กฏหมายควบคุมการค้าสินค้าปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์ทางออนไลน์

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 7, 2010 14:09 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ความเป็นมา

การค้าทางออนไลน์เป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้บริโภค ดังนั้น สินค้าปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์จึงได้รับการยกระดับ นำเข้าไปจำหน่ายทางออนไลน์จำนวนมาก ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของเจ้าของสินค้าตัวจริงต้องดำเนินการทางกฎหมายฟ้องร้องเวปไซต์ที่นำสินค้าปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์มาจำหน่าย และ เป็นผลให้ธุรกิจของสหรัฐฯ ต้องสูญเสียรายได้เป็นจำนวนหลายๆ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

นอกจากนั้นแล้ว สหรัฐฯ ยังกล่าวหาประเทศจีน แคนาดา รัสเซีย สเปน และ เม็กซิโกว่าเป็นผู้กระทำผิดในด้านการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าบริการของสหรัฐฯ มากที่สุด โดยเฉพาะประเทศแคนาดา และ จีน ถูกจัดให้เป็น Most Watch List สำหรับสินค้าบริการด้าน ภาพยนต์ เพลง และ วิดีโอ

การดำเนินการ

1. วุฒิสมาชิก Patrick Leahy พรรค Democrat รัฐ Vermont และ วุฒิสมาชิก Orrin Hatch พรรค Republican รัฐ Utah ร่วมกัน เสนอพระราชบัญญัติ “Combating Online Infringement and Counterfeit Act” หรือ S. 3804 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 โดยมีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองการจ้างงานในสหรัฐฯ นวัตกรรมของสหรัฐฯ และ ผู้บริโภคสหรัฐฯ โดยการให้อำนาจและเป็นเครื่องมือหน่วยงานของรัฐบาลในการตรวจสอบ (censor) เวปไซต์ ในประเทศและต่างประเทศที่ละเมิดลิทธิ์และจำหน่ายสินค้าปลอมแปลง โดยมีมาตรการ คือ การเข้าไปค้นหาใน Internet's domain name system (DNS) และ IP Address และจะสร้าง บัญชีดำ (B lacklist) ขึ้นมา และ อัยการประเทศ จะนำบัญชีดำไปขออำนาจศาลเพื่อปิดเวปไซต์

2. คณะกรรมาธิการตุลาการ (Judiciary Committee) วุฒิสภาให้รับรองกฏหมายดังกล่าวด้วยเสียง 19-0 และ ได้เพิ่มบทบัญญัติให้กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ประกาศรายชื่อบัญชีดำต่อสาธารณะ และ สามารถฟ้องร้องผู้กระทำผิดนำเข้าสินค้าปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์ในสหรัฐฯ และรวมไปถึง Domain Name ในต่างประเทศ ที่จำหน่ายสินค้าปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ คณะกรรมาธิการฯ จะนำกฎหมายเสนอต่อวุฒิสภาและสภาผู้แทนฯ เพื่อลงมติเห็นชอบเป็นกฎหมายต่อไปในเดือนมกราคม 2554

3. ผู้ให้การสนับสนุนกฎหมายจากกลุ่ม สหภาพแรงงาน หอการค้า เจ้าของแบรนด์ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ และ กลุ่มอุตสหกรรมบริการที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ในขณะที่ ได้รับการคัดค้านจากสมาคม Computer & Communications Industry Association

ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ

1. Mr. Ed Black ตำแหน่ง president and CEO สมาคม Computer and Communications Industry Association มีความเห็นว่า กฎหมายฉบับดังกล่าว ละเมิดเสรีภาพของการทำธุรกิจการค้าเปิดกว้างทางอินเตอร์ (Internet Openness and Freedom)

2. กฏหมายดังกล่าวมิใช่เป็นการแก้ไขที่ถูกต้อง เนื่องจาก เวปไซต์ที่ถูกปิดไป จะมีเวปไซต์ใหม่ในทำนองเดียวกันเกิดขึ้นอีก ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และเป็นวัฏจักรที่ไม่สิ้นสุด

3. การเซนเซอร์อินเตอร์เนทจะมีผลต่อเสียชื่อเสียงของสหรัฐฯ ในแง่ที่เป็นตำรวจลับสืบ Internet Domain Name ของโลก

4. หากมีผู้ประกอบการการค้าทางออนไลน์ของไทยถูกสหรัฐฯ กล่าวหาว่ากระทำผิดตามกฎหมาย Combating Online Infringement and Counterfeit Act อาจจะมีผลเสียกระทบต่อการทบทวนการขอถอนสถานะ Special 301 Priority Watch List ของประเทศไทยจากสหรัฐฯ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก สหรัฐ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ