ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าระหว่างวันที่ 16-31 ตุลาคม 2553
เศรษฐกิจ-ภาวะการค้า
1.ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 โดยกลุ่มที่ขยายตัว ได้แก่ Precision Engineering เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.3 อิเล็คทรอนิกส์ ร้อยละ 32.8 General Manufacturing ร้อยละ 15.1 Chemical ร้อยละ 11.9 Transport Engineering ร้อยละ 4.6 ยกเว้นกลุ่ม Biomedical Manufacturing ลดลงร้อยละ 29.0
2.การค้าระหว่างประเทศ ช่วง มค.-กย. 2553 การค้ารวมมีมูลค่า 671,801.2 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 23.96 (การค้ารวมระหว่างไทย-สิงคโปร์มีมูลค่า 23,559.9 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.96) แบ่งออกเป็นการนำเข้ามูลค่า 316,483.1 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.22 ประเทศคู่ค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรกคือ มาเลเซีย สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน (ไทยอันดับที่ 9 มูลค่านำเข้า 10,600.8 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.08 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.35 ) และมูลค่าการส่งออก 355,318.1 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขี้นร้อยละ 25.56 ประเทศคู่ค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกคือ มาเลเซีย ฮ่องกง จีน อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ (ไทยอันดับที่ 9 มูลค่าส่งออก 12,959.1 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.87)
3. สิงคโปร์เป็น Arbitration Hub ยอดนิยมของเอเชีย จากการศึกษาและสำรวจของ Queen Mary, University of London (QMUL) ให้สิงคโปร์เป็นผู้นำของ Regional Arbitration ในเอเชีย โดยมีฐานะเท่าเทียมกับของปารีสและโตเกียว ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของบริษัทที่มีข้อพิพาท ได้แก่ การดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สามารถบังคับให้คู่กรณีปฏิบัติตาม มีความเป็นกลาง ภาครัฐให้การสนับสนุน และคณะตุลาการมีความชำนาญ ทั้งนี้ ในปี 2552 Singapore International Arbitration Centre (SIAC) ดำเนินการกรณีพิพาทจำนวน 160 กรณี (ปี 2548 จำนวน 75 ราย) ส่วนเมืองที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ลอนดอน และเจนีวา
4. ภาครัฐสนับสนุน R&D ช่วงปี 2554-2558 ได้กำหนดวงเงินไว้ 16.1 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากมูลค่า 13.6 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ที่ให้การสนับสนุนในช่วงปี 2549-2553 โดยเชื่อว่า R&D จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผล ให้เศรษฐกิจขยายตัว มีความสำเร็จมั่นคงในระยะยาว และยกระดับให้สิงคโปร์เป็นประเทศเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยความรู้และการสร้างสรร รวมถึงมีผลต่อไปยังด้านทรัพย์สินทางปัญญา ให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่สามารถแข่งขันทางการค้า มีระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมสูงเพื่อโอกาสการเปิดตัวสินค้าใหม่ในตลาดนานาชาติ ปัจจุบันความต้องการของโลกหันมาสู่เอเชีย ดังนั้น การมีศักยภาพและประสิทธิภาพด้าน R&D จะส่งให้สิงคโปร์สามารถเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติที่หันเหสู่ตลาดเอเชียให้เข้ามาลงทุน R&D ในสิงคโปร์มากขึ้นต่อไป
5.การแข่งขัน F1 ช่วยส่งเสริม Motorsports Industry ในสิงคโปร์ ซึ่งมีบริษัทดำเนินธุรกิจด้าน motorsports และอุปกรณ์ได้จัดตั้งสำนักงานในสิงคโปร์ทั้งที่เป็นสำนักงานภูมิภาค ศูนย์การค้นคว้าวิจัย และโรงงานผลิตสินค้า motorsports คาดว่าจะมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นเมื่อ Changi Motorsports Hub สร้างแล้วเสร็จในปลายปี 2553 ซึ่งประกอบด้วยสนามแข่งรถระยะทาง 3.7 กิโลเมตร และอัฒจันทร์บรรจุผู้ชมได้ 20,000 ราย โครงการนี้ช่วยส่งเสริม motorsports ในสิงคโปร์โดยเป็นเวทีถาวรที่จะสนับสนุนผู้มีความสามารถด้าน motorsports, ส่งเสริมการพัฒนา อุตสาหกรรม สร้างให้มีการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติ และให้ชาวสิงคโปร์รวมถึงนักท่องเที่ยวมีสถานที่สำหรับการกีฬาและการพักผ่อนหย่อนใจเพิ่มขึ้น
6.การส่งเสริม Electric Vehicle (EV) หน่วยงาน Energy Market Authority (EMA) และ Land Transport Authority (LTA) ได้แต่งตั้งบริษัท Robert Bosch (SEA) Pte. Ltd. (“Bosch”) เพื่อออกแบบ พัฒนา เตรียมพร้อมในการดำเนินการและซ่อมบำรุงสถานีเติมพลังงานแก่ EV นับเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการพัฒนา EV ซึ่งสิงคโปร์เป็นแห่งแรกนอกเยอรมันในการทดสอบระบบสถานีเติมพลังงานที่ผลิตและสร้างโดย Bosch โดยในครั้งแรกจะใช้กับรถยนต์ Mitsubishi i-MiEVs ที่จะพร้อมใช้ในปี 2554 เพื่อส่งเสริมให้มีการคมนาคมทางถนนมีความสอาดกว่า และลดสารคาร์บอน ทั้งนี้ Bosch จะสร้างสถานีธรรมดาเติมพลังงานจำนวน 25 แห่ง (เติมเต็มใช้เวลา 8 ชั่วโมง) และสถานีด่วนจำนวน 1 แห่ง (เติมเต็มใช้เวลา 45 นาที) ส่งเสริมให้สิงคโปร์เป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด ทั้งนี้ บริษัทที่เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนา EV สามารถยื่นขอการลดหย่อนภาษี Additional Registration Fees (ARF), Certificate of Entitlement (COE), Road tax และ Excise duty ได้เป็นระยะเวลา 6 ปี
7. การสร้างให้สิงคโปร์เป็น International Maritime Centre (IMC) และ Premier Global Hub Port โดยหน่วยงาน Maritime and Port Authority of Singapore (MPA) ได้จัดสรรเงิน 200 ล้านเหรียญสิงคโปร์(ในเวลา 10 ปี) เพื่อจัดตั้ง Singapore Maritime Institute (MI) ด้วยความร่วมมือกับ A*STAR และ EDB การเปิดตัว MI เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสนับสนุนการเติบโตของสิงคโปร์ให้มีฐานะเป็น IMC มีเป้าหมายในการพัฒนานโยบายและโปรแกรมที่เกี่ยว ข้องกับการศึกษานโยบายและการค้นคว้าวิจัยอุตสาหกรรมการเดินเรือทะเล ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการรวมกลุ่มต่างๆ เข้าร่วมด้วย ได้แก่ การขนส่ง การบริการท่าเรือและการเดินเรือ และ Offshore and Marine Engineering เพื่อเตรียมพร้อมบุคคลากรรุ่นใหม่ให้มีความสามารถด้านการเดินเรือทะเล รวมถึงเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผู้มีความชำนาญในสิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังมีแผนการพัฒนาคุณภาพบุคคลากรภายใต้ 3 โปรแกรม คือ (1) Training@Maritime Singapore (2) Talent@Maritime Singapore และ (3) InvestManpower@Maritime Singapore เพื่อสนับสนุนหน่วยงานหรือบริษัทการเดินเรือทะเลให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากการขยายขอบเขตการสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาและฝึกอบรม
8. เงินสนับสนุน Biomedical Sciences R&D ซึ่ง Biomedical Sciences (BMS) Executive Committee ได้จัดสรรเงิน 3.7 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ เพื่อการค้นคว้าวิจัยในช่วงปี 2554-2558 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากช่วงปี 2549-2553 ผลผลิต BMS ในปี 2552 มูลค่า 21 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า ของมูลค่า 6.3 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ในปี 2543 และในส่วนของการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็น 13,000 อัตรา จากเดิมจำนวน 6,000 อัตรา ในปัจจุบัน บริษัท Biomedical Sciences จากทั่วโลกมากกว่า 100 ราย จัดตั้งสำนักงานในสิงคโปร์ ที่สำคัญได้แก่ Abbott, GlaxoSmithKline, Merck Sharp & Dohme, Pfizer, Roche, Becton Dickinson, Medtronic, Siemens และ Hill-Rom
การลงทุนในประเทศ
1.บริษัทขนส่งใหม่ ณ Changi Airport คือ บริษัท China Cargo Airlines เป็นบริษัทที่ 3 ดำเนินการด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศในสิงคโปร์ (2 บริษัทแรก คือ Transmile Air - มาเลเซีย และ Tri-MG Airlines - อินโดนีเซีย) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง China Eastern Airlines and China Ocean Shipping มีเที่ยวบิน 12 เที่ยวต่อสัปดาห์ ใช้เครื่อง Boeing 777-200F และ MD-11F ขนส่งระหว่างสิงคโปร์-เซี่ยงไฮ้ ผ่านกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2553 ปริมาณรวมของสินค้าผ่านสนามบินชางกี 1.19 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 และการขนส่งระหว่างสิงคโปร์กับจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25
2. บริษัท Neste Oil (ฟินแลนด์) สร้างโรงงาน Clean Diesel มูลค่า 996 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ผลิต low-emissions diesel จะสามารถดำเนินการผลิตได้ในปี 2555 วัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ palm oil และ animal fats ปริมาณการผลิตเต็มที่ 800,000 ตันต่อปี ตลาดส่งออกสำคัญ คือ ญี่ปุ่น และเอเชีย ทั้งนี้ คาดว่า จะเปิดตลาดในสิงคโปร์และจีนได้ด้วยในอนาคต
3.บริษัท FCI Microconnections ผู้ผลิต metallic chip สำหรับ smart cards ขนาดใหญ่ของโลก ลงทุนเปิดโรงงานมูลค่า 51 ล้านเหรียญสิงคโปร์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553 บนพื้นที่ 18,000 ตารางเมตร ณ เขต Changi ทำให้เพิ่มผลการผลิตอีก 3 เท่า และมีการจ้างงาน 260 อัตรา โดยสามารถผลิต gold-colored chips จำนวน 5 ล้านชิ้นต่อปี นอกจากนี้ มีศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาการทดลองด้วย ทั้งนี้ บริษัทมีโรงงานใน ฝรั่งเศสซึ่งมีผลผลิต 2 ล้านชิ้นต่อปี
4.บริษัทยักษ์ใหญ่โลจิสติกส์ Panalpina เปิดสำนักงานใหม่ มูลค่า 15 ล้านเหรียญสิงคโปร์ แบ่งเป็นอาคารสำนักงานฯ 3 ชั้น พื้นที่ 1,100 ตารางเมตร คลังสินค้าพื้นที่ 7,000 ตารางเมตร และพื้นที่ใช้สอยส่วนกลาง 14,000 ตารางเมตร มีการจ้างงาน 60 อัตรา บริษัทฯให้บริการแก่บริษัทต่างๆในหลายสาขา ได้แก่ บริษัทขุดเจาะ บริษัทน้ำมันและก๊าซ บริษัทก่อสร้างสำหรับ offshore นอกจากนี้ ให้บริการในการจัดหาบุคคลากร การจัดทำเอกสารต่างๆ ประสานงานกับหน่วยงานในสิงคโปร์ให้แก่ลูกค้าในภูมิภาค(รวมพม่า ไทย บังคลาเทศ และออสเตรเลีย) สำหรับ บริษัทใหญ่สำคัญที่เป็นลูกค้า เช่น ExxonMobil, Shell, BP และ Total
5. JTC เปิดตัว CleanTech One เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2553 โดยประธานเปิดงาน คือ Mr. S Iswaran, Senior Minister of State for Trade & Industry and Education ณ Nanyang Avenue ซึ่งนับเป็นอาคารที่ตั้งของบริษัทหลากหลายธุรกิจที่ CleanTech Park และเป็น eco-business park แห่งแรกในภูมิภาค เป็นตัวเลือกอีกแห่งหนึ่งที่เป็นศูนย์กลางสำหรับ R&D และธุรกิจด้าน clean technology ที่คาดว่า จะสามารถส่งผลประมาณ 3.4 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ให้แก่ GDP และเพิ่มการจ้างงานอีก 18,000 อัตรา ภายในปี 2558 ทั้งนี้ Research, Innovation and Enterprise Council (RIEC) ได้จัดสรรเงิน 1 พันล้านเหรียญสิงคโปร์สำหรับ “National Innovation Challenge” มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบการสร้างสรรในขอบเขตการใช้พลังงานอย่างมีศักยภาพ การรักษาสิ่งแวดล้อม และระบบผังเมืองที่รักษาธรรมชาติ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ 3 ทาง คือ การสร้างให้มีการค้นคว้าวิจัยระบบ ecosystem อย่างมีศักยภาพ การสร้างและยกระดับให้มีความรู้ความสามารถในเชิงลึก และสร้างให้สิงคโปร์เป็น “living laboratory”
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
1. สิงคโปร์กับดูไบ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ได้มีการลงนาม Memorandum of Understanding (MOU) ระหว่าง Maritime and Port Authority of Singapore และ Dubai Maritime City Authority (DMCA) ซึ่งทำให้ MPA and DMCA มีความร่วมมมือในการวางนโยบายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท่าจอดเรือและการเดินเรือ นอกจากนี้ ครอบคลุมขอบเขตความร่วมมืออื่นๆ ได้แก่ การส่งเสริมการป้องกันสภาวะการเดินเรือ การจัดการฝึกอบรมและค้นคว้าเกี่ยวกับการเดินเรือ ทั้งนี้ MPA ได้ทำงานร่วมกับ United Arab Emirates ส่งเสริมความปลอดภัยการเดินทางทะเล และปกป้องสภาวะการเดินทะเลใน Straits of Malacca และ Singapore (SOMS) ด้วย
2. สิงคโปร์กับ Mauritius ได้ลงนาม Air Services Agreement (ASA) โดยผู้ลงนามคือ Mr. Lee, Yuen Hee, Deputy Secretary (International) for Ministry of Transport ของสิงคโปร์ และ Mr. Suresh Chundre Seeballuck, Secretary to the Cabinet and Head of Civil Service ของ Mauritius ข้อตกลงนี้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นด้าน Civil Aviation ระหว่างสิงคโปร์กับ Mauritius ให้สามารถดำเนินการเที่ยวบินบริการขนส่งสินค้าอย่างยืดหยุ่น และการบริการผู้โดยสารจำนวน 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ระหว่าง 2 ประเทศและปลายทางอื่นๆที่ทั้ง 2 ประเทศมีข้อตกลง นอกจากความร่วมมือระหว่างกันด้านการบิน/พัฒนาเครือข่ายการบินแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมทั้งด้านการค้าและการท่องเที่ยวด้วย
3. สิงคโปร์กับ United Kingdom (UK) มีสัมพันธไมตรีต่อกันมาช้านาน UK เป็นอันดับ 2 ที่ลงทุนและมีบริษัทมากกว่า 2,900 แห่งในสิงคโปร์ ที่สำคัญๆ ได้แก่ Glaxo SmithKline (GSK), Rolls-royce, Shell Group, Barclays, Diageo, Standart Chartered Bank, HSBC, BP และ Royal Bank of Scothland สำหรับสิงคโปร์เข้าไปลงทุนใน UK มูลค่า 25.1 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ (2551) บริษัทสำคัญได้แก่ SembCorp, ComfortDelgro และ Singapore Technologies ทั้งนี้ UK เป็นประเทศคู่ค้าของสิงคโปร์อันดับที่ 15 การค้ารวมระหว่างกันมีมูลค่า 13.7 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ (คิดเป็นเกือบร้อยละ 16 ของการค้ารวมของสิงคโปร์กับ EU) และสิงคโปร์กับ UK ตั้งเป้าหมายในความร่วมมือทวิภาคีในด้านต่างๆในอนาคต ได้แก่ การผลิตสินค้ากลุ่ม Transport Engineering ได้แก่ Aerospace, Energy and Chemical, Pharmaceuticals & Biomedical Sciences และความร่วมมือ FTA ( EU-Singapore FTA : EUSFTA)
อื่นๆ
1. ศูนย์กีฬาของสิงคโปร์ รัฐบาลสิงคโปร์ได้เริ่มก่อสร้างศูนย์กีฬาใหม่ ณ เขต Kallang (แทนสนามกีฬาแห่งชาติเดิม) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการสร้างการเติบโตแก่วงการกีฬา รวมถึงให้มีระบบที่มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม และให้มีสันทนาการที่ดีด้วย เมื่อศูนย์กีฬาฯสร้างแล้วเสร็จ จะเป็นสถานที่สำหรับการกีฬาและสันทนาการดีที่สุดของเอเชีย โดยสนามกีฬาแห่งชาติสามารถบรรจุผู้ชมจำนวน 55,000 คน และมีสถานที่สันทนาการและความบันเทิงอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย
2. การเปิด DesignWorks Singapore ซึ่งเป็นศูนย์ DesignWorks แห่งแรกที่เปิดนอกประเทศ แคนาดา โดยความร่วมมือระหว่าง Rotman DesignWorks (University of Toronto) และ Singapore Polytechnic เพื่อช่วยส่งเสริมบริษัทในประเทศให้มีความรู้ด้านการออกแบบและนำไปปรับปรุงธุรกิจ อีกทั้ง SPRING, International Enterprise (IE) Singapore และ Design Singapore Council ได้เปิดตัว Design Engage Programme เพื่อช่วยให้บริษัทผสมผสานนโยบายการออกแบบเข้าสู่ระบบธุรกิจ ทั้งนี้ มากกว่า 35 บริษัท ได้รับผลประโยชน์จากโปรแกรมนี้ ตั้งแต่ปี 2552
3 .คนสิงคโปร์มีฐานะดีเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิค จากการสำรวจของ Credit Suisse ปรากฎว่า ในปี 2553 อัตราเฉลี่ยทรัพย์สมบัติต่อคน คิดเป็นเงิน 255,488 เหรียญสหรัฐฯ (336,000 เหรียญสิงคโปร์) เพิ่มขึ้นจากปี 2543 จำนวนเงิน 105,000 เหรียญสหรัฐฯ นับเป็นอันดับรองจากสวิสเซอร์แลนด์ (372,000 เหรียญสหรัฐฯ) นอรเวย์ (326,530 เหรียญสหรัฐฯ) และออสเตรเลีย (320,909 เหรียญสหรัฐฯ) แต่อยู่อันดับสูงกว่าฝรั่งเศส สหรัฐฯ และบริเทน สำหรับอัตราเฉลี่ยหนี้สินต่อคน คิดเป็นเงิน 37,000 เหรียญสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 13 ของมูลค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ จำนวนมหาเศรษฐีทั่วโลกมีกว่า 1,000 ราย ซึ่งในเอเชียแปซิฟิคมี 245 ราย
4. งาน SIBCON 2010 ณ Resorts World Sentosa ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม 2553 ผู้จัดคือ Maritime and Port Authority of Singapore (MPA) เพื่อการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้นำการจัดงานสำหรับ global bunkering and shipping industry เปิดงานโดย Mr. Raymond Lim, Minister for Transport and Second Minister for Foreign Affairs ผู้เข้าร่วมแสดงสินค้าจาก 50 ประเทศที่เป็นผู้ค้า เจ้าของเรือ ผู้จัดการเรือ นักสำรวจ ผู้ดำเนินการท่าเรือ รวมถึงผู้บรรยายและการโต้วาทีเรื่องการพัฒนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมในหัวข้อต่างๆ เช่น ตลาดน้ำมันโลก แนวโน้มการขนส่งทางเรือ การค้าโลก การท้าทายในระบบมาตรฐานน้ำมัน และการจัดระเบียบสภาวะสิ่งแวดล้อม รวมถึงประสบการณ์และปัญหาด้าน Joint Oil Spill Exercise (JOSE) ทั้งนี้ มีผู้เข้าชมงานกว่า 1,000 ราย
5. งาน ProcessCEMAsia2010 Association of Process Industry (ASPRI) ครั้งที่ 2 (เกี่ยวกับ Plant Construction, Engineering & Maintenance for the Process Industry) ณ Sands Expo and Convention Centre ระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม 2553 เปิดงานโดย Mr. Lim Hng Kiang, Minister for Trade and Industry มีผู้เข้าร่วมงาน 200 ราย จาก 18 ประเทศ และผู้เข้าชมงาน 3,000 ราย ทั้งนี้ ในปี 2552 กลุ่ม petrochemical and specialities มีมูลค่าถึง 58 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ เนื่องจากสิงคโปร์สามารถเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในโครงการต่างๆ ได้แก่ (1) Petrochemical complex ของ Jurong Aromatics Corporation มูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (2) Steam Cracker Complex ของ ExxonMobil มูลค่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (3) Cell Culture Plant ของ Novartix (Singapore) มูลค่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (4) Polyolefin Elastomer Manufacturing Facility ของ Mitsui Chemicals มูลค่า 176 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ ในภูมิภาคยังมีโครงการในประเทศต่างๆ ได้แก่ (1) มาเลเซีย มูลค่า 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับน้ำมันและก๊าซ (2) อินเดีย มูลค่า 10.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศ (3) จีน มูลค่า 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โรงงาน Ethylene (4) ไทย มูลค่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ - Naptha cracker by Siam Chemical and Dow Chemical (5) เวียดนาม มูลค่า 6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โครงการปิโตรเคมี และ (6) อินโดนีเซีย มูลค่า 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ -Gasoline cracker by Pertamina and Japan’s Mitsui & Co JV อนึ่ง ภาครัฐส่งเสริมให้สิงคโปร์เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนโดยเฉพาะด้านเคมีภัณฑ์ และ biopharmaceutical ซึ่ง Economic Development Board (EDB), JTC Corporation and Singapore Workforce Development Agency (WDA) ได้ประสาน ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ Biopharmaceutical Manufacturers’ Advisory Council ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ณ Tuas Biomecical Park รวมถึงฝึกอบรมบุคคลากรให้มีความรู้ความสามารถผลิตสินค้าได้ศักยภาพและสามารถแข่งขันในตลาดนานาชาติได้
6. งาน TravelRave 2010 เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเอเชียและการเป็นผู้นำการท่องเที่ยวร่วมกับดาราและบริษัทนำเที่ยวชั้นนำ ซึ่งหน่วยงาน Singapore Tourism Board (STB) เป็นตัวสำคัญในการจัดงาน TravelRave 2010 ระหว่างวันที่ 18-28 ตุลาคม 2553 จัดให้มีดาราและผู้นำของกลุ่มการท่องเที่ยวในเอเชียเข้าร่วมงานเพื่อออกความคิดเห็นและโต้วาทีในหัวข้ออุตสาหกรรมการเดินทางท่องเที่ยว ทั้งนี้ ได้จัดร่วมกัน 6 งาน คือ (1) Asia Travel Leaders Summit (2) ITB Asia (3) World Savers Congress (4) Web in travel (WIT) (5) Aviation Outlook Asia และ (6) Singapore Experience Awards
กิจกรรมที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 16-31 ตุลาคม 2553
1. ประสานให้ Mr. Redzman Bin Rahmar สื่อมวลชนสิงคโปร์ นิตยสาร Square Room เยือนงาน BIG & BIH, Oct. 2010 (16-21 October 2010)
2. ผู้อำนวยการฯ นำคณะผู้แทนการค้า สิงคโปร์รวม 14 ราย โดยแบ่งออกเป็น VVIP จำนวน 1 ราย VIP จำนวน 4 ราย และนักธุรกิจจำนวน 9 ราย เยือนงาน BIG & BIH, Oct. 2010 (16-21 October 2010)
3. ผู้อำนวยการฯ เข้าร่วมประชุมหัวหน้าสำนักงานฯ ระหว่าง 21-22 ตุลาคม 2553
4. ผู้อำนวยการฯ และผู้นำเข้าสิงคโปร์จำนวน 2 ราย เยือนงาน Thailand Fashion Expo 2010 ระหว่างวันที่ 20-26 ตุลาคม 2553 ณ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน
5. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจ/ผู้นำเข้า สิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้า Bangkok Gems & Jewelry Fair 2011, Thailand International Furniture Fair 2011
6. ต้อนรับและอำนวยความสะดวกแก่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรราศาสตร์ ศูนย์รังสิต ศึกษาดูงานทางภูมิสถาปัตยกรรมและการพัฒนาเมืองในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 27-30 ตุลาคม 2553
7. ต้อนรับและอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมาธิการทางทรัพย์สินทางปัญญาศึกษาดูงานในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 29-31 ตุลาคม 2553
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th