สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 1, 2010 10:42 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมของเศรษฐกิจอิตาลี

คงไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าระบบธนาคารของอิตาลีมีโครงสร้างการบริหารที่แข็งแกร่งกว่าธนาคารอื่น ๆ ในประเทศยุโรป แต่อย่างไรก็ตาม กับภาวะวิกฤตเศรษฐโลกที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2550-2551 ได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากแก่เศรษฐกิจอิตาลี โดยส่งผลกระทบให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลี (GDP) ลดลงอย่างมาก (เท่ากับเมื่อ 9 ปีก่อน)

โดยตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลี (GDP)ในช่วงไตรมาส 2ของปี 2553 มีอัตราเพิ่มขึ้น 0.5 % ซึ่งมีปัจจัยมาจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น สำหรับ GDP ไตรมาส 3 ของปี 2553 ทางองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้คาดการณ์ว่าอาจจะลดลง ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจภายในอิตาลียังคงเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส เป็นต้น

ถึงแม้ว่าภาครัฐบาลอิตาลีจะมีหนี้สาธารณะที่สูง แต่การออมของประชาชนอยู่ในระดับสูง หนี้จากประชาชนและภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานยุโรป การขาดดุลการคลังค่อนข้างต่ำ โดยหนี้สาธารณะ ส่วนใหญ่เป็นหนึ้ที่เกิดในขึ้นภายประเทศ จึงส่งผลให้รัฐบาลอิตาลีสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ นอกจากนี้

ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทางรัฐบาลอิตาลีได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐบาล การควบคุมด้านภาษี เป็นต้น โดยรัฐบาลมองว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยลดหนี้สาธารณะที่สูงได้

ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมอิตาลีในเดือนตุลาคม 2553 เริ่มกลับมาฟื้นตัวโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 สำหรับการบริโภคของชาวอิตาเลียนมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างช้า ๆ กอปรกับดัชนีความเชื่อมันของผู้บริโภคและบริษัทผู้ผลิตอิตาลีเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการภายในประเทศและการลงทุนเพิ่มขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ การส่งออกและการนำเข้ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นบวก ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นนับจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันเบนซินมีราคาเพิ่มสูงขึ้น สำหรับอัตราการว่างงานเดือนกันยายน 2553 พบว่าเพิ่มขึ้น 0.2 แต่ก็ยังถือว่ามีอัตราที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ในขณะที่เดือนสิงหาคมการจ้างงานในบริษัทขนาดใหญ่มีอัตราลดลง

2.ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

ไตรมาส 3 ปี 52 ไตรมาส 4 ปี 52

          ไตรมาส 3 ปี 53 (%)*        -0.3
          ไตรมาส 4 ปี 53 (%)*                          +0.1

*คาดการณ์

ที่มา:องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา(OECD)

สำหรับตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลี (GDP)ไตรมาส 3 ของปี 2553 ทางองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้คาดการณ์ว่า GDPอิตาลีอาจจะลดลง 0.3% ซึ่งถือเป็นประเทศเดียวของสมาชิกจี7 ที่ตัวเลข GDPลดลง และไตรมาส 4 ของปี 2553 ตัวเลขอาจจะกลับตัวเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ธนาคารแห่งชาติอิตาลีและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลีในปี 2553 และปี 2554 จะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1% ในขณะที่หน่วยงาน REF (Ricerche per l'economia e la finanza) คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลีในปี 2553 และปี 2554 จะเพิ่มขึ้น 1%และ 0.7% ตามลำดับ สำหรับสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งชาติ (Confindustria) ได้คาดการณ์ว่า GDPอิตาลี จะเพิ่มขึ้น 1.2% ในปี 2553 และเพิ่มขึ้นประมาณ 1.3%-1.6% ในปี 2554

IMF (International Monetary Fund) ได้เปิดเผยว่า ระบบเศรษฐกิจของอิตาลียังคงเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ เช่น เยอรมัน (+3.3%) ฝรั่งเศส (+1.6%) เป็นต้น โดยมีสาเหตุมาจากการชะลอตัวของภาคการส่งออก รัฐบาลยังคงว่างมาตรการการเก็บภาษีที่สูง และความต้องการภายในประเทศที่อ่อนแอ

3. การผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production)

                              ตุลาคม ปี 52          กันยายน ปี 53
          ตุลาคม ปี 53 (%)         +7.1                 +0.7

ที่มา :ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งชาติ(Centro studi di Confindustria)

การผลิตภาคอุตสาหกรรมของเดือนตุลาคม 2553 มีอัตราเพิ่มขึ้นซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม การที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจะกลับไปเป็นเหมือนก่อนเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ทางผู้ผลิตจะต้องเน้นการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึงแม้ว่าความต้องการของตลาดภายนอกประเทศยังคงชะลอตัว โดยผู้ผลิตอาจเน้นส่งออกสินค้าไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น จีน อินเดีย บราซิล เป็นต้น

จากผลสำรวจของ Prometeia-Intesa Sanpaolo เปิดเผยว่า ปี 2552 เป็นปีวิกฤตของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี โดยพบว่า 40% ของบริษัทที่ถูกสำรวจ ธุรกิจเกิดการขาดทุน นอกจากนี้ บริษัทขนาดเล็กของภาคอุตสาหกรรมแฟชั่นและเฟอร์นิเจอร์ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากพิษวิกฤตเศรษฐกิจ ในขณะที่บริษัทขนาดเล็กของภาคอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กกล้าได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทขนาดใหญ่

4. การบริโภค

                              กันยายน ปี 52           สิงหาคม ปี 53
          กันยายน ปี 53 (%)         -1.6                  +0.4

ที่มา:สมาพันธ์ผู้ค้าปลีกรายย่อยแห่งชาติ(Confcommercio)

เดือนกันยายน 2553 การบริโภคของชาวอิตาเลียนมีการเปลี ยนแปลงที ดีขึ้นอย่างช้า ๆ โดยพบว่าปริมาณการสั่งซื้อสินค้าเพื่อการบริโภคของครอบครัวอิตาเลียนลดลงร้อยละ 2.8 แต่ความต้องการทางด้านการบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4

ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศยังคงห่างไกลจากช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จะเห็นได้จากช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศยังคงแปรผันขึ้นลงไม่แน่นอน ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 ความต้องการบริโภคของครอบครัวชาวอิตาเลียนยังมีตัวเลขที่อ่อนแอ อันเนื่องมาจากรายได้ของครอบครัวที่ไม่เพิ่มขึ้นอีกทั้งชาวอิตาเลียนยังไม่แน่ใจกับภาวะเศรษฐกิจในอนาคต แต่ในทางตรงกันข้ามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า และภาคการบริการ มีตัวเลขการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในเดือนตุลาคม

5. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

5.1 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี

                                        กันยายน ปี 53           ตุลาคม ปี 53
          ดัชนีความเชื่อมั่น ตุลาคม ปี 53 (จุด)     107.2                107.7

พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี เดือนตุลาคม 2553 ปรับตัวสูงที่สุดนับจากเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตอนเหนือของอิตาลีแต่สำหรับทางตอนกลางและตอนใต้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับปรับตัวลดลง

5.2 ความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี

                                        กันยายน ปี 53           ตุลาคม ปี 53
          ดัชนีความเชื่อมั่น ตุลาคม ปี 53 (จุด)      98.6                 99.8

ที่มา: สถาบันเพื่อการวิเคราะห์และศึกษาเศรษฐกิจ(ISAE)

พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี เดือนตุลาคม 2553 ปรับตัวสูงที่สุดนับจากเดือนพฤษภาคม 2551 โดยมีปัจจัยมาจากยอดการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากตลาดต่างประเทศ การทยอยนำสินค้าในสต็อกออกมาจำหน่าย และความหวังในอนาคตอันใกล้ต่อภาคการผลิตอิตาลีจะมีแนวโน้มดีขึ้น

5.3 ความพึ่งพอใจของชาวอิตาเลียนต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ

จากการสำรวจของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี (Istat) ในช่วงต้นปี 2553 เกี่ยวกับความพึ่งพอใจของชาวอิตาเลียนที่มีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าร้อยละ 2.8 ของชาวอิตาเลียนพื่งพอใจเป็นอย่างมาก ร้อยละ 48.4 พื่งพอใจ และร้อยละ 49.3 ไม่พื่งพอใจ โดยตัวเลขความพึ่งพอใจส่วนใหญ่มาจากทางตอนเหนือ แต่สำหรับทางตอนใต้มีตัวเลขความพึ่งพอใจน้อยที่สุด

6. การค้าระหว่างประเทศ

          (%)                                     กันยายน ปี 52           สิงหาคม ปี 53

การส่งออกสู่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป

          กันยายน ปี 53                                  +13                  +2.6

การนำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป

          กันยายน ปี 53                                  +32                  -0.9

ขาดดุลการค้า 2,746 ล้านยูโร

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ (Istat)

เดือนกันยายน 2553 พบว่าตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าของอิตาลีแก่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น แต่สำหรับดุลการค้าเดือนกันยายนมีผลขาดดุลเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 (569 ล้านยูโร) สำหรับไตรมาส 3 ปี 2553 พบว่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 3% และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 3.8% เปรียบเทียบจากไตรมาส 2

6.1 การส่งออกของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 อิตาลีส่งออกไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 216,160 ล้านยูโรเพิ่มขื้นร้อยละ 14 ตลาดส่งออกที่สำคัญทั่วโลก 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เยอรมัน มูลค่า 27,984 ล้านยูโร +15.7%

อันดับ 2 ฝรั่งเศส มูลค่า 24,998 ล้านยูโร +13.5%

อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา มูลค่า 13,294 ล้านยูโร +16.4%

อันดับ 4 สเปน มูลค่า 12,470 ล้านยูโร +18.4%

อันดับ 5 สหราชอาณาจักร มูลค่า 11,256 ล้านยูโร +16.1%

อันดับ 59 ไทย มูลค่า 570 ล้านยูโร +14.9%

สินค้าส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เครื่องจักรกล มูลค่า 42,169 ล้านยูโร +5.1%

อันดับ 2 พาหนะยานยนต์ มูลค่า 15,661 ล้านยูโร +18.8%

อันดับ 3 เครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า 14,092 ล้านยูโร +17.3%

อันดับ 4 น้ำมันแร่ มูลค่า 10,978 ล้านยูโร +55.4%

อันดับ 5 พลาสติก มูลค่า 9,338 ล้านยูโร +21.3%

6.2 การนำเข้าของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 อิตาลีมีการนำเข้าจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 231,629 ล้านยูโร เพิ่มขื้นร้อยละ 20.2 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เยอรมัน มูลค่า 36,542 ล้านยูโร +15.6%

อันดับ 2 ฝรั่งเศส มูลค่า 19,202 ล้านยูโร +15.4%

อันดับ 3 จีน มูลค่า 17,257 ล้านยูโร +32.4%

อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ มูลค่า 12,339 ล้านยูโร +16.0%

อันดับ 5 สเปน มูลค่า 10,147 ล้านยูโร +22.2%

อันดับ 48 ไทย มูลค่า 854 ล้านยูโร +26.0%

สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 น้ำมันแร่ มูลค่า 44,397 ล้านยูโร +27.3%

อันดับ 2 พาหนะยานยนต์ มูลค่า 20,519 ล้านยูโร +7.7%

อันดับ 3 เครื่องจักรกล มูลค่า 19,817 ล้านยูโร +15.4%

อันดับ 4 เครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า 18,923 ล้านยูโร +29.5%

อันดับ 5 ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม มูลค่า 9,389 ล้านยูโร +8.5%

6.3 การส่งออกมาไทย

การที่ค่าเงินยูโรมีมูลค่าที่ลดลงส่งผลโดยตรงให้สินค้าจากไทยมีราคาแพงขึ้น ในทางตรงกันข้ามสินค้าจากยุโรปมีราคาต่ำลง ซึ่งส่งผลให้ไทยตกอยู่ในภาวะลำบากในการส่งออกสินค้ามายังอิตาลีและประเทศในสหภาพยุโรป

ในระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 59 ของอิตาลี อิตาลี ส่งออกมาไทยมีมูลค่า 570 ล้านยูโร เพิ่มขึ้น 14.9 %เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • เครื่องจักรกล +5.6%
  • เครื่องจักรไฟฟ้า +22.4%
  • เครื่องประดับเพชรพลอย โลหะมีค่า +48.7%
  • พลาสติก +29.9%

สินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยลดลง ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์เหล็ก เหล็กกล้า -11.2%
  • เหล็ก เหล็กกล้า -31.7%
  • อินทรีย์เคมี -17.3%

6.4 การนำเข้าจากไทย

ในระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 48 ของอิตาลี ซึ่งอิตาลี นำเข้าจากไทยมีมูลค่า 854 ล้านยูโร เพิ่มขึ้น 26% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าสินค้าที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไทย ได้แก่

  • เครื่องจักรกล +52.4%
  • ยาง +82.2%
  • เครื่องจักรกลไฟฟ้า +50.6%
  • ยานพาหนะ +62.0%
  • เครื่องประดับเพชรพลอย โลหะมีค่า +44.0%

สินค้าทิ่อิตาลีนำเข้าลดลงจากไทย ได้แก่

  • ปลาและอาหารทะเล -0.2%
  • อาหารสำเร็จรูป(เนื้อสัตว์ ปลา) -35.7%
  • เครื่องแต่งกายถัก -4.6%

ที่มา: World Trade Atlas

7. การลงทุนระหว่างประเทศ

จากข้อมูลของ สถาบันแห่งชาติอิตาลีสำหรับการค้าในต่างประเทศ (ICE) ได้เปิดเผยถึงแนวโน้มของการลงทุนของบริษัทอิตาลีในต่างประเทศ และการลงทุนจากบริษัทต่างประเทศในอิตาลี ระหว่างปี 2550-2551 การลงทุนของบริษัทอิตาลีในต่างประเทศมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยมีจำนวนประมาณ 23,000 บริษัท และจำนวนของพนักงานกว่า 1,350,000 รายการลงทุนของบริษัทอิตาลีในต่างประเทศ (ถึง 1 มกราคม 2553) แบ่งได้ดังนี้

1.1 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป15 จำนวน 9,346 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 41 ของบริษัทอิตาลีทั้งหมดที่ลงทุนในต่างประเทศ

1.2 ยุโรปกลางและตะวันออก จำนวน 4,040 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 17

1.3 อเมริกาเหนือ จำนวน 2,592 บริษัท คิดเป็นร้อยละ11.4

1.4 ลาตินอเมริกา จำนวน 1,993 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 8.8

1.5 เอเชียและกลุ่มประเทศมหาสมุทรแปชีกฟีก จำนวน 2,215 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 9.8 โดย

ในจำนวนดังกล่าวเป็นการลงทุนในประเทศจีน จำนวน 1,030 บริษัท

ในปี 2551 พบว่าจำนวนของบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในอิตาลีมีจำนวน 7,600 บริษัท ซึ่งมีจำนวนพนักงานกว่า 932,000 ราย ในส่วนของนักลงทุนต่างประเทศมีจำนวน 4,200 ราย (ประมาณ 3,000 ราย มาจากประเทศในยุโรป)

8. อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)

                                ตุลาคม ปี 52           กันยายน ปี 53
          ตุลาคม ปี 53 (%)           +1.7                  +0.2

ที่มา: Istat

จากข้อมูลของ Istat พบว่าเดือนตุลาคม 2553 อัตราเงินเฟ้อได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นนับจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ในขณะที่ข้อมูลตัวเลขจากหน่วยวัดราคาบริโภคของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป L'indice dei prezzi al consumo armonizzato per i Paesi membri dell'Unione Europea (IPCA) รายงานถึงอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าในปีเดียวกัน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า

โดยสินค้าที มีราคาเพิ มขึ้นและลดลงในเดือนตุลาคม ได้แก่

1. ราคาน้ำมันเบนซิน -0.6% เทียบจากเดือนก่อนหน้า +8.5% เทียบจากปีก่อนหน้า

2. ราคาของสินค้าอาหาร +0.3% เทียบจากเดือนก่อนหน้า +0.6% เทียบจากปีก่อนหน้า

3. ราคาของสินค้ายาสูบ +0.2% เทียบจากเดือนก่อนหน้า

4. ราคาของสินค้าบริการ +0.3% เทียบจากเดือนก่อนหน้า +2%เทียบจากปีก่อนหน้า

5. ราคาสินค้าเพื่อการบริโภคทั่วไป +1.7% เทียบจากปีก่อนหน้า

9. ตลาดแรงงาน

ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจอิตาลีจะฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกอย่างช้าๆ แต่ตลาดแรงงานในอิตาลียังคงต้องเผชิญปัญหาของอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและการจ้างงานที่ลดลง

                                        กันยายน ปี 52           กันยายน ปี 53
          อัตราการว่างงานทั้งหมด (%)             8.2                   8.3
          อัตราการว่างงานในวัยรุ่น (15-24ปี)      26.1                  26.4

ที่มา : Eurostat

เดือนกันยายน 2553 พบว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 0.2 จุดจากเดือนสิงหาคม 2553 แต่ก็ยังถือว่ามีอัตราที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประมาณ 2 จุด โดยผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่คือวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-24 ปี (1 ใน 4 ของอัตราการจ้างงาน) เนื่องจากมีสัญญาการทำงานปีต่อปีหรือนายจ้างไม่ยอมต่อสัญญาให้

                                        สิงหาคม ปี 52           กรกฎาคม ปี 53
          อัตราการจ้างงาน สิงหาคม 53 (%)       -1.4                   -0.1

ที่มา : Istat

เดือนสิงหาคม 2553 พบว่าการจ้างงานในบริษัทขนาดใหญ่ มีอัตราลดลง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการจ้างงานในรูปแบบสัญญาชั่วคราวหรือปีต่อปีและการทำงานอิสระ อย่างไรก็ดี ทางธนาคารแห่งชาติอิตาลี ได้เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2553 การจ้างงานมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเล็กน้อยโดยมีจำนวนเพิ่มขึ้น 40,000 ตำแหน่ง

ธนาคารแห่งชาติอิตาลียังได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบให้บริษัทลดชั่วโมงการทำงานของพนักงานลง จากเดือนกันยายน 2551 ถึงเดือนสิงหาคม 2553 พบว่ามีการลดชั่วโมงการทำงานจำนวน 1,800,000 ชั่วโมง

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก อิตาลี   ยุโรป   GDP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ