รายงานสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจของสาธารณรัฐไอร์แลนด์

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 22, 2010 14:19 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจของไอร์แลนด์

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจการคลัง ประจาสหราชอาณาจักรและยุโรป รายงานสรุปสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจของไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 โดยมีสาระสาคัญดังนี้

1) ปัญหาเศรษฐกิจพื้นฐานของไอร์แลนด์ เกิดขึ้นจากวิกฤติแฝด ทั้งจากวิกฤติสถาบันการเงินและการคลัง โดยระบบธนาคารปล่อยสินเชื่ออย่างรวดเร็วและไม่ระมัดระวังจนเกิดหนี้เสียจำนวนมากโดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ จนรัฐบาลต้องเข้ามาเพิ่มทุนให้ธนาคารเอกชนและยึดเป็นกิจการของรัฐ ส่งผลให้งบประมาณของไอร์แลนด์ขาดดุลสูงมากถึงประมาณร้อยละ 33 ของ GDP ในปี 2553

2) จากการประชุมระดับผู้นา EU Summit เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2553 รัฐบาลของประเทศ เยอรมนีและฝรั่งเศสเสนอให้แก้ไขสนธิสัญญาของประเทศสมาชิก EU ให้มีกฏเกณฑ์การช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจให้เป็นการถาวร (Permanent Crisis Resolution) โดยต้องการให้ภาคเอกชนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น การยอมรับการปรับโครงสร้างหนี้ และการยอมตัดหนี้สูญ (Hair Cut) จากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล

3) การเพิ่มกฎเกณฑ์ดังกล่าวประกอบกับตัวเลขความเสียหายของสถาบันการเงินในไอร์แลนด์ที่สูงกว่าคาดการณ์ ส่งผลให้นักลงทุนขาดความมั่นใจในความสามารถชำระหนี้ของรัฐบาลไอร์แลนด์ อย่างไรก็ดี รัฐบาลไอร์แลนด์ยังมีท่าทีที่จะยังไม่ขอความช่วยเหลือผ่านกลไกความช่วยเหลือทางการเงินของยุโรป เนื่องจากต้องการมีอิสระในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและไม่ต้องการอยู่ภายใต้เงื่อนไข ที่ต้องปฏิบัติตามภายใต้เกณฑ์การกู้ยืมเงินของ EU แต่รัฐบาลไอร์แลนด์ได้ผ่อนปรนให้เจ้าหน้าที่จาก 3 องค์กร (Troika) ได้แก่ European Commission, European Central Bank และ IMF เข้าไปรวมประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินกับรัฐบาลไอร์แลนด์ได้

4) สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจไอร์แลนด์มีความเสี่ยงที่จะลุกลามไปยังประเทศ กรีซ โปรตุเกสและสเปน และยังสามารถส่งผลกระทบต่อประเทศที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาลไอร์แลนด์ ได้แก่ อังกฤษ เยอรมนี สหรัฐ และฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี ตลาดการเงินยังมองว่าความเสี่ยงของวิกฤติการเงินในไอร์แลนด์จะลุกลามมายังประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชียมีค่อนข้างน้อย

สถานการณ์การค้าไทย-ไอร์แลนด์

  • นับจากวิกฤตเศรษฐกิจในไอร์แลนด์ในปี 2552 การค้าสองฝ่ายไทย — ไอร์แลนด์มีมูลค่าลดลงอย่างรุนแรง ในปี 2552 มูลค่าการค้าลดลงถึงร้อยละ 36.8 จากมูลค่า 790 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2551 เหลือเพียง 498 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2552 ขณะที่สถานการณ์การค้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 (มค. — กย.) เริ่มปรับตัวกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 มูลค่า 392 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • การส่งออกของไทยไปยังไอร์แลนด์ลดลงถึงร้อยละ 46 ในปี 2552 จากมูลค่า 539 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2551 ลดลงเหลือเพียง 290 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2552 ขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มูลค่าการส่งออกของไทยยังคงลดลงร้อยละ 9.6 จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2552 คิดเป็นมูลค่า 195 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • มูลค่าการนำเข้าจากไอร์แลนด์มายังไทยลดลงร้อยละ 16.9 ในปี 2552 คิดเป็นมูลค่า 207 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มูลค่าการนำเข้าจากไอร์แลนด์กลับขยายตัวถึงร้อยละ 30.8 คิดเป็นมูลค่า 196 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าหลักที่นำเข้าได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรม และสินค้าทุน

ผลกระทบต่อการค้าสินค้าและบริการของไทย

  • สินค้าส่งออกหลักของไทยไปยังไอร์แลนด์ประกอบด้วยกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต่างได้รับผลอย่างมากจากวิกฤตเศรษฐกิจของไอร์แลนด์
  • นอกจากนี้ สินค้าอาหารประกอบด้วย ไก่แปรรูป ข้าว สิ่งปรุงรสอาหาร ผลไม้กระป๋อง ตลอดจน เสื้อผ้าสำเร็จรูป และอัญมณีและเครื่องประดับ ยังคงเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปยังไอร์แลนด์ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อยกว่าในกลุ่มอุตสาหกรรม
  • สินค้าและบริการไทยที่ได้รับความนิยม ได้แก่ อาหารไทยและร้านอาหารไทย ทั้งในหมู่ชาวไอร์แลนด์ และกลุ่มแรงงานอพยพจากต่างชาติที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากจีนและฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ดี โดยที่สินค้าอาหารจำเป็นต่อการดำรงชีวิต จึงน่าที่ผู้บริโภคจะยังคงความต้องการบริโภค เนื่องจากสินค้าอาหารของไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีทั้งด้านคุณภาพและราคา เมื่อเทียบกับสินค้าจากจีนหรืออินเดีย จึงได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจบ้างแต่ไม่รุนแรงนัก
  • ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมลำดับต้นๆ ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ โดยแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมาเยือนไทยประมาณ 70,000 คนจากประชากร 4 ล้านคน ดังนั้น หากภาวะเศรษฐกิจถดถอย อาจส่งผลให้ชาวไอร์แลนด์ลดการเดินทางท่องเที่ยวในระยะไกลอย่างแน่นอน

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ