ประเทศแคนาดา สคร.แวนคูเวอร์
ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้า พศจิกายน 2553)
หน่วยงาน Statistic Canada ได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรฐกิจแคนาดาในภาพรวมล่าสุด ดังนี้
1.Real GDP : -0.1 % (ก.ย. 2553) - เทียบกับ ส.ค. 2553
2.Unemployment Rate : 7.9 % (ต.ค. 2553) - เทียบกับ 8.0% ในเดือน ก.ย. 2553
3.Merchandise Export : -1.7 % % (ก.ย. 2553) เมื่อเทียบกับ ส.ค. 2553
4.Merchandise Import : +1.2 % (ก.ย. 2553) เมื่อเทียบกับ ส.ค. 2553
5.Inflation Rate : + 0.5 % (ต.ค. 2553) - เทียบกับ 1.9 % ในเดือนก.ย 2553
ความเห็นเกี่ยวกับการปรับตัวของเศรษฐกิจประเทศแคนาดา
ปัจจัยหลักที่มีผลขับเคลื่อนต่อเศรษฐกิจในเดือนก.ย.2553 -0.1%) :
- ปัจจัยลบเป็นผลจาก: Manufacturing (โรงงาน และการผลิต):การผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และการค้าส่ง / ค้าปลีก (Wholesale and retail trade) และภาคการเงินและการประกัน และ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- ด้านการขุดเจาะเหมืองแร่ และพลังงาน(Mining + Oil and Gas Extraction): ลดลง2.0 % (ก.ย. 2553)เนื่องจากการลดลงของการขุดเจาะทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพราะสภาพอากาศไม่ เอื้ออำนวยต่อการขุดเจาะ
- ด้าน Manufacturing โรงงาน และการผลิต): ลดลง 0.6% (ก.ย. 2553) ทั้งหมวด Durable Good และ Non-durable goods (โดยเฉพาะการลดลงส่วนการผลิตหมวดสินค้าเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ด้านการขนส่ง ผลิตภัณฑ์ไม้ อาหาร และสารเคมี)- ด้านธุรกิจการเงิน การธนาคารและประกันภัย: ลดลง 0.7% (ก.ย. 2553) เนื่องจากการชะลอตัวทางธุรกรรมการเงิน เช่น การกู้เงินสำหรับบุคคลและธุรกิจ และลดลงปริมาณยอดขายกองทุนรวม (Mutual Fund) รวมทั้งปริมาณการซื้อ-ขายหุ้นที่ลดลง
- ปัจจัยบวกเป็นผลจาก : การเพิ่มขึ้นการผลิตแร่โลหะ อาทิ ทองแดง นิกเกิ้ล ตะกั่ว สังกะสี ฯลฯ และด้านธุรกิจอื่น ๆ เช่น ภาคธุรกิจค้าปลีก ( รยนต์, เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน) เพิ่มขึ้น 0.5 % , ภาคบริการสาธารณะ (สุขภาพ การศึกษา) เพิ่มขึ้น 0.2%
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย-แคนาดา: ตัวเลขฝ่ายไทย
มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ) มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ) อัตราการขยายตัว(%) ม.ค. - ต.ค. 2552 ม.ค. - ต.ค. 2553 ม.ค.-ต.ค. 2552/2553 มูลค่าการค้า 1,579.00 1,905.00 20.65 ไทยส่งออก 1,032.10 1,156.70 12.08 ไทยนำเข้า 546.90 748.30 36.83 ดุลการค้า 485.20 408.40 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ม.ค.-ต.ค. 2553) ตามลำดับจากมูลค่าสูงสุด (20 อันดับแรก) ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (+14.29 %) อาหารทะเล กระป๋องและแปรรูป (+2.77%) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (+22.17%) ข้าว (+21.97%) ยางพารา (+122.60%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (+25.10%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+3.92%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัฌฑ์ (+89.84) ผลิตภัณฑ์ยาง (27.66%) เครื่องกีฬาและเครื่องเกมส์ (38.73 %) เลนซ์ (52.94) เตาอบไมโครเวฟ ( 39.61%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (2.25%) เครื่องยนต์สันดาปแบบภายในและลูกสูบ (55.83%) รองเท้าและชิ้นส่วน (20.29%) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ (3.27%)
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวลดลง (ม.ค.-ต.ค. 2553) ตามลำดับจากมูลค่าสูงสุด (20 อันดับแรก) ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-2.47%) อัญมฌีและเครื่องประดับ (-1.53%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (-26.65%) ผลิตภัณฑ์พลาสติก (-13.19%)
แหล่งข้อมูล : Statistics Canada (As of November 3, 2010)
http://www.statcan.gc.ca/daily-quotidien/101130/dq1013a-eng.htm
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th