เมื่อจีนสั่งเดินหน้า “แผนพัฒนาพื้นที่ปากแม่น้ำแยงซีเกียง”

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 26, 2010 15:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

นอกจากการเป็นสายน้ำที่ยาวที่สุดในเอเซียและไหลพาดผ่านแหล่งวัฒนธรรมหลายพันปีของจีนแล้ว บริเวณพื้นที่ปากแม่น้ำแยงซีเกียง (Yangtze River Delta) ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจใหญ่ที่สำคัญที่สุดของจีนทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ...

ก่อนหน้านี้ ท่านผู้อ่านคงได้รับทราบข่าวคราวแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายภูมิภาคในจีนที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐบาลจีนไปแล้วไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะเขตพัฒนาพื้นที่รอบอ่าวโป๋วไฮ่ (Bohai Gulf) ปากแม่น้ำไข่มุก (Pearl River Delta) รอบอ่าวเป่ยปู้ (Beibu Gulf) และล่าสุดโครงการฉาง-จี๋-ถู (Chang-Ji-Tu) ที่ต้องการพัฒนาให้มณฑลจี๋หลินเป็นศูนย์กลางของ 6 ประเทศในแถบอีสานเอเซีย ซึ่งผ่านความเห็นชอบของกรุงปักกิ่งเมื่อปลายปี 2552

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2553 คณะรัฐมนตรี (State Council) และคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform Commission: NDRC) ของจีนยังได้อนุมัติแผนพัฒนาพื้นที่ปากแม่น้ำแยงซีเกียง (Yangtze River Delta Planning) ซึ่งถือเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน

ทั้งนี้ แผนดังกล่าวกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาให้พื้นที่ปากแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นประตูหลักของภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก เป็นศูนย์กลางด้านบริการที่ทันสมัยและศูนย์กลางการผลิตเทคโนโลยีสมัยใหม่ของโลก และเป็นกลุ่มชุมชนเมืองระดับโลกที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่แข็งแกร่ง โดยในแผนดังกล่าวได้ระบุให้มหานครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai) เป็นเมืองหลัก (Core City) ประจำภูมิภาค และอีก 8 เมืองใหญ่ อาทิ นครนานจิง (Nanjing) และเมืองซูโจว (Suzhou) ในมณฑลเจียงซู (Jiangsu) นครหังโจว (Hangzhou) และเมืองหนิงโปว (Ningbo) ในมณฑลเจ้อเจียง (Zhejiang)

พื้นที่พัฒนาฯ ดังกล่าวครอบคลุมอาณาเขต 210,700 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ของประเทศไทย แต่ที่สำคัญมากกว่าคือ ความได้เปรียบในเชิงคุณภาพของพื้นที่ดังกล่าว มิใช่ด้านปริมาณ ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงนี้มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมทั้งยังมีโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการที่พร้อมมูล ชุมชนเมืองที่เป็นระบบ และวิทยาศาสตร์ การศึกษา และวัฒนธรรมที่พัฒนาเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จึงนับว่าเติบใหญ่และมีศักยภาพสาหรับการพัฒนาในอนาคต โดยมีคุณลักษณะพิเศษสุด 3 ส่วนเป็นตัวสนับสนุน ได้แก่

  • ปัจจัยแวดล้อมด้านเศรษฐกิจที่ทรงพลัง
  • ปัจจัยด้านระบบที่พร้อมสรรพ
  • ปัจจัยด้านขีดความสามารถในการแข่งขันที่สุดยอด

ในปี 2552 ขนาดเศรษฐกิจของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งประกอบด้วยมหานครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลเจียงซูมีมูลค่ารวมประมาณ 7.18 ล้านล้านหยวน ทะลุหลัก 1 ล้านล้านเหรียญ สหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จัดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก ขนาดเศรษฐกิจนี้เทียบได้กับประมาณของประเทศขนาดกลางในยุโรป แม้จะยังคงตามหลังรัสเซียไม่มาก แต่แซงหน้าเกาหลีใต้ไปแล้ว จากสถิติดังกล่าว จีดีพีของภูมิภาคนี้คิดเป็นถึงประมาณร้อยละ 21.4 ของจีดีพีรวมของจีน (30.07 ล้านล้านหยวน)

ภูมิภาคนี้ยังนับว่ามีความสาคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจจีนในหลายมิติ อาทิ การบริโภคภายในประเทศ (Domestic Consumption) การค้าปลีกในภูมิภาคนี้มีมูลค่ารวมกว่า 2 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นราวร้อยละ 15 ของมูลค่าการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ

ขณะเดียวกันภูมิภาคนี้ยังมีบทบาทสำคัญทางด้านตลาดทุน จากสถิติของ WIND ระบุว่า จากจานวน 1,830 บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในกระดาน A (A-Share Listed Companies) ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวม 25.2 ล้านล้านหยวนนั้น เป็นกิจการในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงอยู่ถึงร้อยละ 27.5 ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 18.2 ในเชิงมูลค่า ในจำนวนนี้จำแนกเป็นกิจการของมหานครเซี่ยงไฮ้จำนวน 204 บริษัท มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 2.8 ล้านล้านหยวน ในจานวนนี้ เป็นกิจการของมณฑลเจียงซูจานวน 141 รายคิดเป็นประมาณ 0.97 ล้านล้านหยวน และมณฑลเจ้อเจียง 158 รายคิดเป็นประมาณ 0.81 ล้านล้านหยวน

นอกจากนี้ กิจการต่างยังคงเชื่อมั่นกับสภาพปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะในแถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงต่อไป โดยในปี 2552 การลงทุนในสินทรัพย์คงที่ (Fixed Assets Investment) ในภูมิภาคนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.85 ล้านล้านหยวน ขยายตัวถึงร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตามแผนการพัฒนาดังกล่าวยังกาหนดให้เร่งพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรม (Industrial Cluster) ที่ทันสมัยอีกมากมาย การลงทุนในอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industries) รายรอบอุตสาหกรรมหลัก (Core Industries) น่าจะช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งและลอจิสติกส์ของสินค้าที่เกี่ยวข้อง

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้เศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกในภูมิภาคได้รับ ผลกระทบในระดับหนึ่ง ท่ามกลางแรงกดดันจากความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาความสามารถด้านนวัตกรรมของตนเอง ลดภาระปัญหาข้อจำกัดด้านทรัพยากร ซึ่งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจึงใช้โอกาสนี้ร่วมมือกันปรับโครงสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในพื้นที่ โดยกำหนดเป้าหมายให้เป็นสังคมที่มั่งคั่ง (Well-Off Society) ภายในปี 2558 และเป็นสังคมที่ทันสมัย (Modernization) ในปี 2563

ตามแผนดังกล่าว รัฐบาลกลางของจีนยังเห็นชอบให้กำหนดทิศทาง นโยบาย และมาตรการในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยทิศทางการพัฒนาดังกล่าวครอบคลุม 8 ส่วนสาคัญ ได้แก่

  • การพัฒนาชุมชนเมืองและการพัฒนาเขตเมือง-ชนบทที่เหมาะสม
  • การวางผังและการพัฒนาอุตสาหกรรม
  • การพัฒนานวัตกรรมของตนเองและการก่อสร้างเขตนวัตกรรม
  • การวางผังและก่อสร้างสิ่งอานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
  • การใช้ทรัพยากรและการป้องกันระบบนิเวศน์
  • การดูแลสังคมและบริการสาธารณะ
  • การปฏิรูประบบและนวัตกรรมที่เป็นระบบ
  • การเปิดกว้างและความร่วมมือในการพัฒนา

ในด้านภาคบริการที่ทันสมัยในภูมิภาคนั้น การเงิน อสังหาริมทรัพย์ การขนส่ง และวัฒนธรรมจะได้รับประโยชน์จากการเป็นประตูหลักของภูมิภาคเอเซีย-แฟซิฟิก และกลายเป็นตัวเร่ง การพัฒนาในหลายด้านในที่สุด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การสร้างสะพานและอุโมงค์ในเส้นทางใหม่เชื่อมเซี่ยงไฮ้เข้ากับอำเภอฉี่ตง (Qidong) เมืองหนานทง (Nantong) มณฑลเจียงซู ข้ามแม่น้ำแยงซีเกียง การก่อสร้างสะพานข้ามอ่าวหังโจวระยะทางยาว 36 กิโลเมตรเพื่อไปเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจกับเมืองหนิงโปว และการเดินหน้าพัฒนาท่าเรือหยางซาน (Yangshan Port) ระยะที่ 3 รวมทั้งการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางเซี่ยงไฮ้-ปักกิ่งที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2554 นั้นจะทาให้ชีวิตของนักธุรกิจในย่านนี้สะดวกคล่องตัวและประหยัดเวลาเดินทางขึ้นอีกเป็นกอง การเดินทางทางรถไฟระหว่างนครเซี่ยงไฮ้และนครนานจิงที่ปัจจุบันใช้เวลา 2 ชั่วโมงครึ่งจะลดลงเหลือเพียง 1 ชั่วโมงในอนาคตอันใกล้

บางคนถึงกับกล่าวว่า “ต่อไปเราอาจนั่งจิบกาแฟสตาร์บัคส์ที่หงเฉียว (Hongqiao) ตอน 8.00 น. ไปแวะดูสายการผลิตของโรงงานใหม่ที่คุนซาน (Kunshan) เวลา 9.30 น. หลังจากนั้นก็ไปรับประทานอาหารกลางวันกับเพื่อนนักธุรกิจที่เมืองซูโจว (Suzhou) ตามด้วยการไปตรวจเยี่ยมศูนย์วิจัยและพัฒนาของบริษัทที่เมืองอู๋ซี (Wuxi) ในตอนบ่าย เลยต่อไปรับประทานอาหารค่ากับลูกค้าที่นครหนานจิง (Nanjing) และกลับมาดื่มที่ซินเทียนตี้ (Xintiandi) กับภริยาในตอนดึก

อุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่ อาทิ อู่เรือ เหล็ก ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเบาก็จะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตระหว่างประเทศ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ อาทิ พลังงานทดแทน วัสดุใหม่ ยาธรรมชาติ และการป้องกันสิ่งแวดล้อมก็จะได้รับโอกาสจากการสนับสนุนส่งเสริมตามแผนฯ ดังกล่าวให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้เช่นกัน

ผมเห็นการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของจีนแล้ว บอกได้คำเดียวว่า “อิจฉา”

รวบรวมและเรียบเรียงโดย

ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ผอ. สคร. ณ นครเซี่ยงไฮ้

ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ