ในช่วง 8 เดือนแรก (มค. — สค.) ของปี 2553 ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้นมูลค่า 1,109.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 827.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 34.17 โดยมีสินค้าส่งออก 5 อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับมูลค่า 125.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(+22.64%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมูลค่า 113.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+79.35%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบมูลค่า 80.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (155.56%) ยางพารามูลค่า 73.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (157.24%) และปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็งมูลค่า 59.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ( -11.28%)
การส่งออกมาอิตาลีในช่วง 8 เดือนแรก (มค. — สค.) ของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และการส่งออกเฉพาะเดือนสิงหาคม 2553 ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น 2.77% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (-17.26%) วิเคราะห์ได้ดังนี้
2.1 เป็นการเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทาให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้หากพิจารณารายสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ เช่น รถยนต์ (155.56%) ยางพารา (157.24%) สิ่งทออื่นๆ (121.67%) และรถจักรยานยนต์ (139.77%) ก็เป็นสินค้าที่มีราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเช่น น้ำมัน ยาง ทองและเงิน เหล็ก และเส้นด้ายสิ่งทอ (ฝ้าย ไหม และใยขนสัตว์) มีผลทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น
2.2 อย่างไรก็ดีภาวะเศรษฐกิจอิตาลีโดยทั่วไปยังคงขยายตัวอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกของอิตาลีที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 53 อิตาลีส่งออกได้เพิ่มขึ้น 12.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ในเดือนกค. 53 อิตาลีส่งออกได้ลดลง 0.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่การนำเข้าลดลง 1.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเช่นกัน
2.3 ความต้องการภายในประเทศยังค่อนข้างต่ำ อันเนื่องมาจากปัญหาการว่างงานที่ยังคงเพิ่มขึ้น รายได้และกาลังซื้อภายในประเทศที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจากมาตรการเข้มงวดด้านงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 53 การบริโภคเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% และระหว่าง มิย. — กค. 53 มีการบริโภคลดลง -1.3%
2.4 การใช้จ่ายของผู้บริโภคในตลาดอิตาลียังคงชะลอตัว โดยกลุ่มผู้บริโภคได้แก่ Fedeconsumatori และ Adusbef ได้เปิดเผยว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในอิตาลียังคงลดลงต่อเนื่อง กาลังซื้อภาคครัวเรือนลดลงเนื่องจากปัญหาการว่างงานที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมาตรการลดการใช้จ่ายของรัฐบาล ทำให้ประชาชนมีกาลังซื้อลดลงและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
2.5 จากข้อมูลการนำเข้าของอิตาลี (World Trade Atlas) ล่าสุด ในช่วง 6 เดือนแรก (มค.-มิย.) ของปี 2553 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกเพิ่มขึ้น 17.71% โดยมีประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วนตลาด 16.05%) ฝรั่งเศส (8.53%) จีน (6.82% สินค้านำเข้าสาคัญได้แก่ เครื่องจักร เครื่องไฟฟ้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูป) เนเธอร์แลนด์ (5.47%) สเปน (4.51%) ซึ่งอิตาลีนำเข้าจากทั้ง 5 ประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราระหว่าง 13.88% - 23.97%
ในขณะที่อิตาลีนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 48 (สัดส่วนตลาด 0.37%) และนำเข้าจากประเทศในภูมิภาคเอเซีย ได้แก่ ญี่ปุ่น (อันดับที่ 18 สัดส่วนตลาด 1.25%) อินเดีย (อันดับที่ 21 สัดส่วนตลาด 1.03%) เกาหลีใต้ (อันดับที่ 27 สัดส่วนตลาด 0.77%)และไต้หวัน (อันดับที่ 36 สัดส่วนตลาด 0.54%) อินโดนีเซีย (อันดับที่ 37 สัดส่วนตลาด 0.53% สินค้านำเข้าสำคัญได้แก่ ยานยนต์ เครื่องจักรกลและเหล็ก) โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากทุกประเทศ
2.6 ทั้งนี้ วิเคราะห์แยกรายสินค้าที่มีการส่งออกลดลง ได้ดังนี้
2.6.1 ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง
การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรก (มค.- สค.) ของปี 2553 มีมูลค่า 59.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 67.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -11.28 เนื่องจาก
1. ผู้นำเข้ามีการสั่งซื้อในช่วงก่อนหน้าแล้ว เพื่อใช้สำหรับการขายในช่วงฤดูร้อนและนาเข้าอีกครั้งหลังการเปิดดาเนินการตั้งแต่ กย.เป็นต้นไป
2. ผู้นำเข้าชะลอการสั่งซื้อ และรอดูผลของค่าเงินบาท ที่ในช่วงที่ผ่านมาได้แข็งค่าขึ้นมาก และมีผลกระทบให้ราคาสินค้าจากไทยสูงขึ้น
3. ราคาสินค้าของไทยค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาจากประเทศคู่แข่งอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศในแถบอาเซียนด้วยกัน โดยราคานำเข้า (CIF) เฉลี่ยต่อตันของไทยประมาณ 4,200 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ราคานำเข้าเฉลี่ยจากอินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซียและจีนจะอยู่ที่ราคาประมาณ 3,000 เหรียญสหรัฐฯ, 4,700 เหรียญสหรัฐฯ, 3,600 เหรียญสหรัฐฯ และ 2,925 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับต่อตันส่วนราคานำเข้าจากประเทศอื่นๆ เช่น สเปน อยู่ที่ 3,400 เหรียญสหรัฐฯ เปรู 1,460 เหรียญสหรัฐฯ และมอริตาเนีย 3,280 เหรียญสหรัฐฯ
4. อิตาลีนำเข้าสินค้าอาหารทะเลจากทั่วโลกเฉลี่ยปีละกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยข้อมูลการนำเข้าล่าสุดของ WTA ในช่วง 6 เดือนแรก (มค. — มิย.) ของปี 2553 อิตาลีนำเข้ามูลค่า 458.053 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 11.05% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 2 โดยมีประเทศอิตาลีที่นาเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ สเปน (สัดส่วนตลาด 23.88%) ไทย (12.75%) ฝรั่งเศส (8.93%) โมรอคโค (8.79%) และอินเดีย (7.24%)
ประเทศคู่แข่งขันสาคัญ ได้แก่ เวียดนาม (สัดส่วนตลาด 6.05%) อินโดนีเซีย (3.21%) จีน (2.29%) โดยสินค้าที่อิตาลีนำเข้าจากไทยและเวียดนามส่วนใหญ่เป็นปลาหมึกสดแช่แข็ง (83%) ส่วนสินค้าหลักที่นำเข้าจากอินเดียเป็นพวกหอย (55%) และปลาหมึก (40%) ในขณะที่สินค้าหลักที่นำเข้าจากอินโดนีเซียเป็นปลาหมึกออคโตปุส และสินค้าที่นาเข้าจากจีนเป็นปลาหมึกแช่แข็ง (70%) และหอย (18%)
2.6.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูป
การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรก (มค. — สค.) ของปี 2553 มีมูลค่า 33.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่งออกมูลค่า 33.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ — 0.87 เนื่องจาก
1. เดือนสค. ยังคงเป็นช่วงการหยุดพักร้อนของอิตาลี ธุรกิจต่างๆจะหยุดดาเนินการไปจนถึงเดือนกย. โดยจะทาการสั่งซื้อสินค้าไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าการส่งออกเสื้อผ้าสาเร็จรูปของไทยในเดือนมิย. 53 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 127.31% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเริ่มลดลงในเดือนกค. 53
2. ความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยคือ +0.3% เนื่องจากเป็นสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมาก
3. สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่อิตาลีนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าระดับ medium-low ในขณะที่สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่อิตาลีส่งออกเป็นสินค้าระดับ High — end โดยมีมูลค่าการนาเข้าเฉลี่ยปีละกว่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (รวมทั้งชนิด woven apparel พิกัด 62 และ knit apparel พิกัด 61) จากสถิติการนาเข้าของ WTA ล่าสุดในช่วง 6 เดือนแรก (มค. — มิย.) ของปี 53 อิตาลีนำเข้าเสื้อผ้าสาเร็จรูป (knit apparel) จากประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกได้แก่ จีน (สัดส่วนตลาด 25.07%) สเปน (7.01%) ฝรั่งเศส (6.70%) ตุรกี (6.61%) และบังคลาเทศ (6.19%)
ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 20 (สัดส่วน 0.59%) โดยมีประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน (25.07%) อินเดีย (3.92) ศรีลังกา (2.59%) อินโดนีเซีย (0.50%) กัมพูชา (0.47%) เวียดนาม (0.45%) และปากีสถาน (0.36%) โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่ T-Shirt พูลโอเวอร์และสเว็ตเตอร์ เสื้อผ้าสกี เป็นต้น
2.6.3 เคมีภัณฑ์
การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรก (มค. — สค.) ของปี 2553 มีมูลค่า 17.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่งออกมูลค่า 32.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ — 46.24 เนื่องจาก
1. เป็นช่วงการหยุดดำเนินการของผู้ประกอบการ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการสั่งซื้อสินค้าเข้าสต็อกไว้แล้ว
2. เป็นสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งภาวะตลาดในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 มีแนวโน้มลดลง แม้รัฐบาลจะได้ออกมาตรการช่วยเหลือ (In House Plan) สำหรับการซื้อบ้านใหม่และการขยายบ้านพักอาศัยที่ใช้ระบบประหยัดพลังงานตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากความล่าช้าในการจัดทำระเบียบ ระบบการจัดการ และการพิจารณาของแต่ละแคว้นที่ชัดเจน
3. สภาวะตลาดโดยรวมยังคงฟื้นตัวได้ช้าและต่ำกว่าภาวะตลาดก่อนหน้าการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจถึงร้อยละ 10 อย่างไรก็ดี สมาพันธ์อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์แห่งอิตาลี (Federchimica) คาดว่าในปี 2553 อิตาลีจะมีการผลิตเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้น +6% ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออก ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น +15% ในขณะที่ความต้องการภายในประเทศ เพิ่มขึ้น 5%
4. อุตสาหกรรมก่อสร้างในอิตาลีเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ (คิดเป็นร้อยละ 9 ของเคมีภัณฑ์ทั้งหมด) มีมูลค่าการผลิตเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้ถึง 4.7 พันล้านยูโร และมูลค่าการบริโภค 4.9 พันล้านยูโร มีจำนวนผู้ประกอบการ 800 บริษัท และจำนวนคนงาน 16,000 คน โดยแยกรายละเอียดการใช้คือ ร้อยละ 30 ใช้ในการทาสี, ร้อยละ 37 ใช้ในการทาพลาสติก, ร้อยละ 17 ใช้ในการติดเชื่อมและกาวสำหรับซีเมนต์, ร้อยละ 10 ใช้ในการผสมสีทำเซรามิคและร้อยละ 6 ใช้ในการขัดสีและกาวสาหรับไม้
5. ข้อมูลการนำเข้าของ WTA ล่าสุด 6 เดือนแรก (มค. — มิย.) ของปี 2553 ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 3 (สัดส่วน 0.18%) โดยมีประเทศอิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วนตลาด 26.92%) ฝรั่งเศส (13.17%) เนเธอร์แลนด์ (8.00%) สเปน (6.56%) และเบลเยี่ยม (6.39%)
ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น (สัดส่วนตลาด 3.21%) อินโดนีเซีย (2.86%) จีน (1.04%) อินเดีย (0.50%) สิงคโปร์ (0.36%) มาเลเซีย (0.33%) เกาหลีใต้ (0.29%) และไต้หวัน (0.19%) ทั้งนี้ ประเทศที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ ได้แก่ สเปน (+132.38%) อินโดนีเซีย (+215.60%) สิงคโปร์ (+169.59%) มาเลเซีย (+127.34%) และเกาหลีใต้ (+131.77%)
3.1 คาดว่าการส่งออกของไทยในช่วง 4 เดือนหลังของปี 2553 จะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจอิตาลียังคงฟื้นตัวได้อย่างช้าๆและเปราะบาง อันเนื่องมาจากปัญหาการว่างงานและหนี้สาธารณะที่ยังคงมีอยู่ รวมทั้งการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการเข้มงวดด้านงบประมาณรายจ่ายและเพิ่มความเข้มงวดในการเก็บภาษีมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนอิตาลียังคงมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมทาให้ลดการใช้จ่ายและเพิ่มการออมมากขึ้น
3.2 อย่างไรก็ดี หากมาตรการการ In House Plan (วงเงิน 420 ล้านยูโร) ซึ่งรัฐบาลได้ออกประกาศตั้งแต่เมย. 53 เพื่อจูงใจให้ประชาชนปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green House Improvements) และการซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ (Cleaner Motorbikes) รวมทั้งการปรับปรุงระบบการขนส่ง เช่น ท่าเรือ อากาศยาน ยานยนต์เพื่อการก่อสร้างและเครื่องจักร สามารถส่งผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ก็คาดว่าเศรษฐกิจอิตาลีในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 จะมีการขยายตัวได้ 0.81 — 1% ตามที่คาดการณ์ไว้
3.3 สินค้าที่คาดว่ายังคงมีแนวโน้มที่ดี ได้แก่ ยางพารา รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และอุปกรณ์ สิ่งทอ เหล็กและเหล็กกล้า
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th