กฎระเบียบและปัญหาการลงทุนในอิหร่าน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 18, 2010 10:36 —กรมส่งเสริมการส่งออก

กฎหมายปกป้องการลงทุนชาวต่างชาติฉบับแรกในอิหร่าน คือกฎหมาย The Law on Attraction and Promotion of Foreign Investment (LAPFI) ที่ออกมาเมื่อปี 1955 และ 1956 และต่อมา ในปี 2002 LAPFI ได้เปลี่ยนเป็นกฎหมาย The Foreign Investment Promotion and Protection Act (FIPPA) โดย FIPPA มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและปกป้องการลงทุนจากต่างชาติ ที่ลงทุนในกิจการหรือโครงการต่างๆ ในอิหร่าน

FIPPA ครอบคลุมการลงทุนต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ “พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เหมืองแร่ เกษตรกรรม และบริการ” โดยอิหร่านคาดหวังว่าการลงทุนจากต่างชาติจะทาให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ปรับปรุงเทคโนโลยีภายในประเทศ เพิ่มคุณภาพสินค้าของอิหร่าน สร้างงานแก่ประชาชน รวมทั้งเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าของอิหร่าน

ทั้งนี้ FIPPA ได้กาหนดการให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนจากต่างชาติว่าจะต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศหรือประโยชน์สาธารณะของอิหร่าน หรือทาลายสิ่งแวดล้อม และกระทบเศรษฐกิจภายในประเทศ ทำลายผลผลิตของการลงทุนภายในประเทศ หรือทำให้มาซึ่งสัมปทานใดๆ (สัมปทานหมายความถึง สิทธิพิเศษที่นักลงทุนต่างชาติได้รับในลักษณะผูกขาด)

การลงทุนจากต่างชาติจะจากัดสัดส่วนมูลค่าของสินค้าหรือบริการต่อมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตภานในประเทศไม่เกินร้อยละ25 ของเศรษฐกิจระดับมหภาคและไม่เกินร้อยละ 35 ของเศรษฐกิจจุลภาค ของแต่ละภาคอุตสาหกรรม

FIPPA ครอบคลุมการลงทุนจากต่างชาติที่ต้องขออนุมัติจากรัฐสภาอิหร่าน และการลงทุนโดยรัฐบาลต่างชาติในอิหร่านจะถือเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับภาคเอกชน

FIPPA ให้สิทธิพิเศษแก่นักลงทุนตามคาขอที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุน (Board of Investment) และตามใบอนุญาตการลงทุน (Investment License) ที่ลงนามโดยกระทรวงเศรษฐกิจ และการคลัง

นักลงทุนต่างชาติสามารถนาเข้าเงินตราและสิ่งของอื่นๆ ดังต่อไปนี้

1. เงินสด และแลกเป็นเงินเรียล

2. เงินสดที่ไม่แลกเป็นเงินเรียล แต่ใช้ในการซื้อสินค้า หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน

3. เครื่องจักรและอุปกรณ์

4. เครื่องมือและอะไหล่ ชิ้นส่วน CKD และวัสดุอื่นๆ

5. สิทธิบัตร ความรู้ด้านเทคนิค เครื่องหมายการค้า ชื่อทางการค้า และบริการพิเศษอื่นๆ

6. สิ่งอื่นๆ จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

การลงทุนที่มิใช่เงินสด จะสามารถประเมินมูลค่า โดยใช้กระบวนการประเมินที่แตกต่างตามชนิดของการลงทุนที่มิใช่เงินสด ภายใต้ใบอนุญาตการลงทุน การแบ่งสัดส่วนการลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วนให้ผู้อื่น จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุนก่อน โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังเป็นผู้รับรอง โดยผู้รับสัดส่วนการลงทุนรายใหม่จะต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ลงทุนเดิม

การลงทุนในบริษัทอิหร่าน

นักลงทุนต่างชาติ สามารถลงทุนโดยการถือครองทรัพย์สินหรือหุ้นในบริษัทของอิหร่าน ทั้งนี้ ในทางปฎิบัติ นักลงทุนต่างชาติถือครองหุ้นในบริษัทอิหร่านสูงสุดได้คือร้อยละ 49 อย่างไรก็ดี การลงทุนภายใต้ FIPPA นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนได้ไม่จากัดตามใบอนุญาตการลงทุน และอาจถึงร้อยละ 100 แม้ว่าโอกาสจะได้รับอนุมัติน้อยมาก การโอนการถือครองหุ้นจากนักลงทุนประเทศหนึ่งไปอึกประเทศหนึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุนก่อนการเปลี่ยนแปลงใบอนุญาตลงทุน หากไม่เช่นนั้น นักลงทุนรายใหม่จะไม่ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับนักลงทุนรายเดิม แม้ว่ากฎหมายจะอนุญาตให้นักลงทุนใหม่จดทะเบียนลงทุนในโครงการที่ FIPPA อนุมัติแล้ว แต่นักลงทุนควรขอรับใบอนุญาตลงทุนใหม่ก่อนการลงทุน การลงทุนจากต่างชาติในลักษณะ Buy-Back และ Build-Operate-Transfer: BOT

FIPPA คุ้มครองการลงทุนไม่เฉพาะในบริษัทของอิหร่านเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมการลงทุนทุกภาคภายใต้กรอบของ “Civil Partnership” “Buy-back” “Build-Operate-Transfer (BOT)” ซึ่งการคืนเงินลงทุนและผลกำไรสะสม จะคำนวนจากผลการดำเนินการทางเศรษฐกิจของโครงการที่ได้ลงทุนไปแล้ว

ทั้งนี้ การลงทุนแบบ “Civil Partnership” “Buy-back” “Build-Operate-Transfer (BOT)”จะพิจารณาอนุมัติเฉพาะเมื่อเงินลงทุนและผลกำไรไม่ได้รับการค่าประกันจากรัฐบาลหรือธนาคาร

การปกป้องการลงทุน

การจดทะเบียนของนักลงทุนต่างชาติเป็นบริษัทอิหร่าน นักลงทุนจะได้รับการปกป้องดังต่อไปนี้

1. นักลงทุนต่างชาติจะได้รับการปฎิบัติเยี่ยงธุรกิจอิหร่าน

2. สามารถนำเงินตราหรืออื่นๆ เข้าประเทศ ตามใบอนุญาตการลงทุน โดยไม่ต้องขออนุญาตอื่นใดอีก

3. ไม่จำกัดสัดส่วนการลงทุน

4. รับประกันการลงทุนต่างชาติจากการยึดเป็นของรัฐหรือการเวนคืนเป็นของรัฐ ว่านักลงทุนต่างชาติจะได้รับสิทธิรับค่าชดเชยตามมูลค่าเท่ากับเงินลงทุนจริงในทันทีก่อนการการยึดเป็นของรัฐหรือการเวนคืนเป็นของรัฐ

5. รับประกันการส่งเงินตรา ผลกาไร รายได้ ที่เกิดจากการลงทุนทั้งในรูปเงินสดและสินค้า กลับประเทศ

6. นักลงทุนสามารถส่งออกสินค้าได้อย่างเสรี และหากมีการจำกัดการส่งออก ก็จะสามารถจำหน่ายสินค้าในตลาดภายในประเทศ และโอนเงินที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบธนาคารไปยังต่างประเทศ

การลงทะเบียนในโครงการ Buy-Back และ BOT ภายใต้ FIPPA จะได้รับการคุ้มครองเพิ่มเติมดังนี้

1. ในกรณีมีกฎหมายใหม่หรือกรณีที่รัฐบาลตัดสินใจยุติการสนับสนุนการด้านการเงินแก่โครงการ รัฐบาลรับประกันที่จะคืนเงินตามเพดานชำระเงิน

2. หากเป็นโครงการ BOT และ Civil partnership ที่หน่วยงานรัฐบาลเป็นผู้ซื้อหรือจัดหาสินค้าหรือบริการในราคาอุดหนุน รัฐบาลจะรับประกันซื้อสินค้าหรือบริการที่เกิดจากโครงการดังกล่าว

การส่งเงินกลับประเทศ

การนำเงินลงทุนและกาไรกลับประเทศผู้ลงทุนต่างชาติ จะต้องกระทำผ่านกระบวนการส่งออกสินค้าหรือการแลกเปลี่ยนเงินตราโดยหน่วยงานของผู้ลงทุนหรือการส่งออกสินค้าที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

หน่วยงานรับผิดชอบ

หน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินการตาม FIPPA คือ The Organization for Investment, Economic, and Technical Assistance (OIETA) ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง นักลงทุนต่างชาติยืนคำขอไปที่ OIETA และเมื่อ OIETA ตรวจสอบแล้วเสร็จ ก็จะรายงานข้อเสนอแนะไปยังคณะกรรมการการลงทุน และเมื่อผ่านการอนุมัติ แล้วก็จะออกใบอนุญาตการลงทุนที่ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง

ทั้งนี้ ควรทราบว่า มีความเป็นไปได้ที่ข้อเสนอแนะของ OIETA จะถูกคณะกรรมการการลงทุนตีกลับหรือรัฐมนตรี ไม่ลงนามในใบอนุญาต การลงทุน

กระบวนการประเมิน

หลังจากที่นักลงทุนต่างชาติได้ยื่นใบสมัครและเอกสารอื่นๆ ต่อ OIETA แล้ว OIETA จะตรวจสอบและขอข้อมูลเพิ่มเติมจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานพอสมควร หลัวจากที่ OIETA จัดทารายงานและเสนอข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการการลงทุนแล้ว OIETA จะสอบถามความเห็นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดูแลโครงการที่จะลงทุน ทั้งนี้ รัฐมนตรีจะแจ้งความเห็นภายในสิบวัน หากมิเช่นนั้น จะถือว่ารัฐมนตรีไม่คัดค้านการลงทุนนั้นๆ คณะกรรมการการลงทุนจะเป็นผู้จัดเตรียมใบอนุญาตการลงทุนและออกใบอนุญาตการลงทุนต่อไป

ปัญหานักลงทุนไทยประสบในอิหร่าน

1. ปัญหาการคว่ำบาตรจากสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมการเงินเข้าและออกนอกประเทศได้

2. กฎระเบียบทางการค้าภายในอิหร่านมีความไม่แน่นอนสูง เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง

3. ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในอิหร่าน

4. ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำภายในอิหร่าน

5. ปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภาษาและศาสนา

สคร ณ กรุงเตหะราน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก Investment   อิหร่าน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ