โครงการฉาง-จี๋-ถู ... พลังเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 26, 2010 15:17 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รวย ... รวย ... รวย จี๋หลินรวยกันอีกแล้ว

แต่หลายท่านคงสงสัยว่า มณฑลจี๋หลินอยู่แห่งหนตำบลใด ใหญ่ขนาดไหน และประการสำคัญ ทำไมถึงจะร่ำรวยกันอีกแล้วล่ะ สำหรับผู้ที่ติดตามการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมณฑลในแถบภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนหรือที่เรียกว่า “อีสานจีน” มาอย่างใกล้ชิดคงทราบข่าวความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่แถบอีสานจีนและมณฑลจี๋หลินในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และหากสนใจการเมือง ก็อาจได้ติดตามข่าวการขยับขึ้นรับตำแหน่งสำคัญของผู้บริหารระดับสูงของมณฑลฯ จานวนหลายท่าน

หนึ่งในข่าวสำคัญเมื่อปลายปี 2552 ของมณฑลจี๋หลินคงหนีไม่พ้นข่าวการให้ความเห็นชอบต่อโครงการจัดตั้งเขตนำร่อง “ฉางชุน-จี๋หลิน-ลุ่มแม่น้ำถูเหมิน (Changchun-Jilin-Tumen River Pilot Zone) ของรัฐบาลจีน ความสำคัญของข่าวดังกล่าวกลายเป็นที่มาของบทความที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนต่างคาดหวังอย่างสูงว่า “โครงการฉาง-จี๋-ถู” นี้จะเป็นพลังสาคัญที่จะช่วยผลักดันให้มณฑลจี๋หลินพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเป็นรูปธรรมในเร็ววัน

วันนี้ผมเลยขอพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับมณฑลจี๋หลินและ “โครงการฉาง-จี๋-ถู” กัน

อันที่จริงแล้ว จี๋หลินนับเป็นมณฑลขนาดเล็ก ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และขนาดเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับมณฑลอื่น ๆ ในภูมิภาคอีสานจีน ในเชิงภูมิศาสตร์ มณฑลจี๋หลินมีขนาด 187,400 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย พื้นที่ด้านเหนือติดมณฑลเฮยหลงเจียง (Heilongjiang) ด้านตะวันตกติดเขตปกครองอิสระมองโกเลียใน (Inner Mongolia) ด้านใต้ติดมณฑลเหลียวหนิง (Liaoning) ขณะที่ด้านทิศตะวันออกมีพรมแดนติดเกาหลีเหนือ (North Korea) และรัสเซีย (Russia)

ในด้านประชากรศาสตร์ มณฑลจี๋หลินมีประชากรประมาณ 30 ล้านคนหรือเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศไทย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น และมีคนจีนเชื้อสายเกาหลีด้านซีกตะวันออกของมณฑลอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวจี๋หลินโดยรวมมีลักษณะพิเศษในเรื่องความยิ้มแย้มแจ่มใสและจริงใจ ทาให้เป็นที่น่าคบหาอย่างยิ่ง

ในเชิงเศรษฐกิจ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของมณฑลเติบโตในอัตราอย่างน้อยร้อยละ 10 มานับแต่ปี 2546 และขยายตัวรวมถึงร้อยละ 51 ในระหว่างปี 2546-2550 ณ สิ้นปี 2552 มณฑลจี๋หลินมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) อยู่ที่ 720,300 ล้านหยวน (ประมาณ 105,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าสูงยิ่งกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศจีนค่อนข้างมาก ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 26,268 หยวน (ประมาณ 3,850 เหรียญสหรัฐฯ)

ขณะที่เมืองเศรษฐกิจสาคัญอันดับต้น ได้แก่ นครฉางชุน (Changchun) ซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑล และเมืองจี๋หลิน (Jilin City) อดีตเมืองเอกของมณฑลนี้ในยุคก่อน และนับว่าเป็นเพียงเมืองเดียวของจีนที่มีชื่อพ้องกับชื่อมณฑล นอกจากนี้ยังมีเมืองซื่อผิง (Siping) และซงหยวน (Songyuan) ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงเช่นกัน

มณฑลจี๋หลินมีโครงสร้างเศรษฐกิจจำแนกเป็นภาคเกษตรกรรมในสัดส่วนร้อยละ 15 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 45 และภาคบริการร้อยละ 40 กล่าวคือ มณฑลจี๋หลินนับเป็นแหล่งเพาะปลูกสินค้าเกษตรสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าว โสม และป่าไม้รวมทั้งปศุสัตว์ อาทิ การเลี้ยงกวาง แกะ และกบ รวมทั้งยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาติทางธรรมชาติ ซึ่งนับเป็นพื้นฐานสาคัญสาหรับการเป็นฐานการผลิตของหลายอุตสาหกรรมตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

อุตสาหกรรมสำคัญในมณฑลจี๋หลินนับว่ามีความหลากหลายมาก โดยครอบคลุมทั้งยา ปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม ทั้งนี้ ปิโตรเคมีนับเป็นอุตสาหกรรมหลักอันดับสองของมณฑล โดยมีบริษัทชั้นนาอย่าง Jilin Petrochemical Corporation ซึ่งเป็นโรงงานผลิตปิโตรเคมีแห่งแรกของจีนที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อกว่า 50 ปีก่อนเป็นตัวชูโรง และปัจจุบันมีสินทรัพย์โดยรวมทั้งสิ้นกว่า 100,000 ล้านหยวนเรียกว่าใหญ่ติดอันดับต้น ๆ ในอุตสาหกรรมด้านนี้ในเมืองจีน

เมื่อคราวที่ผมเดินทางไปสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจและกระชับความสัมพันธ์กับมณฑลจี๋หลินเมื่อกลางปี 2553 ผมยังได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงงานของ Changchun BCHT Biotechnology Co., Ltd. ที่ผลิตวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ ซึ่งเป็นโรงงานยาแห่งเดียวที่รัฐบาลจีนให้การรับรอง และไปดูเทคโนโลยีการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศของ Hongda Group ซึ่งดัดแปลงเพื่อประโยชน์ด้านความปลอดภัยและความสะดวก เช่น บัตรประชาชนอัจฉริยะ (Smart Card) และระบบเครือข่ายรักษาความปลอดภัยที่สามารถพัฒนาเชื่อมโยงสถานีตำรวจและบ้านเรือนของประชาชน ดูแล้วก็ยิ่งรู้สึกทึ่งในอุตสาหกรรมอนาคตของมณฑลแห่งนี้ และที่ขาดเสียมิได้คือ การเป็นฐานการผลิตรถไฟและยานยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมอันดับต้นของมณฑลแห่งนี้ โดยนครฉางชุนเป็นเมืองที่รัฐบาลจีนก่อตั้ง “First Automotive Works” (FAW) บริษัทรถยนต์แห่งแรกของจีนขึ้น และปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก Shanghai Automotive Industry Corporation (SAIC) เท่านั้น เพียงบริษัทเดียวก็มีเครือข่ายบริษัทลูกที่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์อยู่ถึง 385 บริษัทเข้าให้แล้ว นอกจากนี้ กิจการนี้ยังทารายได้คิดเป็นถึงร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของอุตสาหกรรมรถยนต์ของมณฑล (300,000 ล้านหยวน) มณฑลแห่งนี้ยังได้รับการขนานนามว่าเป็น “เมืองยานยนต์” (City of Automobiles) ทั้งนี้ ประมาณว่า มณฑลจี๋หลินจะผลิตรถยนต์รวมกว่า 1,500,000 คันในปีนี้ นอกจากนี้ จี๋หลินยังเป็นที่ตั้งของ Changchun Railway Vehicles Co., Ltd. (CRC) บริษัทลูกของ China North Railway Co., Ltd. (CNR) ซึ่งเป็น 1 ใน 2 กิจการผลิตรถไฟที่สำคัญของจีน

มณฑลจี๋หลินได้พัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะด้านระดับชาติและระดับมณฑลจานวนหลายแห่งในหลายเมือง อาทิ Changchun Economic and Technological Development Zone และ Changchun High-Tech Industrial Development Area ที่นครฉางชุน Jilin New and Hi-tech Industry Development Zone และ Jilin Economic and Technological Development Zone (ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเพื่อรองรับ 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ เคมีภัณฑ์ อาหาร สิ่งทอ และยา) ที่เมืองจี๋หลิน และ Hunchun Border Economic Cooperation Zone และ Hunchun Export Processing Zone ที่เมืองฮุนชุน (Hunchun) ด้านซีกตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑล

นอกจากนี้ ความเป็นธรรมชาติและสภาพอากาศที่ดี รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังอย่าง เทือกเขาฉางไป๋ซาน ยังทำให้มณฑลจี๋หลิน โดยเฉพาะนครฉางชุน มีจุดแข็งในภาคบริการหลายด้าน อาทิ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวของภูมิภาคตอนเหนือ (Spring City of Northland) และการเป็นเมืองแห่งป่าไม้ (Forest City) เมืองมหาวิทยาลัย (University Town) และนครแห่งภาพยนตร์ (City of Films)

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของมณฑลจี๋หลินจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับศักยภาพที่แท้จริงและมิติทางเศรษฐกิจในด้านอื่นของประเทศและมณฑล กล่าวคือ ปัจจุบัน การค้าระหว่างประเทศของมณฑลจี๋หลินอยู่ที่ประมาณ 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นต่ำกว่าร้อยละ 1 ของการค้ารวมของประเทศ และเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของการค้าระหว่างประเทศต่อจีดีพีของมณฑลก็ตกอยู่เพียงร้อยละ 15 เท่านั้น ซึ่งต่ากว่าสัดส่วนของระดับประเทศค่อนข้างมาก (ร้อยละ 60)

นายเจิ้ง วานทง (Zheng Wantong) รองประธานกรรมการของ Chinese People's Political Consultative Conference (CPPCC) กล่าวไว้ว่า “การค้าระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับที่ต่าเป็นจุดอ่อนของเศรษฐกิจในอีสานจีน และสภาพที่เกิดขึ้นในมณฑลจี๋หลินนับเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน”

ขณะเดียวกันด้วยความพร้อมของทั้งปัจจัยการผลิตที่ธรรมชาติให้มาและที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งความพยายามในการเปิดประตูเศรษฐกิจสู่โลกภายนอกและการสนับสนุนส่งเสริมจากรัฐบาลกลางผ่านการดำเนินโครงการพัฒนามากมาย มูลค่าและสัดส่วนของการค้าฯ และ FDI ต่อจีดีพีของมณฑลก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มณฑลจี๋หลินนับเป็นแหล่งรองรับการลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment: FDI) จากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก และมูลค่าการลงทุนได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะหลังนี้ ขณะเดียวกันกิจการข้ามชาติขนาดใหญ่จานวนมากก็ได้เข้าไปประกอบการในมณฑลแห่งนี้ โดยเฉพาะการลงทุนจากเยอรมัน สหรัฐฯ รัสเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฮ่องกง

ในภาคเกษตรกรรม ธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี (CP) นับเป็นหนึ่งในกิจการต่างชาติที่สาคัญ โดยแหล่งข่าวระบุว่า ล่าสุดรัฐบาลจี๋หลินและซีพีได้บรรลุข้อตกลงในการลงทุนธุรกิจเกษตรครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดของต่างชาติในมณฑลจี๋หลินแล้ว บริษัทรถยนต์ชั้นนำของต่างชาติ เช่น โฟล์กสวาเก้น (Volkswagen) โตโยต้า (Toyota) และมาสด้า (Mazda) ก็เข้ามาตั้งโรงงานประกอบรถยนต์มาเป็นเวลาหลายปีแล้วและเติบใหญ่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีทีผ่านมา ซึ่งก็ช่วยให้บริษัทผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ของไทยอย่างสามมิตรมอเตอร์ ได้รับประโยชน์ทางธุรกิจตามไปด้วย ในด้านช่องทางจัดจำหน่าย คาร์ฟูร์ (Carrefour) และวอลมาร์ท (Wal-Mart) ก็ขยายสาขาเข้าไปในพื้นที่แล้ว ทำให้มณฑลแห่งนี้ซ่อนไว้ซึ่งกิจการของจีนและกิจการข้ามชาติที่มีศักยภาพเป็นจำนวนมาก ในปี 2552 กิจการขนาดใหญ่ที่ลงทุนในมณฑลแห่งนี้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและผลกำไรได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19 และร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับของปี 2548 ตามลำดับ

ต้นกำเนิดโครงการ “ฉางจี๋ถู”

เมื่อศึกษาย้อนไปถึงที่มาที่ไปของโครงการ “ฉาง-จี๋-ถู” ดังกล่าว ผมก็พบว่า ที่มาของโครงการนี้ก่อกำเนิดมาจาก “โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำถูเหมิน” (Regional Development Program of the Tumen River) กล่าวคือ ในปี 2535 ชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 6 ประเทศอันได้แก่ จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และมองโกเลียได้ตกลงร่วมกันดำเนิน “โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำถูเหมิน” ภายใต้การริเริ่มของโครงการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Development Program: UNDP) โดยกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานเลขานุการโครงการอยู่ที่กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน

โครงการดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจที่เคยโด่งดังในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) เมื่อหลายปีก่อน กล่าวคือ แต่ละประเทศได้กำหนดให้พื้นที่บางส่วนของตนเข้าร่วมในโครงการพัฒนา อาทิ รัสเซียกำหนดใช้พื้นที่ซีกตะวันออกของประเทศ ขณะที่จีนกำหนดให้ภูมิภาคอีสานจีนเป็นพื้นที่เป้าหมาย โดยในระยะแรก รัฐบาลจีนกำหนดให้เมืองฮุนชุน ซึ่งตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้าถูเหมินในเขตปกครองอิสระหยานเปียน (Yanbian Autonomous Prefecture) เป็นพื้นที่นำร่องในโครงการ

จุดเด่นของเมืองนี้คือมีเขตแดนติดต่อกับรัสเซียและเกาหลีเหนือ กอรปกับทำเลที่ดีที่ใกล้ทางออกสู่ทะเลญี่ปุ่น สามารถเข้าถึงญี่ปุ่นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถช่วยลดระยะทางในการขนส่งไปญี่ปุ่นจากเดิมที่ต้องอ้อมลงไปใช้ท่าเรือต้าเหลียน (Dalian) ในมณฑลเหลียวหนิงไปได้ถึงครึ่งหนึ่ง และประหยัดเวลาประมาณ 1 ใน 3 ของที่ใช้เดิม ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านลอจิสติกส์ถึงร้อยละ 30-40 ของค่าใช้จ่ายเดิม

ในครั้งนั้น มณฑลจี๋หลินจึงได้ก่อสร้างท่าเรือขึ้นที่เมืองนี้เพื่อหวังให้เป็นเมืองท่ารองรับสินค้าเข้าออกของเมืองจี๋หลิน (Jilin City) และออกสู่ทะเลญี่ปุ่นเพื่อเชื่อมโยงกับท่าเรือน้ำลึกของประเทศเพื่อนบ้านที่รายรอบอยู่นับ 10 แห่งในรัสเซียและเกาหลีใต้

อนึ่ง ลุ่มแม่น้ำถูเหมินนับว่ามีความสำคัญคล้ายกับแม่น้าเจ้าพระยาในบริเวณภาคกลางของไทยกล่าวคือ แม่น้ำสายนี้มีความยาวประมาณ 525 กิโลเมตร และเป็นแม่น้ำสายหลักทางเศรษฐกิจที่เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าทางน้ำเข้าออกทะเลญี่ปุ่น เป็นแหล่งประมง และหล่อเลี้ยงผู้คนที่อาศัยในย่านซีกตะวันออกของมณฑลจี๋หลินมาเป็นเวลาช้านาน

ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำถูเหมิน

ในช่วง 18 ปีแรกของการดำเนินโครงการ แม้ว่าโครงการนี้ได้มีความคืบหน้า และได้รับความร่วมมือจากประเทศสมาชิกมาอย่างต่อเนื่องในระดับหนึ่งก็ตาม ดังจะเห็นได้จากการร่วมกันลงนามของประเทศสมาชิกในความตกลงว่าด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการพัฒนา (Agreement on the Establishment of the Consultative Commission for the Development) ในปี 2538

ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลประเทศสมาชิกต่างก็เวียนมาสำรวจศักยภาพและการพัฒนาของพื้นที่ดังกล่าวกันหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีการลงทุนก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการค้าและการลงทุนมาโดยลำดับ อาทิ การลงทุนก่อสร้างและปรับปรุงสาธารณูปโภคในด้านต่าง ๆ เช่น ทางด่วน สนามบิน รางรถไฟ ท่าเรือ และสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ เพี่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันสามารถเชื่อมถึงฮุนชุนได้แล้ว รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือในการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติอย่าง China Jilin Northeast Asia Investment and Trade Expo ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอีสานจีน ผมขอเรียนว่า งานแสดงสินค้านี้ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วทั้งในเชิงขนาด คุณภาพ ผู้เข้าร่วมงาน และผู้เข้าเยี่ยมชมงาน ปัจจุบันงานแสดงสินค้านี้ติดอันดับ 1 ใน 10 งานแสดงสินค้าที่รัฐบาลจีนสนับสนุนที่ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากที่สุดในจีน จนนาไปสู่การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันในภูมิภาคได้ในส่วนหนึ่งแล้ว ประเทศไทยเราเองโดยกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ก็นาคณะผู้ประกอบการไทยและเครือข่ายเข้าร่วมงานนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัวทุกปีต่อเนื่องกันมา 3 ปีแล้วเช่นกัน

อย่างไรก็ดี รัฐบาลของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะรัฐบาลจีน ก็ดูเหมือนจะไม่พึงพอใจกับความคืบหน้าและผลการดำเนินโครงการเท่าที่ควร โดยหลายฝ่ายต่างประเมินว่า สาเหตุสำคัญที่การพัฒนาพื้นที่ในโครงการเป็นไปอย่างล่าช้าก็เป็นเพราะการดำเนินโครงการดังกล่าวยังเต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรคนานับประการ ในส่วนของจีนเอง รัฐบาลจีนได้ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคของโครงการสรุปได้ดังนี้

1. พื้นที่ชายแดนมีขนาดเศรษฐกิจค่อนข้างเล็ก เมืองฮุนชุนที่เข้าร่วมโครงการในระยะแรกนั้น มีอาณาเขตเพียง 5,145 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น กอรปกับเมืองที่รายรอบอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนก็ยังไม่เจริญมากนัก ธุรกรรมการค้าชายแดนและการลงทุนระหว่างประเทศมีอยู่น้อยมาก อันที่จริง การประกาศให้เมืองฮุนชุนเป็นพื้นที่นาร่องของโครงการในครั้งนั้นนับว่าเกิดขึ้นในระยะแรกของการเปิดประตูเศรษฐกิจสู่โลกภายนอกของจีนเลยทีเดียว แต่มาถึงวันนี้ การพัฒนาของเมืองฮุนชุนยังนับว่าตามหลังของเมืองเซินเจิ้น (Shenzhen) และจูไฮ่ (Zhuhai) อยู่มากทีเดียว

2. จำนวนประชากรในพื้นที่โครงการมีอยู่น้อย พื้นที่โครงการมีความหนาแน่นของจำนวนประชากรค่อนข้างน้อย โดยในส่วนของเมืองฮุนชุนมีประชากรเพียง 250,000 คน ทำให้ขนาดของตลาดค่อนข้างเล็กและมีกำลังแรงงานเพื่อสนับสนุนภาคการผลิตที่จากัด

3. ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมจากัด ทาให้ไม่สามารถผลักดันให้สินค้าที่ถูกผลิตขึ้นในพื้นที่ส่งออกไปขายในต่างประเทศได้มากเท่าที่ควร ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่เกิดขึ้นในพื้นที่จึงมีอยู่อย่างจากัด

4. เส้นทางขนส่งออกสู่ภายนอกก็ไม่ราบรื่น ขณะที่เส้นทางเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือและพื้นที่หลังท่า (Hinterland) ไม่เพียงพอ กล่าวคือ ท่าเรือฮุนชุนเป็นท่าเรือแม่น้ำ รองรับเรือได้เพียงขนาดเล็ก ต้องขนถ่ายขึ้นเรือใหญ่ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ด้วยข้อจำกัดของเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างเมืองฮุนชุนและเมืองเศรษฐกิจสำคัญอย่างนครฉางชุนและเมืองจี๋หลิน ทำให้สินค้าที่ถูกผลิตขึ้นเลือกขนส่งผ่านไปยังท่าเรืออื่น แม้ว่าจะมีระยะทางไกลกว่าก็ตาม

5. นวัตกรรมในระบบการจัดการและการผลิตไม่ดีพอ ในพื้นที่โครงการ ยังไม่มีการลงทุนในศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Center) ที่เหมาะสมสำหรับการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ทำให้ไม่สามารถดึงดูดการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีอยู่เดิมได้

นายจู เซียนผิง (Zhu Xianping) ผู้อานวยการสถาบันวิจัยเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือแห่งมหาวิทยาลัยจี๋หลิน (Jilin University) สถาบันการศึกษาชั้นนำของภูมิภาคอีสานจีนได้กล่าวในประเด็นนี้ไว้ว่า “ที่ผ่านมา กิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจในย่านลุ่มแม่น้ำถูเหมินมีลักษณะกระจุกตัวอยู่เฉพาะที่เมืองฮุนชุน ซึ่งยังไม่เจริญมากนักและมีจำนวนประชากรน้อย ธุรกรรมมีขนาดเล็ก และขีดความสามารถที่จำกัดในการพัฒนาโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อจะรองรับความร่วมมือระหว่างประเทศ ทาให้ขาดพลังและหลายสิ่งที่คาดหวังไว้ยังไม่เกิดเป็นรูปธรรม”

หากเป็นรัฐบาลของประเทศอื่น ๆ ก็คงยอมแพ้และค่อย ๆ ปล่อยให้โครงการนี้ตายไป พร้อมกับความหวังของประชาชนในพื้นที่ และหวังว่านานวันไป ผู้คนคงลืมโครงการนี้ แต่รัฐบาลจีนเลือกที่จะทำในสิ่งตรงกันข้าม โดยประกาศปรับแผนและเดินหน้าขยายโครงการฯ ต่อไปพร้อมกับการสนับสนุนทรัพยากรอย่างเต็มกำลังแก่โครงการฯ ดังกล่าว

ชุบชีวิตสู่โครงการใหญ่อันทรงพลัง

วันที่ 30 สิงหาคม 2552 นับเป็นวันดี (D-Day) ของชาวจี๋หลินเพราะเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีแห่งชาติจีน (State Council) ได้ให้ความเห็นชอบโครงการจัดตั้งเขตนาร่อง “ฉางชุน-จี๋หลิน-แม่น้าถูเหมิน (Changchun-Jilin-Tumen River Pilot Zone) ท่ามกลางความตื่นเต้นและดีใจอย่างล้นพ้นของชาวจี๋หลิน

ข่าวการให้ความเห็นชอบกับโครงการฉางจี๋ถูดังกล่าวถูกนำเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกในงานสัมมนานานาชาติภายในงาน China Jilin Northeast Asia Investment and Trade Expo ครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-6 กันยายน 2552 โครงการนี้มีความแจ่มชัดมากขึ้นเมื่อนายหาน ฉางฝู (Han Changfu) ผู้ว่าการมณฑลจี๋หลินในขณะนั้น (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร) ได้เปิดแถลงข่าวใหญ่ต่อสื่อมวลชนจีนและต่างชาติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 ณ สานักงานสถิติแห่งชาติจีน กรุงปักกิ่งว่าคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบอนุมัติโครงการดังกล่าวแล้ว ขณะที่นายตู้ หยิง (Du Ying) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำคณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติกล่าวว่า การเชื่อมสองเมืองหลัก ได้แก่ นครฉางชุน และเมืองจี๋หลินเข้ากับพื้นที่ชายแดน จะช่วยให้เขตนี้สามารถพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ในการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำถูเหมินได้

หากพิจารณาเจาะลึกถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ก็พบว่า รัฐบาลจีนมีวิสัยทัศน์กว้างไกลดีจริงๆ เพราะภูมิภาคนี้มีความพร้อมและศักยภาพทางเศรษฐกิจมากมาย ในบรรดา 6 ประเทศสมาชิกในโครงการพัฒนาฯ นี้ประกอบไปด้วย 2 ประเทศพัฒนาแล้ว (ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) 2 ประเทศกาลังพัฒนา (จีนและรัสเซีย) และอีก 2 ประเทศด้อยพัฒนา (เกาหลีเหนือและมองโกเลีย) มีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็น 1 ใน 5 ของจีดีพีโลก เฉพาะแค่ขนาดเศรษฐกิจของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้รวมกันก็มีขนาดใหญ่ถึง 3 ใน 4 ของเอเชียทั้งทวีป ขณะที่จีนและรัสเซียเป็น 2 ใน 4 ของประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICs ที่ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

ประเทศเหล่านี้มีประชากรในพื้นที่โครงการรวมกว่า 600 ล้านคน และมีแรงงานที่มีความได้เปรียบทั้งในเชิงคุณภาพและต้นทุน ทั้งยังอุดมไปด้วยทรัพยากร เทคโนโลยีขั้นสูง และอื่น ๆ อีกมากมาย พื้นที่นี้เป็นแหล่งเพาะปลูกสินค้าเกษตรหลายประเภท โดยเฉพาะข้าวโพด ถั่วเหลือง โสม และข้าว รวมทั้งป่าไม้และสินค้าประมง นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกในย่านนี้ยังมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย อาทิ แก๊ซธรรมชาติ น้ามัน ถ่านหิน และอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีถ่านหินถึงร้อยละ 40 ของปริมาณรวมของโลก ในจานวนนี้ เกือบร้อยละ 60 กระจุกตัวอยู่ด้านซีกตะวันออกของประเทศ ภูมิภาคนี้จึงเป็นทั้งตลาดขนาดใหญ่และมีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตที่ดีของโลก

วัตถุประสงค์และยุทธศาสตร์ของโครงการฉางจี๋ถู

วัตถุประสงค์ของโครงการ รัฐบาลจีนได้กาหนดวัตถุประสงค์ของโครงการฉางจี๋ถูที่สาคัญไว้ 4 ประการ คือ

1. เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่มีอยู่เดิมในช่วงที่ดาเนินโครงการลุ่มแม่น้าถูเหมิน ในประเด็นนี้ รัฐบาลจีนเตรียมเปิดพื้นที่และแนวทางการพัฒนาใหม่ไว้มากมาย กล่าวคือ เขตนาร่องในโครงการฉางจี๋ถูดังกล่าว

ได้ถูกขยายเพิ่มเติมให้ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 73,000 ตารางกิโลเมตร และนับเป็น “เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนแห่งแรกของจีน” โดยรัฐบาลมณฑลจี๋หลินมั่นใจอย่างเต็มที่ว่าการดำเนินโครงการพัฒนาดังกล่าว จะสานต่อความพยายามที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจของมณฑลและช่วยผลักดันให้เขตดังกล่าวเป็นเขตเศรษฐกิจและการค้าที่เชื่อมต่อระหว่างภาคอีสานของจีนเข้ากับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างแท้จริง

2. เพื่อส่งเสริมการชุบชีวิตใหม่ให้กับฐานอุตสาหกรรมเดิมในภูมิภาคอีสานจีนและยกระดับการพัฒนาในภูมิภาค แม้ว่ารัฐบาลจะประสบความสำเร็จในการฟื้นอุตสาหกรรมและพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างมากแล้วก็ตาม แต่ยังมีปัญหาในอีกหลายส่วนที่รอการแก้ไข

3. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการเปิดประตูเศรษฐกิจของจีนสู่แนวชายแดน ซึ่งประเด็นนี้เป็นไปตามแนวนโยบายจากการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ (Communist Party Congress:CPC) ครั้งที่ 17 ที่กำหนดให้ขยายการเปิดประเทศตามแนวชายแดน (Border Openness) หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการเปิดประเทศตามแนวชายฝั่งทะเลในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

4. เพื่อก่อให้เกิดความรุ่งเรืองและความมีเสถียรภาพของชนกลุ่มน้อยในภูมิภาค ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้พยายามพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของหลายมณฑลและเขตปกครองอิสระ เพื่อการนี้ อาทิ ซิงเจียง (Xinjiang) หนิงเซี๊ยะ (Ningxia) กว่างสี (Guangxi) และชิงไฮ่ (Qinghai) ในด้านซีกตะวันออกของมณฑลในภูมิภาคอีสานจีน โดยเฉพาะจี๋หลินและเหลียวหนิง ก็มีคนเชื้อสายเกาหลีอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้คนในพื้นที่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสมัครสมานสามัคคีและร่วมมือกันเพื่อความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในพื้นที่

ยุทธศาสตร์หลัก จากการผลักดันโครงการใหม่อย่างเต็มกาลังในครั้งนี้ สะท้อนว่ารัฐบาลจีนตระหนักดีถึงความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการนี้ทั้งในระดับประเทศและมณฑล โครงการนี้นับเป็นกลไกสาหรับการพัฒนาพื้นที่และเปิดเศรษฐกิจตามแนวชายแดนในภูมิภาคอีสานจีนสู่ภายนอก พื้นที่ย่านนี้ยังเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด จึงเหมาะในการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคนี้ที่มีประชากรอยู่ถึงกว่า 600 ล้านคน และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่จะสามารถเติบโตได้อีกมาก ซึ่งอดีตผู้ว่าการมณฑลจี๋หลินให้ความเห็นในเรื่องนี้ไว้ว่า โครงการนี้จะเป็นยุทธศาสตร์ของพื้นที่ชายแดนที่สาคัญของจีนในหลายส่วน อาทิ การขยายการค้า การเป็นประตูสู่เอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ และการเป็นศูนย์กลางความเจริญของเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ

นอกจากนี้ โครงการยังสร้างเวทีสาหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่จะเป็นข้อต่อเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่สาคัญกับมณฑลอื่นในภูมิภาคและต่างประเทศ โดยเขตนำร่องดังกล่าวจะช่วยผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำถูเหมิน และดึงดูดเงินทุน ข้อมูล และทรัพยากรมนุษย์จากทั่วโลกเข้ามาเพื่อช่วยฟื้นฟูฐานอุตสาหกรรมเดิมของมณฑลจี๋หลิน

ขณะที่นายจ้าว เจินฉี (Zhao Zhenqi) ผู้ช่วยผู้ว่าการมณฑลจี๋หลินกล่าวเสริมอีกว่า “แผนการใช้มณฑลจี๋หลินเป็นเขตเศรษฐกิจเชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือถือเป็นโอกาสอันดีของชาวจี๋หลินนับแต่ประเทศจีนเริ่มเปิดประเทศ นอกจากนี้ยังถือเป็นสัญลักษณ์ในการนำประเทศจีนเข้าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่อีกด้วย”

กรอบแผนงานการดำเนินโครงการ

ในการวางแผนการดำเนินโครงการฉางจี๋ถูดังกล่าว รัฐบาลจีนได้กำหนดกรอบแผนงานที่จะมุ่งให้ความสำคัญกับ 4 ส่วน ได้แก่

1. การเปิดประเทศและความร่วมมือ (Highlight the opening up and cooperation) ทั้งในระดับประเทศของหลายมณฑลในภูมิภาคอีสานจีนและระดับระหว่างประเทศของ 6 ประเทศที่มีความผสมผสานในหลากหลายมิติอย่างเหมาะเจาะและเสริมส่งระหว่างกัน

2. การเชื่อมโยงอดีตสู่อนาคต (Connect the past and future) เริ่มจากปี 2535 ที่ก่อตั้งโครงการลุ่มแม่น้ำถูเหมิน ... ปี 2542 ที่มีการลงนามในความร่วมมือของคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาโครงการฯ ... ปี 2552 ที่ยกระดับสู่โครงการฉางจี๋ถู และสู่ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

3. การเน้นการขับเคลื่อนระดับภูมิภาค (Emphasize regional drive) ในฐานะที่เป็นพื้นที่แห่งการพัฒนาและเขตนำร่องในการเปิดประเทศตามแนวชายแดนแห่งแรกของจีน โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รัสเซีย และมองโกเลียให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

4. การส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน (Promote common development) การผลักดันให้โครงการเช่นนี้เป็นรูปธรรมโดยเร็วดึงเอาศักยภาพด้านทรัพยากร เทคโนโลยีการผลิต ทรัพยากรมนุษย์ และเงินทุนจากประเทศสมาชิก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานความความร่วมมือในการวางแผนและแก้ไขปัญหาอันดีระหว่างกัน โดยเฉพาะกับแผนงานและโครงการอื่นในภูมิภาค อาทิ โครงการพื้นที่เศรษฐกิจตามแนวชายฝั่งทะเลมณฑลเหลียวหนิง (Liaoning Costal Economic Area) และแผนพัฒนาภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย (Russia’s Far East Region Development Plan)

สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

การลงทุนของภาครัฐ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า พื้นที่ดังกล่าวยังขาดทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์รองรับที่ดีพอ ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก บุคลากร ตลอดจนกฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุน ดังนั้น ในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า ผมเชื่อว่าเราจะเห็นเม็ดเงินและการจัดสรรทรัพยากรจำนวนมหาศาลจากภาครัฐหลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่โครงการเพื่อก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ ของจีน อาทิ ถนน เส้นทางรถไฟ ท่าเรือ สนามบิน สถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้าที่สามารถเชื่อมต่อไปยังเขตอื่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เมืองซกโชว (Sokchow) ประเทศเกาหลีใต้ เมืองนาริตะ (Narita) ประเทศญี่ปุ่น และเมืองซารูบิโน (Zarubino) ของประเทศรัสเซีย

เพียงความเห็นชอบจากรัฐบาลกลางผ่านไปยังไม่ทันข้ามปี รัฐบาลจีนก็ตกลงใจที่จะก่อสร้างถนนเชื่อมจากเมืองฮุนชุนไปวังฉิง (Wangqing) ต่อไปยังแม่น้าสุยเฟินเหอ (Suifenhe) และเชื่อมต่อเข้าไปยังรัสเซีย เส้นทางนี้จะมีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาในการเชื่อมต่อเข้ากับถนนเส้นทาง

วลาดิวอสต็อค (Vladivostok)-ฮาสซาน (Hassan) ในที่สุด นอกจากนี้ ยังจะมีการเริ่มก่อสร้างรถไฟด่วนเส้นทางเมืองจี๋หลิน-ฮุนชุน และเร่งการก่อสร้างรางรถไฟจากฮุนชุนไปตงหนิง (Dongning)

นายเติ้ง ไข่ (Deng Kai) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเขตปกครองฯ ดังกล่าวได้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องนี้ไว้ว่า “เขตหยานเปียนจะให้ความสำคัญในอันดับต้นกับการจัดทาแผนพิเศษและแผนเสริมอย่างระมัดระวัง และเร่งก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงดังกล่าว”

ขณะที่นายหวัง เซิงจิน (Wang Shengjin) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยจี๋หลิน (Jilin University) สถาบันการศึกษาชั้นนำของภูมิภาคอีสานจีนกล่าวเสริมว่า ประชาชนควรมองการจัดตั้งเขตนำร่องฉางชุน-จี๋หลิน-แม่น้าถูเหมินเป็นโอกาสในการส่งเสริมการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างจีน-มองโกเลีย (Sino-Mongolian Passage) เมื่อการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ จะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงสาคัญระหว่างอีสานจีนและยุโรป ซึ่งจะเปลี่ยนโครงข่ายการขนส่งทางรถไฟอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ พื้นที่นี้ยังจะเป็นจุดเชื่อมโยงที่ใกล้ที่สุดระหว่างภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือเข้ากับยุโรปและอเมริกาเหนือ แผนการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมจีนและมองโกเลียยังครอบคลุมถึงโครงการสาคัญ ได้แก่ การก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากเออร์ซาน (Aershan) ในมองโกเลียในไปยังเมืองชอยปาลชาน (Choibalsan) เมืองหลักด้านซีกตะวันออกของมองโกเลีย

นายเจิ้ง วานทง (Zheng Wantong) รองประธานกรรมการของ CPPCC ยังกล่าวว่า เขตดังกล่าวมีมิติกว้างขวางต่อการพัฒนาในอนาคต เพราะเป็นเส้นทางผ่านของภูมิภาคจีน-มองโกเลียและอีสานจีน ทาให้โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อมณฑลเหลียวหนิง และเฮยหลงเจียง และด้านซีกตะวันตกของเขตปกครองอิสระมองโกเลียใน”

ในด้านกฎระเบียบนั้น รัฐบาลจีนก็ได้อนุญาตให้เขตนำร่องนี้เป็นพื้นที่ทดลองเปิดใช้ที่ดิน ทรัพยากร วิธีการให้สินเชื่อต่างประเทศ (International Funding Mechanism) และอื่น ๆ แนวใหม่ อาทิ การใช้ท่าเรือร่วมกัน (Joint Port Management) เส้นทางเดินเรือกับประเทศอื่นในภูมิภาค (Regional Sea Routing) และการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Cross-border Free Trade/Economic Zone) และเพื่อความคล่องตัวในการพัฒนา รัฐบาลท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาได้ดีขึ้น เหมือนเช่นที่สนับสนุนให้เขตปกครองอิสระเหยียนเปียน ที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนของจีนกับ รัสเซียและเกาหลีเหนือ เป็นเมืองเศรษฐกิจหลักทวีกาลังเศรษฐกิจของเมืองที่อยู่รายรอบ เช่น หยานจี หลงจิง และถูเหมินตามแผนพัฒนาของมณฑลจี๋หลินที่วางไว้ รวมทั้งการผลักดันให้เกิดการลงทุนในรูปแบบใหม่ เช่น ท่าเรือ คลังสินค้าทัณฑ์บนที่ครบวงจร และเขตเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

การดึงดูดการค้าและลงทุนจากต่างประเทศ ในช่วงแรกการมีเสถียรภาพด้านการลงทุนถือเป็นสิ่งสาคัญ เราจะได้เห็นรัฐบาลมณฑลจี๋หลินเพิ่มมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่มีโครงสร้าง

ปัจจัยการผลิตภายในมณฑล และการจัดการทางการเงินทั้งในและต่างประเทศรวมถึงการจัดตั้งสวนอุตสาหกรรม (Industrial Park) และเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย

แนวทางการพัฒนาของโครงการที่ผ่านความเห็นชอบไปแล้วนั้นน่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า โดยในส่วนของจีนนั้น นครฉางชุนได้ถูกจัดให้เป็นเมืองที่สามารถรองรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมชีวเคมี อุตสาหกรรมเครื่องจักรเครื่องมือการเกษตร และอุตสาหกรรมลอจิสติกส์สมัยใหม่ รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพอื่น ๆ

นอกจากนี้ การลงทุนในศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Center) ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้น โดยแผนดังกล่าวระบุถึงการเปิดกว้างต่อการพัฒนาของกิจการในลุ่มแม่น้ำถูเหมินว่า ภายในปี 2563 อุตสาหกรรมจะมีนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจนนาไปสู่ความได้เปรียบในเชิงของการแข่งขันได้อย่างชัดเจน

การขยายตัวทางเศรษฐกิจของมณฑลจี๋หลินและภูมิภาคอีสานจีน ด้วยความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จะสามารถเย้ายวนใจให้เกิดการขยายตัวของธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่ อันจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการจ้างงานและจำนวนประชากร โดยเฉพาะในเชิงคุณภาพในพื้นที่ เหล่านี้สะท้อนถึงการพัฒนาเป็นฐานการผลิตและขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

นายหลิว ซู่หมิง (Liu Shuming) ผู้อานวยการกรมเศรษฐกิจมหภาคของศูนย์วิจัยการพัฒนาของรัฐบาลจี๋หลิน (Macro Economics Department of Jilin Government Development Research Center) กล่าวไว้ว่า “การสารวจและเปิดพื้นที่ลุ่มแม่น้าถูเหมินนับเป็นกลไกขับเคลื่อนสาคัญที่เร่งการชุบชีวิตของมณฑลจี๋หลิน ... ในปี 2555 ขนาดเศรษฐกิจของเขตฉางจี๋ถูจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า”

รัฐบาลจีนประเมินว่า ภายในปี 2563 ธุรกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมในเขตพื้นที่โครงการฯ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าและก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอีสานจีนได้อย่างแท้จริง

จุดแลกเปลี่ยนข้อมูลและวัฒนธรรม ความสำเร็จในการพัฒนาโครงการนี้จะนาไปสู่การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันของผู้คนในและนอกประเทศสมาชิก แน่นอนว่า ระดับการท่องเที่ยวจะขยายตัวมากขึ้นควบคู่ไปกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและวัฒนธรรมระหว่างกัน อันจะนำไปสู่ความเข้าใจอันดี เสถียรภาพ และความมั่งคงของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ของแต่ละประเทศ

บทสรุป

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้กำหนดนโยบายและผลักดันโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ออกมามากมาย ประการสาคัญ โครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในแง่ของการพัฒนาและเดินหน้าไปอย่างต่อเนื่อง โครงการฉาง-จี๋-ถูนับเป็นอีกโครงการพัฒนาหนึ่งที่น่าสนใจในหลายประการ ทั้งในแง่ของการพัฒนาความเจริญและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ การเป็นโครงการพัฒนาตามแนวชายแดนแห่งแรกของจีน ดังนั้น ผมจึงเชื่อมั่นว่า โครงการนี้จะมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและสังคมของมณฑลจี๋หลินและภูมิภาคอีสานจีนได้ในอนาคต เพราะรัฐบาลจีนยังมีภาระกิจมากมายที่จะต้องสานต่อโครงการและเรียนรู้หลายสิ่งจากโครงการเพื่อนาเอาไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ตามแนวชายแดนในภูมิภาคอื่นของจีน จึงไม่สามารถปล่อยให้โครงการนาร่องเช่นนี้ล้มเหลวไปได้ ผมยังเห็นว่า มณฑลจี๋หลินยังจะมีพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนโครงการพัฒนานี้จากหลายมณฑลที่มีเส้นพรมแดนติดกับประเทศอื่น โดยเฉพาะในด้านซีกตะวันตกและตอนใต้ของจีน

อีกประเด็นสาคัญหนึ่งก็คือ ทาอย่างไรที่เราจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการดำเนิน โครงการดังกล่าว สาหรับผู้ประกอบการหลายท่านที่ยังไม่รู้จักมณฑลจี๋หลิน ก็ควรหาเวลาศึกษา เดินทางไปท่องเที่ยวและสารวจตลาด และหากเริ่มมีความพร้อม ก็อาจเข้าร่วมงานแสดงสินค้า China Jilin Northeast Asia Investment and Trade Expo ครั้งที่ 6 ที่จะจัดขึ้นในต้นเดือนกันยายน ศกนี้กัน

ผมเชื่อมั่นว่า จากนี้ไป ท่านผู้อ่านจะได้รับทราบข่าวคราวความก้าวหน้าของโครงการ “ฉาง-จี๋-ถู” นี้เพิ่มขึ้นเป็นระยะ หากมีข้อสงสัยประการใดหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อสอบถามไปที่กรมส่งเสริมการส่งออก โทรศัพท์ (02) 5131909 หรือติดต่อโดยตรงถึงผมได้ที่สานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้ โทรศัพท์ (8621) 62889973 หรือทางอีเมล์ที่ vphaichit@hotmail.com วันหนึ่งข้างหน้า ผมอาจได้มีโอกาสพาท่านไปยลเมืองอันยิ่งใหญ่ ธรรมชาติที่สวยงาม และร่วมกันเก็บเกี่ยวเอาประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของมณฑลจี๋หลินและภูมิภาคแถบนั้นก็เป็นได้

รวบรวมและเรียบเรียงโดย

ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ผอ. สคร. ณ นครเซี่ยงไฮ้

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ