ความท้าทายและโอกาสสาหรับ SMEs ของไทยในทศวรรษหน้า

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 26, 2010 14:20 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ความท้าทายและโอกาสสาหรับ SMEs ของไทยในทศวรรษหน้า

ผมตั้งใจว่าจะเขียนบทความเรื่องนี้มานาน แต่ก็หาเวลาที่เหมาะ ๆ ไม่ได้สักที จนกระทั่งวันนี้นี่เองที่ผมสามารถหาเวลาว่างช่วงวันหยุดชาติจีนที่เฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้งประเทศจีนยุคใหม่เมื่อต้นเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา เข็นตัวเองให้มานั่งขีดเขียนบทความนี้จนได้ เมื่อหลายเดือนก่อน ผมมีโอกาสไปร่วมบรรยายในงานสัมมนาวิชาการนานาชาติที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ณ จังหวัดพิษณุโลก วันนั้น ผมนาเสนอหัวข้อ “Challenges and Opportunities of Thai SMEs in the Next Decade” ซึ่งแปลเป็นไทยก็ใกล้เคียงกับหัวข้อของบทความนี้นี่เอง โดยผมจะขอขยายความการเปลี่ยนแปลงสาคัญของโลกและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโลกธุรกิจ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium-sized Enterprises: SMEs) ของไทย จากที่ไปนาเสนอในงานสัมมนาดังกล่าว เพื่อมาขยายต่อทางความคิดกับท่านผู้อ่านกัน คานา

คงไม่มีใครปฏิเสธว่า SMEs มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ กล่าวคือ ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก วิสาหกิจเหล่านี้เป็นฐานการผลิตกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด และว่าจ้างแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศ นั่นสะท้อนให้เห็นว่า อนาคตของหลายประเทศทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางสังคมขึ้นอยู่กับความสามารถในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีของประเทศไทยก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน

ที่ผ่านมา นักวิชาการและนักธุรกิจต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า SMEs ของไทยจานวนมากยังไม่เข้มแข็งมากพอที่จะเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพปัจจัยแวดล้อมและระดับการแข่งขันที่สูง และหลายรายมีจุดอ่อนและข้อเสียเปรียบในหลายด้าน อาทิ การขาดทรัพยากรด้านเวลา การเงิน และความรู้ความเข้าใจในการจัดการยุคใหม่ ทาให้ต้องประสบกับความยากลาบากมากยิ่งขึ้นในการว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมเพื่อเข้ามาช่วยผลักดันองค์กร ผมเองได้ยินเรื่องนี้มาเป็นเวลานาน

รัฐบาลหลายยุคสมัยก็ให้ความสาคัญกับเรื่องดังกล่าว ถึงขนาดทุ่มงบประมาณเพื่อจัดตั้งหลายองค์กรและออกมาตรการสนับสนุนส่งเสริมเพื่อมาทาหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ คาถามที่น่าสนใจก็คือ SMEs ของไทยเกิดขึ้นใหม่มากน้อยแค่ไหน แข็งแกร่งขึ้นบ้างหรือไม่ โดยเฉพาะในระดับระหว่างประเทศ และพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่ในอนาคตหรือยัง

อะไรคือการเปลี่ยนแปลงของสภาพปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวและ SMEs จะเตรียมพร้อมพร้อมรับมือเพื่อเผชิญกับความท้าทายใหม่และเอาประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นได้อย่างไร นักบริหารระดับโลกท่านหนึ่งได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า “เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพปัจจัยแวดล้อมเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษนี้มากกว่าในทศวรรษ 1990” และผมเชื่อมั่นว่า เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กว้างขวาง และรุนแรงมากยิ่งขึ้น (Faster, Broader and More Aggressively) ในทศวรรษหน้าอย่างแน่นอน

ประการสาคัญ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงที่กาลังเกิดขึ้นนี้ นอกจากยากที่จะหลีกเลี่ยงแล้ว ยังลาบากที่จะบริหารจัดการอีกด้วย ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker) เขียนเอาไว้ว่า “ไม่มีใครที่จะสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้ แต่เราสามารถเตรียมการล่วงหน้าได้” ในอดีต SMEs ของไทยจานวนมากอาจประสบความสาเร็จในการรักษาหรือพัฒนากิจการของตนเอง แต่แน่นอนว่า ทุกรายล้วนประสบกับความยากลาบากในการต่อกรกับความเร็วของการเปลี่ยนแปลงของสภาพปัจจัยแวดล้อมที่ถาโถมเข้ามาทั้งสิ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการรับรู้และวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร และการหาวิธีการจัดการกับปัญหาภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัด

ด้วยสภาพปัจจัยแวดล้อมใหม่ที่กว้างขวางและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วใหม่ ทาให้ SMEs ของไทยที่ไม่คุ้นเคยกับสถานการณ์เช่นนี้ต้องสาละวนอย่างมากกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่อย่างไม่ต้องสงสัย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนที่รวดเร็วและเรียบร้อยนับว่ามีความสาคัญมากขึ้นสาหรับ SMEs ของไทยในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงสาคัญของโลกและผลกระทบต่อ SMEs ของไทย

การเปลี่ยนแปลงของสภาพปัจจัยแวดล้อมสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา อย่างไรก็ดี ผมเห็นว่า เราควรให้ความสาคัญกับการเปลี่ยนแปลงที่สาคัญของโลก เพื่อจะได้เตรียมการได้ทันท่วงที ในมุมมองของผม การเปลี่ยนแปลงสาคัญของโลกมีหลายประเด็นเกี่ยวข้องกับจีน ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะทุกหายใจเข้าหายใจออกของเราก็ไปเชื่อมโยงกับจีนเกือบหมดแล้ว ลองไปดู 10 การเปลี่ยนแปลงสาคัญของโลกกันเลยดีกว่า

1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change)

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งหนึ่งย่อมส่งผลต่อสิ่งอื่น ๆ (Butterfly Effects) ดังเช่น การคิดค้นลิฟท์ได้เมื่อต้นทศวรรษ 1990 ได้เปลี่ยนหน้าตาของอุตสาหกรรมการออกแบบและก่อสร้างอาคาร อาคารบ้านเรือนที่เคยสร้างกันเพียงไม่กี่ชั้น ได้กลายเป็นตึกระฟ้าในปัจจุบัน ราคาและผลตอบแทนของการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพิ่มสูงขึ้น การใช้ชีวิตของผู้คนหันมาเป็นแบบแนวดิ่งมากกว่าเพียงแนวระนาบ และสังคมเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว มาถึงวันนี้ เราต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ผันผวนและรุนแรงขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อหลายสิ่งในวงกว้างเช่นกัน

สภาพอากาศได้แสดงให้เห็นถึงพลังที่น่าสะพึงกลัวจนทาให้ผู้คนต่างวิตกกัน สภาวะโลกร้อน (Global Warming) ได้ส่งผลให้หลายพื้นที่ขาดสมดุลทางธรรมชาติไป บางแห่งแห้งแล้ง อุณหภูมิสูงขึ้น ขณะที่อีกแห่งหนึ่งประสบปัญหาน้าท่วมและระดับน้าทะเลเพิ่มสูงขึ้น นักวิชาการประเมินว่า ระดับน้าทะเลโลกจะสูงขึ้นมากกว่า 80 เซ็นติเมตรภายในปี 2643 หรือเฉลี่ยปีละเกือบ 1 เซ็นติเมตร ซึ่งจะตามมาด้วยการเกิดของพายุที่ใหญ่และถี่ขึ้น รวมทั้งคลื่นขนาดใหญ่ น้าท่วมก็กาลังเกิดขึ้นจนชินตาทั่วทุกหัวระแหง ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เจริญแล้วในยุโรปและสหรัฐอเมริกา หรือประเทศกาลังพัฒนาอย่างอินเดียและบังคลาเทศ หรือแม้กระทั่งบางประเทศในตะวันออกกลาง หรือว่าเหตุการณ์น้าท่วมโลกดังเช่นในภาพยนต์ “Water World” ดูจะใกล้เป็นจริงขึ้นทุกขณะ

ก่อนหน้านี้ เราได้เห็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวและพายุหิมะครั้งใหญ่สุดในรอบหลายสิบปีที่เกิดขึ้นในจีน การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบขั้วโลก หรือแม้กระทั่งพายุไต้ฝุ่นระลอกแล้วระลอกเล่าที่พัดเข้าใส่ประเทศเพื่อนบ้านในเอเซียของเรา อย่างฟิลิปปินส์ เวียตนาม ไต้หวัน และญี่ปุ่น รวมทั้งการขยายตัวของพื้นที่ทะเลทรายในหลายประเทศ คลื่นความร้อน (Heat Wave) ที่เคลื่อนตัวเข้าไปคร่าชีวิตผู้คนหลายร้อยชีวิตในยุโรปอย่างไม่เคยนึกฝัน

ในขณะที่หลายประเทศในแอฟริกาต้องเผชิญกับความแห้งแล้ง แหล่งน้าที่เคยใช้อยู่หดหายไป การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์เป็นไปอย่างทุลักทุเล นอกจากต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังพบว่าผลิตภาพ (Productivity) ของสินค้าเกษตรก็ตกต่าลงอย่างน่าใจหาย ทาให้กิจการท้องถิ่นล้มหายตายจากไปเป็นแถว ... นี่ยังเป็นเพียงการเริ่มต้นของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ!

แน่นอนว่า เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น ผลกระทบทางธุรกิจนับวันแต่จะเพิ่มขึ้นจนยากที่จะคาดเดา เราได้เห็นอุปสงค์ของร่มและเสื้อกันฝนที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อน เรือยางกาลังจะกลายเป็นสิ่งจาเป็นที่ต้องหาซื้อติดไว้ประจาบ้าน ที่ดินริมน้าในหลายประเทศถูกเวนคืนหรือมีราคาลดลงอย่างฮวบฮาบ ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา และรายงานสภาพอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ตกลับมาได้รับความนิยมอย่างไม่น่าเชื่อ

องค์การระหว่างประเทศ อาทิ องค์การสหประชาชาติ จาเป็นต้องเร่งจัดซื้อและขนส่งอาหารและสินค้าอื่นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกันเพิ่มขึ้น ขณะที่หลายกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วชั้นนาอย่างกลุ่มจี 8 (G8) และจี 20 (G20) ต่างหยิบยกเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยเฉพาะสภาวะโลกร้อน ขึ้นมาเป็นประเด็นใหญ่ในการหารือกันอย่างกว้างขวาง กระแสดังกล่าวขยายไปถึงกลุ่มประเทศกาลังพัฒนาผ่านหลายองค์กร อาทิ กลุ่มจี 77 (G77)

ขณะเดียวกัน รัฐบาลของหลายประเทศได้ทยอยออกมาตรการรองรับเรื่องนี้กันมากมาย แม้กระทั่ง ในการประชุมสุดยอดของประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออกเมื่อปลายเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา ณ อาเภอหัวหิน ที่ประชุมยังได้เห็นชอบที่จะร่วมกันเพิ่มปริมาณสารองสินค้าเกษตรระหว่างกัน ออสเตรเลียได้ออกนโยบายแห่งชาติเพื่อรับมือกับระดับน้าที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่ประธานาธิบดีของประเทศหมู่เกาะมัลดีฟส์ (Maldives) ที่เลื่องชื่อด้านความสวยงามของท้องทะเล ยังเรียกความสนใจจากประชาชนในประเทศต่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของระดับน้าทะเลและผลกระทบที่จะมีต่อความอยู่รอดของประเทศ โดยจัดให้คณะรัฐมนตรีของตนไปฝึกอบรมการดาน้าเพื่อเตรียมความพร้อมสาหรับการประชุมคณะรัฐมนตรีใต้น้าในอนาคต

ผมเชื่อมั่นว่า ในอนาคต เราจะได้เห็นราคาสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปที่จะผันผวนมากขึ้น ธุรกิจการเกษตรจะเปลี่ยนมาใช้อาคารแทนผืนดินกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งนั่นหมายถึงว่า ขนาดและทาเลที่ตั้งในการทาการเกษตรกรรมของโลกจะเปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจเช่าเรือยางจะเห็นกันดาษดื่นเหมือนการเช่ารถและไม่จากัดอยู่เฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวทางน้าในปัจจุบันเท่านั้น และรถสะเทิ้นน้าสะเทิ้นบกคงวิ่งกันเกลื่อนกลาดในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ รูปแบบและวิธีการก่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยในหลายประเทศจะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสทางธุรกิจมากมายที่รออยู่

การเข้าใจถึงและฉกฉวยจังหวะโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอาจนาไปสู่โอกาสทางธุรกิจแก่ SMEs ของไทยมากมาย ขณะเดียวกันภาครัฐของไทยเองก็ควรมีแผนและมาตรการฉุกเฉินสาหรับช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรและ SMEs ของไทยในทศวรรษหน้า

2. วิกฤติการเงินและเศรษฐกิจโลก (Financial and Economic Meltdown)

วิกฤติการเงินโลกได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลก นักวิเคราะห์จานวนมากเชื่อว่า วิกฤติในครั้งนี้อาจรุนแรงและแผ่วงกว้างกว่าครั้งใด ๆ และนับเป็นบททดสอบครั้งสาคัญที่สุดนับแต่เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่ (Great Depression) เมื่อทศวรรษที่ 1930

ประเทศพัฒนาแล้วล้วนตกหลุมลึกแห่งวิบากกรรมเศรษฐกิจในครั้งนี้ จนหลายฝ่ายคาดว่าประเทศและกิจการจานวนมากจะใช้เวลานานกว่าจะปีนป่ายขึ้นสู่ปากเหวได้หรืออาจต้องเวียนว่ายขึ้นลงต่อไปอีกนานหลายรอบ ขณะที่ประเทศกาลังพัฒนาส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นพันธนาการดังกล่าว และมีเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังมีกาลังเหลือมากพอที่จะช่วยขับเคลื่อนและฟื้นเศรษฐกิจโลกได้จากวิกฤติครั้งนี้ได้

การอ่อนกาลังลงของกลุ่ม G7 และการเพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจของกลุ่ม G20 ในเวทีโลก นับเป็นตัวอย่างสาคัญของการเปลี่ยนเชิงโครงสร้างที่ประเทศกาลังพัฒนาที่มีศักยภาพสูงอย่างจีน อินเดีย และบราซิล เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลและจะขยายบทบาทมากยิ่งขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคต กล่าวโดยสรุปก็คือ โครงสร้างตลาดและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจโลกกาลังเปลี่ยนถ่ายจากโลกเก่าไปยังโลกใหม่มากขึ้น

การอ่อนค่าและลดบทบาทลงของเงินเหรียญสหรัฐฯ ในเวทีการค้าโลกและการเป็นทุนสารองเงินตราต่างประเทศหลักของนานาประเทศเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นทุกขณะ แม้ว่าเงินเหรียญสหรัฐฯ จะยังคงเป็นสกุลเงินยอดนิยมอยู่ในปัจจุบัน แต่สัดส่วนการใช้เงินเหรียญสหรัฐฯ เป็นทุนสารองฯ ณ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ลดลงเหลือร้อยละ 62.8 ซึ่งเป็นระดับต่าสุดนับแต่ปี 2538 และคาดว่าจะลดลงไปอีกมากในทศวรรษหน้า

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกยังส่งผลให้สินเชื่อจากสถาบันการเงินในหลายประเทศหดตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วงปีที่ผ่านมา (โดยอาจมีข้อยกเว้นในกรณีของจีนที่สถาบันการเงินรายใหญ่ยังอยู่ในรูปมือของรัฐ) SMEs มองหาแหล่งเงินทุนใหม่ยากขึ้น

หากปราศจากนโยบายและมาตรการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ การปล่อยสินเชื่อก็ดูเหมือนจะถูกแช่แข็งไปอีกนาน ผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับ SMEs ก่อนใครและดูเหมือนจะเป็นรายท้าย ๆ ที่จะหลุดพ้นบ่วงกรรมเศรษฐกิจหรือได้รับประโยชน์จากมาตรการความช่วยเหลือใด ๆ ของภาครัฐ SMEs ของไทยต่างต้องประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอย่างแน่นอน เพราะกิจการรายย่อยและกลางของไทยล้วนมีข้อจากัดค่อนข้างมากเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าสู่แหล่งเงินทุน ทั้งผ่านตลาดหลักทรัพย์และสถาบันการเงิน

สินค้าจาเป็น (Necessity Products) ยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค แต่มิได้หมายความว่า สภาพตลาดจะคงเป็นเช่นเดิม เพราะผู้คนจะมีความอนุรักษ์นิยมมากขึ้นและมองหา “ความคุ้มค่า” ที่สูงขึ้นจากเม็ดเงินที่จ่ายออกไปจานวนเท่าเดิม แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า “ไม่มีของดี ราคาถูก” ก็ตาม แต่ช่องทางจัดจาหน่ายและหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ยังคงพยายามมองหาสินค้าที่ผลิตด้วยต้นทุนที่ต่าและมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น การลดค่าใช้จ่ายด้านลอจิสติกส์และการเข้าสู่ช่องทางจัดจาหน่ายสมัยใหม่จะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน SMEs ของไทยควรแสวงหาโอกาสทางธุรกิจในตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดขนาดใหญ่ที่กาลังเติบโตและมีศักยภาพอย่างแท้จริง เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันแย่งสัดส่วนทางการตลาดในตลาดเดิมที่หดตัวและเป็นไปอย่างเข้มข้น ประเทศในกลุ่ม BRICs อันได้แก่ ประเทศดาวรุ่งพุ่งแรงทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างบราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) และจีน (China) รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกพลังงานที่ร่ารวยจากการขยายน้ามันดิบและก๊าซธรรมชาติในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นับเป็นตลาดที่หอมหวนสาหรับนักธุรกิจทั่วโลก และแน่นอนว่า ยังมีตลาดในอีกหลายประเทศที่เปิดกว้างรอผู้ประกอบการไทยนาสินค้าและบริการที่ดี ๆ ไปประชันโฉมอยู่

3. การเติบใหญ่ของจีนและอินเดีย (Emerging Chindia)

ด้วยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปีในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทาให้จีนได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบทบาทนาในระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ไปโดยปริยาย และคาดว่าจะก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก แซงหน้าญี่ปุ่นภายใน 3 ปีข้างหน้า และทาบชั้นสหรัฐฯ ในฐานะประเทศยักษ์ใหญ่สุดทางเศรษฐกิจภายใน 15-20 ปี

ในปัจจุบัน ความสาเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจจีนได้ขยายตัวสู่เมืองอันดับรอง (Second-tier Cities) และเชื่อว่าจะแพร่กระจายสู่เมืองอันดับ 3 (Third-tier Cities) ภายใน 10 ปีข้างหน้า การให้ความสนใจจับกลุ่มเป้าหมายในตลาดจีนจึงนับว่ามีความคุ้มค่าอย่างยิ่ง จับพลัดจับผลูกิจการขนาดย่อมเหล่านั้นอาจขยายใหญ่ได้ในพริบตา

ด้วยการดาเนินนโยบาย “ลูกคนเดียว” (One-Child Policy) และความสาเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ทาให้มีคนจีนในวัยทางานที่มีกาลังซื้อหรือที่เรียกกันว่า “Chuppies” (Chinese Yuppies) เพิ่มขึ้นถึง 400 ล้านคนในปัจจุบัน ขณะที่เด็กและวัยรุ่นจีนจานวนมากก็กลายเป็นเสมือนฮ่องเต้วัยเยาว์ที่มีผู้ใหญ่ 6 คนเป็นแหล่งเงินสาหรับสนองตอบต่อความต้องการจับจ่ายใช้สอย ผลจากการวิจัยหนึ่งพบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของกาลังซื้อของแต่ละครอบครัวในเมืองใช้ผ่านสมาชิกตัวน้อยรายนี้

เมื่อต้นปี 2552 รัฐบาลจีนยังได้ประกาศให้คนที่เป็น “ลูกคนเดียว” ของครอบครัวที่แต่งงานกับ “ลูกคนเดียว” ของอีกครอบครัวหนึ่ง สามารถมีลูกได้ 2 คนแล้ว นั่นหมายความว่า ยุค “เด็กครองจีน” (Chaby Boom) ครั้งใหม่กาลังจะเกิดขึ้นอีกแล้ว อุปสงค์ในสินค้าที่เกี่ยวกับเด็กเล็ก ไม่ว่าจะเป็นบริการฝากครรภ์และพยาบาลเด็ก อาหาร เสื้อผ้า เครื่องมือและอุปกรณ์เลี้ยงลูก หนังสือ บันเทิง และอื่น ๆ จะขยายตัวตามมาอีกมาก

จีนยังเป็นตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นหรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 18 ของกาลังซื้อโดยรวมทั้งหมด ด้วยการเติบโตของกาลังซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยระหว่างร้อยละ 10-20 ต่อปี ก็ทาให้คาดว่าการจับจ่ายใช้สอยซื้อหาสินค้าฟุ่มเฟือยของชาวจีนจะคิดเป็นเกือบร้อยละ 30 ของกาลังซื้อของโลก แซงหน้าของญี่ปุ่นขึ้นเป็นหมายเลข 2 ของโลกภายใน 1- 2 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมรถยนต์ในจีนก็เป็นหนึ่งในสีสันที่สะท้อนกระแสความมือเติบของชาวจีนในยุคนี้

ท่านจะเชื่อหรือไม่ว่า รถยนต์หรูราคาแพงก็ขายดีที่สุดในจีน ตัวอย่างเช่น “เบนท์ลีย์” (Bentley) จาหน่ายรถลีมูซีนรุ่น Mulliner 728 ซึ่งถือเป็นรถยนต์นั่งที่แพงที่สุดในโลก ในกรุงปักกิ่งมากกว่าเมืองใด ๆ ในโลก ขณะที่รถยนต์ชั้นนาอย่างเมอร์ซิเดส-เบนซ์ (Mercedes-Benz) บีเอ็มดับบลิว (BMW) และเล็กซัส (Lexus) ต่างอิ่มเอมกับยอดขายถึงประมาณ 2,000 คันต่อเดือน

งานวิจัยของสมาคมตราสินค้าจีน (China Brand Association) ยังระบุว่า มากกว่า 13% ของชาวจีนหรือประมาณ 170 ล้านคน ซื้อสินค้าที่มียี่ห้อชั้นนาเป็นประจา และคนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี นอกจากนี้ ชาวจีนยังบริโภคขนมขบเคี้ยวและอาหารทานเล่นมากขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ประมาณว่าปัจจุบันชาวจีนบริโภคไอศกรีมเฉลี่ย 2.3 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือคิดเป็นประมาณรวม 2.4 ล้านกิโลกรัมต่อปี ประการสาคัญ ตลาดไอศครีมในจีนซึ่งมีมูลค่ากว่า 3,000 เหรียญสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ยังคงเดินหน้าขยายตัวในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี เรายังสามารถหยิบยกโอกาสทางธุรกิจอีกมากมายจากการเติบใหญ่ทางเศรษฐกิจของจีนในอนาคต

จากสถิติของ The Economist Intelligence Unit ประมาณว่า จานวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 50 ล้านคน/ครั้งเมื่อปี 2551 เทียบกับจานวน 12 ล้านคนในปี 2544 ขณะที่องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) คาดการณ์ว่า จานวนนักท่องเที่ยวชาวจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านคน/ครั้งในปี 2563 ภาษาแมนดารินจะกลายเป็นภาษาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและกลายเป็นภาษาระหว่างประเทศเพื่อสื่อสารระหว่างนักธุรกิจจีนและเครือข่ายในทศวรรษหน้า การรู้ภาษาจีนกาลังจะกลายเป็นสิ่งจาเป็นในการเอาประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ของจีน

ขณะที่จีนกาลังจะกลายเป็นตลาดสินค้าบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเกือบทุกรายการสินค้า อินเดียซึ่งมีจานวนประชากรในจานวนที่ใกล้เคียงกันและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รุดหน้า ก็กาลังเติบโตไล่ตามความยิ่งใหญ่ของจีนใน 10 ปีตามมา

ความยิ่งใหญ่ของจีนและอินเดียปรากฏในหลากหลายมิติ ปัจจุบัน จีนและอินเดียรวมกันมีจานวนประชากรถึงประมาณ 2,500 ล้านคน คิดเป็นมากกว่าร้อยละ 1 ใน 3 ของโลก และคาดว่าจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในอนาคต หากนับรวมเครือข่ายคนจีนและอินเดียโพ้นทะเลที่กระจายตัวไปอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าไปอีก จานวนรวมคงเพิ่มอีกเกือบเท่าตัว

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า กาลังคนจานวนมหาศาลเหล่านั้นย่อมเป็นแรงงานขับเคลื่อนภาคการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้จีนและอินเดียมีความได้เปรียบในการเป็นฐานการผลิตสาคัญของโลกในเกือบทุกสินค้าและบริการ โดยที่ผ่านมา จีนเป็นฐานการผลิตอันดับหนึ่งของโลกในหลากหลายสินค้า อาทิ สิ่งทอและเสื้อผ้า คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ ... ขณะที่อินเดียฉายแววโด่งดังกับภาคบริการอย่างธุรกิจบันเทิง ซอฟท์แวร์ และบริการ Outsourcing แน่นอนว่า การมีงานทา ย่อมนามาซึ่งรายได้และกาลังซื้อของภาคประชาชน

ผลจากการสารวจเมื่อกลางปี 2552 ที่ผ่านมา ยังพบว่า ประเทศจีนมีมหาเศรษฐีที่มีสินทรัพย์ระดับพันล้านหยวนขึ้นไปอยู่ถึง 1,000 คนในปี 2552 เพิ่มขึ้นจาก 100 คนเมื่อปี 2547 หรือเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าในช่วง 5 ปี ขณะที่ประเทศอินเดียเองก็ได้รับการกล่าวขวัญว่ามีจานวนเศรษฐีเงินล้านมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกเช่นกัน ปัจจุบัน อินเดียเป็นตลาดทองคาที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยซื้อขายกันถึงกว่า 300 ตันต่อปี

ซีอีโอของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชาวอินเดียท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “ในอินเดีย มีคนจานวน 400 ล้านคนที่ต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ในช่วง 20 ปีข้างหน้า ซึ่งคิดเป็นมากกว่าจานวนที่พักอาศัยในสหรัฐฯ ที่สร้างมานับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2” การปรับปรุงโครงการสร้างพื้นฐานในอินเดียนับเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่งยวด รัฐบาลอินเดียและรัฐบาลท้องถิ่นยังต้องใช้อีกหลายสิบปีในการพัฒนาระบบไฟฟ้าและน้าประปาให้ได้มาตรฐานสากลและมีความน่าเชื่อถือ ขณะที่ระบบรางรถไฟและเครือข่ายความยาวกว่า 62,000 กิโลเมตรยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาสู่ระบบที่ทันสมัยเท่านั้น ชาวจีนและอินเดียที่กระจายอยู่ทั่วโลกเหล่านี้ยังมีกาลังทรัพย์มากขึ้นจึงกลายเป็นตลาดสินค้าและบริการขนาดใหญ่ สินค้าและบริการฟุ่มเฟือยที่ไม่คิดว่าชาวจีนและอีนเดียจะมีกาลังซื้อที่มากพอกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนในประเทศทั้งสองซื้อหากันอย่างดาษดื่น ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสทางธุรกิจของ SMEs ไทยที่ต้องการหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา อย่างไรก็ดี การจับตลาดที่เหมาะสมหรือเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานด้านการผลิตที่เข้มแข็งนับเป็นแนวทางที่ถูกต้องในระยะยาว

นายโมโตกิ โอซากิ (Motoki Ozaki) ประธานกรรมการและซีอีโอของคาโอ คอร์ปอเรชั่น (Kao Corporation) กล่าวไว้ว่า โดยทั่วไปแล้ว การรักษาตลาดเดิมในอนาคตต้องการกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สลับซับซ้อนและละเอียดอ่อนมากขึ้น ความเย้ายวนทางอารมณ์ของสินค้าและบริการเพื่อสร้างความรู้สึกเชิงบวกและประสบการณ์ร่วมกลายเป็นสิ่งสาคัญ แต่ในตลาดใหม่ที่กาลังขยายตัว คุณสมบัติหรือหน้าที่หลักของสินค้าที่สอดคล้องกับกาลังซื้อยังเป็นปัจจัยหลักอยู่

อย่างไรก็ดี ดูเหมือนตลาดจีนและอินเดียดูจะถือเป็นข้อยกเว้น การจับตลาดและเชื่อมโยงกับเครือข่ายการผลิตในประเทศทั้งสองนี้มีความลาบากซ่อนอยู่มาก เหตุผลก็เพราะว่า ประการแรก ตลาดเหล่านี้มีขนาดใหญ่มาก ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และจานวนประชากร แถมยังมีการแบ่งกลุ่มของตลาดและความแตกต่างกันที่มากขึ้นทุกขณะ ปัญหานี้สลับซับซ้อนขึ้นเมื่อพิจารณาจากข้อจากัดด้านทรัพยากรของ SMEs ไทย

ประการที่สอง สิ่งที่ต้องทาความเข้าใจก็คือ ชาวจีน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ให้ความสนใจในสินค้าและบริการจากต่างประเทศที่มีคุณภาพดี ขณะที่ผู้คนที่อาศัยในเมืองรองก็ใส่กับ “คุณภาพ” มากขึ้น ผลการศึกษาของ ดร. ยูวะ เฮดดริค-วอง (Yuwa Hedrick-Wong) แห่งสถาบันมาสเตอร์การ์ดโลก (MasterCard Worldwide) ยืนยันว่า ความชื่นชอบในตราสินค้าต่างประเทศของชาวจีนในเมืองใหญ่มิได้ถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการในด้านสถานะทางสังคมดังที่หลายคนคิด แต่เกิดจากปัจจัยคุณภาพสินค้า การออกแบบ และสภาพแวดล้อมอื่น

สิ่งนี้สะท้อนว่าช่องว่างของการพัฒนาในแต่ละตลาดย่อยค่อนข้างกว้างและ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในการเข้าสู่ตลาดจีนและอินเดีย SMEs ของไทยจึงไม่เพียงแต่ต้องการกลยุทธ์การตลาดที่สลับซับซ้อนและละเอียดอ่อน (Complicated and Delicate Strategies) เท่านั้น แต่ยังต้องมีลักษณะเฉพาะ (Selective) และตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว (Responsive) อีกด้วย

กระแสจีนและอินเดียนิยมอาจแผ่วงกว้างไปทั่วโลกในอนาคต ตัวอย่างเช่น ความนิยมในอาหารจีนและอินเดียในแต่ละประเทศ ขณะที่เสื้อผ้าที่คงเอกลักษณ์ในความเป็นจีนและอินเดีย เช่น ผ้าไหมจีน เสื้อคอจีน กี่เพ้า และการแต่งกายด้วยส่าหรี รวมทั้งนักออกแบบจีนและอินเดียที่เคยได้รับ ความสนใจยู่ในวงจากัด คาดว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในระดับสากล ยิ่งผนวกกับแรงผลักดันของวงการแฟชั่นที่เติบโตไปตามความเจริญของประเทศทั้งสองด้วยแล้ว ก็เชื่อมั่นว่า แนวโน้มแฟชั่นโลกจะเปลี่ยนโฉมไปอิงวัฒนธรรมจีนและอินเดียเพิ่มมากขึ้นไม่มากก็น้อยในทศวรรษหน้า

4. ลูกค้าที่ฉลาดและเรียกร้องมากขึ้น (Smarter and More Demanding Customers)

นักการตลาดได้เน้นย้าถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้มานาน และเปรียบเปรยยกย่องผู้บริโภคสารพัด อาทิ “ลูกค้าคือพระราชา” “ลูกค้ามักถูกเสมอ” “ลูกค้าคือผู้กาหนดชะตาชีวิตของธุรกิจ” และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ไม่เคยมีใครคาดคิดว่า พฤติกรรมและอิทธิพลของลูกค้าที่มีต่อโลกธุรกิจจะรุนแรงมากถึงเพียงนี้ในปัจจุบัน

งานวิจัยจานวนมากพบสิ่งที่คล้ายคลึงกันในเรื่องนี้ อาทิ จานวน 9 ใน 10 ผู้นาโลกธุรกิจเห็นว่า ลูกค้าในปัจจุบัน “เรียกร้องมากขึ้น” กว่าเมื่อ 2-3 ปีก่อน และร้อยละ 33 เห็นว่าลูกค้ากาลัง “เรียกร้องสุด ๆ” กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และทาให้ SMEs ยากจะประสบความสาเร็จในโลกธุรกิจปัจจุบัน จากมุมมองของลูกค้า

พวกเขาเหล่านั้นเห็นว่า ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ ทุกสิ่งสามารถกระทาได้รวดเร็วขึ้น จึงเกิดความคาดหวังว่าการนาเสนอสินค้าและบริการจะต้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย วัฒนธรรมการตอบสนองบริการลูกค้าแบบ “เดี๋ยวนี้” กาลังกดดันและเปลี่ยนหน้าตาของธุรกิจเล็กใหญ่บนโลกใบนี้

ผู้บริโภคมีแหล่งข้อมูลและความรู้ในวงกว้างมากขึ้น พวกเขาไม่เพียงแค่รับรู้และใส่ใจกับข้อมูลเหล่านั้น แต่ยังใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวเรียกร้องสิ่งที่ดีกว่าจากผู้ผลิต ช่องทางจัดจาหน่าย รัฐบาล และผู้ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย อีกงานวิจัยหนึ่งที่สอบถามผู้ซื้อหาสินค้าจาหน่ายปลีกจานวน 1,000 รายได้ข้อสรุปว่า ร้อยละ 53 ใช้อินเตอร์เน็ตในการเปรียบเทียบคุณลักษณะและราคาสินค้าก่อนการตัดสินใจซื้อ

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคเหล่านั้นก็ดูเหมือนจะใส่ใจกับการพัฒนาคุณภาพและการออกแบบสินค้า และบริการหลังการขายเพิ่มมากขึ้น SMEs ของไทยจาเป็นต้องนาเสนอสินค้าที่มีต้นทุนต่า มีคุณภาพสินค้าและบริการที่ดี และตรงกับความต้องการและวิถีชีวิตของผู้บริโภค รวมทั้งยังต้องใส่ทรัพยากรมากขึ้นเพื่อรักษาลูกค้าที่มีอยู่และดึงดูดลูกค้าใหม่ในอนาคต ที่สาคัญกว่านั้น ก็คือ SMEs จะต้องไม่มองลูกค้าที่ชาญฉลาดและเรียกร้องมากขึ้นเหล่านี้ว่าเป็นภัยคุกคามต่อธุรกิจของตนเอง แต่ต้องประเมินว่านี่คือแหล่งข้อมูลสาคัญที่จะใช้เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการของตนเอง เพื่อโอกาสในการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน

การฝึกอบรมพนักงานในองค์กรเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการใหม่ของลูกค้าเป็นเรื่องใหญ่ของธุรกิจในปัจจุบัน กิจการแฟรนไชส์จานวนมากที่เจาะเข้าไปยังตลาดต่างประเทศมักประสบปัญหากับวัฒนธรรมการให้บริการของคนท้องถิ่นที่แตกต่างกัน แฟรนไชส์ร้านกาแฟชั้นนาอย่างสตาร์บัคส์ คอฟฟี (Starbucks Coffee) คอสต้า คอฟฟี (Costa Coffee) และคอฟฟี บีน (Coffee Bean) ต่างต้องจัดโครงการฝึกอบรมให้แก่พนักงานใหม่ที่รับเข้ามาในแต่ละประเทศอยู่นานก่อนที่จะส่งออกสู่หน้าร้าน ผู้บริหารของโลตัสซุปเปอร์เซ็นเตอร์ (Lotus Supercenter) ในเมืองจีนเองก็ให้เวลาและทุ่มงบประมาณจานวนมหาศาลจัดคอร์สฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้บริการลูกค้าชาวจีนที่ฉลาดและเรียกร้องมากขึ้นทุกขณะ และเกือบทุกครั้งที่ท่านธนินทร์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการกลุ่มธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์ บินเข้ามาประชุมติดตามงานครั้งใด ก็มักหาเวลาพูดให้ข้อคิดและมุมมองกับพนักงานของโลตัสฯ อยู่เสมอ

จำนวนและความใกล้ “ปัญหา” ที่มากเกินไปทาให้ผู้บริหารจานวนมากคิดไม่ตกและอาจไม่มีเวลาคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรของตน การเปิดให้บริการฝึกอบรมผู้บริหารและพนักงานแก่กิจการต่าง ๆ จึงนับเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้น

5. นโยบายเศรษกิจเชิงรุกของรัฐบาลจีน

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้กาหนดนโยบายและดาเนินมาตรการเศรษฐกิจเชิงรุกออกมามากมาย โดยเฉพาะการผลักดันให้เงินหยวนเป็นสกุลสากล (Internationalization of RMB) นโยบาย “บุกโลก” (Go Global Policy) และการปฏิรูปที่ดิน (Land Reform) นโยบายและมาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจ การเงิน และสังคมโลกอย่างแน่นอน

5.1 การผลักดันให้เงินหยวนเป็นสกุลสากล (Internationalization of RMB)

หลายประเทศยังเริ่มมองหาเงินสกุลใหม่ที่น่าเชื่อถือในระดับระหว่างประเทศ จีนนับเป็นประเทศหนึ่งที่กาลังพิจารณาเปลี่ยนการถือครองเงินเหรียญสหรัฐฯ ไปสู่เงินสกุลใหม่ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินการคลังและสานต่อการพัฒนาประเทศของตนโดยไม่ต้องไปขึ้นอยู่กับความอยู่รอดของสหรัฐฯ

ขณะที่เศรษฐกิจของจีนก็ยังคงเดินหน้าขยายตัวต่อไป ... แข็งแกร่งและมีความเชื่อมโยงกับของนานาประเทศมากขึ้น ผนวกกับความพยายามของรัฐบาลจีนที่จะผลักดันให้เงินหยวนก้าวสู่ความเป็นระหว่างประเทศมากขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจากการสร้างเงินหยวนให้เป็นเงินระดับระหว่างประเทศในภูมิภาคและระดับสากลในที่สุด โดยต้องการเพิ่มระดับการใช้และการยอมรับในเงินหยวนในตลาดโลก โดยกาหนดมาตรการมากมาย อาทิ

  • การตกลงให้ฮ่องกงเริ่มเปิดบัญชีธุรกิจในรูปเงินหยวนนับแต่ปี 2547 และได้ขยายขอบข่ายของกิจการและธุรกิจฮ่องกงให้ค้าขายกับกิจการในจีนแผ่นดินใหญ่ในรูปเงินหยวนได้ด้วย
  • การขายพันธบัตรรัฐบาลในรูปเงินหยวนในตลาดฮ่องกงครั้งแรกเมื่อปี 2550
  • เมื่อต้นปี 2552 ธนาคารกลางของจีนได้ลงนามในความตกลงให้สว๊อป (Swap) เงินมูลค่า 650,000 ล้านหยวนกับเกาหลีใต้ (South Korea) ฮ่องกง (Hong Kong) เบลารุส (Belarus) อินโดนีเซีย (Indonesia) และอาร์เจนตินา (Argentina)
  • เมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้ประกาศทดลองให้กิจการใน 5 เมืองสาคัญ อันได้แก่ เซี่ยงไฮ้ (Shanghai) กว่างโจว (Guangzhou) เซินเจิ้น (Shenzhen) ตงก่วน (Dongguan) และจูไห่ (Zhuhai) ใช้เงินหยวนในการชาระบัญชีการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
  • แผนการขายพันธบัตรรัฐบาลในรูปเงินหยวนในฮ่องกงระลอกใหม่และดูเหมือนว่า ความเป็น “ระหว่างประเทศ” ของเงินหยวนอาจเริ่มต้นได้ก่อนในภูมิภาคอาเซียน เพราะหากพิจารณาจากทิศทางการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินหยวนและเงินสกุลต่าง ๆ ในอาเซียน เมื่อเทียบกับของเงินเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปีที่ผ่านมาแล้ว ก็พบว่ามีแนวโน้มเปลี่ยนขึ้นลงในทิศทางเดียวกันอย่างเหนียวแน่น กอรปกับความสาเร็จในการพัฒนากรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน-จีนที่ยังคงเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ก็จะยิ่งทาให้เศรษฐกิจของจีนเชื่อมโยงกับของประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ

รัฐบาลจีนยังมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่ต้องการให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลทางเลือกในการเป็นทุนสารองเงินตราต่างประเทศในที่สุด ซึ่งก็จะยิ่งทาให้เงินหยวนได้รับการยอมรับในวงการธุรกิจระหว่างประเทศรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยเม็ดเงินกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ของทุนสารองเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ในขณะนี้ ซึ่งมากกว่าอันดับ 2 อย่างญี่ปุ่นถึงกว่าเท่าตัว รัฐบาลจีนดูเหมือนจะมีทางเลือกกับนโยบายเงินตราต่างประเทศมากขึ้น จีนอาจดาเนินนโยบายเสรีทางการเงินในเชิงรุก แต่มิได้หมายความว่า ความเป็นสากลของเงินหยวนจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ผมประเมินว่า ทุนสารองเงินตราต่างประเทศของจีนน่าจะขึ้นไปแตะ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษหน้า หรือประมาณ 6-7 ปีจากนี้ ถึงวันนั้น พลังอานาจและบทบาททางเศรษฐกิจของเงินหยวนในเวทีสากลโลกก็น่าจะพัฒนาก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่งอย่างแน่นอน

ในทศวรรษหน้า เงินหยวนที่มีเสถียรภาพและได้รับการยอมรับในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกมากขึ้น ย่อมหมายถึงอุปสงค์และการเพิ่มค่าของเงินหยวนตามไปด้วย การส่งออกสู่ตลาดจีนและการลงทุนของ SMEs ไทยในรูปเงินหยวนในวันนี้จึงมิใช่เพียงการทากาไรจากผลตอบแทนการลงทุนโดยตรง แต่ยังหมายรวมถึงการได้รับประโยชน์ผ่านการเพิ่มค่าของเงินหยวน

5.2 นโยบาย “บุกโลก” (Go Global Policy)

เนื่องจากการเพิ่มค่าของเงินหยวนและตลาดที่เปิดเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนอาจประเมินว่า ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าส่งออกของจีนนับวันแต่จะลดลงในเชิงเปรียบเทียบกับของประเทศอื่น จึงได้กาหนดนโยบาย “บุกโลก” เพื่อผลักดันผู้ประกอบการของจีนให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศ จีนได้เปิดเกมส์โดยการเร่งสานสัมพันธ์ในระดับรัฐบาลกับนานาประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศในแอฟริกาดูจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่รัฐบาลจีนทุ่มทุนมหาศาล ทั้งแจกทั้งแถมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน และคานอานาจกับประเทศมหาอานาจเดิม การจัดประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจจีน-แอฟริกาเมื่อหลายปีก่อนก็ช่วยเป็นใบเบิกทางให้กิจการของจีนเจาะเข้าสู่ตลาดแอฟริกาได้อย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา

จากรายงานด้านการลงทุนของอังค์ถัด (UNCTAD’s World Investment Report) เมื่อปี 2551 การลงทุนโดยตรงของจีนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2533 เป็น 55,910 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2551 โดยในระหว่างปี 2545-2551 การลงทุนในต่างประเทศของจีนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 65.7 ต่อปี และมีกิจการของจีนไปลงทุนประกอบการในต่างประเทศรวมกว่า 12,000 ราย รวมสินทรัพย์กว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยกว่าร้อยละ 70 กระจุกตัวอยู่ในทวีปเอเซียและยุโรป

ผมประเมินว่า ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมของรัฐบาลจีน SMEs ของจีนอีกนับหมื่นรายคาดว่าจะออกไปลงทุนในต่างประเทศในทศวรรษหน้า ซึ่งในกรณีของกิจการเอกชน ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นด้านการค้าเป็นสาคัญ ขณะที่รัฐวิสาหกิจของจีนนิยมออกไปลงทุนในต่างประเทศในรูปแบบด้านการผลิต ตามด้วยการค้า เหมืองแร่ การขนส่ง และการแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติ โดยส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อป้อนกลับไปยังตลาดจีนตามนโยบายแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติของรัฐบาลจีน

นอกจากนี้ ยังพบว่า การออกไปลงทุนในต่างประเทศของกิจการจีนที่ได้รับการสนับสนุนของรัฐบาลจีนอยู่ในรูปแบบการควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition) เป็นส่วนใหญ่ และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะหลัง โดยมีจานวนขึ้นไปแตะ 6,500 รายในปี 2550 อย่างไรก็ดี แม้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 รัฐวิสาหกิจด้านน้ามันและเคมีจีนจะสามารถขยายการลงทุนผ่าน “เงินกู้เพื่อน้ามัน” ในมูลค่ารวมถึง 44,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับหลายประเทศ อาทิ รัสเซีย (Russia) บราซิล (Brazil) คาซัคสถาน (Kazakhstan) และเวเนซูเอลา (Venezuela) แต่หลายสิ่งมิได้โรยด้วยกลับกุหลาบ เพราะบริษัทของจีนเหล่านี้ต่างประสบปัญหาไม่สามารถปิดดีลการลงทุนอีกจานวนมากลงได้ อันเนื่องจากการต่อต้านของรัฐบาลประเทศเป้าหมาย

นโยบาย “บุกโลก” ดังกล่าวเปิดโอกาสให้ SMEs ของไทยสามารถขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเติบโตไปกับตลาดจีนได้ แต่กิจการของจีน ซึ่งมีแนวคิดการตลาดแบบ “กินรวบ” ก็เป็นภัยคุกคามและแรงกดดันต่อการแข่งขันกับ SMEs ของไทยในตลาดท้องถิ่นและตลาดที่ 3 ในขณะเดียวกัน SMEs ไทยอาจพลาดพลั้งสูญเสียตลาดและปิดกิจการลงได้ในชั่วข้ามคืน

5.3 การปฏิรูปที่ดิน (Land Reform)

หลายคนอาจสงสัยว่าทาไมมาตรการนี้ใหญ่มากขนาดติด 10 การเปลี่ยนแปลงสาคัญเลยหรือ มาตรการนี้นับเป็นการปฏิรูประบบเกษตรกรรมครั้งใหญ่ ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาหลายประการในเวลาเดียวกัน นับแต่สมัยประธานาธิบดีเติ้ง เสี่ยวผิง (Deng Xiaoping) เมื่อราว 30 ปีที่แล้ว รัฐบาลได้จัดสรรที่ดินผืนเล็กให้แก่เกษตรกรจีน โดยกาหนดให้ใช้ที่ดินเหล่านั้นเพื่อการเกษตรและสามารถเป็นมรดกตกทอกไปสู่ลูกหลานได้ แต่ไม่สามารถขายที่ดินเหล่านั้นได้ ส่งผลให้เกษตรกรเหล่านั้นมิได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเมืองที่ขยายตัวและราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้นได้ เมื่อเทียบกับนักธุรกิจที่อยู่ในเมืองที่สามารถถ่ายโอนสิทธิในการใช้ประโยชน์ในที่ดินและทากาไรได้ในจานวนมหาศาล ทาให้ชาวนาชาวไร่ยังคงยากจนอยู่

จนกระทั่งรัฐบาลจีนได้ประกาศมาตรการดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2551 อนุญาตให้เกษตรกรสามารถถ่ายโอนสิทธิในการใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนให้แก่ผู้อื่นได้ (แต่เพื่อการเกษตรเท่านั้น) ที่ผมคิดว่ามาตรการนี้มีความสาคัญมากก็เพราะมันเกี่ยวข้องกับเกษตรกรจานวน 750 ล้านคน ที่ดินประมาณ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตรในจีน และกระทบต่อไปยังการขยายตัวของสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรมในวงกว้าง

ในขณะที่สังคมเมืองได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเราได้เห็นเกษตรกรจีนประมาณ 210 ล้านคนละทิ้งพื้นที่การเกษตรมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองเพื่อหางานทาในภาคอุตสาหกรรมและชีวิตที่ดีกว่า สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับรัฐบาลจีนเป็นอย่างยิ่ง การขยายตัวของสังคมเมืองมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น ประมาณว่าร้อยละ 50 ของจานวนประชากรจีนทั้งหมดจะอาศัยอยู่ในเมืองในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า จนหลายฝ่ายเชื่อว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบใหม่จะเกิดขึ้นในจีน จานวนแรงงานภาคการเกษตรที่ผันตัวเองเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมจะช่วยให้อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นปัจจัยสาคัญในการผลิตสามารถเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนได้ต่อไป

ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนอาจไม่ต้องกลุ้มใจกับการสูญเสียแรงงานในภาคการเกษตรดังเช่นที่เคยมีมา เพราะการถ่ายโอนสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการเกษตรดังกล่าวจะทาให้นักธุรกิจหรือเกษตรกรที่มีเงินทุนเข้าไปรวบรวมซื้อสิทธิ์ในที่ดินแปลงย่อมเหล่านั้นเพื่อจัดทาเกษตรแปลงใหญ่ (Scale Management) พร้อมนาเอาการจัดการเกษตรกรรมสมัยใหม่และเครื่องจักรเครื่องมือการเกษตรขนาดใหญ่เข้ามาช่วยทดแทนการใช้แรงงานด้านการเกษตร ซึ่งจะนาไปสู่ผลิตภาพและผลกาไรในภาคการเกษตรที่สูงขึ้น การขาดแคลนผลผลิตทางการเกษตรอาจจะเป็นเพียงภาพในอดีตเท่านั้น

จากมาตรการดังกล่าว เราจะได้เห็นผลกระทบที่ต่อเนื่องไปยังหลากหลายภาคส่วน รูปแบบการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไปทาให้เป็นโอกาสของหลายธุรกิจ แม้กระทั่งอุปสงค์ของเครื่องจักรเครื่องมือการเกษตรขนาดใหญ่จะเพิ่มขึ้น รายได้และผลกาไรของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตจะช่วยลดช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนเมืองและคนในชนบท ประเมินว่า ผลจากการดาเนินมาตรการดังกล่าวจะทาให้รายได้ของเกษตรกรจานวน 700-800 ล้านคนเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวภายใน 12 ปี ท่านผู้อ่านลองนึกภาพต่อว่า นั่นหมายถึง กาลังซื้อในชนบทจีนที่จะเพิ่มขึ้นอีกขนาดไหนในทศวรรษหน้า ในทางกลับกัน อุปสงค์การนาเข้าสินค้าเกษตรของจีนอาจจะลดลง และอาจรวมถึงการส่งออกในสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปบางรายการที่มีราคาต่าลงและคุณภาพดีขึ้นก็จะเกิดขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกษตรกร ผู้ส่งออก และภาครัฐของทุกประเทศควรให้ความสนใจและติดตามอย่างใกล้ชิด

6. นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technology Breakthrough)

ขณะที่อินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นของขวัญชิ้นที่ดีที่สุดที่คนในปัจจุบันได้รับจากคนในศตวรรษที่ผ่านมา แต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีก็ยังคงเดินหน้าเป็นกลไกพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวโลกไม่เว้นแต่ละวัน

ในทศวรรษนี้ เราได้เห็นและใช้ประโยชน์จากกูเกิ้ล (Google) ยูทิวบ์ (UTube) เฟซบุ๊ค (Facebook) ไฮไฟว์ (Hi 5) และทวิตเตอร์ (Twitter) ในการค้นหาข้อมูลและสื่อสารข้ามประเทศในราคาที่แสนประหยัดและรวดเร็วทันใจ งานวิจัยและการทดลองด้านการโคลนนิ่ง (Cloning) และสเต็มเซลล์ (Stem Cell) ก็อาจเปลี่ยนภาพของมนุษยชาติอย่างสิ้นเชิงในอนาคต ขณะเดียวกัน อุปกรณ์และเครื่องใช้ประจาวันจานวนมาก อาทิ เกมส์วี (Wii Game) ไอพ็อด (iPod) ไอโฟน (iPhone) และอื่น ๆ อีกสารพัดก็ถูกนาเสนอสู่ท้องตลาดไม่เว้นแต่ละวัน อุปกรณ์และเครื่องใช้ประจาวันแต่ละชนิดดังกล่าวยังมีคุณสมบัติพิเศษที่หลากหลาย และช่วยให้การดารงชีวิตของผู้คนโดยรวมและนักธุรกิจในทุกระดับเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะจนเราเริ่มสงสัยว่าเราควรเรียกสินค้านั้นว่าอะไรกันแน่

กิจการข้ามชาติและกิจการที่มีหัวก้าวหน้าในโลกไอทีต่างใช้ประโยชน์จากระบบติดต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่รุดหน้าไปในการเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต บริการ และสร้างฐานลูกค้าใหม่ เหล่านี้อาจเป็นโอกาสสาหรับ SMEs ของไทยในการเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตและบริการดังกล่าว ขณะที่การว่าจ้างให้กิจการอื่นจัดการในกิจกรรมรอง (Outsourcing) ก็อาจเป็นโอกาสใหม่ทางธุรกิจ

โลกโฆษณาอาจเปลี่ยนหน้าตาไปอย่างสิ้นเชิง SMEs ของไทยอาจจัดสรรงบประมาณโฆษณาสินค้าและบริการของตนน้อยลงในทศวรรษหน้า หากรู้จักถึงวิธีการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยีการสื่อสาร ธุรกิจบริการ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร สปา โรงแรม และลอจิสติกส์ สามารถให้บริการจอง การสั่งซื้อ และบริการก่อนและหลังการขายผ่านระบบออนไลน์ ผู้นารัฐบาลหลายประเทศยังกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ กาลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกส่วนของภาคอุตสาหกรรม

การเสริมสร้างเครือข่ายทางธุรกิจและแบรนด์ระดับโลกอาจใช้เงิน เวลาและทรัพยากรอื่นที่ลดน้อยลง การบริหารจัดการองค์กรขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับตลาดโลกอาจเป็นไปได้ง่ายขึ้น แน่นอนว่า เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่มากขึ้นและเร็วขึ้นจากนวัตกรรมเทคโนโลยีในทศวรรษหน้า

การศึกษาซีอีโอระดับโลก (Global CEO) ของไอบีเอ็ม (IBM) เมื่อปี 2551 เสนอแบบจาลอง “นวัตกรรมเหนือจินตนาการของลูกค้า” (Innovative beyond Customer Imagination) สาหรับกิจการในอนาคต แบบจาลองใหม่นี้เน้นการสร้างและดาเนินการเกี่ยวกับนวัตกรรมและความคิดใหม่ ๆ ทั้งระบบ ผมเห็นด้วยว่า การเร่งสร้างและนาเอางานวิจัยและพัฒนา (R&D) มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้นนับเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับ SMEs ของไทยในอนาคต สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาและการสนับสนุนอย่างเต็มที่ในทุก ๆ มิติจากรัฐบาล

7. การปฏิรูปด้านพลังงาน (Energy Reform)

ประเทศยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และหากรัฐบาลของแต่ละประเทศยังใช้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัดความสาเร็จในการพัฒนาประเทศแล้วล่ะก็ ผมคิดว่าเรากาลังนาพาโลกไปสู่วิกฤติพลังงานและสิ่งแวดล้อมในอนาคต การเร่งพัฒนาบ้านเมืองโดยอาศัยพลังงานจากปิโตรเคมีเป็นหลักย่อมหมายถึงการเพิ่มระดับการใช้พลังงานและเร่งการเกิดภาวะเรือนกระจกและผลเสียต่อระบบนิเวศน์อย่างหลีกเลี่ยงมิได้

ปัจจุบัน แม้ว่าสหรัฐฯ จะมีประชากรรวมเพียงร้อยละ 5 ของจานวนประชากรโลก แต่คนอเมริกันใช้พลังงานคิดเป็นร้อยละ 26 ของปริมาณการใช้พลังงานโดยรวมของโลก ท่านลองนึกภาพที่จีนและอินเดียเป็นมหาอานาจทางเศรษฐกิจของโลกในอีก 20-30 ปีข้างหน้าดูซิว่าจะเป็นเช่นไร หากเรายังไม่มีแหล่งพลังงานที่สะอาดและน่าเชื่อถือมากกว่าที่เป็นอยู่

ดังนั้น อนาคตของโลกจึงไม่สามารถยึดติดกับแหล่งและวิธีการใช้พลังงานอย่างที่เป็นอยู่ หากใครสามารถพัฒนารูปแบบและวิธีการใช้พลังงานใหม่ที่สะอาด ประหยัด และนากลับมาใช้ใหม่หรือมีอย่างไม่สิ้นสุดได้ ก็จะสามารถเป็นผู้นาและกาหนดบริบทใหม่ของโลกพลังงานในอนาคตได้ โรงแรมห้าดาวแห่งหนึ่งในนครเซี่ยงไฮ้ลงทุนวิเคราะห์และปรับระดับการใช้พลังงานตามการเข้าออกของลูกค้า ส่งผลให้ระดับต้นทุนต่อรายได้ของโรงแรมแห่งนี้ลดลงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับของโรงแรมอื่น

เมื่อตุลาคม 2552 สานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้ที่ผมบริหารงานอยู่ก็เริ่มโครงการ “กรีนที” (Green T) ซึ่ง T ย่อมาจาก Thai Trade Center in Shanghai เพื่อให้เป็นสานักงานสีเขียวกับเขาเช่นกัน โดยครอบคลุมถึงการประหยัดพลังงานและอุปกรณ์เครื่องใช้โดยรวมอย่างเป็นระบบ เช่น การปิดไฟฟ้าและเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ได้ใช้งาน ไม่เปิดเครื่องปรับอากาศในวันที่มีอากาศดี ลดการใช้กระดาษโดยให้พนักงานส่งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบไอที ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มระดับอ๊อกซิเจนในอากาศและพื้นที่สีเขียวภายในอาคาร จัดระเบียบข้าวของในสานักงานและกาจัดสิ่งที่ไม่จาเป็นเป็นประจาและทาความสะอาดครั้งใหญ่รายเดือน และอื่น ๆ ทาให้สามารถประหยัดพลังงานและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ไม่จาเป็นไปได้มาก และจากการวัดระดับ “ความสุข” ในการทางานของเจ้าหน้าที่และนักศึกษาฝึกงาน และความพึงพอใจในการบริการก็พบว่าดีขึ้นมาก

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังควรที่จะคิดถึงโอกาสทางธุรกิจและให้ความสาคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) โดยเฉพาะสินค้าใหม่ที่มีขนาดเล็ก เบา บาง และใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองน้อยกว่า อาทิ เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รถยนต์ โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์แบบพกพา และอื่น ๆ เพราะคาดว่าพลังงานจากอินทรีย์สารและสินค้าเทคโนโลยีสีเขียวจะเป็นที่ต้องการของมวลมนุษยชาติ ในทางกลับกัน สินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็จะต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่จากอุปสงค์ที่จะหดหายไปอย่างรวดเร็วในทศวรรษหน้า

8. การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนระลอกใหม่ (New Round of Trade and Investment Liberalization)

ในขณะที่โลกประสบวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลก หลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นาในด้านการค้าเสรีของโลก ได้เรียกร้องและนาเอามาตรการกีดกันทางการค้ากลับมาใช้ใหม่ และเมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วจะเริ่มกลับมาเรียกร้องการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนรอบใหม่ ขณะเดียวกัน เราอาจพบว่า แต่ละประเทศยังอาจกาหนดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) มาทดแทนอากรนาเข้าและเงื่อนไขการลงทุนอื่นที่หดหายไป

โดยหลักการแล้ว กระแสโลกาภิวัตน์ได้กดดันให้ SMEs ต้องมีความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศที่สูงขึ้น SMEs จานวนมากจะได้รับโอกาสจากการเปิดเสรีดังกล่าว แต่ในทางกลับกัน ผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการแข่งขันในระดับระหว่างประเทศที่ต่าก็จะได้รับผลกระทบในเชิงลบ โอกาสและผลกระทบดังกล่าวจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ระดับการเปิดเสรีของแต่ละประเทศและระดับความสามารถในการแข่งขันของกิจการแต่ละราย

ผลจากการวิจัยจานวนมากพบว่า พิธีการศุลกากร กฎระเบียบทางการค้า เงื่อนไขการขอใบอนุญาต และการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐนับเป็นอุปสรรคสาคัญที่กีดขวางการขยายตลาดของ SMEs สู่ต่างประเทศ ดูเหมือนว่าไม่ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะเป็นเช่นไร SMEs ก็ยังคงต้องประสบกับความยากลาบากกับการเจาะตลาดต่างประเทศมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

กิจการรายย่อยที่พึ่งพาแต่ตลาดภายในประเทศจะต้องเผชิญกับระดับการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจากกิจการต่างประเทศ ทางออกของ SMEs เหล่านั้นที่อาจเหลืออยู่หากไม่สามารถผันตัวเองก้าวสู่ตลาดต่างประเทศได้ ก็คือ การหันมาจับตลาดเฉพาะที่มีขนาดเล็กมากจนไม่น่าสนใจในมุมมองของกิจการข้ามชาติ หรือตลาดที่มีรากฐานจากความผูกพันกับวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผมขอย้าว่า เราไม่สามารถใช้ข้อมูลการค้าในอดีตสรุปผลกระทบของการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนเพียงแต่ละรายสินค้า/ธุรกิจได้ การวิเคราะห์ผลกระทบยังควรเปิดกว้างในมุมมองที่เป็นระยะยาว เราต้องหันมามองโลกของความเป็นจริงว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สินค้าและบริการที่ดีต้องอาศัยผู้ประกอบการที่เข้มแข็งควบคู่กันไป คุณภาพที่ดี ความเก่ง และความเร็วล้วนเป็นเรื่องในเชิงเปรียบเทียบที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และคงไม่มีรัฐบาลของประเทศใดที่จะยอมรับในเงื่อนไขการค้าและการลงทุนที่เสียเปรียบได้ตลอดไป ดังนั้น ด้วยการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังและถูกทิศทาง SMEs ของไทยยังพอเหลือเวลาและโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถในการแข่งขันระดับระหว่างประเทศของตนเองได้ในอนาคต ผมชอบคากล่าวที่ว่า “ชีวิตคือการต่อสู้” อย่าหมดความหวังกับผลกระทบที่ผ่านมา เพราะนั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความน่าสะพรึงกลัวเท่านั้น!

9. มาตรฐานสินค้าใหม่ในด้านคุณภาพและความปลอดภัย

ในระยะหลัง เราได้ยินข่าวเกี่ยวกับสินค้าที่ต่ากว่ามาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยในหลายประเภทสินค้าและประเทศ อาทิ ขนมขบเคี้ยว ของเด็กเล่น และอาหารสัตว์ ผู้อ่านหลายคนยังอาจงงที่ทราบว่าแม้กระทั่ง “ไข่” ยังมีของปลอม และล่าสุดหรืออาจเรียกได้ว่าสร้างความตื่นตระหนกที่สุดก็เห็นจะได้แก่ สินค้าอาหารของจีนที่ถูกปนเปื้อนด้วยเมลามีน (Melamine-tainted Products) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์นม ไม่ว่าจะเป็นนมผง โยเกิร์ต และขนมหวาน ซึ่งส่งผลให้เด็กจีนจานวนมากเสียชีวิตและต้องมีปัญหาสุขภาพระยะยาว

ข่าวการปนเปื้อนของอาหารดังกล่าวทาให้โลกต่างไม่มั่นใจในคุณภาพอาหารของจีน และกดดันให้รัฐบาลจีนต้องปฏิรูปวงการผลิตอาหารของตนอย่างจริงจัง อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายยังกังวลใจว่า หากปราศจากมาตรการกากับควบคุมที่ดีพอ กรณีดังกล่าวอาจไม่ใช่ข่าวสุดท้ายที่เราจะได้ยินจากสินค้าจีนและของประเทศอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้จึงทาให้รัฐบาลและผู้บริโภคของหลายประเทศออกมาตระหนักถึงความจาเป็นและเรียกร้องการกาหนดมาตรฐานสินค้าใหม่ของโลกในทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบขั้นพื้นฐานไปจนถึงสินค้าสาเร็จรูป

หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลจีนเองก็แปรวิกฤติเป็นโอกาสอีกครั้งด้วยการอนุมัติจานวนหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อปรับปรุงมาตรฐานและเทคโนโลยีการตรวจสอบอาหาร ผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลจีนถึงขนาดต้องเหนื่อยออกสารวจความคืบหน้าในการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารของโรงงานจานวนมากในหลายมณฑล ดังนั้น หากเรานิ่งนอนใจ ความเป็นผู้นาในวงการอาหารของไทยในตลาดโลกก็กลับมาแขวนอยู่บนเส้นด้ายอีกครั้ง โดยเฉพาะของกิจการรายเล็ก

แนวความคิด “สูงสุดคืนสู่สามัญ” (Back to Basic) คาดว่าจะได้รับความนิยมอีกครั้ง สินค้าที่มีความเป็น “ธรรมชาติ” อาหารและยาที่ทาจากวัตถุดิบที่เป็นอินทรีย์สาร (Organics) ที่มีคุณภาพดีคาดว่าจะได้รับความสนใจและมีอุปสงค์รองรับมากในอนาคต อย่างไรก็ดี ความท้าทายสาคัญกลับไปอยู่ที่ว่ามาตรฐานสินค้าดังกล่าวจะได้รับการปรับปรุงได้สูงขึ้นในระดับและความรวดเร็วมากน้อยเพียงใด เพราะหากมาตรฐานสินค้าอาหารยกระดับขึ้นสูงและรวดเร็ว อาจบั่นทอนโอกาสทางธุรกิจของอาหารออกานิกส์ก็เป็นได้

วิคเตอร์ ฟุง (Victor Fung) ซีอีโอของหลีแอนด์ฟุง (Li and Fung) แห่งฮ่องกงได้เคยกล่าวไว้ว่า ในอนาคต “แนวคิดของผู้บริโภคเกี่ยวกับคุณภาพมิได้ถูกประเมินจากลักษณะทางกายภาพของสินค้าเท่านั้น แต่จะขยายต่อไปยังกระบวนการผลิต ความปลอดภัยของสินค้า การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม” ดังนั้น SMEs ของไทยจึงควรจะขยายกิจการของตนโดยรับผิดชอบต่อสังคมในทุกกิจกรรมของห่วงโซ่แห่งคุณค่าไปพร้อมกัน

บทสรุป

เพื่อเผชิญกับความท้าทายของสภาพปัจจัยแวดล้อมใหม่ในทศวรรษหน้า ภาครัฐและเอกชนของไทยจาเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างรวดเร็วและเสริมสร้างความร่วมมือในเชิงลึกระหว่างกัน แทนที่จะกลัวกับการเปลี่ยนแปลง องค์กรธุรกิจที่จะอยู่รอดและเติบโตได้ในอนาคตจาเป็นต้อง “หิวกระหายต่อการเปลี่ยนแปลง” (Hungry for Change)

ผมเห็นว่า กิจการในทุกขนาดจาเป็นต้องมีมุมมองในเชิงรุก (Pro-Active) ต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้น ผมชอบคากล่าวของนายมาเซโอะ มาซากิ (Maseo Yamazaki) ประธานกรรมการและซีอีโอของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก จากัด (West Japan Railway Company) ที่ระบุว่า “กุญแจสู่ความสาเร็จของการเปลี่ยนแปลงคือ การปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด ... วัฒนธรรมองค์กรของเราจะต้องมีกลไกสนับสนุนและรองรับการเปลี่ยนแปลง” นั่นสะท้อนว่า การเปลี่ยนแปลงมุมมองความคิดมีความสาคัญยิ่งต่อการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษหน้า และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวควรเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในอันดับแรก ซึ่งจะทาให้การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในอนาคตในเชิงรุกให้ดาเนินไปได้อย่างเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์ องค์กรยังต้องการกระบวนการสร้างและปรับปรุงกลไกที่เป็นระบบภายในองค์กรเพื่อสานแนวคิดและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงลงสู่ภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง

ด้วยตลาดหลากหลายที่เปิดกว้างทั่วโลก SMEs ของไทยจึงควรทบทวนและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเตรียมพร้อมและเอาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมสาคัญที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษหน้า

การเชื่อมั่นและเดินหน้าอย่างจริงจังเพื่อ “การเปลี่ยนแปลง” ในสิ่งที่ดีกว่านับเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยแรงกายแรงใจของพวกเราคนไทยทุกคน วุฒิสมาชิกบารัค โอบามาของสหรัฐฯ สามารถแหวกฝ่าด่านนักการเมืองชั้นนามากหน้าหลายตาขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ได้ก็ด้วยความเชื่อมั่นในแคมเปญ “Change” เท่านั้น ผมจึงหวังใจว่า SMEs ของไทยจะสามารถฟันฝ่าแข่งขันในโลกธุรกิจในทศวรรษหน้าได้เช่นกัน ขอเพียงทุกท่านยอมรับการเปลี่ยนแปลง

ท่านพร้อมหรือยังกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น ....

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก ประเทศจีน   ลาว   SME  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ