สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าไทย — กรีซ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 18, 2010 11:17 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมเศรษฐกิจ

1.1 ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมหดตัวลงมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 53 อันเนื่องมาจากการที่รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเคร่งครัดด้านงบประมาณรายจ่ายเพื่อลดการขาดดุลให้ได้ร้อยละ 40 และจัดเก็บรายได้เพื่อชำระหนี้ให้ได้ 110 พันล้านยูโร ได้แก่ การปรับภาษี Vat ( จาก 21% เป็น 23% ) การเพิ่มภาษีสรรพสามิตสินค้ายาสูบ แอลกอฮอล์ และน้ำมัน (ประมาณ 30% ) การปรับลดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำลง (ประมาณ 14%) การลดเงินเดือนข้าราชการ ( 15% ) การลดบำนาญ (10%) มีผลให้การบริโภคภายในประเทศหดตัวลงและคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของกรีซในระยะต่อไป ทาให้ไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายและเกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจกรีซ (70%มาจากการบริโภคภาคเอกชน) จะเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง

1.2 ตัวชี้วัดเศรษฐกิจของกรีซ (ข้อมูล ณ เดือน ต.ค. 53 จากกระทรวงการคลังกรีซ)

2. การค้าระหว่างประเทศ

2.1 การนำเข้า ในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ของปี 53 กรีซนำเข้าสินค้าทั้งสิ้นมูลค่า 26,703 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน -8.3% โดยมีประเทศที่กรีซนาเข้า 5 อันดับแรกได้แก่

(1) เยอรมัน มูลค่า 3,466 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง — 9.09 %

(2) อิตาลี มูลค่า 3,112 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -12.28%

(3) จีน มูลค่า 2,125 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -2.45%

(4) เนเธอร์แลนด์ มูลค่า 1,674 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -0.33%

(5) เกาหลีใต้ มูลค่า 1,547 ล้านเหรีญสหรัฐฯ ลดลง -33.46%

(30) ไทย มูลค่า 124 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -3.27%

สินค้าที่กรีซนำเข้าสาคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ ยารักษาโรค เรือเดินทะเลและเรือ เครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้า ยานพาหนะ

2.2 การส่งออก ในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ของปี 53 กรีซส่งออกสินค้าทั้งสิ้นมูลค่า 9,759 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน +2.30 % โดยมีประเทศที่กรีซส่งออกสาคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

(1) เยอรมัน มูลค่า 1,120 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.86%

(2) อิตาลี มูลค่า 1,050 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง-2.65%

(3) ไซปรัส มูลค่า 719 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.58%

(4) บุลแกเรีย มูลค่า 613 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -2.34%

(5) สหราชอาณาจักร มูลค่า 559 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 48.37%

(66) ไทย มูลค่า 11ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 81.25%

สินค้าที่กรีซส่งออกสาคัญ 5 อันดับแรกได้แก่ แร่เชื้อเพลิงและน้ำมัน ยารักษาโรค อลูมิเนียม พลาสติก และเครื่องจักรไฟฟ้า

3. การค้าไทย-กรีซ

3.1 การส่งออก

ในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ของปี 2553 ไทยส่งสินค้าออกมากรีซทั้งสิ้นมูลค่า 153.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 16.49% โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

(1) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 58.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 190.72%

(ไทยครองตลาดอันดับที่ 10 สัดส่วน 2.97% รองจาก เยอรมัน อิตาลี สเปน เบลเยียม สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น)

(2) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มูลค่า 19.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 19.99%

(ไทยครองตลาดอันดับที่ 4 สัดส่วน 12.14% รองจากจีน เบลเยียม ญี่ปุ่น)

(3) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ มูลค่า 9.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -4.97

(ไทยครองตลาดอันดับที่ 5 สัดส่วน 6.53% รองจากอิตาลี เยอรมัน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน)

(4) ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ มูลค่า 9.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -12.46%

(ไทยครองตลาดอันดับที่ 17 สัดส่วน 2.33% รองจากจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอิตาลี)

(5) เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.85%

(ไทยครองตลาดอันดับที่ 17 สัดส่วน 0.65% โดยมีประเทศที่กรีซนำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ อิตาลี บัลแกเรีย จีน สเปน และเยอรมัน)

ทั้งนี้ สินค้าที่มีการส่งออกลดลงได้แก่ เม็ดพลาสติก (-54.11%) รองเท้าและชิ้นส่วน (-38.48%) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (-39.86%) ตาข่ายจับปลา (-31.81%) และผลิตภัณฑ์พลาสติก (-20.69%)

3.2 การนาเข้า

ในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.)ของปี 2553ไทยนำเข้าสินค้าจากกรีซทั้งสิ้น มูลค่า 23.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 28.66% โดยมีสินค้านำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่

(1) ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่มาจากผัก ผลไม้ มูลค่า 10.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 101.65%

(2) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ มูลค่า 5.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 208.14%

(3) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ มูลค่า 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 203.88%

(4) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ มูลค่า 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2,306.13%

(5) เคมีภัณฑ์ มูลค่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ้มขึ้น 56.56%

ทั้งนี้ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากกรีซเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแทบทุกรายการ ยกเว้น ปูนซีเมนต์ ที่นำเข้าลดลง -7.31%

4. แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและตลาดในปี 2554

4.1 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจกรีซในปี 2554 จะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลงโดยมี GDP -4% และอาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเนื่องมาจากการที่รัฐบาลกรีซได้ออกมาตรการเคร่งครัดด้านงบประมาณรายจ่าย และเพิ่มการเก็บภาษีเพื่อหารายได้เข้าประเทศให้มากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบทางลบต่อความต้องการการบริโภคภายในประเทศ การว่างงานที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าจำนวนคนว่างงานภายในปี 53 จะเพิ่มขึ้น 20% หรือราว 1 ล้านคน โดยเฉพาะในธุรกิจการค้าปลีก การค้าส่ง การผลิตและการท่องเที่ยว ส่วนภาคอุตสาหกรรมที่คาดว่ายังมีแนวโน้มที่ดีได้แก่การขนส่งและการสื่อสาร ธุรกิจพลังงาน และการบริการด้านการเงิน

4.2 อย่างไรก็ดี รัฐบาลกรีซตระหนักถึงข้อกังวลดังกล่าว โดยกระทรวงการคลังกรีซอยู่ในระหว่างการพิจารณากระตุ้นการลงทุนและการจ้างงานในประเทศ ด้วยการให้ Tax incentive (สำหรับการลงทุนขนาดใหญ่) การชะลอการเก็บภาษี (Tax break) เช่น การลดภาษี Corporate tax จาก 24% เป็น 20% ในปี 2554 เป็นต้น นอกจากนี้รัฐบาลกรีซได้ประกาศนโยบายที่จะมุ่งเน้นโครงการร่วมทุนภาครัฐ และการส่งเสริมการส่งออกให้มากขึ้นเพื่อหารายได้เข้าประเทศ โดยเฉพาะการเป็นหุ้นส่วนร่วมภาครัฐและเอกชน (Public-Private partnerships-PPPS) เช่นการลงทุนจัดตั้งโรงงานกาจัดของเสียและขยะ และการส่งเสริมรายได้จากการส่งออกให้เพิ่มมากขึ้นถึง 16% ของ GDP ใน 4 ปีข้างหน้า โดยรัฐบาลจะให้การสนับสนุนทางการเงินให้แก่อุตสาหกรรมส่งออกทั้งสินค้าและบริการ

สำนักงานส่งเริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ