ท่านผู้อ่านจะคุ้นเคยกับบัตรอวยพรชื่อ Hallmark Cards หรือละครชื่อดังเรื่อง The Wizard of Oz หรือ ทีมอเมริกันฟุตบอล Kansas City Chief ซึ่งมีกำเนิดที่เมืองแคนซัสซิตี้ ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่เมืองแคนซัสซิตี้ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางในสหรัฐฯ และทั่วโลก
ด้วยสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก ได้มีโอกาสเดินทางไม เยือนเมืองแคนซัสซิตี้ ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของฝั่งตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี ในเขตภูมิภาคตอนกลาง (Midwestern State) ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาศักยภาพของตลาดและพบกับกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อให้นักธุรกิจในพื้นที่รับทราบศักยภาพของไทยและสินค้าของไทย
เมืองแคนซัสซิตี้จะแตกต่างกับเมืองอื่นๆ ของสหรัฐฯ คือ เมืองแคนซัสซิตี้มีพื้นที่ครอบคลุมสองมลรัฐคือ รัฐมิสซูรี่ และ รัฐแคนซัส โดยพื้นที่ 2 ใน 3 ตั้งอยู่ในรัฐมิสซูรี่ และอีก 1 ใน 3 ตั้งอยู่ในรัฐแคนซัส คนทั่วไปพูดถึงแคนซัสซิตี้ จะหมายถึง แคนซัสซิตี้ มิสซูรี่ เพราะว่าเป็นศูนย์กลาง ธุรกิจการค้า เมืองแคนซัสซิตี้และเมืองบริวารมีประชากรประมาณ 2.3 ล้านคน หรือเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับที่ 18 ของสหรัฐฯ
ประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรปที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกา ส่วนใหญ่ได้แก่ ไอริช และ ฝรั่งเศส ประชากรแยกเป็นคนอเมริกันผิวขาวร้อยละ 63 คนอเมริกันผิวดำร้อยละ 28 ชาวฮิสแปนิก ร้อยละ 9 และเอเซียเพียงร้อยละ 2
พื้นฐานเศรษฐกิจ
คนอเมริกันมักจะรู้จักเมืองแคนซัสซิตี้ ว่าเป็น American Heartland เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ตรงใจกลางของประเทศ เป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างภาคตะวันออกและตะวันตกของประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เมืองแคนซัสซิตี้มีความสำคัญในด้านการขนส่ง จึงกลายเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งทางบกของประเทศ
สาขาเศรษฐกิจสำคัญของเมืองแคนซัสซิตี้ ได้แก่ การคมนาคมขนส่ง (รถบรรทุกรถไฟ และ ทางอากาศ) อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ของบริษัท Ford และ General Motor การผลิตพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) นอกจากนั้นแล้ว ยังได้เปลี่ยนจากการค้าขายปศุสัตว์ มาเป็นศูนย์กลางของการผลิตและค้นคว้าด้านอุตสาหกรรมการผลิตยาและวัคซีนรักษาสัตว์ที่สำคัญของโลก
ปัจจุบัน อัตราการว่างงานของเมืองแคนซัสซิตี้คิดเป็นร้อยละ 8.0 ซึ่งต่ำกว่าอัตราว่างงานที่ต่ำกว่าของประเทศสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 9.7 แสดงให้เห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจของเมือง แคนซัสซิตี้ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ ฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าเมืองขนาดใหญ่หลายๆ เมือง เช่น Detroit, Chicago, Cleveland เป็นต้น ซึ่งได้รับจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีอัตราการขยายตัวการจ้างงานอันดับที่ 14 ของสหรัฐฯ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คือ การเพิ่มการจ้างงานของสาขาโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า อุตสหกรรมการผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมยาและวัคซีนรักษาสัตว์ และ สาขาพลังงานทางเลือก (Alternate Energy: Wind Energy & Bio Energy)
ศักยภาพของเมืองแคนซัสซิตี้
1. ปัจจัยสนับสนุน
1.1 เมืองแคนซัสมีความได้เปรียบมหานครใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ ในด้านค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า ซึ่งจะช่วยในด้านการลดต้นทุนการผลิตและดำเนินการที่ต่ำกว่ามหานครใหญ่ และมีธุรกิจด้านการขนส่งเข้ามาให้บริการให้การสนับสนุนจึงทำให้แคสซัสซิตี้เป็นศูนย์กระจายสินค้า ของ เขตมิสเวสต์ แรงงานมีฝีมือ และ เป็นแรงงานที่อยู่ในวัยทำงานที่อายุน้อย
1.2 เขตการค้าปลอดภาษี (Foreign Trade Zone) สาขาเมืองแคนซัสซิตี้มีพื้นที่มากที่สุดในสหรัฐฯ คิดเป็นจำนวนประมาณ 17.6 ล้านตารางฟุต (ประมาณ 1.7 ล้านตารางเมตร) และจะเพิ่มขึ้นเป็นเพื่อรองรับความต้องการในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนด้านการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญแก่ผุ้ประกอบการสหรัฐฯ และจากต่างประเทศ
1.3 มีเส้นทางหลวงหลักที่สำคัญของประเทศ คือ I-35, I-70, I-29 ตัดผ่านเมืองมีเส้นทางหลวงของประเทศที่ยาวที่สุด 2 เส้นทางตัดผ่านเมือง คือ เส้นทางหลวงหมายเลข 70 ซึ่งเป็นเส้นทางที่ยาวที่สุดจากภาคตะวันออกไปยังตะวันตก และทางหลวงหมายเลข 35 ซึ่งเป็นทางที่ยาวที่สุดจากเหนือจดใต้ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเส้นทาง หลวงอีกหลายเส้นที่เชื่อมต่อไปยังมลรัฐต่างๆ และเมืองแคนซัสซิตี้เป็นชุมทางรถไฟ (Rail Hub) ที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของสหรัฐฯ รองจากนครชิคาโก มีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างประเทศคานาดาและประเทศเม็กซิโก (NAFTA Railway) และฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของประเทศ
2. เป็นที่ตั้งของ KC SmartPort (www.kcsmartport.com) เป็นหน่วยงานแห่งเดียวใน สหรัฐฯ ที่ ดำเนินการด้านการสนับสนุนและส่งเสริมด้านโลจิสติกส์สหรัฐฯ และเพื่อใช้โลจิสติกส์เป็นปัจจัยในการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองแคนซัสซิตี้ เพื่อให้การขนย้ายถ่ายสินค้าได้รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย และผลักดันให้เมืองแคนซัสซิตี้กลายเป็น Inland Port ที่สมบูรณ์ที่สุดของสหรัฐฯ ซึ่งนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกมายังพื้นที่ตอนกลางของประเทศ และดำเนินการพิธีศุลกากรที่เมืองเคนซัสซิตี้ โดยไม่ต้องผ่านพิธีทางศุลกากรที่ท่าเรือที่ชายฝั่ง West Coast ของสหรัฐฯ โดยตู้คอนเทนเนอร์สินค้าจะไปเข้าที่ท่าเรือ Lazaro Cardenas ในประเทศเม็กซิโก และขนส่งตรงทางรถไฟมายังเมืองแคนซัสซิตี้และดำเนินการด้านพิธีศุลกากรที่แคนซัสซิตี้ ปัจจุบัน เมืองแคนซัสซิตี้ได้มีข้อตกลงกับรัฐบาลเม็กซิโก ในการดำเนินการดังกล่าวไปแล้ว ปัจจุบัน ความคับคั่งที่ LA Port จึงเป็นผลให้ KC Smart Port มีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากจะเป็นเส้นทาง Bypass Seaport ทั้งสองฝั่งของสหรัฐฯ ในการนำสินค้าเข้ามายังภูมิภาคตอนกลางของประเทศ
3. ศูนย์กระจายสินค้าของสหรัฐอเมริกา (Distribution Hub) วารสาร Logistics Today ในสหรัฐฯ ฉบับเดือนตุลาคม 2548 ได้เสนอรายงานพิเศษเกี่ยวกับเมืองแคนซัสซิตี้ว่า เป็นพื้นที่แห่งการสร้างโอกาส มีทรัพยากรมากมาย ไม่จอแจ ต้นทุนดำเนินการต่ำ จึงเหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งเป็นผลให้ผู้ผลิต ร้านค้าปลีก Chain Stores ปัจจุบัน ผู้ผลิตสินค้าและร้านค้าปลีก รายสำคัญของสหรัฐฯ กว่า 30 บริษัท มาจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ในเมืองแคนซัสซิตี้และเมืองบริวาร เพื่อจัดส่งสินค้าให้แก่ร้านสาขาหรือลูกค้าในเขตตอนกลางของประเทศ ดังนี้
- กลุ่มห้าง/ร้านค้าปลีกรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ และมีสาขาจำนวนมากในเขต Midwest เช่น ร้าน Aldi Inc, ห้าง JC Penny ห้าง Kohl ร้าน Home Depot ห้าง Wal-Mart ห้าง Target ห้าง Dillard ห้าง Lowes ห้าง Safeway ห้าง Office Max ห้าง Toy R Us ร้าน O’Reilly Automotive และ ร้าน Carquest เป็นต้น
- กลุ่มผู้ผลิต/ผู้นำเข้าสหรัฐฯ รายสำคัญๆ ใช้เมืองแคนซัสและบริวารเป็นที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า ได้แก่ บริษัท Coca Cola Bottling, Del Monte, Federal Express, North Face(Outerwear), American Eagle Outfitter , Honeywell, Proctor &Gamble, Hoechst and Bayer, Sprint ,Ford, Hallmark Cards, Fedex Ground และ Good Year Tire เป็นต้น หรือแม้แต่ ยักษ์ใหญ่ Sony จากญี่ปุ่นก็ได้จัดตั้ง Distribution Center ในเมืองแคนซัสเช่นกัน
ธุรกิจและอุตสหกรรมดาวรุ่งของแคนซัสซิตี้
ปัจจุบัน เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ (New Economy) ซึ่งเป็นศรษฐกิจที่พึ่งพิงหรือขึ้นอยู่กับความรู้และความคิด การสร้างงาน และ มาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต โดยมุ่งผลักดันเศรษฐกิจใหม่ 5 สาขา คือ (1) อุตสาหกรรมพลังงาน (New Energy) 3) อุตสาหกรรมการคิดค้นและผลิตยาและวัคซีนรักษาสัตว์ (Animal Health Science) 4) ธุรกิจโลกจิสติกส์ (Logistics Hub) และ 4) อุตสาหกรรมการผลิตรถไฟฟ้า (Electric Car)
1. อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ (New Energy) เมืองแคนซัสซิตี้เน้นการผลิตพลังงาน 2 ประเภท คือ (1) พลังงานพลังงานลม (Wind Energy) รัฐแคนแคนซัสเป็นรัฐที่มีช่องลมจัด ได้รับการจัดเป็นอันดับที่ 3 ของสหรัฐฯในด้านโอกาสและการขยายตัวของอุตสาหกรรมในอนาคตของสหรัฐฯ ซึ่งเมืองแคนซัสจะเป็นศูนย์กลางของตลาดพลังงานลม และ (2) พลังงานชีวภาพ (Bio Fuels) ซึ่งแยกดำเนินการ 2 ด้าน คือ Biodiesel และ Bio Mass ซึ่งในรัศมี 300 ไมล์รอบเมืองแคนซัส มีโรงงานผลิตพลังงานทั้งสองประเภทกว่า 100 แห่ง โดยมีเมืองแคนซัสเป็นศูนย์กลางในด้านการจัดจำหน่ายและขนส่งพลังงานดังกล่าว
2. ศูนย์กลางธุรกิจโลจิสติกส์: เมืองแคนซัสซิตี้ Logistics Park: ประกอบด้วยนิคมบริการด้านโลจิสติกส์ครบวงจร (Intermodal) ซึ่งได้แก่ ระบบสาธารณูปโภค ถนนหนทาง และ ทางรถไฟ จำนวน 4 แห่ง คือ Center Point Intermodal พื้นที่ 3,350 ไร่ KCI Intermodal Business Center พื้นที่ 2,000 ไร่ และ Northland Park พื้นที่ 5,500 ไร่ และ Logistics Park KC พื้นที่ 2,500 ไร่ รวมกันมีพื้นที่ประมาณ 13,350 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะเปิดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าห้างร้าน เข้าไปเช่าพื้นที่จัดตั้งคลังสินค้า โรงงานผลิตสินค้า หรือ ศูนย์กระจายสินค้า
3. ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยาและวัคซีนรักษาสัตว์ของโลก: ปัจจุบัน เมืองแคนซัสซิตี้ เป็น Animal Health Corridor ของโลก และเป็นผู้นำตลาดโลกด้านสุขภาพสัตว์ มีสัดส่วนตลาดโลกประมาณร้อยละ 32 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการรายสำคัญ ได้แก่ Bayer Animal Health, Boehringer Ingelheim, CEVA, InterVet, Mars, Hill’s, Nestle’ Purina เป็นต้น
4. อุตสาหกรรม Battery, Hybrid & Electric Vehicles: บริษัท Kokam ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่นอกเมืองแคนซัสซิตี้ เป็นผู้นำในการผลิต Li-ion Battery ของโลก บริษัท Smith Electric Vehicles เป็นผู้ผลิตรถบรรทุกขนาดเล็ก-กลาง (1-5 ตัน) ที่ใช้พลังไฟฟ้าทั้งสิ้น รายแรกของสหรัฐฯ และ บริษัท Ford มีโรงงานผลิตรถ SUV (Ford Escape) Hybrid Electric Vehicles (HEV) และ General จะผลิตรถยนต์ Chevy Malibu แบบ Hybrid Electric Vehicles ที่เมืองแคนซัสซิตี้
ส่งท้าย
เมืองแคนซัสซิตี้มีความเป็นเอกลักษณ์ด้านอนุรักษ์นิยม แต่พยายามผลักดันและใช้ความได้เปรียบในด้านต่างๆ เช่น เส้นทางการคมนาคม ค่าแจ้งแรงงานที่ต่ำกว่า และทรัพยากรขึ้นมาเป็นปัจจัยเสริมสร้างเศรษฐกิจและการค้า เพื่อดึงดูดความสนใจของ นักลงทุนทั้งในประเทศสหรัฐฯ และจากต่างประเทศ
ปัจจุบัน เมืองแคนซัสซิตี้ได้เปลี่ยนทิศทางของการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ (New Economy) ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงของเศรษฐกิจในอนาคต แสดงให้เห็นถึงศักยภาพความเป็นผู้นำเศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาคตอนกลางของประเทศ
การที่ผู้นำตลาดค้าปลีกรายสำคัญของสหรัฐฯ เลือกเมืองแคนซัสซิตี้เป็นที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) เพื่อจัดสินค้าให้แก่ห้างสาขาในเขต Midwestเป็นเหตุผลหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เมืองแคนซัสซิตี้มีศักยภาพในด้าน Logistics ของภูมิภาค Midwest ดังนั้น ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่มีลูกค้าในเขตนี้ กำลังมองหาสถานที่เก็บรักษาสินค้าเพื่อส่งต่อให้ลูกค้า หรือต้องการจะขยายตลาดสินค้ามายังเขตตอนกลางของประเทศสหรัฐฯ และมองหาทำเลที่จะให้บริการด้าน Logistics ครบวงจร อาจจะพิจารณาเมืองแคนซัสซิตี้เป็นจุดเริ่มต้นหรือฐานรองรับลูกค้าใหม่ในอนาคตได้
ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่ต้องการทราบข้อมูลของเมืองแคสซัสซิตี้เพิ่มเติม เพื่อนำไปประกอบ การวางแผนด้านการขยายตลาด ค้นหาข้อมูลได้จากแหล่งต่อไปนี้
1. Greater Kansas City Chamber of Commerce : www.kcchamber.com
2. Kansas City Smartport : www.kcsmartport.com
3. Kansas City Area Development Council : www.thinkKC.com
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th