอบถามความเห็นของผู้นำเข้าชิลีและผู้ส่งออกไทยบางราย เห็นว่าตลาดในปีนี้จะยังคงดีต่อไป
2.2 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีผลในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของชิลีและมีผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าจากไทยได้แก่
2.1.1 ประธานาธิบดีชิลีประกาศในที่ประชุมประชาคมนักในชิลีธุรกิจเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553 ว่ารัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือธุรกิจขนาดย่อมโดยจัดความสำคัญไว้เป็นลำดับหนึ่ง และจะลดขึ้นตอนการทำงานของรัฐที่เป็นอุปสรรคต่อความเจริญเติบโตของธุรกิจ และจัดโครงการและสิ่งจูงใจต่างๆในการสนับสนุนการประกอบการทางธุรกิจ
2.1.2 ธนาคารกลางชิลีแถลงว่าอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของชีลีในเดือนพฤษภาคม 2553 สูงถึงร้อยละ 7.1 โดยสาขาที่มีความเจริญเติบโตมาก ได้แก่ สาขาการพาณิชย์ การสาธารณูปโภคไฟฟ้า แก๊ส ประปา การขนส่ง และโทรคมนาคม โดยสาขาหลักของความเจริญเติบโตคือ สาขาการพาณิชย์ โดยมีรถยนต์ สินค้าอุปโภคที่ใช้คงทน และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ประเภทโทรทัศน์แบบ High Definition ที่เตรียมไว้ชมการแข่งขันฟุตบอลโลก อย่างไรก็ดี หลังจบการแข่งขันฟุตบอลโลกแล้ว สินค้าโทรทัศน์คงจะไม่สามารถจำหน่ายได้ดีเช่นนี้ในเดือนต่อไป ทั้งนี้ ในปี 2010 ประธานาธิบดีชิลีประกาศตั้งเป้าหมายที่จะให้เศรษฐกิจของชิลีขยายตัวร้อยละ 6 และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง ทั้งนี้ ผลจากความเจริญเติบโตดังกล่าว ธนาคารกลางชิลีมีดำริจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 1.5 ในเดือนกรกฎาคม 2553 เพื่อลดแรงกดดันในเรื่องภาวะเงินเฟ้อ โดยผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจหลายรายพยากรณ์ว่าถึง ณ สิ้นปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวคงจะต้องปรับตัวสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2.75 -3
2.1.3 ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2553 Enrigue Iglesias, Secretary General ของ Ibero-America ซึ่งเป็นอดีตประธาน IDB (Inter American Development Bank) เตือนว่า การจะพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังมีอยู่ในปัจจุบันจะล่าช้ากว่าที่คาดการณ์กันไว้ โดยในระยะยาวจะนำมาซึ่งการกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลกใหม่ และจะเปิดโอกาสให้เกิดมีกลุ่มเศรษฐกิจและสังคมใหม่ๆ และเครือข่ายใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยวิกฤติในครั้งนี้อยู่ลึกและเป็นเรื่องที่อยู่เหนือคำทำนายมากที่สุด โดยไม่มีใครจะคาดการณ์ได้ถึงความรุนแรงหรือปฏิกิริยาระหว่างประเทศที่มันจะก่อให้เกิดมีขึ้น โดยกลุ่มประเทศยุโรปจะประสบความยากลำบากอย่างยิ่งในการจัดการแก้ปัญหาโดยสามารถที่จะคงสภาพความเป็นรัฐสวัสดิการไว้ได้ และได้พยากรณ์ว่ากลุ่มสังคมหรือประเทศที่ปรากฏมีบทบาทใหม่ในโลกจะมีบทบาทต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ โดย Enrigue Iglesias ได้ยกยอว่าสิ่งที่เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ไม่มีการคาดคิดมาก่อนคือ ภูมิภาคละตินอเมริกาและเอเซียจะเป็นผู้นำในการฟื้นฟูโลกในครั้งนี้
2.1.4 ผลการสำรวจตลาดของบริษัท Nielson ที่มีต่อสินค้าอุปโภคบริโภค 17 กลุ่มสินค้าในชิลี เมื่อเร็วๆนี้พบว่า ภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดชิลีขยายตัวถึงร้อยละ 18 และคาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2010 ยอดขายดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 โดยผู้บริโภคชิลีได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคไปจากเมื่อครั้งก่อนมีวิกฤติการเศรษฐกิจในปี 2008 โดยพฤติกรรมใหม่คือ จะมีเหตุมีผลมากขึ้นในเรื่องคุณภาพสินค้าและจะให้ความสำคัญต่อราคา สินค้าที่มีแนวโน้มราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเจ้า เส้นก๋วยเตี๋ยว และไขมันต่างๆ หลังจากที่ได้เคยถีบตัวสูงขึ้นในช่วงที่เกิดวิกฤตเพราะมีการบริโภคของเหล่านี้มากขึ้นในช่วงนั้น ในขณะที่ตลาดบริโภคสินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มบำรุงและให้พลังงานในการเล่นกีฬาในช่วง ไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 รวมทั้งมีการบริโภคสินค้าประเภทโยเกิร์ตชีวภาพ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชิลีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นสำหรับอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอนามัย
2.1.5 จากการศึกษาวิจัยของหอการค้าแห่งกรุงซานติอาโก คาดการณ์ว่า หนี้สินครัวเรือนโดยเฉลี่ยของครอบครัวคนชิเลียน จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6-7 ในปีนี้ อันเป็นผลจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจในเศรษฐกิจมากขึ้น และมีความต้องการที่จะซื้อสินค้ารายการใหญ่ๆ เช่น ซื้อบ้าน มากขึ้น
2.1.6 ธนาคารเพื่อการลงทุนของชิลี IM Trust เปิดเผยเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2553 ว่า ปัจจุบันมีธุรกิจต่างๆจากเอเซีย โดยเฉพาะจีน มาทำการลงทุนในตลาดหุ้นในชิลีเพิ่มขึ้น เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา จีนให้ความสำคัญในของการลงทุนทางการเงินต่างๆเป็นเงินเหรียญสหรัฐมาก แต่การที่ค่าของเงินเหรียญสหรัฐอ่อนตัวในปัจจุบัน ทำให้จีนพยายามหาทางกระจายธุรกิจให้กว้างขวางขึ้นและกระจายการร่วมงานกับประเทศอื่นๆให้มากประเทศขึ้น โดยสาขาธุรกิจในชิลีที่ดึงดูดใจนักลงทุนต่างประเทศได้มากคือ สาขาการค้าปลีก สาขาธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ การผลิตปุ๋ยและผลิตภัณฑ์อนินทรีย์เคมีอุตสาหกรรม และการผลิตกระดาษ
2.1.7 ทางการชิลีเปิดเผยว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ชิลีส่งออกสินค้าเป็นมูลค่า 12.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 47.8 ของการส่งออกของชิลี ไปยังตลาดเอเซีย โดยกว่าร้อยละ 83 ของสินค้าที่ส่งออกไปเอเซีย ถูกส่งไปยังตลาดจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยเฉพาะสำหรับตลาดจีน ชิลีทำการส่งออกไปตลาดจีนเป็นมูลค่าถึงร้อยละ 24.2 ของสินค้าส่งออกรวมของชิลี โดยสินค้าส่งออกของชิลีรายการที่มีบทบาทมากที่สุดในตลาดเอเซียคือ ทองแดง ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้มีราคาสูงขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 89 และนอกจากนี้ การที่ค่าของเงินตรา Renminbi ของจีนแข็งค่าขึ้นจะทำให้จีนมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้นและจะนำเข้าสินค้าจากชิลีมากยิ่งขึ้น
สคร. ณ กรุงซานติอาโก ดำเนินการ
1. จัดคณะผู้แทนการค้าจากตลาดชิลี 10 ราย และจากตลาดเปรู 3 ราย รวมเป็นจำนวน 13 ราย เป็นแขกพิเศษระดับ EX 2 เดินทางมาเยือนงาน Thaifex World of Food Asia 2010 (30 June-4 July)
2. แจ้งข้อมูลประกอบการพิจารณาโครงการขยายความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและหน่วยงานทางธุรกิจที่ประเทศโคลัมเบียให้สำนักงานผู้แทนการค้าไทย
3. รายงานข้อมูลสถานการณ์การค้าในภาพรวมกลุ่มสินค้าสำคัญ 10 กลุ่มสินค้า ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้ายานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ วัสดุก่อสร้าง ข้าว เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ยาง รวม 10 รายงาน
4. รายงานข้อมูลประกอบการจัดทำหนังสือรายงานประจำปีกระทรวงพาณิชย์ ปี 2553
5. ส่ง Mobile Unit (ผอ. สคร.) เดินทางไปบรรยายเสริมสร้างความตระหนักในความสำคัญของการทำธุรกิจกับประเทศไทย เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมของ สคร. และเผยแพร่ข้อมูลผู้ส่งออกไทย ที่เมือง Iquique แห่งภูมิภาค Tarapaca ทางภาคเหนือของชิลี ร่วมกับกิจกรรม Road Show ประเทศไทยของ สอท. ณ กรุงซันติอาโก (สอท. เผยแพร่ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และสาธิตการประกอบอาหารไทยแก่นักธุรกิจ นักวิชาการ พ่อครัวร้านอาหาร นักศึกษาวิชาการครัว และสื่อมวลชนทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์) ณ หอประชุมมหาวิทยาลัย Universidad Santo Tomas Iquique กำหนดการเดินทางตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2553 โดยในวันที่ 30 มิถุนายน 2553 สคร. มีโอกาสไปเยี่ยมคารวะนาย Rafael Montes Gonzalez ประธานหอการค้า อุตสาหกรรม การบริการ และการท่องเที่ยว แห่งนครอิกีเก้ (Chamber of Commerce, Industries, Services and Tourism of Iquique) โดย สคร. ได้ขอทราบชื่อนักธุรกิจที่เป็นสมาชิกของหอการค้าฯเพื่อใช้ในราชการ โดยทางหอการค้าฯ รับจะเป็นสื่อกลางในการติดต่อราชการของสำนักงานฯ ให้กับสมาชิกหอการค้าฯ ต่อไป และเยี่ยมคารวะนาย Juan Carlos Carreno อธิการบดี Universidad Santo Tomas Iquique โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลทางสังคมและเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน ส่วนกิจกรรมการบรรยายจัดในวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ซึ่ง สคร. จะรายงานผลมาในรายงานผลการดำเนินงานตามผลผลิต ตัวชี้วัด ประจำปีงบประมาณ 2553 ของเดือน ก.ค. 53 ต่อไป
6. ติดตามประสานงาน MS. Paulina Blanlot P. สื่อมวลชนตำแหน่ง Section Editor ของนิตยสาร REVISTA + DECORACION ซึ่งเป็นนิตยสารเสริม (Supplement) ของหนังสือพิมพ์รายวัน LA TERCERA อันเป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่สำคัญมากที่สุดฉบับหนึ่งในประเทศชิลี มียอดจำหน่ายทั่วทั้งประเทศชิลีประมาณวันละกว่า 200,000 ฉบับ ที่กรมฯ เชิญมาเยือนงาน BIG & BIH April 2010 เพื่อทำข่าวพัฒนาส่งเสริมงานดังกล่าว และพัฒนาตลาดของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ของขวัญของชำร่วย ของใช้ในบ้าน และของประดับตกแต่งบ้าน ของไทย ให้ดำเนินการตีพิมพ์ข่าวดังกล่าว โดยสื่อมวลชนแจ้งว่าจะตีพิมพ์ข่าวดังกล่าวในวารสารฉบับเดือนมิ.ย. 53 (ดำเนินการต่อเนื่องจากเดือน มี.ค. 53)
7. ให้บริการนักธุรกิจไทย 13 ราย นักธุรกิจชิลี 12 ราย และนักธุรกิจในเอกวาดอร์ 1 ราย ในการตอบข้อสอบถามทางการค้าเพื่อการเจรจาซื้อขายสินค้ากัน
8. ประสานงานหอการค้าแห่งกรุงโบโกตา (The Bogata Chamber of Commerce) ในประเทศโคลัมเบีย เพื่อสืบหาข้อมูลประกอบการพิจารณาโครงการขยายความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและหน่วยงานทางธุรกิจที่ประเทศโคลัมเบียให้สำนักงานผู้แทนการค้าไทย
9. ประสานสมาคมธุรกิจแห่งชาติโคลัมเบีย (The National Business Association of Colombia) ในประเทศโคลัมเบีย เพื่อสืบหาข้อมูลประกอบการพิจารณาโครงการขยายความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและหน่วยงานทางธุรกิจที่ประเทศโคลัมเบียให้สำนักงานผู้แทนการค้าไทย หมายเหตุ
1. ประสานงานผู้นำเข้า 2 ราย เรื่องการจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนงานแสดงสินค้า Thaifex 2010
2. ประสานงานผู้นำเข้า 2 ราย เรื่องขอทราบผลการซื้อสินค้าจากผู้แสดงสินค้าในงาน BIG+BIH 2010 และผู้ส่งออกไทยทั่วไป แล้วรายงานสรุปผลการจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนงาน BIG + BIH April 2010
3. สรุปผลการจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนงาน BIFF & BIL 2010
4. เชิญผู้นำเข้า 1 ราย มาเยือนงานแสดงสินค้าต่างๆของกรมฯ ส่วนที่เหลือในช่วงปลายปี 2010
5. รายงานการเชิญชวนเข้าร่วมกระบวนการลงทะเบียนผู้มีคุณสมบัติในการรับงานจัดซื้อจัดจ้างตามโครงการ PHAM
6. รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าภูมิภาคละตินอเมริกา ตลาดชิลี เปรู โคลัมเบีย และเอกวาดอร์ ช่วง 1-15 พ.ค. 2553
7. รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าภูมิภาคละตินอเมริกา ตลาดชิลี เปรู โคลัมเบีย และเอกวาดอร์ ช่วง 16-31 พ.ค. 2553
8. ประสานงานผู้นำเข้า 1 ราย เรื่องข้อมูลประกอบการเยือนงานแสดงสินค้าไทยที่จัดโดย BITEC
9. เชิญผู้นำเข้าเพิ่มเติม 2 ราย มาเยือนงานแสดงสินค้า Thaifex 2010
ที่มา: http://www.depthai.go.th