ภาระกิจด้านการค้าสำคัญของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 1, 2010 11:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์ปัจจุบัน

รัฐสภาสหรัฐฯ มีภาระกิจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติด้านการค้าซึ่ง คั่งค้างและที่ต้องเร่งดำเนินการหลายเรื่อง เช่น พระราชบัญญัติความปลอดภัยสินค้าอาหาร (Food Safety Modernization Act) การต่ออายุ GSP & Andean Trade Promotion พระราชบัญญัติ Miscellaneous Trade Bill พระราชบัญญัติปฏิรูปเงินตราเพื่อความเป็นธรรมทางการค้า (Currency Reform for Fair Trade Act: H.R. 2378) และ การเจรจาการค้าเสรี (FTA) กับประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศปานามา เป็นต้น

ภาระกิจที่ต้องเร่งดำเนินการ

สคร.ชิคาโกใคร่ขอเรียนภาระกิจด้านการค้าสำคัญที่จะมีผลต่อการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ จากประเทศไทย ๒ เรื่อง ซึ่งรัฐสภาสหรัฐฯ ต้องเร่งพิจารณาดำเนินการ คือ

1. พระราชบัญญัติความปลอดภัยสินค้าอาหาร

1.1 พระราชบัญญัติแก้ไขปรับปรุงความปลอดภัยสินค้าอาหารของสหรัฐฯ ปัจจุบัน มีการเสนอกฎหมาย 2 ฉบับ คือ กฎหมาย The Food Safety Enhancement Act of 2009 ของสภาผู้แทนฯ (House of Representative: HR. 2479) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 และ กฎหมายความปลอดภัยสินค้าอาหารของสหรัฐฯ FDA Food Safety Food Safety Modernization Act (S. 510) ฉบับของ US Senate ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมมาธิการวุฒิสภา และวุฒิสภาเห็นชอบให้เป็นญัตติเพื่อการอภิปราย ซึ่งคาดว่าจะอภิปรายในวันที่ 29 ฤศจิกายน 2553

1.2 พระราชบัญญัติแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายความปลอดภัยสินค้าอาหารทั้งสองฉบับมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ เพื่อเข้มงวดและให้เกิดความ ปลอดภัยในการบริโภคสินค้าอาหารให้แก่ผู้บริโภคสหรัฐฯ และให้อำนาจสำนักงาน US FDA เพิ่มมากขึ้นในการกำกับดูแล แต่มีประเด็น แตกต่างกันในเชิงปฏิบัติและวิธีการ ซึ่งโดยทางปฏิบัติ วุฒิสภาจะขอให้สภาผู้แทนฯ เห็นชอบกับพระราชบัญญัติฉบับของวุฒิสภา ก่อนที่จะส่งขึ้นไปให้ประธานาธิบดีลงนาม และมีผลบังคับทางกฎหมาย แต่คาดว่าทางสภาผู้แทนฯ คงจะไม่เห็นด้วยกับกฎหมายความปลอดภัยสินค้าอาหารฉบับของวุฒิสภา เนื่องจากเห็นว่า กฎหมายฉบับของวุฒิสภาเป็นการต่อยอดกฎหมายความปลอดภัยสินค้าอาหารของสภาผู้แทนฯ

2. การต่ออายุ GSP

2.1 การต่ออายุการให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีนำเข้า (General System of Preference: GSP) ที่มีผลบังคับในปัจจุบัน จะสิ้นสุดลงในวันที่31 ธันวาคม 2553 และรัฐสภาสหรัฐฯ ยังไม่หยิบยกขึ้นมาพิจารณาการขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ GSP ออกไป หากการพิจารณาต่ออายุไม่สามารถดำเนินการภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 สินค้านำเข้าจากประเทศที่ได้รับ GSP จะต้องชำระภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ในอัตรา MFN นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป

2.2 สำนักงาน U.S. International Trade Commission: ITA, US Department of Commerce รายงานว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าของสหรัฐฯ ที่สินค้าใช้สิทธิ์ GSP มากเป็นอันดับที่ 2 ของสหรัฐฯ (รองจากประเทศอังโกล่า) ในปี 2552 หรือคิดเป็นร้อยละ 14.4 ของสินค้า GPS นำเข้ารวมของสหรัฐฯ (20,259 ล้านเหรีญสหรัฐฯ) คู่แข่งขันของไทยที่มีใช้ GSP สูงในอัตราสูง ได้แก่ อินเดีย (14.0%) บราซิล (9.8%) และ อินโดนิเซีย (7.2%) ตามลำดับ

3. ความเห็น/ข้อพิจารณา

3.1 นักกฎหมาย/ที่ปรึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศ มีความเห็นว่า วุฒิสภาจะเห็นขอบกับกฎหมายความปลอดภัยสินค้าอาหาร FDA Food Safety Food Safety Modernization Act (S.510) และจะขอให้สภาผู้แทนฯ (House of Representative) เห็นขอบตามไปด้วย ก่อนนำเสนอประธานาธิบดีลงนามและมีผลในการบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม หากสภาผู้แทนฯ ไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาจะต้องหาทางออกด้วยวิธีการประนีประนอมกัน (Reconciliation) และรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน อย่างไรก็ตาม Henry Waxman ผู้แทนราษฏร พรรคดีโมแครต และ เป็นประธาน House Energy and Commerce Committee จะให้การสนับสนุน หากวุฒิสภาขอความเห็นชอบ

3.2 กฎหมายความปลอดภัยสินค้าอาหารฉบับใหม่ของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าอาหารทั้งในประเทศสหรัฐฯ และในต่างประเทศ รวมไปถึงผู้นำเข้าสหรัฐฯ และจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งสินค้าอาหารของไทยไปยังสหรัฐฯ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระและต้นทุนในการบริการจัดการของผู้ผลิต/ส่งออก ดังนั้น ผู้ผลิต/ส่งออกไทยควรจะเตรียมตัวศึกษารายละเอียดของกฎหมาย และภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาเชิญเจ้าหน้าที่ FDA สหรัฐฯ มาบรรยายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฏหมายความปลอดภัยสินค้าอาหารฉบับใหม่ของสหรัฐฯ แก่ผู้ผลิต/ส่งออกไทยสินค้าอาหาร ของไทยได้รับทราบ เพื่อเตรียมการและการปฏิบัติได้ถูกต้องต่อไป

3.3 นักกฎหมาย/ที่ปรึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศมีความเห็นว่า สหรัฐฯ จะต่ออายุการให้สิทธิ์ประโยชน์ยกเว้นภาษีนำเข้า GSP ออกไปอีก 1-2 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี และคาดว่าจะเสนอกฎหมายการต่ออายุ GSP ในช่วงสมัยประชุมสภา Lame Duck Session ในเดือนธันวาคม 2553

3.4 ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นผู้ใช้สิทธิ์ GSP ในอัตราสูง มากเป็นอันดับที่ 2 ของสหรัฐฯ จึงเป็นสิ่งที่น่ากังวลว่า สหรัฐฯ อาจจะพิจารณาเพิกถอนการให้สิทธิ์ GSP แก่สินค้าไทยทั้งหมด หรือเพิกถอนในบางรายการในปี 2554 ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ผู้ผลิต/ส่งออกไทย และสมาคมสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนหรือตัดสิทธิ์ GSP ต้องแสดงพลังและความคิดเห็นต่อสหรัฐฯ ให้ต่ออายุการให้ GSP โดยการส่งจดหมายเรียกร้องให้สหรัฐฯ เร่งดำเนินการต่อายุการให้สิทธิประโยชน์ GSP ไปทางไปรษณีย์ไปยังหน่วยงาน ดังนี้ (ไม่รับพิจารณาจดหมายอิเลคทรอนิกส์: Email)

1. Secretary

United States International Trade Commission

500 E. Street SW

Washington, DC 20436

2. The Honorable Sander Levin

Committee on Ways and Means

U.S. House of Representatives

Washington, DC 20515

3. The Honorable Max Baucus

Chairman

Committee on Finance

U.S. Senate

Washington, DC 20510

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ