ในปีที่ผ่านมา จำนวนสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรที่ส่งมายังโปแลนด์ถูกกักไว้ที่ด่านตรวจสินค้าเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นสินค้าของผู้ส่งออกรายใหม่ที่ยังไม่เคยส่งสินค้ามาโปแลนด์ ปัญหาเกิดจากการที่ผู้ส่งออกจัดเตรียมเอกสารไม่ครบถ้วน หรือไม่ได้ปฎิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างถูกต้อง แนวทางการแก้ไข คือ ผู้ส่งออกควรศึกษาข้อมูลจาก The Food Safety and Inspection Service (FSIS) อย่างละเอียด และประสานงานกับผู้นำเข้าอย่างใกล้ชิด ก่อนการจัดส่งสินค้า
โปแลนด์เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ใช้กฎระเบียบการนำเข้าในภาพรวมตามที่สหภาพยุโรปกาหนด แต่มีขั้นตอนปลีกย่อยที่ประเทศสมาชิกกำหนดเองด้วย เช่น ส่วนผสมของวิตามิน เกลือแร่ และสารกำจัดแมลงตกค้าง รวมถึงมาตรฐานค่าใช้จ่ายและระยะเวลาการดำเนินงานในการตรวจสินค้า และการลงทะเบียน แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
รัฐบาลโปแลนด์ได้ออกข้อกำหนดการนำเข้าสินค้า นอกเหนือจากกฎระเบียบของสหภาพยุโรป เรียกว่า Polish Food Law (Ustawa o Bezpieczenstwie Zywnosci i Zywienia) ข้อกำหนดดังกล่าวได้เผยแพร่ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2006 (Polish Journal of Law 2006, Nr 171, pos. 1225) http://isap.sejm.gov.pl/DetailsServlet?id=WDU20061711225&min=1
ข้อกำหนดการจัดทำฉลากสินค้า
โปแลนด์ได้ปรับปรุงข้อกำหนดเดิมให้รัดกุมชัดเจน และจัดทำข้อกำหนดเพิ่มเติม ให้เป็นไปตามตามระเบียบของสหภาพยุโรป ได้แก่
- รูปแบบการใส่วันที่ - จะต้องใช้รูปแบบ วัน เดือน ปี dd/mm/year และต้องระบุ best before ในกรณีสินค้าเน่าเปื่อย จะต้องกำหนดวันหมดอายุ
- วิธีการเก็บรักษาและการใช้งาน - จะต้องระบุวิธีการเก็บรักษาและการใช้งานบนป้ายสินค้า
- สินค้าอาหารเสริม - โปแลนด์ให้ความสำคัญกับสินค้าอาหารเสริมมากกว่าประเทศอื่นในยุโรป กฏหมายโปแลนด์ระบุให้ระบุคำว่า อาหารเสริม ควบคู่ไปกับตราสินค้า ทุกที่ซึ่งมีตราสินค้าบนป้ายสินค้า
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ — โปแลนด์กำหนดให้ระบุคำเตือนเรื่องสุขภาพบนสลากด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
ข้อกำหนดเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ สารปรุงรสอาหาร สารจำกัดแมลงและสารตกค้าง เป็นไปตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป
ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตร
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตรในโปแลนด์ มีมูลค่าระหว่าง ร้อยละ 7 — 22 ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าอาหารกึ่งสำเร็จรูปมีภาษี ร้อยละ 7 และสินค้าบริโภคทั่วไปมีภาษี ร้อยละ 22
ภาษีสรรพสามิตรของโปแลนด์มีมูลค่าสูงกว่าประเทศอื่นในยุโรป โปแลนด์กำหนดให้สินค้านำเข้าทุกประเภทจะต้องมีฉลากระบุมูลค่าภาษีสรรพสามิตร และต้องชำระภาษีทันทีที่สินค้าเข้าประเทศ กฎระเบียบอื่นเป็นไปตามระเบียบของสหภาพยุโรป
สินค้า biotechnology
ในปี 2006 โปแลนด์ห้ามจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาค และห้ามการจดทะเบียนเมล็ดพันธุ์จากที่มาจากเทคโนโลยีชีวภาค ต่อมาในปี 2008 วุฒิสภาได้ออกกฎหมายชะลอการจำหน่ายสินค้าอาหารสัตว์ที่มาจากเทคโนโลยีชีวภาค ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2012 ซึ่งเป็นการละเมินข้อตกลงที่โปแลนด์จะต้องดำเนินการในกรอบของสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปกาลังหาทางดำเนินการให้โปแลนด์เปลี่ยนแปลงกฎหมายนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมได้จัดทำและปรับปรุงกฎระเบียบฉบับใหม่และเก่าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาค ยื่นเสนอต่อสหภาพยุโรปในปี 2009 โปแลนด์ไม่เห็นด้วยกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาคในการเกษตร และคัดค้านการอนุญาตให้ใช้สินค้าเทคโนโลยีชีวภาคของสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ โปแลนด์มีกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าด้านพันธุกรรม เช่น การนำเข้าน้ำเชื้อของสัตว์ จะต้องมีเอกสารใบรับรองสุขภาพ แหล่งที่มา และคุณภาพ เป็นต้น ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารใช้เวลาหลายสัปดาห์
ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า
ขั้นตอนทั่วไปเป็นไปตามสหภาพยุโรป แต่จะเคร่งครัดเพิ่มสำหรับสินค้าอาหารที่ไม่เคยใช้ในสหภาพยุโรปก่อนเดือนพฤษภาคม 1997 (Novel food products) ซึ่งจะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ ผู้ส่งออกสามารถส่งเอกสารยื่นขอทำการอนุมัติล่วงหน้า โดยจะต้องจัดส่งสำเนาใบรับรองทุกประเภทตามระเบียบข้อบังคับ ผลการวิเคราะห์จากห้องทดลอง ตัวอย่างฉลากในภาษาโปลิช ระบุส่วนผสมสินค้า ระยะเวลาการขออนุมัติล่วงหน้า ประมาณ 1 เดือน และร้นระยะเวลาการตรวจสอบสินค้าเมื่อสินค้าเดินทางมาถึงด่านศุลกากรโปแลนด์ โดยแจ้งว่าได้ผ่านการตรวจมาแล้ว ผู้นำเข้าจะนำเอกสารสำคัญยื่นให้กับด่านเท่านั้น เอกสารดังกล่าว ได้แก่ sanitary inspection (3 ชุด) Invoice Transportation เช่น airway bill Health Certificate/Phytosanitary Certificate/Microbiological Certificate และเอกสารสารจากผู้ผลิตยืนยันคุณภาพสินค้า ได้แก่ ผลการตรวจจากห้องแลป
ถ้าไม่ได้มีการยื่นขออนุมัติล่วงหน้า เมื่อสินค้ามาถึงด่านศุลกากร อาจจะต้องถูกนำไปตรวจสอบในห้องทดลอง และสินค้าจะต้องถูกกักอยู่ที่ด่านจนกว่าจะผ่านการตรวจสอบทุกขั้นตอน ซึ่งใช้เวลาหลายสัปดาห์
สินค้าที่มีประวัติดี ไม่มีปัญหา จะได้รับการสุ่มตรวจ ประมาณปีละ 1 ครั้ง
สำหรับสินค้าไทย นับว่ามีปัญหาน้อย เมื่อเทียบกับสินค้านำเข้าจากประเทศอื่น ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ เอกสารไม่ครบถ้วน หรือการเอกสารครบถ้วนแต่กรอกข้อมูลไม่ครบ หรือขาดการลงนาม การประทับตราจากหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องเร่งส่งเอกสารที่ถูกต้องมาโดยเร็วที่สุด มิเช่นนั้นสินค้าจะถูกทำลาย หรือส่งกลับ การฝากสินค้าไว้ที่ท่าเรือ หรือด่านตรวจ มีค่าใช้จ่ายสูงมาก
ที่มา: http://www.depthai.go.th