การแข็งค่าของเงินเยน กับการปรับตัวของภาคธุรกิจญี่ปุ่น

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 26, 2010 14:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

เงินเยนญี่ปุ่นมีค่าแข็งขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จากระดับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 110 เยน เมื่อปี 2550 มาอยู่ที่ อัตราเฉลี่ย 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 81.7948 เยนในเดือนตุลาคม 2553 หรือเงินเยนแข็งค่าขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 ในช่วง 2 ปีกว่าที่ผ่านมา ได้สร้างความกังวลอย่างมากแก่บริษัทญี่ปุ่น โดยเฉพาะรายที่ค้าขายกับต่างชาติ แม้กระทรวงการคลังญี่ปุ่นจะเข้ามาแทรกแซงตลาดเงิน แต่ก็ยังไม่ส่อแววว่าเงินเยนจะอ่อนตัว และหากสถานการณ์ ค่าเงินเยนยังดำเนินต่อเนื่องไปเช่นนี้ ในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว โดยเฉพาะในตลาดหลักๆ ของญี่ปุ่น เช่น อมเริกา และยุโรป ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกของญี่ปุ่นในปีหน้า ทั้งภาครัฐและเอกชน ของญี่ปุ่น ต่างก็นำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อลดผลเชิงลบ ขณะเดียวกันภาคธุรกิจก็ต้องปรับกลยุทธ์ของตนเองเพื่อให้อยู่รอด และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ การปรับตัวของเอกชนญี่ปุ่น ที่เห็นชัดเจน มีดังนี้

  • เลือกใช้สกุลเงินให้เหมาะสมกับแต่ละตลาด และเพิ่มสัดส่วนมาใช้เงินสกุลเยนญี่ปุ่นได้ปรับการใช้สกลุเงินในการทำสัญญาซื้อ-ขายระหว่างประเทศจากที่เคยกำหนดราคาส่งออก นำเข้าเป็นสกุลเงินดอลลาร์เป็นหลัก มาเป็นเงินเยน ในสัดส่วนที่มากขึ้น นอกจากนี้ ยังเลือกใช้สกุลเงินที่สอดคล้องกับแต่ละภูมิภาค เช่น ในการส่งออกสินค้าของญี่ปุ่น 85.9 % ของการค้ากับสหรัฐฯกำหนดเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ 85.9 % ของการค้ากับสหภาพยุโรปกำหนดเป็นยูโร และ 49.9 % ของการค้ากับเอเชียกำหนดเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสัดส่วนที่กำหนดเป็นเงินเยนสูงขึ้นโดยลำดับ กล่าวคือ 6 เดือนแรกปี 2553 ญี่ปุ่นทำสัญญส่งออกมายังเอเชียเป็นสกุลเยนร้อยละ 41

ด้านการนำเข้า ญี่ปุ่นยังคงยึดถึอสกุลเงินตามความต้องการของคู่ค้า โดยใช้ดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักที่ร้อยละ 71.7 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ใช้เยนที่สัดส่วน 23.6% ยูโร(3.2%) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากคือ ญี่ปุ่นเริ่มใช้เงินเยนเป็นสกุลเงินในการนำเข้าสินค้าจากยุโรปในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 58 ของการนำเข้าจากยุโรป ทั้งหมดในช่วง 6 เดือนแรกปี 2553 เพื่อให้ได้ประโยชน์จากค่าเงินเยนแข็ง นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังหันมาใช้เงินบาทของไทยเพื่อลดผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็ง โดยทำสัญญาเป็นเงินสกุลบาท ร้อยละ 0.6 ของมูลค่าส่งออก และร้อยละ 0.4 ของมูลค่านำเข้า แสดงให้เห็นถึงความยืนหยุ่นของนักธุรกิจญี่ปุ่น และความเชื่อมั่นในสกุลบาทของไทยในภูมิภาคเอเชีย

  • ปรับช่วงอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการกำหนราคาซื้อ-ขาย

บริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่ มักกำหนดช่วงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้เป้นเกณ์กำหนดราคาในแต่ละช่วง เช่น 6 เดือน อัตราแลกเปลี่ยนได้ถูกปรับลดจาก 89 เยน ต่อดอลลาร์ ในช่วงครึ่งปีงบประมาณแรกของญี่ปุ่น(เม.ย.-กย 2553) เป็น 80-85 เยนต่อดอลลาร์ในช่วงเดือน ตค. 53-เมย. 54

  • ย้ายฐานออกไปต่างประเทศ

การประเมินของหน่วยวิจัยบริษัท Nomura Security Co. คำนวนว่า ทุกๆ 1 เยนที่แข็งค่าขึ้น จะส่งผลให้บริษัทรายใหญ่สุดจำนวน 400 รายแรกมีผลกำไรก่อนหักภาษีลดลง 0.5 % เช่น บริษัทรถยนต์ฮอนดา จะสูญเสียรายได้ถึง 17 พันล้านเยน โดยรวม หากอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนอยู่ระดับ 80 เยนต่อดอลลาร์ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจส่งออก โดยเฉพาะยานยนต์ สิ่งที่บริษัทต่างๆ พยายามปรับตัว คือ (1) พยายามเพิ่มยอดขายและหาทางตัดทอนต้นทุนลง (2) เข้าซื้อกิจการของบริษัทและโรงงานในต่างประเทศ และ (3) เพิ่มการใช้ สกุลเงิน ยูโร และหยวน เพื่อกระจายความเสี่ยง (4) ลดการผลิตในประเทศ โดยหันไปโฟกัสที่โรงงานในต่างประเทศ อุตสาหกรรมที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว คือ ยานยนต์ ด้วยการมองตลาดเป็นภูมิภาค และวางระบบที่ยืดหยุ่นต่อการเคลื่อนย้าย เข้าสู่ตลาดที่เติบโต

Teikoku Data Bank, Ltd. 2010 ได้สำรวจความเห็นของนักธุรกิจ จำนวน 22,732 ราย ในเดือนมีนาคม 2553 ในจำนวนนี้ 30.4 % ทำธุรกิจกับต่างประเทศ ประกอบด้วย ธุรกิจส่งออก (57.3%) ธุรกิจนำเข้า(78.5 % )และ มีโรงงานในต่างประเทศ (38.5% ) พบข้อมูลดังนี้

  • 36.7 % หรือประมาณ 1 ใน 3 แจ้งว่าได้รับผลทางลบจากค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น ร้อยละ 34.9 ตอบว่าไม่ได้รับผลกระทบ และ 6.9 % ตอบว่าได้ประโยชน์
  • การแก้ไขผลกระทบจากค่าเงินเยนที่ภาคธุรกิจแจ้งว่าบริษัทนำมาใช้ ได้แก่ เพิ่มการนำเข้าวัตถุดิบและอุปกรณ์จากต่างประเทศ(19.2 %) กำหนดราคาซื้อ-ขายเป้นเงินเยน (18.9 %) เพิ่มการนำเข้าสินค้า(17.2 %) ลดความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนโดยใช้การซื้อ-ขายล่วงหน้า (14.1%) หาทางลดตน้ ทุน (14.0%) เพิ่มสัดส่วนการผลิตสินค้าในต่างประเทศ (9.3 %) ย้ายฐานออกไปผลิตในต่างประเทศ (5.3 %) ทบทวน/
โยกย้ายแหล่งซื้อวัตถุดิบในต่างประเทศ (4.3 %)
  • ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หรือ 65.5 % ที่สำรวจ ยืนยันว่าการแข็งค่าของเงินเยนเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการ มีเพียง 9.9 % ที่พอใจ ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้นำเข้า

ญี่ปุ่นที่เคยพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศในอัตราต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาอื่นๆ และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลก ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายทั้งจากภายในประเทศและภายนอก กล่าวคือ ตลาดในประเทศหดตัวลงเรื่อยๆ เพราะอัตราการขยายตัวของประชากรในระดับต่ำการเป็นสังคมผู้สูงอายุทำให้ต้องการบริโภคน้อยลง และสภาวะ over supply ของสินค้าอุปโภคบริโภคที่เกิดจากการทะลักเข้ามาของสินค้าราคาถูก อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่เคยเป็นผู้นำของโลก เช่น สาขายานยนต์ และอิเลคทรอนิกส์ ก็เริ่มสูญเสียให้กับคู่แข่ง เช่นเกาหลีและจีน ซึ่งก้าวตามทันระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของญี่ปุ่นอย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อต้องเผชิญกับค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของโลก ทางออกของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในญี่ปุ่น คือ การโยกย้ายฐานผลิตจากในประเทศออกไปต่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายฐานผลิตในต่างประเทศไปยังประเทศที่มีอำนาจแข่งขันสูงขึ้นเพื่อรักษาอำนาจการแข่งขัน โดยเอเชีย ยังเป็นเป้าหมายหลักของนักลงทุนญี่ปุ่น แนวโน้มดังกล่าว จะเห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการผลักดันให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องเร่งพิจารณาเปิดเจรจาการค้าเสรี กับคู่ค้าใหม่ๆ รวมทั้งการเข้าร่วม Trans-Pacific Partnership Agreement หรือ TPP

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ