ในเดือนกันยายน 2553 ไทยกับสเปนมีมูลค่าการค้ารวม 133.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายส่งออกไปสเปน 94.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.97 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีหมวดสินค้าสำคัญที่ปรับตัวเพิ่ม ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (3.01%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ(28.14%) กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง (24.87%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (33.74%) และเครื$องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (15.40%) ขณะที่นำเข้าจากสเปน 39.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 ทั้งนี้ ไทยได้ดุลการค้าในเดือนนี้เพิ่มขึ้นอีก 54.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2553 ไทย-สเปน มียอดการค้ารวม 1,157.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยไทยมียอดส่งออกมาสเปนรวม 806.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.21
เมื่อเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา พบว่าประเภทสินค้าเกษตรกรรม มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 73.03 และสามารถเพิ่มสัดส่วนได้เกินกว่าร้อยละ 20 อันเนื่องมาจากมีความต้องการยางพาราเพิ่มสูงมาก เช่นเดียวกับการบริโภคสินค้ากุ้งแช่สด/แช่แข็ง ขณะเดียวกัน ประเภทสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัวได้เล็กน้อยร้อยละ 6.03 แต่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.8 ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมยังคงรักษาสัดส่วนอย่างคงที่ประมาณ 3 ใน 4 ของสินค้าส่งออกไทยโดยรวม ก็สามารถเติบโตได้ดีถึงร้อยละ 45.73
หมวดสินค้าหลักดั้งเดิมที่สามารถกลับมาขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+112.49%) ยางพารา (+275.48%) และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+299.07%) รวมทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูป (+17.07%) ที่มีมูลค่าขยับขึ้นเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยอีกครั้งในตลาด
สเปน นอกจากนั้น สินค้าส่งออกของไทย 10 อันดับแรกมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกทั้งสิ้น ขณะที่นำเข้าจากสเปนเป็นมูลค่า 351.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.59 ทำให้ไทยได้ดุลการค้าจากสเปนสะสมจำนวน 455.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.17 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
จากโครงสร้างสินค้าส่งออกของไทย พบว่าสินค้า 5 อันดับแรก มีสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 50 ของยอดส่งออกทัBงหมด โดยมีเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ครองสัดส่วนสูงที่สุด แต่ถ้านับรวมสินค้า 10 อันดับแรก ก็จะมีสัดส่วนการส่งออกเกือบร้อยละ 70 จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของสินค้าที่เหลือไม่ค่อยมีผลกระทบกับยอดการส่งออกมากนัก
ถึงแม้ผลการส่งออกของไทยในตลาดสเปนที่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ตอนต้นปี 2553 มาจนถึงกลางปี แต่ขณะนี้สินค้าหลักได้แสดงสัญญาณการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลได้ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมีปัญหาการว่างงานเรืBอรังท$ยังไม่สามารถแก้ไขได้ รวมทั้งปัญหาที่รัฐบาลได้ออกมาตรการด่วนในการตัดค่าใช้จ่ายของภาครัฐอย่างเฉียบพลันควบคู่ไปกับการขึ้นอัตราภาษี ซึ$งล้วนแต่ส่งผลกระทบกับรายได้สำหรับใช้จ่ายของผู้บริโภคทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยยังสามารถขยายตัวได้ดีอย่างต่อเน$องและมียอดการส่งออกสะสมสูงเป็นอันดับหนึ่งแซงหน้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบไปได้อีกครั้ง นอกจากนั้น สินค้ายางพาราก็ยังมีความต้องการในตลาดสูงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จนมีสัดส่วนเกินกว่าระดับร้อยละ 10 ขณะที่สินค้ากุ้งแช่เย็น/แช่แข็งของไทยที่สามารถเพิ่มปริมาณและมูลค่าการส่งออกได้อย่างมากในช่วงครึ$งแรกของปี ถึงแม้กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ก็สามารถกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้งในเดือนนี้
ในช่วงเดียวกันไทยนำเข้าสินค้าจากสเปน เป็นมูลค่า 351.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 24.59 ซึ่งสินค้าส่วนมากเป็นสินค้าที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก โลหะ และสัตว์น้ำสด เป็นต้น รองลงมาเป็นสินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักรต่างๆ และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์/เภสัชกรรม
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสเปนที่มีผลกระทบกับการส่งออกของไทยปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของสเปนกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ รวมทั้งการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นตัวเร่งให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าก่อนที่การปรับเพิ่มภาษีจะมีผลบังคับใช้นัBน ขณะนี้ปัจจัยเหล่านั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ ในช่วงหลังของปีอีกต่อไปและอาจจะก่อให้เกิดความผันผวนต่อเศรษฐกิจได้สูง ดังนั้น จึงมีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งปีจะหันกลับไปติดลบอีกครั้งถึงแม้จะไม่รุนแรงเหมือนในปีที่ผ่านมาก็ ตาม ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจบางตัวเริ่มแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคได้ลดการจับจ่ายใช้สอยลง ขณะเดียวกันภาครัฐก็ปรับลดรายจ่ายลงเช่นกัน
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้การว่างงานยังคงเป็นปัญหาใหญ่เรื้อรังอยู่ต่อไป ซึ่งขณะนี้มีอัตราสูงกว่าร้อยละ 20 ของตลาดแรงงานแล้ว ทั้งนี้ การแก้ไขปรับย้ายโครงสร้างแรงงานที่ตกงานจำนวนมากจากอุตสาหกรรมการก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที$ล่มสลายไม่สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการปฏิรูปกันอย่างจริงจังจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะลดอัตราคนว่างงานลงให้ได้ระดับมาตรฐานของประเทศอื$นๆในยุโรปทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในยุโรปที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะและการขาดดุลการคลังด้วยกัน เช่น กรีซ โปรตุเกส อิตาลี และไอร์แลนด์ แล้ว สเปนสามารถปรับตัวได้ดีกว่าประเทศอื่นๆโดยสามารถปรับลดงบประมาณรายจ่ายอย่างมหาศาลลงอย่างได้ผล ซึ่งก็ต้องพบกับแรงต้านอย่างรุนแรงจากประชาชนที่ถูกปรับลดสวัสดิการ รวมทั้งกลุ่มแรงงานต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากการตัดค่าจ้าง โดยสรุปในภาพรวมแล้ว ในปี 2553 สเปนจะมีอัตราการขยายตัวติดลบอยู่ร้อยละ -0.3 และจะปรับเป็นบวกได้ในปี 2554 ในอัตราร้อยละ 0.7 โดยพยายามปรับสภาพสมดุลทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่ไปกับการควบคุมค่าใช้จ่ายของภาครัฐอย่างเข้มงวดต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีสภาพเปราะบางและอ่อนไหวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ต้องคอยจับตามองด้วย
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด
ที่มา: http://www.depthai.go.th