สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าไทย-อิตาลีประจำเดือนตุลาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 1, 2010 10:14 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวมเศรษฐกิจอิตาลี

ถึงแม้ว่าระบบธนาคารของอิตาลีจะมีโครงสร้างที่แข็งแรงกว่าธนาคารอื่น ๆ ในประเทศยุโรป แต่กับภาวะวิกฤตเศรษฐโลกที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2550-2551 ได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากแก่เศรษฐกิจอิตาลีโดยส่งผลกระทบให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลี (GDP) ลดลงอย่างมาก (เท่ากับเมื่อ 9 ปีก่อน)

ตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลี (GDP)ในช่วงไตรมาส 3ของปี 2553 มีอัตราเพิ่มขึ้น 0.2 % เปรียบเทียบจากช่วงเวลาก่อนหน้า และมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เปรียบเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ธนาคารแห่งชาติอิตาลีและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลีในปี 2553 และปี 2554 จะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1% ในขณะที่หน่วยงาน REF (Ricerche per l'economia e la finanza) คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลีในปี 2553 และปี 2554 จะเพิ่มขึ้น 1%และ 0.7% ตามลำดับ สำหรับสมาพันธ์

นอกจากนี้ IMF (International Monetary Fund) ได้เปิดเผยว่า ระบบเศรษฐกิจของอิตาลียังคงเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ เช่น เยอรมัน (+3.3%) ฝรั่งเศส (+1.6%) เป็นต้น โดยมีสาเหตุมาจากการชะลอตัวของภาคการส่งออก ระบบทางด้านภาษีที่ค่อนข้างซับซ้อน และความต้องการภายในประเทศที่อ่อนแอ

ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมอิตาลีในเดือนตุลาคม 2553 เริ่มกลับมาฟื้นตัวโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 กอปรกับดัชนีความเชื่อมันของผู้บริโภคอิตาลีในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจาก 107.2 จุดของเดือนกันยายนเป็น107.7 จุด ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการภายในประเทศและการลงทุนเพิ่มขึ้นในอนาคต

การนำเข้าของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2553 อิตาลีมีการนำเข้าจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 207,347 ล้านยูโร เพิ่มขื้นร้อยละ 18.9 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เยอรมัน มูลค่า 33,109 ล้านยูโร +14.8%

อันดับ 2 ฝรั่งเศส มูลค่า 17,463 ล้านยูโร +14.9%

อันดับ 3 จีน มูลค่า 14,798 ล้านยูโร +26.3%

อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ มูลค่า 11,066 ล้านยูโร +16.1%

อันดับ 5 สเปน มูลค่า 9,217 ล้านยูโร +23.5%

อันดับ 48 ไทย มูลค่า 772 ล้านยูโร +24.0%

ในส่วนของสินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 น้ำมันปิโตรเลียม มูลค่า 38,612 ล้านยูโร +26.4%

อันดับ 2 ยานยนต์ มูลค่า 19,255 ล้านยูโร +9.0%

อันดับ 3 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ มูลค่า 18,080 ล้านยูโร +14.4%

อันดับ 4 เครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า 16,511 ล้านยูโร +25.6%

อันดับ 5 เหล็ก เหล็กกล้า มูลค่า 8,505 ล้านยูโร +54.9%

การส่งออกของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฏาคม 2553 อิตาลีส่งออกไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 194,846 ล้านยูโร เพิ่มขื้นร้อยละ 12.5 ตลาดส่งออกที่สำคัญทั่วโลก 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เยอรมัน มูลค่า 25,369 ล้านยูโร +13.9%

อันดับ 2 ฝรั่งเศส มูลค่า 22,976 ล้านยูโร +12.8%

อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา มูลค่า 11,786 ล้านยูโร +13.9%

อันดับ 4 สเปน มูลค่า 11,432 ล้านยูโร +18.5%

อันดับ 5 สหราชอาณาจักร มูลค่า 10,164 ล้านยูโร +13.8%

อันดับ 58 ไทย มูลค่า 518 ล้านยูโร +14.9%

ในส่วนของสินค้าส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เครื่องจักร มูลค่า 38,064 ล้านยูโร +3.39%

อันดับ 2 รถยนต์ มูลค่า 14,477 ล้านยูโร +18.07%

อันดับ 3 เครื่องจักรกล มูลค่า 12,696 ล้านยูโร +16.06%

อันดับ 4 แร่ น้ำมัน มูลค่า 9,435 ล้านยูโร +55.35%

อันดับ 5 พลาสติก มูลค่า 8,510 ล้านยูโร +20.56%

ที่มา : World Trade Atlas

การส่งออกของไทยไปยังอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2553 ไทยส่งสินค้าออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,263.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ32.9 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง เป็นต้น

สินค้าส่วนใหญ่สามารถส่งออกเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2553 สินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ (+212.2%) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (+180.6%) ยางพารา (+136.9%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+74.1%) และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (+71.7%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น เคมีภัณฑ์ (-46.8%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (-23.6%) ข้าว (-23.2%) และปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (-7.5%) เป็นต้น

สำหรับเดือนกันยายน 2553 ไทยส่งออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 153.44 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2553 โดยปกติจะพบว่าการส่งออกสินค้าของไทยมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ เดือนพฤษภาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไปและจะกลับตัวเพิ่มขื้นในช่วงเดือนกันยายน นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าของเดือนกันยายนส่วนใหญ่จะมีมูลค่าการส่งออกสูงกว่าเดือนมิถุนายนของทุกปี

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบยางพารา เครื่องปรับอากาศ และปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง เป็นต้น

โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (+573.9%) โดยจะมีลักษณะการส่งออกสูงทุก ๆ 4 เดือน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+84.4%) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และส่วนประกอบ (+69.8%) ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (67.6%) ข้าว (48.6%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น อาหารสัตว์เลี้ยง (-9.9%) เหล็ก เหล็กกล้า (-15.3%) และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (-66.6%) เป็นต้น

การนำเข้าของไทยจากอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2553 ไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,094.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี เช่น เครื่องจักรและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เป็นต้น

โดยในปีนี้ ไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ซึ่งสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน (+71.5%) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (+50.3%) เคมีภัณฑ์ (+45.0%) เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยศาสตร์ (+42.3%) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (+22.9%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-54.6%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (-31.6%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (-25.9%) เป็นต้น

สำหรับเดือนกันยายน 2553 ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 108.73 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เปรียบเทียบจากเดือนสิงหาคม 2553 โดยปกติจะพบว่าไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุดคือ เดือนมีนาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไปและกลับมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมของทุกปี

สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี เช่น เครื่องจักรและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น

โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น เครื่องประดับอัญมณี (+117.9%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+58.3%) เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้านเรือน (+45.1%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (32.1%) และ เคมีภัณฑ์ (+23.3%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยศาสตร์ (-42.0%) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (-37.3%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-33.8%) และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน (-28.4%) เป็นต้น

การคาดการณ์การส่งออกในครึ่งปีหลัง

ในครึ่งปีหลังนี้พบว่าอิตาลีมีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นและลดลงของบางสินค้า โดยจะพบว่าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยมีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นจากอิตาลี อันเนื่องมาจากความต้องการสินค้าภายในประเทศอิตาลีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีผลต่างที่เพิ่มขึ้น 19,6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ส่วนแบ่งตลาด 12.09%) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าไทยมายังตลาดอิตาลีได้แก่

1. การที่ค่าเงินหยวนมีค่าแข็งตัว ส่งผลให้การนำเข้าหรือการผลิตในประเทศจีนมีต้นทุนที่สูงขึ้นและสินค้าราคาแพงขึ้น

2. สินค้าของจีนมีราคาแพงขึ้น ส่งผลให้อิตาลีเริ่มหันไปหาแหล่งนำเข้าอื่น ๆ แทน เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย เป็นต้น

3. การเข้ามาช่วยเหลือจากรัฐบาลอิตาลี โดยการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้เป็นอย่างดี อาจส่งผลให้การเจริญเติบโตภายในประเทศเพิ่มขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยที่อาจส่งผลให้การส่งออกสินค้าไทยมายังตลาดอิตาลีมีแนวโน้มลดลง ได้แก่

1. ค่าเงินยูโรที่อ่อน ค่าเงินบาทแข็งตัว ส่งผลโดยตรงให้สินค้าจากไทยมีราคาที่แพงขึ้น ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะลำบากในการส่งออกสินค้ามายังอิตาลีและประเทศในสหภาพยุโรป

2. พฤติกรรมการบริโภคของชาวอิตาเลียน โดยธรรมชาติแล้วชาวอิตาเลียนจะออมเงินอยู่เสมอ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 36 ของประชากรอิตาเลียนในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ภาวะทางเศรษฐกิจมีแนวโน้วผันผวนไม่แน่นอน เพราะประชากรอิตาเลียนจะรอดูสถานการณ์ของเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก อิตาลี   ยุโรป   GDP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ