การค้าระหว่างไทยกับฮังการี ปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.46

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 22, 2010 11:02 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-ก.ย.) การค้าระหว่างประเทศไทยกับฮังการีมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 366 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ที่มีมูลค่า 257 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปฮังการีมูลค่า 275.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ที่ส่งออกมูลค่า 215.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.46 เป็นการนำเข้าจากฮังการีมูลค่า 90.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.97 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 184.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2552 ที่ไทยได้เปรียบดุลการค้า 49.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังฮังการีที่สำคัญ 10 อันดับแรกในช่วง ม.ค.-ก.ย. 2553 ได้แก่

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบมูลค่า 84.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.55

2. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และส่วนประกอบมูลค่า 46.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.54

3. ก๊อกวาวล์ และส่วนประกอบมูลค่า 29.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 172.25

4. แผนวงจรไฟฟ้ามูลค่า 16.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 448.97

5. วงจรพิมพ์มูลค่า 16.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.56

6. เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบอื่นๆมูลค่า 14.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.79

7. หม้อแปลงไฟฟ้า และส่วนประกอบมูลค่า 8.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -37.42

8. รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบมูลค่า 7.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.60

9. ยางพารามูลค่า 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.71

10.เลนซ์มูลค่า 6.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.63

สินค้าไทยที่นำเข้าจากฮังการีที่สำคัญ 10 อันดับแรก ของปี 2553

1. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านมูลค่า 53.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 567.96

2. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบมูลค่า 9.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -2.99

3. เครื่องจักรไฟฟ้า และส่วนประกอบมูลค่า 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -56.01

4. ผลิตภัณฑ์เวชกรรม และเภสัชกรรมมูลค่า 4.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 134.44

5. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบมูลค่า 3.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.30

6. เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มูลค่า 1.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 228.29

7. ผ้าผืนมูลค่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 722.19

8. ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชมูลค่า 1.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 189.80

9. สัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์มูลค่า 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (สินค้าไม่มีการนำเข้าในปี 2552)

10.เครื่องดนตรี ของเล่น เครื่องกีฬามูลค่า 1.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 413.57

สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปยังฮังการีมีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ก๊อกวาวล์ และส่วนประกอบ แผนวงจรไฟฟ้า ยางพารา หม้อแปลงไฟฟ้า และส่วนประกอบ

สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากฮังการีเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลิตภภัณฑ์เวชกรรม และเภสัชกรรม เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และผ้าผืน

สรุปและข้อคิดเห็น

1. เศรษฐกิจของฮังการีเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆในปี 2553 และคาดว่าในปี 2554 ภาวะเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืน โดย GDP จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.5 จากการใช้นโยบายด้านการคลัง และจัดเก็บภาษีพิเศษในบางหน่วยงานของรัฐบาล คาดว่าการขาดดุลจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 3 ส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น

2. การส่งออกของไทยไปยังฮังการีในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2553 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินค้าไทยหลายชนิดที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังตลาดฮังการี และมีลู่ทางที่จะขยายการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ ก๊อก วาวล์และส่วนประกอบ แผนวงจรไฟฟ้า ยางพารา เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ พัดลม เครื่องยนต์สันดาปภายในและลูกสูบ แม่พิมพ์หุ่นแบบหล่อโลหะ นอกจากนี้ยังมีสินค้าอาหาร และการนวดแผนไทย ซึ่งกำลังเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

3. คนฮังการีส่วนใหญ่ มักจะตัดสินใจซื้อสินค้าโดยพิจารณาราคาเพียงอย่างเดียว ดังนั้นสินค้าที่เป็นคู่แข่งของไทยคือสินค้าจากจีน และเวียตนาม เนื่องจากมีราคาถูกมาก แต่เมื่อใช้ไปสักระยะจะเห็นถึงความแตกต่างของคุณภาพ สินค้าไทยมีหลากหลายชนิด และคุณภาพดี หากราคาไม่สูงนัก เชื่อว่ายังมีโอกาสที่จะขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนได้อีกมาก

4. แม้ว่าเศรษฐกิจฮังการีจะมีขนาดเล็ก แต่เป็นศูนย์กลางธุรกิจและการขนส่งของยุโรปตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยประเทศเล็กๆหลายประเทศ จึงเหมาะสำหรับผู่ส่งออกที่เป็น SME เนื่องจากจะมีคำสั่งซื้อไม่มากนัก แต่สามารถกระจายสินค้าไปยังประเทศใกล้เคียงได้

5. ผู้ประกอบการไทย ควรจะพัฒนาการผลิตสินค้าให้ทันสมัย ตรงกับความต้องการของตลาดฮังการี ตลอดจนหารูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ และกลยุทธ์การบุกเจาะตลาดเชิงรุก เพื่อเข้าถึงตลาดมากยิ่งขึ้นเช่น การร่วมงานแสดงสินค้า การสร้างพันธมิตรทางการค้า (Business matching) การหาช่องทางจำหน่ายสินค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ตลอดจนการตั้งสำนักงานหรือตัวแทนจำหน่าย(Agent / Partner) เพราะการเข้าไปอยู่ในตลาดนั้นๆ จะได้ทราบและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งทางด้านพฤติกรรมผู้บริโภค กิจกรรมทางการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และคู่แข่งขัน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอีกด้วย

ที่มา: สถิติการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก

สำนักงานส่งเสริมการการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงบูดาเปสต์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ