รายงานผลการนำคณะผู้แทนการค้าจากท่าเรือลิโวโนเดินทางไปประเทศไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 27, 2010 11:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานผลการนำคณะผู้แทนการค้าจากท่าเรือลิโวโนเดินทางไปประเทศไทย และเยี่ยมชมงานแสดงสินค้า Thailand Logistic Fair 2010 ระหว่างวันที่ 7-11 ตุลาคม 2553

1. ภาพรวม ผู้แทนจากท่าเรือลิโวโนและหอการค้าจังหวัดลิโวโนได้ให้ความเห็นว่า งานแสดงสินค้า Thailand Logistic Fair 2010 เป็นงานที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่น่าสนใจของไทย รวมถึงได้มีโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างท่าเรือและหอการค้าอิตาลีกับไทยให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

2. กิจกรรมของคณะผู้แทนการค้าจากอิตาลี ได้พบหารือกับหน่วยงานต่างๆ โดยสรุปผลดังต่อไปนี้

2.1 สภาผู้ขนส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2549 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (Thai National Shipper) โดยนายสุชาติ จันทรานาคราช และท่าเรือ Livorno โดย Mr. Giampiero Fancellu ได้เคยลงนามในข้อตกลงร่วมกันเมื่อปี 2549 ที่กรุงเทพฯ ในระหว่างสมาชิกของท่าเรือ Livorno กับฝ่ายไทยเมื่อโอกาสที่เดินทางไปเยือนงานแสดงสินค้า Thailand Logistic Fair 2006 ในไทย การเดินทางไปเยี่ยมชมงานครั้งนี้ Mr. Fancellu จึงถือโอกาสเข้าพบและประชุมหารือกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นตามข้อตกลงที่เคยได้ลงนามไว้ ทั้งนี้ทางสภาฯ ได้เน้นถึงการส่งออกสินค้าของไทยไปยังอิตาลี โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อแนะนาตลาดใหม่ๆ และเส้นทางใหม่ในการเข้าสู่ตลาดยุโรป นอกจากนี้ยังเห็นว่าสินค้าที่ไทยมีศักยภาพคือ สินค้าในกลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม ซึ่งโลจิสติกส์มีบทบาทสาคัญในการขนส่งสินค้าเหล่านี้ไปให้ได้อย่างรวดเร็วทำให้สินค้ามีความสดใหม่เมื่อถึงมือผู้บริโภค

2.2 สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Thai International Freight Forwarders Association) ผู้แทนจากท่าเรือลิโวโนได้เข้าพบและแนะนำท่าเรือให้แก่สมาคมฯ เพื่อให้ช่วยประชาสัมพันธ์ท่าเรือให้แก่ผู้ใช้บริการ

2.3 ท่าเรือแหลมฉบัง คณะได้เดินทางไปเยี่ยมชมท่าเรือแหลมฉบังและแนะนำท่าเรือลิโวโนเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือหลักของไทยโดยเป็นศูนย์กลางของการขนส่งทั้งในไทยและประเทศใกล้เคียงคือ พม่า ลาว และเขมร พร้อมทั้งมีการเชื่อมโยงด้วยระบบขนส่งทางรถไฟและมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเยี่ยม ขณะนี้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นศูนย์กลางในการขนส่งให้แก่ประเทศในแถบอาเซี่ยนที่มีค่าใช้จ่ายที่แข่งขันได้และมีประสิทธิภาพ และยังสามารถร่นระยะเวลาการขนส่งได้ด้วยเมื่อเทียบกับสิงคโปร์

2.4 การเข้าร่วมบรรยายในการเสวนา ASEAN Logistic Network Symposium ในหัวข้อเรื่อง ท่าเรือลิโวโนจุดเชื่อมต่อของเอเชีย-ยุโรป โดยผู้แทนได้แจ้งว่า การเดินทางมาเยี่ยมชมงานครั้งนี้เป็นการประเมินผลศักยภาพของประเทศไทยทางด้านโลจิสติกส์ และนำเสนอท่าเรือลิโวโนในฐานะท่าเรือในการนาสินค้าเข้าสู่ตลาดยุโรปแหล่งใหม่หรือทางเลือกอีกทางหนึ่งในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดยุโรป ทั้งนี้ท่าเรือลิโวโนเป็นท่าเรือที่มีชื่อเสียงที่ดีแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในหมู่ผู้ประกอบการไทย ดังนั้นจึงถือได้ว่าการเดินทางมาของคณะผู้แทนการค้าดังกล่าวจึงเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นในการประชาสัมพันธ์ท่าเรือเท่านั้น แต่จะต้องมีการติดตามผลและสร้างแคมเปญประชาสัมพันธ์อย่างจริงจัง

ทั้งนี้ Mr. Fancellu ผู้แทนจากท่าเรือลิโวโนได้กล่าวถึงปัจจัยหลักดังต่อไปนี้ ในขณะที่กระแสโลกาภิวัฒน์และการค้าเสรีมีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความต้องการสินค้าและบริการและกิจกรรมในภาคโลจิสติกส์ที่มีมากมาย ดังนั้นอิตาลีจึงไม่เป็นเพียงแค่แหล่งสินค้าที่สาคัญและตลาดเป้าหมายแต่ยังเป็นเวทีหลักด้านโลจิสติกส์ในการแลกเปลี่ยนการค้าระหว่างเมดิเตอเร-เนียนและยุโรปตอนเหนือด้วย เนื่องจากอิตาลีตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดีทำให้สามารถรองรับการขนส่งระหว่างเอเชีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ ประกอบกับอิตาลีตอนกลางอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ติดกับชายแดนของประเทศอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพการเจริญเติบโตสูง ยิ่งไปกว่านั้นการเพิ่มจำนวนสมาชิกของสหภาพยุโรปโดยรวมเอากลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออกเข้าไว้ด้วย ทำให้อิตาลีมีจุดสำคัญในการสนับสนุนและได้รับประโยชน์จากการขยายจำนวนสมาชิกดังนี้

  • เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดและเป็นจุดเชื่อมระหว่างประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน
  • มีท่าเรือ 148 ท่ากระจายตัวอยู่ตามแนวฝั่งชายทะเล 7,400 กิโลเมตร
  • โครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยภายใต้โครงการขยายตัว 125 พันล้านยูโรของแผนพัฒนาชาติสาหรับโครงสร้างพื้นฐานยุทธศาสตร์ (PNIS)
  • ผลประกอบการประจำปีประมาณ 120 พันล้านยูโร
  • มีกิจกรรมด้านธุรกิจ 160,000 ธุรกิจที่ใช้งานด้านการขนส่งและบริการโลจิสติกส์

ส่วน Mr. Giorgio Zingone นายกสมาคม SPEDIMAR ซึ่งเป็นสมาคมที่มีสมาชิกเป็นบริษัทผู้รับจัดการขนส่งสินค้ากว่า 100 บริษัท มีพนักงานกว่า 1,400 คน ได้กล่าวว่า จากการเดินทางมาเยี่ยมชมงานในครั้งนี้ ได้รับความพึงพอใจในการจัดงานและการจัดทำนัดหมายเป็นอย่างมาก การได้เข้าพบกับหน่วยงานต่างๆ ในภาคการขนส่งของไทยทำให้สามารถมองเห็นความเป็นไปได้ในการสร้างประโยชน์ร่วมกันและทำให้มีโอกาสขยายความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างท่าเรือลิโวโนและประเทศไทยได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางไปเยี่ยมชมท่าเรือแหลมฉบัง ทำให้ได้เห็นถึงประสิทธิภาพการจัดระบบโลจิสติกส์และการประสานความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการในแต่ละท่าเรือของไทย ทั้งนี้ Mr. Giorgio Zingone จะนำข้อมูลดังกล่าวไปแจ้งให้แก่สมาชิกทราบและหารือถึงความร่วมมือระหว่างกันในอนาคตเพื่อเริ่มสร้างการค้าระหว่างสมาชิกของสมาคมฝ่ายอิตาลีและฝ่ายไทย (รวมพม่าและเขมร)

3. สรุปและข้อเสนอแนะ

ปัจจุบันโลจิสติกส์ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจนำเข้า - ส่งออกสินค้า ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โลจิสติกส์อิตาลีมีมูลค่า 84 พันล้านยูโร ซึ่งจัดอยู่ในอันดับที่ 4 ในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศ โดยเยอรมันเป็นอันดับหนึ่งมีมูลค่า 136.5 พันล้านยูโร ตามด้วยอันดับ 2 ฝรั่งเศส มีมูลค่า 79.8 พันล้านยูโร และอันดับ 3 สหราชอาณาจักร 72.45 พันล้านยูโร ส่วนสเปนอยู่ในอันดับที่ 4 มีมูลค่า 30.45 พันล้านยูโรซึ่งน้อยกว่าอิตาลีกว่ากึ่งหนึ่ง เนื่องจากอิตาลีตั้งอยู่ในใจกลางของทะเลเมดิเตอร์เร-เนียน ทาให้เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างยุโรปใต้ไปสู่ยุโรปเหนือและยุโรปกลางทั้งทางบก ทางทะเลและทางอากาศ

สำหรับเป้าหมายในอนาคตที่จะต้องร่วมมือกันต่อไป ได้แก่

  • การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบริษัทของไทยและอิตาลีทางด้านการจัดส่งสินค้า
  • จัดประชุมเชิงพาณิชย์
  • การอำนวยความสะดวกการจัดส่งสินค้าจากเอเชีย/ไทยไปอิตาลีโดยตรง
  • การพัฒนาศูนย์กลางท่าเรือของอิตาลี (ลิโวโน) ให้เป็นประตูหลักของยุโรปในการจัดส่งสินค้าจากประเทศไทยไปอิตาลีและยุโรป

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก thailand   หอการค้า   logistic   GIS  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ