1. สำนักงานสถิติแห่งชาติกรีซ (The Hellenic Statistical Authority) ได้เปิดเผยว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 10 เดือน (มกราคม - ตุลาคม) แรกของปี 2553 ลดลง 31.7% และยอดจดทะเบียนรถยนต์ลดลง 22.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมียอดจดทะเบียนรถยนต์ (ทั้งรถใหม่และรถใช้แล้ว) จำนวน 168,981 คัน (เฉพาะรถมอร์เตอร์ไซด์จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 56,409 คัน ลดลง 14.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน)
ดัชนีราคาวัตถุดิบในการก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยในเดือนตุลาคม 2553 เพิ่มขึ้น 3.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากได้แก่ น้ามันดีเซล (+36.1%) ท่อเหล็ก (+17.7%) เหล็ก (+13.3%) ท่อพลาสติก (+12.5%) ส่วนสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ อิฐ (-2.9%)
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นภาคอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกรีซและได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมาก โดยในปี 2552 ธุรกรรมของอุตสาหกรรมการก่อสร้างในกรีซลดลงถึงร้อยละ 14.2 และในช่วง 8 เดือนแรก (มกราคม - สิงหาคม) ของปี 2553 การอนุญาตก่อสร้างลดลง 10.4%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยลดลงทั้งในแง่ของปริมาณ (-26%) และพื้นที่ (-21.2%)
2. องค์กรว่าด้วยความโปร่งใสระหว่างประเทศ (Transparency International-TI) ได้รายงานผลการจัดอันดับความโปร่งใสของประเทศต่างๆ โดยกรีซถูกจัดเป็นประเทศที่มีความโปร่งใสน้อยที่สุดในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และอยู่ในอันดับที่ 78 จาก 178 ประเทศ ได้คะแนน 3.5 จุด จากคะแนนเต็ม 10 จุด ต่ำกว่าตุรกี ซึ่งได้คะแนน 4.4 จุดประเทศที่ถูกจัดอยู่ในอันดับเดียวกันกับกรีซ ได้แก่ จีน โคลอมเบีย เลโซโท เปรู เซอร์เบียร์ และไทย
ทั้งนี้ ผลการสำรวจเมื่อปี 2551 กรีซถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 57 ด้วยคะแนน 4.7 จุด และในปี 2552 ตกลงมาอยู่ในอันดับที่ 71 ด้วยคะแนน 3.8 จุด
3. องค์กรการจ้างแรงงานแห่งกรีซ (Greece Workforce Employment Organization- OAED) ได้ออกโครงการปรับปรุงโครงสร้างลูกจ้างและผู้ประกอบการในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นโครงการใหม่ในจานวน 19 โครงการที่ OAED ได้จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการจ้างงานและหยุดยั้งการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ใช้งบประมาณ 60 พันล้านยูโร ในการให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 50 คน ครอบคลุมลูกจ้างราว 14,000 คน โดยผู้ประกอบการที่จะได้รับเงินช่วยเหลือจะต้องปรับกระบวนการผลิตและบริการโดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้
4. รัฐบาลได้ออกมาตรการใหม่เพื่อจัดเก็บภาษีจากผู้ขับขี่รถยนต์ที่ก่อให้เกิดมลภาวะสูงมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2553 โดยจำนวนภาษีที่ผู้ขับขี่รถยนต์จะต้องจ่ายมีหลายระดับซึ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนคาร์บอนไดออกไซด์ที่รถยนต์ปล่อยออกมาต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร เช่น รถที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่าง 101-120 กรัมต่อกิโลเมตร จะต้องจ่าย 0.8 ยูโรต่อกรัม และในอัตราสูงสุดคือ รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เกิน กว่า 251 กรัมต่อกิโลเมตร จะต้องจ่ายภาษี 3 ยูโรต่อกรัม
5. นาย Dimitris Reppas รมว.กระทรวงคมนาคม (Infrastructure Ministry) ได้เปิดเผยว่าในต้นปี 2554 จะเปิดประมูลตามโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสาย 4 ส่วนที่ 1 (จาก Galatsi ไปสิ้นสุดที่ Kolonaki) รวมทั้งสิ้น 12 สถานี โดยโครงการดังกล่าวมีมูลค่า 3.3 พันล้านยูโร ซึ่งจำนวน 1 พันล้านยูโรได้รับการสนับสนุนจาก European Investment Bank
6. จากรายงานประจาปี 2553 ของ World Bank ได้สำรวจดัชนีชี้วัดบรรยากาศการลงทุนและระยะเวลา/ต้นทุนในการจัดตั้งธุรกิจใน 183 ประเทศ ผลการประเมินปรากฎว่ากรีซมีดัชนีด้านบรรยากาศการลงทุนลดลงจากปีก่อนถึง 6 ตัว จาก 9 ตัว ไม่เปลี่ยนแปลง 2 ตัว และดีขึ้น 1 ตัว ดังนี้
1. การเริ่มจัดตั้งธุรกิจ อันดับที่ 149 (ปี 52 อันดับที่ 146)
2. การจดทะเบียนทรัพย์สิน อันดับที่ 153 (ปี 52 อันดับที่ 107)
3. การเข้าถึงสินเชื่อ อันดับที่ 89 (ปี 52 อันดับที่ 87)
4. การคุ้มครองนักลงทุน อันดับที่ 154 (ปี 52 อันดับที่ 153)
5. การค้าข้ามเขตแดน อันดับที่ 84 (ปี 52 อันดับที่ 81)
6. การเลิกกิจการ อันดับที่ 49 (ปี 52 อันดับที่ 43)
7. การอนุญาตก่อสร้าง อันดับที่ 51 (ไม่เปลี่ยนแปลง)
8. การชำระภาษี อันดับที่ 74 (ไม่เปลี่ยนแปลง)
9. การบังคับใช้ตามข้อตกลง อันดับที่ 88 (ปี 52 อันดับที่ 89)
ทั้งนี้ การจัดตั้งธุรกิจในกรีซมีขั้นตอนดำเนินการ 15 ขั้นตอน (จำนวนเฉลี่ยของประเทศ OECD เท่ากับ 5.6 ขั้นตอน) ใช้เวลาดำเนินการ 19 วัน (ประเทศ OECD เฉลี่ยใช้เวลา 13.8 วัน) : ต้นทุนการดำเนินการ 20.7% ของรายได้ต่อหัว (per capita income) (เฉลี่ยประเทศ OECD =5.3%) และเงินลงทุนขั้นต่าเฉลี่ย 22.3% ของรายได้ต่อหัว (ประเทศ OECD เฉลี่ย=15.3%)
7. กระทรวงการคลังกรีซอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับเพิ่มภาษีสินค้าและการเรียกเก็บภาษียานพาหนะ ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่อยู่ในความตกลงที่รัฐบาลกรีซได้ทำไว้กับ EU, IMF และธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 มกราคม 2554 ทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ปีละ 1 พันล้านยูโร
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังกรีซอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบหลายๆทางเลือก เช่น การปรับเพิ่มอัตราภาษีสินค้าจาก 11% ไปเป็นอัตราขั้นกลาง และการตรวจสอบแผนการตัดลดภาษีสาหรับรถยนต์ระดับกลาง เพื่อช่วยตลาดรถยนต์ภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลกรีซยังตกลงที่จะขยายเวลาการเพิ่มการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ออกไปอีก 6 เดือนเพื่อช่วยบรรเทาภาวะตลาดที่ขณะนี้ได้ตกต่ำลงถึงร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน คาดว่าจะเพิ่มการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมิถุนายน 2554 รวมทั้งจะปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Tax) จากปัจจุบันที่เก็บ 24% เป็น 20%
8. องค์กร EOMMEX และ KOSGE ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมธุรกิจ SMEs ของกรีซและตุรกี ได้จัดทำความตกลงว่าด้วยนโยบายการสนับสนุนและโอกาสในการแสวงหาความร่วมมือระหว่าง SMEs ในโอกาสการประชุม Joint Greek —Turkish Economic commission ณ นครอิสตันบูล โดย นาง Athina Lazou ผู้บริหารระดับสูงของ EOMMEX ได้เดินทางไปเยือนสำนักเลขาธิการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจแห่งทะเลดำ (The Black Sea Economic Cooperation-BSEC) เพื่อหารือกรอบการปฏิบัติการของคณะทำงาน (ซึ่งดาเนินการโดย BSEC) ร่วมกับ EOMMEX โดยได้ย้ำว่าในปัจจุบันรัฐบาลกรีซได้ดำเนินมาตรการหลายรายการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรในการดำเนินธุรกิจด้วยการลดขั้นตอนของระบบราชการลง
ทั้งนี้ กรีซมีบริษัทผู้ประกอบการ SMEs ราว 850,000 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.9 ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด โดยมีบริษัทขนาดเล็กมาก (จำนวนคนงานไม่เกิน 9 คน) จำนวน 820,021 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.6 ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด และมีคนงานรวม 1.54 ล้านคน (58% การจ้างงานทั้งหมดในภาคเอกชน)
บริษัทขนาดเล็ก (จำนวนคนงาน 10-49 คน) มีจำนวน 25,789 ราย คิดเป็น 3% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด และมีคนงานรวม 460,000 คน (17.3% ของการจ้างงานทั้งหมด)
บริษัทขนาดกลาง (จำนวนคนงาน 50-249 คน) มีจำนวน 3,579 ราย คิดเป็น 0.4% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด และมีคนงานรวม 312,000 คน (11.8% ของการจ้างงานทั้งหมด)
บริษัทขนาดใหญ่ (จำนวนคนงานมากกว่า 250 คน) มีจำนวน 413 ราย คิดเป็น 0.1% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด และมีคนงานรวม 343,810 คน (13% ของการจ้างงานทั้งหมด)
9. กระทรวงการคลังกรีซ ได้เปิดเผยว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 รัฐบาลจัดเก็บรายได้จำนวน 40.9 พันล้านยูโร หรือเพิ่มขึ้น 3.5% (รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 8.7%) และคาดว่าในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2553 จะสามารถจัดเก็บรายได้สูงสุดไม่เกิน 10.7 พันล้านยูโร (ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 11.8 พันล้าน ยูโร) เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณในปี 2553 ให้ได้ 18.5 พันล้านยูโร ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่งผลให้ประเทศเจ้าหนี้ที่ให้กรีซกู้ยืมต่างออกมาขอให้รัฐบาลกรีซออกมาตรการประหยัดงบประมาณที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ทั้งในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2553 และครอบคลุมถึงปี 2554 ด้วย
10. รมต.กระทรวงการคลังกรีซ (นาย Yiorgos Papakonstantinou) ในฐานะโฆษกของของธนาคารแห่งชาติกรีซได้เปิดเผยว่าธนาคารแห่งกรีซได้รับการสนับสนุนวงเงิน 4.7 พันล้านยูโรจากธนาคารระหว่างประเทศ (International Bank) โดยมีพันธบัตรเงินกู้ของรัฐบาลค้าประกัน ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ระบบธนาคารของกรีซมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น และช่วยเสริมสภาพคล่องและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
พร้อมทั้งได้แสดงความเชื่อมั่นว่าในปี 2553 รัฐบาลจะลดการขาดดุลงบประมาณลงได้ตามเป้าหมายหรือเกินกว่าเป้าหมายที่ได้ทำความตกลงไว้กับสหภาพยุโรป ธนาคารกลางสหภาพยุโรปและ IMF คือ 8.1% ของGDP อันเนื่องมาจากความเข้มงวดในการดำเนินมาตรการเพื่อตัดลดการใช้จ่ายและมาตรการเพิ่มรายได้โดยเพิ่มการจัดเก็บภาษีให้มากขึ้น
อย่างไรก็ดี บรรดานักการธนาคารมีความเห็นว่าเศรษฐกิจกรีซจะเลวร้ายต่อไปจนถึงพฤษภาคมปีหน้าเป็นอย่างน้อย บางรายยังมีข้อสงสัยว่าการดำเนินมาตรการเข้มงวดในการลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล ทำให้ทั้งภาคธุรกิจและผู้ประกอบการรายย่อยถูกบีบคั้นและบางครั้งถึงกับล้มหายตายจาก เพราะมาตรการของรัฐบาลส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการเอกชนเพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีเพิ่ม ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้ลดการใช้จ่ายลง ทำให้ภาคเอกชนอาจต้องลดการจ้างงานลงถึง 200,000 คน โดยเฉพาะข้อมูลจากธนาคารขนาดใหญ่และขนาดกลางที่เป็นผู้ให้สินเชื่อพบว่ามีลูกค้าที่ต้องปิดกิจการลงหรือไม่สามารถที่จะจ่ายชำระเงินได้วันละหลายราย
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งชาติกรีซ (Bank of Greece) ได้เปิดเผยว่าอัตราการเติบโตของการให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนในเดือนสิงหาคม 2553 หดตัวลงเหลือ 5.7% (จากเดือนกรกฎาคม 2553 6.3%) ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
11. รัฐบาลกรีซหวังว่าจะได้รับเงินกู้ฉุกเฉินเพื่อต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจงวดที่ 3 จำนวน 9 พันล้าน ยูโร (วงเงินกู้ทั้งสิ้น 110 พันล้านยูโร ระยะเวลาปี 2553-2555 โดย IMF ให้กู้วงเงิน 30 พันล้านยูโร และประเทศในสหภาพยุโรปให้กู้วงเงิน 80 พันล้านยูโร) ซึ่งขณะนี้มีข่าวว่ารัฐบาลกรีซอาจจะได้รับเงินล่าช้าออกไปเป็นเดือนมกราคม 2554 แทนกำหนดในเดือนธันวาคม 2553 เนื่องจากออสเตรียได้แสดงข้อกังวลว่ารัฐบาลกรีซยังดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจได้ค่อนข้างช้า และสร้างความอึดอัดให้แก่สมาชิกบางประเทศที่จะต้องให้เงินกู้ช่วยเหลือต่อไป รวมทั้งขณะนี้ที่ประเทศไอร์แลนด์ซึ่งเริ่มมีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและอาจต้องการความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรปเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังกรีซได้ออกมายืนยันว่า กรีซจะได้รับเงินกู้ฉุกเฉินงวดที่ 3 จำนวน 9 พันล้านยูโร ในเดือนมกราคม 2554 อย่างแน่นอน โดยคาดว่าจะมีการประชุม รมต.คลังของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเพื่อพิจารณาเห็นชอบการให้เงินกู้เพื่อช่วยเหลือวิกฤตเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิกวงเงิน 6.5 พันล้านยูโรได้ในเดือนธันวาคม 2553 และสามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นภายในมกราคม 2554 นี้ ทั้งนี้ กรรมาธิการยุโรปจะจัดส่งคณะเดินทางเยือนกรีซในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2553 เพื่อประเมินผลการดำเนินมาตรการปรับปรุงงบประมาณของกรีซว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ ก่อนที่จะพิจารณาปล่อยเงินกู้ฉุกเฉินงวดที่ 3 ให้กรีซต่อไป
อนึ่ง มีรายงานข่าวจากกรุงเอเธนส์ว่า รัฐบาลกรีซได้มีการเจรจากับ IMF ขอปรับแผนเงินกู้และขยายระยะเวลาการจ่ายชำระคืนเงินกู้จาก 3 ปี เป็น 8 ปี และการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยจาก 0.4% เป็น 0.7%
12. ผลการศึกษารูปแบบการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงสหภาพยุโรปของบริษัท Deloitte ซึ่งเป็น บริษัทที่ปรึกษาและทาบัญชีระหว่างประเทศพบว่าประชากรยุโรปมีแผนการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสปี 2553 ลดลงจากปีก่อนหน้าโดยเฉลี่ย 2.5% (ค่าใช้จ่ายสาหรับของขวัญและการจัดงานฉลอง) โดยผู้บริโภคในกรีซตั้งใจจะลดการใช้จ่ายลงเหลือ 410 ยูโร (-21%) เหตุผลเพราะยังมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ตามด้วยผู้บริโภคไอร์แลนด์ที่จะลดการใช้จ่ายลงเหลือ 1,020 ยูโร (-10.6%) และโปรตุเกสจะลดลงเหลือ 575 ยูโร (6.3%) ส่วนประเทศที่มีการคาดว่าจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผู้บริโภคในยูเครน ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 280 ยูโร (+14.8%)
13. ในดือนตุลาคม 2553 ภาคอุตสาหกรรมของกรีซมีสภาวะถดถอยโดยเห็นได้จากการหดตัวจากการลดลงของผลผลิต การจ้างงานและการสั่งซื้อ ผู้ประกอบการได้ลดการผลิตลงอย่างมีนัยสำคัญ
เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ที่หดตัวลงต่อเนื่อง และพยายามใช้สินค้าที่มีอยู่ในสต็อกสำหรับการขายใหม่ มีผลให้สินค้าคงคลังลดลง นอกจากนี้ การลดลงของงานและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทำให้ผู้ประกอบการต้องปลดคนงานออกเป็นจำนวนมาก
14. ธนาคารแห่งกรีซ (Bank of Greece) โดยเปิดเผยข้อมูลว่า อัตราการเติบโตของสินเชื่อภาคเอกชนในเดือนสิงหาคม 2553 หดตัวลงเหลือ 5.7% (จากเดือนกรกฎาคม 2553 ที่ลดลง 6.3%) ต่าสุดเป็นประวัติการณ์และธนาคารได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากเดิมร้อยละ 6.4 เป็นร้อยละ 6.45 อัตราดอกเบี้ยการจำนองจากเดิมร้อยละ 4.9 เป็นร้อยละ 5.05 และอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ผู้บริโภคจากเดิมร้อยละ 10.54 เป็นร้อนละ 10.69 ในเดือน กย. 53 เงินฝากภาคครัวเรือนลดลงจากเดือนก่อนหน้าถึง 970 ล้านยูโร โดยมียอดเงินฝากภาคครัวเรือนทั้งสิ้นอยู่ที่ 176.5 พันล้านยูโร ทำให้ดุลบันชีเงินฝากหดตัวลง 1.6 พันล้านยูโร และตั้งแต่ต้นปี 2553 เป็นต้นมา เงินฝากภาคครัวเรือนได้หดตัวลง 20.3 พันล้านยูโร
อย่างไรก็ดี เงินฝากภาคธุรกิจผู้ประกอบการในเดือนกันยายน 2553 ได้เพิ่มขึ้น 775 ล้านยูโร เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยมียอดเงินฝากภาคธุรกิจทั้งสิ้น 36.3 พันล้านยูโร (จาก 35.5 พันล้านยูโร ในเดือนสิงหาคม 2553) และตั้งแต่ต้นปี 2553 เป็นต้นมา เงินสดหมุนเวียนของบริษัทผู้ประกอบการกรีซลดลง 4.8 พันล้านยูโร
15. ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งเอเธนส์ EVEA (นาย Constantinos Mihalos) ได้รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการกรีซต่อมาตรการเข้มงวดเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลพบว่า ผู้ประกอบการกรีซเกือบ 9 ใน 10 ราย เห็นว่านโยบายภาษีของรัฐบาลเป็นภาระต่อผลประกอบการด้านการเงิน ในขณะที่มากกว่า 8 ใน 10 ราย มีมูลค่าการค้าลดลง, 2 ใน 10 ราย อยู่ระหว่างการวางแผนที่จะย้ายธุรกิจไปต่างประเทศ และ 1 ใน 10 รายคิดว่าจะเลิกกิจการหากผลประกอบการทางการเงินไม่ดีขึ้นภายในปี 2554 นอกจากนี้ยังให้ความเห็นว่างบประมาณปี 2554 ของรัฐบาลจะทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยเพิ่มมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ GDP หดตัวและทำให้การว่างงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก พร้อมทั้งได้เสนอมาตรการที่จะช่วยให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งรัฐบาลจะต้องนำมาปฏิบัติโดยเร็ว ได้แก่
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยไม่กลัวต้นทุนด้านการเมือง
- การทำประโยชน์ในทรัพย์สินและอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ
- การลดกฎระเบียบของตลาดที่ยังมีลักษณะปิดเพื่อให้เป็นมืออาชีพ
- การเปิดเสรีด้านการศึกษาในระดับสูง และให้การรับรองมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ
- การเร่งรัดการใช้กฎหมายในด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
- การปรับปรุงกระบวนการขออนุญาตเพื่อการจัดตั้งธุรกิจใหม่ และกระตุ้นให้มีการจดทะเบียนธุรกิจใหม่ๆให้มากขึ้น
16. ตัวชี้วัดเศรษฐกิจของกรีซ ณ เดือนพฤศจิกายน 2553 ( % change / last available figures)
Value Monthly base Yearly base IND. PRODUTION Sept 2010 +5.5% -7.1% CONSUMTION August 2010 -7.6% -9% INFLATION October 2010 +0.2% +5.2% UNEMPLOYMENT RATE August 2010 12.2% +0.2% +3.2% N UNEMPLOYEES August 2010 613,108 N EMPLOYES August 2010 4,398,890
On II q 2010 On III q 2009
GDP III quarter (estimates) -1.1% -4.5%
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติกรีซ
ที่มา: http://www.depthai.go.th