รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าภูมิภาคยุโรป (อิตาลี) ระหว่างวันที่ 1 — 15 กันยายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 7, 2010 10:18 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนกันยายน 2553 ยังคงทรงตัว และเป็นช่วงที่ธุรกิจต่างๆ เพิ่งเริ่มเปิดดาเนินการหลังจากการหยุดพักร้อนตั้งแต่กลางเดือนกค. เป็นต้นมา โดยข้อมูลจาก ISTAT รายงานว่า ในเดือนกค. 53 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เริ่มชะลอตัวลง โดยเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% จากเดือนมิย. 53 (+ 0.5%) และเพิ่มขึ้น 4.8% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเครื่องจักรและเครื่องมือ เครื่องใช้ (+ 18.6%) เครื่องไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า (+9.8%) สิ่งทอ (+ 6.2%) และในช่วง 7 เดือนแรก (มค. — กค.) ของปี 53 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

2. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ISTAT ได้รายงานว่า ในไตรมาส 2 ของปี 53 อิตาลีมีอัตราการขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย ที่ 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก และ 1.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดีเกินกว่าที่คาดหมายไว้ (0.4% และ 1.1% ตามลาดับ) และ คาดว่าในปี 53 เศรษฐกิจอิตาลีจะมีการขยายตัวได้ 0.9%

  • OECD ได้คาดการว่า ในไตรมาส 3 ของปี 53 GDP อิตาลีจะลดลง 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทาให้อิตาลีเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจน้อยที่สุดในกลุ่ม G7 และคาดว่าในไตรมาส 4 ของปี 53 จะเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี OECD เห็นว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอิตาลีที่ค่อนข้างอ่อนแอเป็นผลจากความไม่มั่นใจในปัญหาการว่างงานทาให้การใช้จ่ายผู้บริโภคชะงักงัน รวมทั้งการที่ภาคครัวเรือนต้องประสบปัญหาภาระหนี้สะสมตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
  • กลุ่มผู้บริโภคแห่งอิตาลีได้แก่ Fedeconsumatori และ Adusbef คาดการณ์ว่า GDP ในปี 2012 จะเป็น 0 เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง (แม้ในสินค้าอาหารที่มีความจาเป็นต่อการบริโภค) กาลังซื้อภาคครัวเรือนค่อนข้างผันผวนโดยลดลง 9.6% เมื่อเทียบกับปี 2550 ซึ่งเป็นปีก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการว่างงานที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้กลุ่มฯ เห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดที่จะทาให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างมั่นคง คือการไม่เก็บภาษีรายได้และเพิ่มการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่มีความสาคัญต่อเศรษฐกิจ การเพิ่มการต่อสู้การหลบเลี่ยงภาษี และเพิ่มการเก็บภาษีจากผู้มีรายได้และกาไรจากตลาดการเงินให้มากขึ้น
  • คณะกรรมาธิการยุโรปได้ปรับการคาดการของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอิตาลีในปี 2553 จากเดิม 0.8% เป็น 1.1%
  • กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งอิตาลี ได้คาดการว่า GDP ปี 53 จะเท่ากับ 1% , 1.5% ในปี 2554 และ 2% ในปี 2555 และให้ข้อสังเกตุว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปขณะนี้ ยังไม่มั่นคง ยกเว้นเยอรมันที่เริ่มเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน จากความต้องการในตลาดโลกและการขยายตัวของการใช้จ่ายผู้บริโภค และการลงทุนในเยอรมันแล้ว

3. IMF ได้คาดการว่า GDP อิตาลี ในปี 2553 จะเท่ากับ 0.9% และ 1.1% ในปี 2554 (เดิมคาดการณ์ไว้ 1.2%) และให้ข้อคิดเห็นว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอิตาลีค่อนข้างช้ากว่าฝรั่งเศสและเยอรมัน เนื่องจากปัญหาด้านความสามารถในการแข่งขันที่ส่งผลกระทบทางลบต่อการส่งออก และแผนการจัดเก็บรายได้งบประมาณที่จะทาให้ความต้องการภายในประเทศลดลง นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางและยังคงมีความเสี่ยงสูงที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเติบโตช้าลง อันเนื่องมาจากระดับการว่างงานที่สูง

4. ISTAT ได้รายงานดังนี้

  • การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 53 อิตาลีส่งออกได้เพิ่มขึ้น 12.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นจากท้องถิ่นที่เป็นเกาะต่างๆ ถึง 49.2% (65.4% จากเกาะซาร์ดิเนีย และ 40.8% ส่งออกจากเกาะซิซิลี) สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างสาคัญได้แก่ น้ามันเชื้อเพลิง (+62.3) เคมีภัณฑ์ (+29.6%) ยาและผลิตภัณฑ์ยา (+18.7%) คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์ไฟฟ้าและแว่นตา (+17.4%) ส่วนสินค้าที่อิตาลีส่งออกลดลงได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องหนัง และสินค้าประเภทหนังสัตว์ (-3.3%)
  • ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 53 มีการฟื้นตัวดีขึ้นหลังจากตกต่ามาก่อนหน้านี้ แต่ยังคงมียอดขายต่ากว่าระดับที่เคยขายได้ช่วงก่อนหน้าวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยมียอดขายเพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการจานองที่เพิ่มขึ้น 13.7%

ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของยอดขายอสังหาริมทรัพย์ข้างต้น 93.2% เป็นประเภทบ้านพักอาศัย และ 6.1% เป็นอาคารพาณิชย์ ในขณะที่หากพิจารณาในด้านของอาณาเขตประเทศ พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของยอดขายในทางตะวันออกเฉียงเหนือ 3.7% เพิ่มขึ้นในทางตอนกลาง 2.7%, เพิ่มขึ้นในทางตอนใต้ 2.6%, เพิ่มขึ้นในทางตะวันตกเฉียงเหนือ 1.5% และเพิ่มขึ้นในเขตพื้นที่เกาะต่างๆ 1.1%

5. สมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอิตาลี (CONFINDUSTRIA) ได้รายงานว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอิตาลีที่ค่อนข้างเปราะบางได้หยุดการเคลื่อนไหว ทาให้อิตาลีเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจค่อนข้างแย่ในกลุ่มประเทศผู้นาทางอุตสาหกรรมด้วยกัน และจาเป็นอย่างยิ่งที่อิตาลีจะต้องมีการปฏิรูปอย่างมากเพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจ ทั้งนี้ CONFINDUSTRIA ได้ปรับลดการคาดการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2554 ที่เดิมตั้งไว้ 1.6% เป็น 1.3% และคาดว่าในปี 53 GDP ของอิตาลีจะเท่ากับ 1.2% โดยเศรษฐกิจอิตาลีจะสามารถกลับไปสู่สภาวะปกติก่อนการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้ในปี 2556

การจ้างงาน จากการสารวจพบว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 53 มีจานวนคนว่างงานถึง 450,000 คน และอีก 30,000 ตาแหน่งมีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้าง และคาดว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้น 9.3% ภายในสิ้นปี 2554 (จาก 8.4% ณ เดือน กค. 53)

นอกจากนี้ CONFINDUSTRIA ยังได้รายงานว่า การค้าแบบใต้ดิน (underground economy) ของอิตาลีได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2552 และมีมูลค่าถึง 20% ของ GDP โดยเฉพาะการค้าในทางตอนใต้ของอิตาลี ซึ่งหมายความถึง การที่รัฐบาลต้องสูญเสียรายได้ภาษีมากกว่า 125 พันล้านยูโร และทาให้รัฐบาลต้องเพิ่มอัตราภาษีในปี 2552 ขึ้นสูงกว่า 54% เพื่อจัดเก็บรายได้ให้มากขึ้นตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการลดการขาดดุลงบประมาณในปี 2553 ลงเหลือ 5.1% ของ GDP โดยมีการใช้จ่ายภาครัฐเท่ากับ 52% ของ GDP และ 50.8% ของ GDP ในปี 2554

6. เทศบาลนครกรุงโรม ได้เห็นชอบข้อเสนอมาตรการลดเงินเดือนเจ้าหน้าที่ (ประเภท non — elected) เป็นเวลา 3 ปี มีผลตั้งแต่ 1 มค. 2554 และ สิ้นสุดในวันที่ 31 ธค. 2556

มาตรการดังกล่าวได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และมีความสาคัญเป็นอันดับแรกที่จะต้องดาเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสหภาพยุโรป ในการแก้ไขปัญหาสถานะการเงินของประเทศอิตาลี โดยลูกจ้างที่มีรายได้สูงกว่า 90,000 ยูโร จะถูกตัดเงินรายได้ลง 5% ของส่วนที่เกิน และพนักงานท้องถิ่นที่มีรายได้สูงกว่า 150,000 ยูโร จะถูกตัดรายได้ลง 10% ของส่วนที่เกิน

7. ธนาคารแห่งอิตาลี (Bank of Italy) ได้รายงานว่า ณ เดือนกค. 53 อิตาลีมีหนี้สาธารณะ 1,838.296 พันล้านยูโร (หลังจากได้ลดลงในเดือนมิย. 53 ที่เท่ากับ 1,821.982 พันล้านยูโร) หรือเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับเดือนมิย. 53 และเพิ่มขึ้น 4.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

ในช่วง 7 เดือนแรก (มค. — กค.) ของปี 53 รายได้ของรัฐลดลง 3.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือเท่ากับ 210,374 พันล้านยูโร

นอกจากนี้ หนี้ภาคครัวเรือน (Household debt) ในเดือนกค. 53 เพิ่มสูงขึ้น 20.8% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจาก 479.7 พันล้านยูโร เป็น 579.4 พันล้านยูโร ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการจานอง ซึ่งมีจานวน 342.9 พันล้านยูโร เพิ่มจากเดิมที่มีจานวน 270.1 พันล้านยูโร

8. กลุ่มสิทธิผู้บริโภครายใหญ่ในอิตาลี 4 กลุ่ม ได้แก่ Codacons, Adoc, The Citizens Defense Movement (MDC) และ The National Consumers Union (UNC) ได้ตกลงร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือและให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค ภายใต้ชื่อ “ Casper ” โดยกิจกรรมแรกที่ดาเนินการ คือ การออกแถลงการณ์เพื่อเตือนผู้บริโภคให้ทราบว่า งบประมาณภาคครัวเรือนของอิตาลีได้ลดลงถึง 902 ยูโร อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของราคาสินค้าอาหาร เสื้อผ้า เครื่องมือเครื่องใช้ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ การศึกษา และสิ่งจาเป็นในชีวิตประจาวัน

9. เอกอัครราชทูตจีนประจาอิตาลี (นายDing Wei) ได้กล่าวในโอกาสการฉลอง 140 ปี การก่อตั้งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน — อิตาลี ว่า จีนและอิตาลีมีแผนที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้มากขึ้น โดยในการพบหารือกับประธานสมาคมอุตสาหกรรมแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เมือง Udine (นายAdriano Luci) เอกอัครราชทูตจีนได้กล่าวว่า เขาหวังว่าสมาคมจะช่วยกระตุ้นสมาชิกในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ส่วนนาย Luci ได้กล่าวว่าผู้ประกอบการอิตาลีได้ไปลงทุนในจีนมากขึ้น รวมทั้งเข้าร่วมงานเซี่ยงไฮ้เอ็กซ์โปด้วย และคาดหวังว่า จะได้เห็นการแลกเปลี่ยนและการขยายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการทั้งสองฝ่ายให้มากขึ้นและในหลายๆสาขา

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Invitalia ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศและการพัฒนาธุรกิจของอิตาลีรายงานว่าการลงทุนของจีนในอิตาลีได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โดยมีการลงทุนในธุรกิจหลักๆ คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ โลจิสติกส์ และเครื่องจักร และมูลค่าการค้าระหว่างจีน — อิตาลี ในช่วงครึ่งแรกของปี 53 ได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 36.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าราว 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

10. ผลจากการประชุม World Economic Forum ครั้งล่าสุดที่นครเจนีวา อิตาลีถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 48 ของโลก ในด้านดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Global Competitiveness Index — GCI) ต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G7 และล้าหลังกว่าประเทศอื่น เช่น ตูนิเซีย (อันดับที่ 32) โปแลนด์ (อันดับที่ 39) ไซปรัส (อันดับที่ 40) สโลวีเนีย (อันดับที่ 45) และโปรตุเกส (อันดับที่ 46) เนื่องจากการที่อิตาลีมีโครงสร้างของสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

ในการจัดอันดับ WEF ได้ทาการเปรียบเทียบระหว่าง 139 ประเทศ ในขอบเขตต่างๆ ได้แก่ ด้านสถาบัน (institutions) โครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) เศรษฐกิจมหภาค สิ่งแวดล้อม สุขภาพและการศึกษาเบื้องต้น การศึกษาและการฝึกอบรมระดับสูง ประสิทธิภาพของตลาดสินค้า ประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน การพัฒนาของตลาดการเงิน ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี ขนาดของตลาด (Market size) ความซับซ้อนทางธุรกิจ (business sophistication) และนวัตกรรมใหม่ๆ (innovation) พบว่า อิตาลีมีคะแนนที่ดีในด้านขนาดของตลาด (อันดับที่ 9) ความซับซ้อนทางด้านธุรกิจ (อันดับที่ 23) และโครงสร้างพื้นฐาน (อันดับที่ 31) และมีคะแนนต่าในด้านประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน (อันดับที่ 112) การพัฒนาของตลาดการเงิน (อันดับที่ 101) และสถาบัน ซึ่ง WEF ชี้ว่าเป็นเพราะอิตาลีมีระดับการคอรัปชั่นและการเกิดอาชญากรรมสูง รวมทั้งระบบการพิจารณาคดีตามกฏหมายขาดความเป็นอิสระ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวก่อให้เกิดต้นทุนในการดาเนินธุรกิจและบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหามากที่สุดในการดาเนินธุรกิจในอิตาลี ได้แก่ ระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพ การเข้าถึงด้านการเงิน อัตราภาษี / กฏระเบียบด้านภาษี การมีสาธารณูปโภคที่ไม่เพียงพอ กฏระเบียบด้านแรงงานที่เข้มงวด และการคอรัปชั่น ส่วนปัจจัยที่เกื้อหนุน ได้แก่ ความมีเสถียรภาพของรัฐบาล เงินตรา (currency) ภาวะเงินเฟ้อที่ต่า และระบบการประกันสุขภาพ (health system)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ