รายงานสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลี ประจำเดือนกันยายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 4, 2010 13:52 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์ส่งออก

ในช่วง 9 เดือนแรก (มกราคม-กันยายน) ของปี 2553 ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้นมูลค่า 1,263.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 950.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 32.92 โดยมีสินค้าส่งออก 5 อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับมูลค่า 152.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (14.70%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมูลค่า 123.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (74.61%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบมูลค่า 94.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (180.61%) ยางพารามูลค่า 83.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (136.87%) และปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็งมูลค่า 67.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-7.53%)

2. การวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวม

การส่งออกมาอิตาลีในช่วง 9 เดือนแรก (มกราคม - กันยายน) ของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากพิจารณาเฉพาะเดือนกันยายน 2553 ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น 31.16 % เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า วิเคราะห์ได้ดังนี้

2.1 เป็นการเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ นอกจากนี้หากพิจารณาเฉพาะเดือนกันยายน 2553 ที่ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึง 31.16% เนื่องจากธุรกิจทั้งหลายของอิตาลีได้เปิดดำเนินธุรกิจหลังการหยุดพักร้อนในเดือนก่อนหน้า (กรกฎาคม - สิงหาคม) และผู้นำเข้าได้มีการสั่งซื้อสินค้าเพื่อเก็บเข้าสต็อกไว้ก่อนหน้าแล้ว

2.2 ภาวะเศรษฐกิจอิตาลีโดยทั่วไปยังคงขยายตัวแต่เป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นผลจากการที่อิตาลีส่งออกได้เพิ่มขึ้น โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 อิตาลีส่งออกได้เพิ่มขึ้น 15.4% ในขณะที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนโดยเฉพาะการส่งออกในเดือนกันยายน 2553 อิตาลีส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นถึง 47.8% ประเทศในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้เพิ่มขึ้น 45% สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 42.1% และรัสเซียเพิ่มขึ้น 40%

2.3 ผลผลิตภาคอุตสหกรรมของอิตาลีในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 9.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งนับว่าสูงสุดตั้งแต่ธันวาคม 2550 เป็นต้นมา และเพิ่มขึ้น 1.6 % เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และสำหรับช่วง 8 เดือนแรก (มกราคม-สิงหาคม) ของปี 2553 เพิ่มขึ้น 5.9 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยหน่วยงาน ISAE คาดว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 จะชะลอตัวลงโดยมีอัตราการขยายตัวเพียง 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยสินค้าที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ (+35.3%) เหล็กและผลิตภัณฑ์ (+20.4%) เครื่องจักรและเครื่องจักรไฟฟ้า (+18.7%) น้ามันและก๊าซ (+16.6%)

2.4 ความต้องการภายในประเทศยังคงอ่อนแอ ซึ่งเป็นผลจากมาตรการเข้มงวดด้านงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น โดยในเดือนสิงหาคม 2553 การบริโภคลดลง -0.3 % เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และลดลง -0.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน

2.5 อย่างไรก็ดี รายได้ของครัวเรือนของอิตาลีในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 2.3 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่อุปนิสัยการออมของครัวเรือนในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้น 0.3 % เมื่อเทียบกันไตรมาสก่อนหน้า และลดลง 1.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน

2.6 ข้อมูลการนำเข้าของอิตาลีจาก World Trade Atlas ล่าสุด ในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม-กรกฎาคม) ของปี 2553 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกเพิ่มขึ้น 16.5% โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วนตลาด 15.96%) ฝรั่งเศส (8.43%) จีน (7.12%) เนเธอร์แลนด์ (5.35%) และสเปน (4.44%) สินค้านำเข้าสำคัญได้แก่ เครื่องจักร เครื่องไฟฟ้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยอิตาลีนำเข้าจากทั้ง 5 ประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราระหว่าง 21.41% - 23.47%

ในขณะที่อิตาลีนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 48 (สัดส่วนตลาด 0.37%) และนำเข้าจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น อันดับที่ 18 (สัดส่วนตลาด 1.28%) อินเดีย อันดับที่ 21 (สัดส่วนตลาด 1.04%) เกาหลีใต้ อันดับที่ 27 (สัดส่วนตลาด 0.74%) อินโดนีเซีย อันดับที่ 36 (สัดส่วนตลาด 0.55%) สินค้านำเข้าสำคัญได้แก่ ยานยนต์ เครื่องจักรกลและเหล็ก โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากทุกประเทศ

2.7 ทั้งนี้ วิเคราะห์แยกรายสินค้าที่มีการส่งออกลดลง ได้ดังนี้

2.7.1 ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง

การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรก (มกราคม - กันยายน) ของปี 2553 มีมูลค่า 67 9 .ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 73.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -7.53 แต่หากพิจารณาเฉพาะเดือนกันยาย 2553 ปรากฎว่าไทยส่งออกเพิ่มขึ้น 67.6% เนื่องจาก

1. ผู้นาเข้าได้สั่งซื้อในช่วงก่อนหน้าการหยุดพักร้อน (กรกฎาคม - สิงหาคม) เพื่อนำเข้ามาเก็บสต๊อกไว้ใช้สาหรับการขายในช่วงปลายปี

2. ปริมาณการบริโภคอาหารทะเลของอิตาลีลดลง -1.1% อันเนื่องมาจากราคาที่เพิ่มขึ้น +0.6% โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทะเลแช่แข็งที่มีปริมาณการบริโภคลดลง -2.8% ในขณะที่ราคาปรับสูงขึ้น +6.5% ซึ่งเป็นผลจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก และมีผลให้ราคาสินค้าจากไทยสูงขึ้น

3. ราคาสินค้าของไทยค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาจากประเทศคู่แข่งอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศในแถบอาเซียนด้วยกัน โดยราคานำเข้า (CIF) เฉลี่ยต่อตันของไทยประมาณ 4,150 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ราคานำเข้าเฉลี่ยต่อตันจากอินเดียจะอยู่ที่ประมาณ 3,150 เหรียญสหรัฐฯ เวียดนาม 3,700 เหรียญสหรัฐฯ อินโดนีเซีย 3,575 เหรียญสหรัฐฯ และจีน 3,300 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนราคานำเข้าเฉลี่ยต่อตันจากประเทศอื่นๆ ได้แก่ อาร์เจนตินา 1,683 เหรียญสหรัฐฯ เปรู 1,720 เหรียญสหรัฐฯ สเปน 3,340 เหรียญสหรัฐฯ และกรีซ 2,190 เหรียญสหรัฐฯ

4. อาหารทะเลแช่แข็งในอิตาลีประมาณร้อยละ 50 จะวางขายในไฮเปอร์มาร์เก็ตโดยบรรจุเป็นแพ็คขนาด 250 กรัม หรือ 500 กรัม ส่วนที่เหลือเป็นการขายภายใต้แบรนด์หลักๆ 3-4 แบรนด์ และไม่มีการระบุชื่อประเทศแหล่งกำเนิด แต่ระบุเพียงแหล่งที่จับ เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และแอตแลนติก เป็นต้น

ราคจาหน่ายปลีกในห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตและผู้จัดจำหน่าย มีดังนี้

  • ปลาหมึก cattle fish ขนาดบรรจุ 500 กรัม ราคา 4-5 ยูโร
  • ปลาหมึก squid ขนาดบรรจุ 450 กรัม ราคา 3.29 ยูโร
  • ปลาหมึก Octopus ขนาดบรรจุ 1 กิโลกรัม ราคา 13.45 ยูโร/ ขนาด 500 กรัทม ราคา 7.90 ยูโร
  • กุ้ง (shrimp) ขนาดบรรจุ 250 กรัม ราคา 3.50 - 4.00 ยูโร (จากมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก)

ขนาดบรรจุ 200 กรัม ราคา 3.29 ยูโร (จากมหาสมุทรแอตแลนติก)

  • กุ้งใหญ่ (prawns) ขนาดบรรจุ 500 กรัม ราคา 6.90 ยูโร (จากเวียดนาม)

ขนาดบรรจุ 300 กรัม ราคา 5.45 ยูโร (จากมหาสมุทรแอตแลนติก)

ขนาดบรรจุ 400 กรัม ราคา 8.90 ยูโร (จากอาร์เจนตินา)

  • แบบรวม (mix seafood) ขนาดบรรจุ 400 กรัม เพื่อใช้สำหรับเสียบไม้ปิ้งและเป็นชนิดพิเศษราคา 5.16 ยูโร
  • แบบรวม เพื่อใช้ใส่ในพาสต้าและข้าว ขนาดบรรจุ 450 กรัม ราคา 4.46 ยูโร

ทั้งนี้ราคาสินค้าไทยที่วางขายในไฮเปอร์มาร์เก็ตและระบุแหล่งกำเนิดว่ามาจากไทยภายใต้แบรนด์ของห้างนั้นๆ จะเป็นแบบ Mix Seafood ขนาดบรรจุ 400 กรับราคา 4 ยูโร

5. ข้อมูลการนำเข้าล่าสุดของ WTA ในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม - กรกฎาคม) ของปี 2553 อิตาลีนำเข้ามูลค่า 534.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 7.57% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 2 โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ สเปน (สัดส่วนตลาด 24.36%) ไทย (12.69%) ฝรั่งเศส (8.6%) โมรอคโค (8.36%) และอินเดีย (6.98%)

ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ เวียดนาม (สัดส่วนตลาด 6.49%) อินโดนีเซีย (3.18%) จีน (2.71%) สินค้าที่อิตาลีนำเข้าจากไทยและเวียดนามส่วนใหญ่เป็นปลาหมึกสด แช่เย็นแช่แข็ง ส่วนสินค้าหลักที่นำเข้าจากอินเดียเป็นพวกหอยและปลาหมึก ในขณะที่สินค้าหลักที่นำเข้าจากอินโดนีเซียเป็นปลาหมึก octopus และสินค้าที่นำเข้าจากจีนเป็นปลาหมึกแช่แข็งและหอย

2.7.2 เคมีภัณฑ์

การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรก (มกราคม - กันยายน) ของปี 2553 มีมูลค่า 18.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่งออกมูลค่า 35.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -46.85 เนื่องจาก

1. ผู้ประกอบการได้มีการสั่งซื้อสินค้าเข้าสต็อกไว้ก่อนหน้าแล้ว ประกอบกับความต้องการภายในประเทศที่ค่อนข้างอ่อนแอ ทำให้ผู้ประกอบการขายสินค้าที่มีอยู่ในสต็อกออกไปก่อน และชะลอการสั่งซื้อสินค้าใหม่

2. อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เคมีภัณฑ์ได้รับผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมรถยนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีความต้องการบริโภคลดลง -0.8%, -1.5% และ -0.6% ตามลำดับ

3. สภาวะตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ยังคงไม่ฟื้นตัว ซี่งเป็นผลจากการได้รับผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างมาก นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังต้องประสบปัญหาความล่าช้าในการชำระเงิน 2-3 ปี ในขณะที่ระยะเวลาเฉลี่ยของประเทศในยุโรปอื่นเท่ากับ 60-90 วัน และปัญหาต้นทุนพลังงานที่สูงมากกว่าต้นทุนเฉลี่ยของประเทศยุโรปอื่นถึง 30% ทำให้ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่อง

4. อุตสาหกรรมก่อสร้างในอิตาลีเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ (คิดเป็นร้อยละ 9 ของเคมีภัณฑ์ทั้งหมด) มีมูลค่าการผลิตเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้ถึง 4.7 พันล้านยูโร และมูลค่าการบริโภค 4.9 พันล้านยูโร มีจำนวนผู้ประกอบการ 800 บริษัท และจำนวนคนงาน 16,000 คน โดยแยกรายละเอียดการใช้คือ ร้อยละ 30 ใช้ในการทำสี ร้อยละ 37 ใช้ในการทำพลาสติก ร้อยละ 17 ใช้ในการติดเชื่อมและกาวสำหรับซีเมนต์ ร้อยละ 10 ใช้ในการผสมสีทำเซรามิค และร้อยละ 6 ใช้ในการขัดสีและกาวสำหรับไม้

5. จากข้อมูลการนำเข้าของ WTA ล่าสุดในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม - กรกฎาคม) ของปี 2553 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกมูลค่า 3,593 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.18% ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 31 (สัดส่วนตลาด 0.17%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วนตลาด 27.05%) ฝรั่งเศส (12.99%) เนเธอร์แลนด์ (7.95%) เบลเยี่ยม (6.39%) และสเปน (6.36%)

ประเทศคู่แข่งสาคัญได้แก่ ญี่ปุ่น (สัดส่วนตลาด 2.95%) อินโดนีเซีย (3.50%) จีน (1.09%) อินเดีย (0.47%) สิงคโปร์ (0.34%) มาเลเซีย (0.32%) เกาหลีใต้ (0.30%) และไต้หวัน (0.19%) ประเทศที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ สเปน (+12.92%) อาร์เจนตินา (1,302.53%) อินโดนีเซีย (+242.70%) สิงคโปร์ (+129.80%) แคนาดา (+137.37%) และสโลเวเนีย (+345.77%)

2.7.3 อาหารสัตว์เลี้ยง

การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรก (มกราคม - กันยายน) ของปี 2553 มีมูลค่า 45.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 38.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 18.26 อย่างไรก็ดี หากพิจารณาการส่งออกเฉพาะเดือนกันยายน 2553 ปรากฎว่าไทยส่งออกลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ -9.95 เนื่องจาก

(1) ก่อนหน้านี้อิตาลีมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ไทยส่งออกมาอิตาลีเพิ่มขึ้นถึง +47.39% ทำให้การส่งออกในช่วงต่อมา คือเดือนมิถุนายน - กันยายน 2553 ลดลงต่อเนื่อง

(2) เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย โดยสมาพันธ์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งชาติ (ASSALCO) คาดว่าในปี 2553 จะมีการขยายตัว +4% ลดลงจากปีก่อนหน้าที่มีอัตราการขยายตัว +6% เล็กน้อย คือ -2% เนื่องจากประชาชนอิตาลีได้ลดการใช้จ่ายเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงโดยซื้อน้อยลงหรือใช้อาหารที่ทำเองในบ้าน

(3) สินค้าหลักที่อิตาลีนำเข้าจากไทย คือ อาหารสัตว์เลี้ยงชนิดเปียก (wet food) โดยเฉพาะอาหารกระป๋องสาหรับแมว ซึ่งปรากฎว่ามีการนำเข้าลดลง ในขณะที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอาหารสัตว์เลี้ยงชนิดแห้ง (dry food) ซึ่งมีราคาถูกกว่าสะดวกในการเก็บสต็อคและมีอายุการเก็บได้นานกว่า ส่วนสินค้าที่นำเข้ามาจากจีนส่วนใหญ่เป็นประเภทขบเคี้ยวและอุปกรณ์ โดยผู้นำเข้าจะนำเข้าและจำหน่ายภายใต้แบรนด์ตนเอง

(4) ราคาอาหารสัตว์เลี้ยงจากไทยสูงกว่าราคาของประเทศอื่นๆ ประมาณ 14% โดยราคาจากไทยจะอยู่ที่ตันละ 3,827 เหรียญสหรัฐฯ โดยที่ราคาสินค้าจากจีนจะอยู่ที่ตันละ 3,360 เหรียญสหรัฐฯ และราคาเฉลี่ยจากประเทศอื่นๆจะอยู่ที่ตันละ 1,700 เหรียญสหรัฐฯ แม้ว่าสินค้าไทยจะเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพที่ดีกว่าก็ตาม

(5) ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในอิตาลีค่อนข้างใหญ่มีสัตว์เลี้ยงราว 60 ล้าน โดยร้อยละ 90 เป็นอาหารสุนัขและแมว ผู้ประกอบการอาหารสัตว์เลี้ยงอิตาลีเป็นผู้ผลิตแต่ยังคงต้องการนำเข้าด้วยเพื่อให้มีความหลากหลายของสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด มีมูลค่าการค้าประมาณ 1,490 ล้านยูโร ปริมาณ 495,800 ตัน สัดส่วนตลาดอาหารสัตว์ในอิตาลีแบ่งเป็นอาหารสุนัข 41.20% (23.9% เป็นชนิดแห้ง และ 17.3% เป็นชนิดเปียก) อาหารแมว 54.4% (19% เป็นชนิดแห้ง และ 35.4% เป็นชนิดเปียก) และของขบเคี้ยวและอุปกรณ์ 4.4% ราคาจำหน่ายในตลาดอิตาลี แบ่งเป็นขนาดบรรจุถุง 4 กก. ราคา 7 ยูโร ขนาดบรรจุถุง 12 กก. ราคา 20 ยูโร ขนาดบรรจุกระป๋อง 80 กรัม ราคา 40 ยูโร ขนาดบรรจุกระป๋อง 400 กรัม ราคา 1.20 ยูโร และขนาดบรรจุถุง 100 กรัม ราคา 40 ยูโร

(6) จากข้อมูลการนำเข้าของ WTA ในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม - กรกฎาคม) ของปี 2553 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลก มูลค่า 312.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.77% จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ ฝรั่งเศส (สัดส่วนตลาด 33%) เยอรมัน (12.37%) ไทย (12.25%) ออสเตรีย (8.19%) เดนมาร์ก (7.55%) ประเทศคู่แข่งสาคัญ ได้แก่ จีน (สัดส่วนตลาด 0.57%)

3. ข้อคิดเห็น

3.1 คาดว่าการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 จะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจอิตาลียังคงฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ และเปราะบาง อันเนื่องมาจากปัญหาการว่างงานและการอ่อนตัวของความต้องการภายในประเทศที่เป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการเข้มงวดด้านงบประมาณรายจ่ายและเก็บภาษีมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนลดการใช้จ่ายและเพิ่มการออม อย่างไรก็ดี คาดว่าการส่งออกของไทยตลอดปี 2553 จะเป็นไปตามประมาณการที่ตั้งไว้ คือ 1,577 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 20%

3.2 อนึ่งมาตรการ In House Plan (วงเงิน 420 ล้านยูโร) ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ออกประกาศตั้งแต่เมษายน 2553 เพื่อจูงใจให้ประชาชนปรับปรุงบ้านให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green House Improvements) การซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ (Cleaner Motobikes) และปรับปรุงระบบการขนส่ง เช่น ท่าเรือ อากาศยาน ยานยนต์เพื่อการก่อสร้างและเครื่องจักร ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ

เนื่องจากความล่าช้าของระบบราชการ ทาให้ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้ออกมาร้องเรียนให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความล่าช้าดังกล่าว และหากมาตรการสามารถมีผลได้ในทางปฏิบัติโดยเร็ว ก็คาดว่าเศรษฐกิจอิตาลีในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 จะมีการขยายตัวได้ตามเป้าหมายคือ 1%

3.3 สินค้าที่คาดว่ายังคงมีแนวโน้มที่ดี ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ยางพารา รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ โทรศัพท์และอุปกรณ์ สิ่งทอ โดยเฉพาะสินค้าโทรศัพท์และอุปกรณ์ และอัญมณีและเครื่องประดับ ที่คนอิตาลีนิยมซื้อให้เป็นของขวัญในเทศกาลคริสต์มาสที่จะมาถึงนี้

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ