Netizen จีนพุ่งทะลุ 420 ล้านคน ... ตลาดเป้าหมายใหม่ที่ไม่ควรถูกมองข้าม

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 26, 2010 14:43 —กรมส่งเสริมการส่งออก

พลเมืองเน็ต ... เพิ่มไม่หยุด ฉุดไม่อยู่

ท่านผู้อ่านคงได้รับทราบข่าวการเพิ่มขึ้นของจำนวนพลเมืองอินเตอร์เน็ต (Netizen) ของจีนมาแล้วไม่มากก็น้อย การเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นไปในอัตราเร่ง จากข้อมูลของ Google แสดงว่า สัดส่วนของจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในจีนต่อจานวนประชากรโดยรวมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในช่วงปี 2549-2550 และเป็นร้อยละ 6.5 ในปี 2550-2551 และก้าวกระโดดเป็นร้อยละ 22.5 ในปี 2551 และในปีนั้นเองที่จำนวนพลเมืองเน็ตของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 253 ล้านคน ก้าวแซงของสหรัฐฯ ขึ้นเป็นอันดับแรกของโลก ถึงขนาดว่า รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกาศเมื่อกลางปี 2552 ให้วันที่ 14 กันยายนเป็น “วันพลเมืองเน็ต” (Netizen Day) ซึ่งถือว่าเป็นวันครบรอบการส่งอีเมล์ฉบับแรกจากประเทศจีนไปยังต่างประเทศเมื่อปี 2530

แต่จากข้อมูลล่าสุดยิ่งสร้างความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น รายงานการพัฒนาอินเตอร์เน็ต ของจีนฉบับที่ 26 ของศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจีน (China Internet Network Information Center: CNNIC) ระบุว่า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2553 จำนวนพลเมืองเน็ตของจีนได้เพิ่มขึ้นจาก 338 ล้านคนไปแตะหลัก 420 ล้านคนเข้าให้แล้ว ขยายตัวร้อยละ 31.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 31.6 ของจำนวนประชากรโดยรวมของจีน

ชาวเน็ตจีน ... ออนไลน์ทุกที่ ทุกเวลา

เมื่อศึกษาเจาะลึกลงไปในโครงสร้างตัวเลขดังกล่าวก็พบว่า การเข้าสู่อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเติบโตขึ้นในอัตราที่สูงมาก จากจำนวน 155 ล้านคนขึ้นเป็นถึง 270 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.9 หรือเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนพลเมืองออนไลน์โดยรวมของจีน และขยายตัวถึงร้อยละ 43.3 เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่ผ่านมา ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ชาวจีนกำลังติดโทรศัพท์มือถือกันอย่างงอมแงม และใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อความสะดวกสบายมากขึ้นทุกขณะ กล่าวคือ ในจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตดังกล่าว มีจำนวนถึงเกือบ 50 ล้านคนที่เข้าสู่อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 11.7 ของจำนวนพลเมืองออนไลน์โดยรวม

จากการวิจัยของ McKinsey Insights China พบว่าช่วงไตรมาสแรกของปี 2551-ไตรมาสแรกของปี 2552 ชาวเน็ตจีนเข้าไปเสาะแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ตัวเลขสูงถึง 20 ล้านคนต่อเดือน ชุมชนชาวเน็ตจีนเหล่านี้กระจุกตัวและเติบโตเร็วที่สุดในกลุ่มวัยรุ่น แต่ชาวจีนที่สูงวัยก็เริ่มคุ้ยเคยกับการใช้อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวันมากขึ้น จากการวิจัยดังกล่าวเมื่อปี 2552 พบว่า สัดส่วนของผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 45-64 ปีที่ใช้อินเตอร์เน็ตในการแสวงหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าเพิ่มจากร้อยละ 10.6 เป็นร้อยละ 13.2

จากสถิติดังกล่าวยังสะท้อนถึงโอกาสทางธุรกิจของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบ 3G ในจีน ดังนั้น ในโลกยุคดิจิตัลที่ชาวจีนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ติดต่อสื่อสาร และซื้อหาสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ท่านผู้อ่านลองจินตนาการเอาว่าตลาดนี้จะใหญ่มากน้อยเพียงใด

พลเมืองเน็ตจีน ... มีสาระ เน้นพาณิชย์

จากการศึกษาของ www.alexa.com เมื่อปี 2552 พบว่าเว็บไซ้ท์ต่างประเทศยังได้รับความนิยมในอันดับต้น ๆ ในจีน อย่างไรก็ดี อันดับดังกล่าวคาดว่าจะเปลี่ยนแปลงไปมาก หากมีการศึกษาครั้งใหม่เกิดขึ้น เพราะปัจจุบันพลเมืองเน็ตจีนไม่สามารถเข้าสู่หลายเว็บไซ้ท์เครือข่ายได้ อันดับเว็บไซ้ท์ชั้นแนวหน้าในจีน ตามจำนวนการเข้าเยี่ยมชม

          1. google.com           2. facebook.com           3. youtube.com
          4. yahoo.com            5. live.com               6. wikipedia.com
          7. blogger.com          8. baidu.com              9. msn.com
          10. qq.com              11. yahoo.co.jp           12. twitter.com
          13. google.co.in        14. sina.com.cn           15. google.cn

นอกจากนี้ การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการพาณิชย์ก็ยังเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง โดยเฉพาะในหมวดบันเทิง การสื่อสาร และการค้นหาข้อมูล การเปิดกว้างของสินค้าออนไลน์รายการใหม่ ๆ นับเป็นปัจจัยสาคัญที่ช่วยกระตุ้นความต้องการในส่วนนี้ อุปสงค์ของเพลงและวิดีโอออนไลน์ยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการชาระเงินและบริการธนาคารมีจำนวน 128 ล้านคน (ร้อยละ 30.5) และ 122 ล้านคน (ร้อยละ 29.1) ตามลาดับ

อย่างไรก็ดี แหล่งข้อมูลในจีนประเมินตัวเลขชาวจีนที่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการจับจ่ายใช้สอย “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” (E-Commerce) แตกต่างกันออกไป เช่น iResearch ระบุตัวเลขจากการวิจัย ณ สิ้นปี 2552 ว่าอยู่ที่ 105 ล้านคน และคาดว่าในปี 2554 ตัวเลขดังกล่าวจะพุ่งสูงขึ้นอีกเท่าตัว ขณะที่ CNNIC ประเมินว่า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2553 จานวนดังกล่าวอยู่สูงถึง 142 ล้านคน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา แต่ไม่ว่าจะใช้ตัวเลขอ้างอิงของแหล่งใดก็ตาม ก็ยังพบว่าสัดส่วนของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการจับจ่ายใช้สอยของจีนยังต่ากว่าของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 80 อยู่ค่อนข้างมาก

จากการศึกษาของ China International Business ระบุว่า ในปี 2552 ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในจีนมีมูลค่าสูงถึง 190,000 ล้านหยวน (หรือประมาณ 950,000 ล้านบาท) ขณะที่ผลจากการวิจัยของ Visa ประเมินว่า ธุรกรรมการซื้อขายออนไลน์แบบ Business-to-Consumer (B2C) จะเพิ่มขึ้นจาก 11,000 ล้านหยวนในปี 2553 เป็น 24,000 ล้านหยวนในปี 2554 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการกระโดดเข้าสู่ตลาดนี้ของกิจการรายใหญ่อย่างมากหน้าหลายตาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ “Taobao” (เถาเป่า) เจ้าแห่งเว็บไซ้ท์แบบ Consumer-to-Consumer (C2C) ของจีน โดยประเมินว่า ตลาดซื้อขายออนไลน์รายนี้มีมูลค่าธุรกรรมสูงถึงกว่า 155,800 ล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 82 ของมูลค่าการซื้อขายผ่านเว็บไซ้ท์โดยรวมของจีน และในจานวนนี้ประมาณร้อยละ 30 เป็นธุรกรรมซื้อขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เพิ่งเริ่มขยายบริการเข้าสู่กลุ่มสินค้านี้เมื่อต้นปี 2553 เท่านั้น นอกจากนี้ ข้อมูลของเถาเป่ายังระบุว่า เว็บไว้ท์ชื่อดังรายนี้มีผู้ลงทะเบียนสมาชิกไว้สูงถึง 143 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 35 ของพลเมืองเน็ตจีนโดยรวม

“Baidu” (ไป่ตู้) ซึ่งเป็น “เครื่องจักรค้นหา” (Search Engine) ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในจีน ก็จับมือกับ “รากูเตน” (Rakuten) ของญี่ปุ่นเพื่อเข้าสู่ธุรกิจนี้แบบ B2C ขณะที่กิจการขนาดใหญ่หลายราย อาทิ กั๋วเหมย (Gome) และซูนหนิง (Sunning) ยักษ์ใหญ่แห่งวงการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของจีนก็ขยายบริการเข้าสู่ตลาดซื้อขายออนไลน์เช่นกัน

นอกจากนี้ ผลจากการศึกษายังพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า คนจีนในปัจจุบันใช้เวลากับการท่องอินเตอร์เน็ตมากกว่าสื่อโทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ ซึ่งสะท้อนว่าสื่ออินเตอร์เน็ตกาลังมีอิทธิพลและความน่าเชื่อถือต่อคนจีนมากขึ้นทุกขณะ การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคจีนดังกล่าวทำให้มือ การตลาดของกิจการในจีนเริ่มหันไปให้ความสาคัญกับกลุ่ม “Comsumerism” และโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ตลาดโฆษณาออนไลน์ในจีนมีโครงสร้างที่แตกต่างจากของสหรัฐฯ กล่าวคือ ขณะที่ Search Engine ที่ประสบความสาเร็จครองตลาดโฆษณาออนไลน์ในโลกตะวันตก แต่ในจีน “เว็บไซ้ท์” ที่มีจานวนผู้ใช้มากคือผู้ครองตลาดโฆษณานี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ “Baidu” เป็น Search Engine ที่ครองสัดส่วนการตลาดถึงกว่าร้อยละ 60 ของตลาดโดยรวม แต่กลับมีสัดส่วนในโฆษณาออนไลน์เพียงร้อยละ 21.5 ของตลาดโฆษณาออนไลน์ทั้งหมด โดยมี Google ตามมาห่าง ๆ ที่ร้อยละ 7.5 Taobao ร้อยละ 7.2 และ Sohu ร้อยละ 5.8

ขณะเดียวกัน แม้ว่าตลาดสื่อออนไลน์จะเบ่งบานอย่างมากในช่วงหลายปีนี้ แต่ธุรกิจโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ในจีนก็ยังถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น ผู้ประกอบการท้องถิ่นและระหว่างประเทศจานวนมากต่างทยอยเข้ามาหรือพยายามขยายขอบข่ายธุรกิจสู่ตลาดนี้กันมากขึ้น อาทิ บิ๊ง (Bing) ของไมโครซอพท์ (Microsoft) โซโซ (Soso) ของเทนเซนท์ (Tencent) และโซโก่ว (Sogou) ของโซหู (Sohu)

ชื่อโดเมนจีน ... เติบใหญ่

เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ผู้คนในวงการอาจกล่าวว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจีนยังไม่พร้อม เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ยังไม่มีบัตรเครดิต แต่เมื่อไม่กี่ปีผ่านมา เรากลับพบว่าคำกล่าวนั้นคลาดเคลื่อนไปเสียแล้ว ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจีนได้ขยายตัวสูงขึ้นโดยลาดับในระยะ 2-3 ปีหลังนี้ ผมมิได้หมายความว่าตลาดบัตรเครดิตในจีนเบ่งบานขึ้นแต่ประการใด แต่เป็นเพราะรัฐบาลจีนได้สร้างกลไกบุคคลที่ 3 เข้ามารับประกันความเสี่ยงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าออนไลน์ นอกจากนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนยังออกมาตรการจูงใจที่กาหนดอัตราค่าสมัครไว้เพียง 10 หยวนต่อชื่อโดเมน ทำให้ผู้ประกอบการออนไลน์จีนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ประมาณว่าทุกเดือนมีกิจการรายใหญ่หรือรายย่อยของจีนจดทะเบียนชื่อโดเมนใหม่ ๆ นับพันชื่อ อาทิ ctrip.com, gome.com.cn, suningshop.com, yongle,com.cn, ehaier.com, wooha.com, 360buy.com, newegg.com.cn, 51mdq.com, all3c.com, upin365.com.cn และ obook.com

ปัจจุบัน เราสังเกตเห็นผู้ค้าปลีกออนไลน์จำหน่ายสินค้าหลากหลายประเภทตั้งแต่หนังสือ เสื้อผ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า บัตรโทรศัพท์ เครื่องสาอาง ผลิตภัณฑ์นม และขนมขบเคี้ยวไล่ไปจนถึงสินค้าลอกเลียนแบบ ผู้ประกอบการรายใหญ่นิยมใช้อินเตอร์เน็ตเป็นตัวเสริมธุรกิจหลัก ขณะที่รายย่อยจานวนมากยังคงค้นหารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมอยู่ บางรายทำธุรกิจนี้เป็นเพียงงานอดิเรกโดยมีรายได้เพียงไม่กี่พันหยวนต่อเดือน ขณะเดียวกัน ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ จีนมีชื่อโดเมนจดทะเบียนถึง 11.21 ล้านชื่อ โดยในจานวนนี้เป็นชื่อโดเมน .cn ถึง 7.25 ล้านชื่อ คิดเป็นร้อยละ 64.7 ของจานวนชื่อโดเมนที่จดทะเบียนทั้งหมดของจีน ขณะที่ชื่อโดเมน .com มีอยู่ 3.32 ล้านชื่อ คิดเป็นเกือบร้อยละ 30 ของทั้งหมด โดยจำนวนของที่อยู่ภายใต้ IPv4 ของจีนขึ้นไปแตะ 250 ล้านรายเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งก็ไม่ค่อยจะเพียงพอกับความต้องการของพลเมืองเน็ทที่ประมาณ 420 ล้านในปัจจุบันอยู่แล้ว ดังนั้นจึงคาดการณ์ได้ว่าที่อยู่ภายใต้ระบบ IPv4 จะถูกใช้หมดในราวเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะเปลี่ยนไปใช้อินเตอร์ระบบ IPv6

โอกาสทางธุรกิจ ... มากมาย หลากหลาย

จากแนวโน้มดังกล่าวทำให้คาดการณ์ได้ว่า ณ สิ้นปี 2553 จานวนพลเมืองเน็ตของจีน น่าจะขึ้นไปแตะ 450 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 35 ของจานวนประชากรโดยรวมของจีน ผลจากการเติบใหญ่ของพลเมืองเน็ตในจีนทาให้เกิดโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ มากมาย ผมมองว่าการเติบใหญ่ของพลเมืองเน็ตจีนเป็นทั้งกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด สร้างช่องทางจัดจำหน่าย และนาไปสู่ความต้องการด้านบุคลากรในสาขาที่เกี่ยวข้องมากมาย อาทิ ด้านคอมพิวเตอร์ และลอจิสติกส์ ประการสาคัญยังเป็นโอกาสทองทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยในตลาดจีน เอาแค่การเริ่มต้นง่าย ๆ กับการให้เวลาและคิดทาเว็บไซ้ท์ภาษาจีนก่อนก็ได้ หลังจากนั้นก็ค่อยขยายขอบข่ายเอาเว็บไซ้ท์นี้ไปทามาหาจีนในรูปแบบอื่นต่อไป แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว ตลาดเป้าหมายนี้มิได้ถูกจัดแบ่งตามอายุ เพศ หรือปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล แต่จัดแบ่งตามอุปนิสัยที่ชอบออนไลน์ แต่จากการศึกษาของหลายสำนักก็สะท้อนว่า พลเมืองเน็ตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชั้นกลางและอยู่ในช่วง วัยรุ่นและวัยทำงาน นอกจากนี้ เรายังพบว่าพลเมืองเน็ตชาวจีนเหล่านี้ตัดสินใจซื้อหาสินค้าและบริการโดยได้รับอิทธิพลจากความคิดเห็นและคาแนะนาของคนที่ติดต่อกันผ่านระบบอินเตอร์เนต การเข้าถึงตลาด 1 ใน 3 ของจีนที่เติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเฉพาะที่เป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและวัยกลางคนที่มีกาลังซื้อสูงมากกำลังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงได้ ขอเพียงเราศึกษาและทาการตลาดอย่างถูกวิธี

ยิ่งเวลาผ่านไป เราจะเห็นได้ว่า แม้กระทั่งคนจีนที่สูงวัยก็มีแนวโน้มที่จะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้คล่องแคล่วยิ่งขึ้น กอรปกับฐานะความเป็นอยู่และอายุที่ยืนยาวขึ้นของคนจีน ทำให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

ด้วยอัตราการขยายตัวดังกล่าว มองออกไปอีก 5 ปีข้างหน้า เราอาจเห็นพลเมืองเน็ตชาวจีนเพิ่มขึ้นไปเฉียด 1,000 ล้านคน ลองคิดดูว่า หากท่านเริ่มต้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกทางในวันนี้ อีก 5 ปีข้างหน้ากิจการของท่านจะเติบใหญ่เพียงใด

รวบรวมและเรียบเรียงโดย

ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ผอ. สคร. ณ นครเซี่ยงไฮ้

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ