ข้อมูลการค้าการลงทุนระหว่างไทย-ไซปรัส

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 1, 2010 14:58 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมเศรษฐกิจ

1.1 ไซปรัสมีระบบเศรษฐกิจเสรีและมีโครงสร้างเศรษฐกิจแยกตามความสำคัญ (% ของ GDP) ดังนี้ อสังหาริมทรัพย์และธุรกรรมทางธุรกิจ (Real Estate, renting & Business activities) 19.5% อุตสาหกรรมขั้นรอง (Secondary sector) 18.3% ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก (wholesale & retail) 12.7% การประชาสัมพันธ์/(Public Administration & Defence) 10.5% , ตัวกลางทางการเงิน (Financial intermediation) 8.6% การขนส่งและการสื่อสาร (Transport, storage & communication) 7.1% ภัตตาคารและโรงแรม 6.1% การศึกษา (6%) การสาธารณะสุขและสังคม (Health & social work) 4% และอุตสาหกรรมพื้นฐาน (Primary Sector) 2.4%

1.2 อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ เหมืองแร่และซีเมนต์ ก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ รองเท้า อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ

1.3 ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ ได้แก่ ทองแดง ไพไรท์ เส้นใยธรรมชาติ ยิปซั่ม ไม้ หินอ่อน

1.4 ประชากรไซปรัสนับว่ามีฐานะดีที่สุดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน มีการศึกษาสูงและพูดภาษาอังกฤษได้ดี มีความเป็นอยู่ทีดีโดยมีค่าครองชีพไม่สูงนัก และมีระบบการสื่อสารและคมนาคมที่ทันสมัย

2. ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ข้อมูลประมาณการโดยกระทรวงการคลังไซปรัส ณ เดือน เมย. 53)

2.1 GDP value = 17,319.9 ล้านยูโร

2.2 GDP per capita = 21,179.8 ยูโร

2.3 GDP growth = 0.5% (ปี 2544=1.5%, ปี 2555-2556 =3%)

2.4 Unemployment rate = 0.7%

2.5 Inflation = 2.5%

2.6 Current Account Balance (% of GDP = -4%)

2.7 Public Deficit = 10,558.9 ล้านยูโร (61% ของ GDP)

2.8 Financial Deficit = -6.0%

3. การค้าระหว่างประเทศ

3.1 การส่งออก

ในปี 2552 ไซปรัสส่งออกสินค้าไปทั่วโลกมูลค่า 970.5 ล้านยูโร ลดลงจากปีก่อนหน้า ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 1,190.4 ล้านยูโร คิดเป็นร้อยละ 18.47 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เภสัชกรรม (สัดส่วน 22.5%) อุปกรณ์ Photosensitive semiconductor (12%) Halloumi cheese (8.6%) มันฝรั่ง (8%) เศษเหล็ก (6.3%) น้ำผักผลไม้ (2.2%) ยาสูบ (2.3%) ตลาดส่งออกสำคัญคือ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ได้แก่ เยอรมัน กรีซ อังกฤษ และอิตาลี (สัดส่วนตลาด 59%) รองลงมาเป็นแถบตลาดใกล้เคียงและตะวันออกกลาง ได้แก่ อิสราเอล UAE ซาอุดิอาระเบีย เลบานอน และจอร์แดน (สัดส่วนตลาด 14 %) ตลาดประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ จีน อินเดีย เวียดนาม และฮ่องกง (สัดส่วนตลาด 11%) ตลาดยุโรปอื่นๆ ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน นอร์เวย์ (สัดส่วนตลาด 6%)

3.2 การนำเข้า

ในปี 2552 ไซปรัสนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกมูลค่า 5,654 ล้านยูโร ลดลงจากปีก่อนซึ่งนำเข้ามูลค่า 7,349 ล้านยูโร หรือลดลงร้อยละ -23% สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค (สัดส่วน 34.1%) สินค้าขั้นกลางเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต (27.7%) น้ามันเชื้อเพลิง (17.6%) สินค้าทุน (10.6%) และเครื่องใช้ในการขนส่ง (9.9%)

ตลาดนำเข้าสำคัญ คือ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ได้แก่ กรีซ อิตาลี อังกฤษ และเยอรมัน (สัดส่วนตลาด 71.6%) รองลงมาเป็นกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ไทย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ (สัดส่วน 11.3%) กลุ่มประเทศใกล้เคียงและตะวันออกกลาง (สัดส่วนตลาด 8.6%) กลุ่มประเทศยุโรปอื่น (สัดส่วนตลาด 3.2%)

3.3 ดุลการค้า หน่วย : พันล้านยูโร

                                  ปี 2550          ปี 2551          ปี 2552
          Domestic Exports       505,290         545,355         497,083
          Re-exports             577,379         622,015         484,130
          Total Exports        1,082,699       1,167,370         963,213
          Total Import         6,353,445       7,349,049       5,654,446
          Trade Balance       -5,270,776      -6,181,679      -4,691,233

4. ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ

4.1 จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 2551 ส่งผลให้เศรษฐกิจไซปรัสหดตัวลงอย่างมาก และคาดว่าในปี 2553 ไซปรัสจะขาดดุลงบประมาณ -6% ของ GDP

4.2 ในการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลไซปรัสได้ดำเนินการดังนี้

  • เพิ่มความเข้มงวดตามโครงการป้องกันเงินทุน
  • เสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคการธนาคารเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี
  • เพิ่ม ECP programme วงเงิน 2 พันล้านยูโร เพื่อใช้ในการต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจ

4.3 นอกจากนี้ รัฐบาลไซปรัสได้ออกมาตรการ Stability program (SP) เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ตามเป้าหมายคือ -4.5% ของ GDP ในปี 2554 และ-3.4% ในปี 2555 ดังนี้

4.3.1 มาตรการด้านรายจ่าย

  • การค่อยๆลดมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆเมื่อเห็นว่ามีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแล้ว
  • ตัดลดค่าใช้จ่ายของการประกอบการลง
  • เน้นมาตรการที่เอื้อประโยชน์ต่อภาคสังคม

4.3.2 มาตรการด้านรายได้

  • ปรับภาษีการบริโภคน้าและอื่นๆให้สอดคล้องกับภาษีของสหภาพยุโรป
  • เก็บภาษี vat ในอัตรา 5% กับสินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ยา ( ตาม EU Harmonization Tax)
  • เพิ่มการเก็บภาษีประจำปีสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนประกอบการ
  • เพิ่มฐานในการคำนวณและอัตราภาษีสำหรับทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ (Immovable property tax) และภาษีสรรพาสามิตรสำหรับยาสูบ

4.4 อัตราภาษี

  • Personal Income tax = 20-30% (ไม่เรียกเก็บกรณีมีรายได้ต่อปีต่ำกว่า 19,500 ยูโร)
  • corporate tax = 10%
  • Value added tax = 15%

5. การลงทุน

ไซปรัสเป็นประเทศที่น่าลงทุนประเทศหนึ่งเนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในด้านเหมืองแร่และเส้นใยธรรมชาติที่ใช้กันไฟ โดยมีอุตสาหกรรมหลักเกี่ยวกับแร่และซีเมนต์ การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์รองเท้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักลงทุนและอาจกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจภูมิภาคระหว่างภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกาในที่สุดเนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น สนามบิน ท่าเรือ และการโทรคมนาคมที่มีการพัฒนาและก้าวหน้า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเกื้อหนุนอื่นๆ ได้แก่ การเป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวที่สูง มีอัตราการว่างงานค่อนข้างต่ำ (คาดว่าปี 53 จะเท่ากับ 7%) มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ (2.5%) มีระบบอัตราภาษีที่มีประสิทธิภาพ มีการทำความตกลง Double treaties กับประเทศคู่ค้ากว่า 40 ประเทศ เป็นต้น

ทั้งนี้ ในปี 2552 ไซปรัสมีการลงทุนตรง (FDI) รวมทั้งสินมูลค่า 3,620 ล้านยูโร โดยภาคอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการลงทุนคือ ตัวกลางด้านการเงิน (58.13%) การค้าและการซ่อมแซม (23.68%) และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจอื่นๆ (15.73%) ประเทศที่มาลงทุนที่ไซปรัสสำคัญๆ ได้แก่ ประเทศในสหภาพยุโรป (มูลค่ากว่า 2,357 ล้านยูโร) สหรัฐอเมริกา (มูลค่า 187.8 ล้านยูโร) และประเทศในแถบเอเชีย (มูลค่า 138.3 ล้านยูโร)

6. ประเด็นที่ไทยอาจหยิบยกขึ้นหารือ

หวังว่าไทยและไซปรัสจะมีความร่วมมือในด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมการต่อเรือซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพมาก และไซปรัสก็เป็นประเทศที่มีศักยภาพในด้านนี้ โดยมีเรือจดทะเบียนมากถึง 2,758 ลา นับเป็นอันดับ 4 ของโลก

ทั้งนี้ ข้อมูลการค้าระหว่างไทย-ไซปรัสเฉลี่ยปีละกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในช่วง 10 เดือนแรก (มค.-ตค.) ของปี 53 ไทยส่งออกไปไซปรัสมูลค่า 41.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากไซปรัสมูลค่า 2.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลกระป๋องแปรรูปและปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง ตู้เย็น/ตู้แช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ

สินค้านำเข้าสำคัญจากไซปรัส ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ ผักผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ