ผลกระทบของการแข็งค่าเงินบาทต่อตลาดอิหร่าน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 30, 2010 16:25 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ผลกระทบ

ปัจจุบัน อิหร่านอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรด้านการเงินตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและมาตรการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ธนาคารไทยไม่รับ L/C ที่ออกจากธนาคารในอิหร่าน นักธุรกิจอิหร่านจึงจ่าเป็นต้องใช้ธนาคารในประเทศที่สามหรือใช้เงินสด (เงินเหรียญสหรัฐฯ หรือเงินยูโร) ในการช่าระค่าสินค้าจากไทยเท่านั้น ปัจจัยเสี่ยงจากการแข็งค่าของเงินบาทจึงเป็นปัจจัยลบเพิ่มขึ้นจากปัญหาการคว่ำบาตร ที่ท่าให้มูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ อะไหล่รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ชะลอตัวลง ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2553

นอกจากนี้ เนื่องจากอิหร่านใช้เงินเหรียญสหรัฐฯ หรือยูโรในการช่าระค่าสินค้า รัฐบาลจึงพยายามแทรกแซงให้เงินเรียลอ่อนค่าว่าความเป็นจริง เพื่อสกัดกันการน่าเข้าและส่งเสริมการส่งออก ท่าให้ผู้น่าเข้าอิหร่านหันไปน่าเข้าสินค้าราคาถูก ซึ่งประเทศคู่แข่งที่ส่าคัญของไทยในตลาดอิหร่านส่วนใหญ่มีค่าเงินอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทของไทยด้วยเช่นกัน ท่าให้การส่งออกสินค้าของไทยเสียเปรียบทางด้านราคามากขึ้น โดยเฉพาะเสียเปรียบในการแข่งขันกับประเทศจีน เวียดนาม ที่ใช้กลยุทธ์ด้านราคาแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง อย่างไรก็ดี เนื่องจากสินค้าไทยมีคุณภาพสูง ผู้น่าเข้าอิหร่านบางรายยินดีซื้อสินค้าจากไทยแม้จะมีราคาสูง

ข้อเสนอมาตรการช่วยเหลือ

ส่าหรับตลาดอิหร่าน ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าเป็นปัญหารองจากปัญหาการคว่ำบาตรจากสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากผู้ส่งออกไทยที่ค้ากับอิหร่านโดยปกติจะบวกค่าความเสี่ยงในราคาสินค้าส่งออกส่าหรับอิหร่านแล้วในระดับหนึ่ง มาตรการช่วยเหลือในการขยายตลาดอิหร่านที่น่าจะได้ผลมากที่สุดคือการท่าความตกลงกับรัฐบาลอิหร่านในการจัดตั้งหน่วยงานหรือธนาคารที่ท่าหน้าที่เป็นศูนย์กลาง SWOP การโอนเงินเงินตราระหว่างไทยและอิหร่าน ซึ่งจะช่วยผลักดันการส่งออกสินค้าไทยในตลาดอิหร่านให้เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น

สคร ณ กรุงเตหะราน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ