อิตาลีเป็นตลาดไม้ตัดดอกที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของสหภาพยุโรป ตั้งแต่ปี 2002 การบริโภคไม้ตัดดอกในอิตาลีลดลงอย่างมีนัยสำคัญเหลือ 1,478 ล้านยูโรในปี 2007 วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกส่งผลให้การบริโภคลดลงอย่างมาก ทั้งนี้อิตาลีเป็นผู้ผลิตไม้ตัดดอกรายใหญ่เป็นอันดับสองของสหภาพยุโรปรองจากเนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าการผลิตประมาณ 1,627 ล้าน ยูโร และปัจจุบันมีแนวโน้มในการพัฒนาและเพิ่มขนาดการผลิตมากขึ้น การนำเข้าของดอกไม้เขตร้อนมายังสหภาพยุโรปส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าผ่านเนเธอร์แลนด์
โดยเฉพาะกล้วยไม้มีการนำเข้ากล้วยไม้หลายชนิดมาก ทั้งนี้ประเทศผู้ส่งออกกล้วยไม้ที่สาคัญมายังตลาดสหภาพยุโรป คือ เนเธอร์แลนด์และประเทศไทย ส่วนประเทศผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปที่สำคัญได้แก่ อิตาลีนำเข้ากล้วยไม้รายใหญ่ มีสัดส่วนการนำเข้า 27% ของการนำเข้าทั้งหมด ตามด้วยฝรั่งเศส 18% เยอรมัน 12% เนเธอร์แลนด์ 9.5% และอังกฤษ 8.6%
1. การผลิต
ในปี 2005 การผลิตไม้ตัดดอกในอิตาลีมีมูลค่าประมาณ 1,627 ล้านยูโร จากตารางที่ 1.1 จะเห็นได้ว่า จำนวนพื้นที่ปลูกและผลผลิต ค่อนข้างคงที่ และคาดการณ์ว่ามูลค่าการผลิตก็ค่อนข้างคงที่เช่นกัน ทั้งนี้ในปี 2008 คาดว่าผลผลิตไม้ตัดดอกมีสัดส่วนเป็นการขายภายในประเทศ 70 % และส่งออก 30 %
ในปี 2007 อุตสาหกรรมดอกไม้ประกอบด้วย 8,759 บริษัทที่ปลูกดอกไม้ในพื้นที่เปิด และ 8,985 บริษัทปลูกดอกไม้ในพื้นที่ปิด มีหลายแคว้นในอิตาลีที่โด่งดังเรื่องดอกไม้โดยเฉพาะ San Remo อุตสาหกรรมดอกไม้ใน San Remo ประกอบด้วยบริษัท 3,400 บริษัทโดยมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 1,000 ตรม. แคว้นอื่นๆ ที่ผลิตดอกไม้ได้แก่ Campania, Puglia, Toscana, Sicily และ Lazio และโครงการสนับสนุนของภาครัฐทำให้ภาคใต้เริ่มเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของประเทศ ผู้ปลูกบางคนมีพื้นที่ปลูก 6 เฮกตาร์ ในแคว้น Campania (ทางใต้ของอิตาลี) ชมรมผู้ผลิตดอกไม้ Consortium Con.Flo.Mer ซึ่งส่งเสริมการผลิตดอกไม้และต้นไม้ได้จัดกิจกรรมในการพัฒนาศูนย์กลางกระจายผลผลิตของเกษตรกรในพื้นที่จึงทำให้ผู้ค้าส่งสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีความหลายหลายมากขึ้น และมีระบบการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ แต่ส่งผลให้เพิ่มตัวกลางเข้าไปในสายการกระจายสินค้า นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม Ciccolella ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ปลูกไม้ตัดดอกกุหลาบและดอกหน้าวัวชั้นนำในยุโรป ในขณะนี้ได้รวบรวมเอาบริษัทดอกไม้ในเนเธอร์แลนด์ เช่น Liliveld Group, Flower Plant Partners และ Zurel Group ซึ่งเป็นผู้ค้าดอกไม้และต้นไม้รายสำคัญเอาไว้ด้วย กลุ่ม Ciccolella กำลังก่อสร้างเรือนกระจกที่ภาคใต้ของอิตาลี โดยคาดว่าพื้นที่ปลูกจะเพิ่มขึ้นมากถึง 210 เฮกตาร์
เดิมอิตาลีเป็นผู้ผลิตดอกกุหลาบและคาร์เนชั่นเนื่องจากการแข่งขันจากต่างประเทศทำให้การผลิตดอกไม้ดังกล่าว ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันผลผลิตไม้ตัดดอกของอิตาลีส่วนใหญ่ ได้แก่ กุหลาบ (hybrid) คาร์เนชั่น และบัตเตอร์คัพ (Ranuculus) ทั้งนี้มีการปลูกลิลลี่ เยอร์บีร่า หน้าวัวด้วย และผลผลิตที่มีการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดในขณะนี้คือ หน้าวัว เบญจมาศ กุหลาบและบัตเตอร์คัพ ผลผลิตดอกบัตเตอร์คัพในเมือง Imperia ประมาณการว่าจะเพิ่มจาก 25 เฮกตาร์ ในปี 1999 เป็น 159 เฮกตาร์ ในปี 2005 ปัจจุบันอิตาลีมีความสามารถในการแข่งขันได้ดีขึ้น เนื่องจากผู้ปลูกอิตาเลี่ยน สามารถผลิตดอกไม้ได้หลากหลายชนิดขึ้น และมีการขยายพื้นที่/พัฒนาสินค้าให้ทันสมัยขึ้นได้
กล้วยไม้
กล้วยไม้เป็นพันธุ์ดอกไม้เขตร้อนที่เก่าแก่ที่สุดและผู้บริโภคมีความคุ้นเคยมากที่สุด กล้วยไม้เป็นสินค้าที่มีการ นำเข้ามากที่สุด โดยการนำเข้า กล้วยไม้ไปสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 8.5% ต่อปีระหว่างปี 2004 และ 2006 แต่กลับลดลง 2.4% ระหว่างปี 2006 และ 2008 โดยมีมูลค่า 88 ล้านยูโรในปี 2008
Cymbidium เป็นกล้วยไม้ที่มีการซื้อขายมากที่สุด ในยุโรปมาหลายปี กล้วยไม้พันธุ์นี้ปลูกโดยผู้ปลูกในสหภาพยุโรปส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้ปลูกในเนเธอร์แลนด์ ทั้ง Cymbidium และ Phalaenopsis แทบไม่ได้นำเข้าจากประเทศนอกสหภาพยุโรปเลย การขาย Cymbidium จะเป็นการขายผ่านการประมูล โดยจะขายในลักษณะกล่องผสมหลายสี ประมาณ 90% ของกล้วยไม้สกุลหวายที่ประมูลในเนเธอร์แลนด์เป็นสินค้านำเข้า ทั้งนี้ส่วนใหญ่มีการปลูกกล้วยไม้ตระกูลหวายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีสายพันธุ์หลายชนิด
อิตาลีเป็นผู้นา เข้ากล้วยไม้ตัดดอกของโลกที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศไทยผ่านเนเธอร์แลนด์และเข้าสู่อิตาลีโดยใช้รถบรรทุกขนส่ง ทั้งนี้อิตาลีนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกมากเป็นห้าเท่าของการนำเข้าในสหรัฐอเมริกา
ดอกหน้าวัว
เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศและค่าบรรจุภัณฑ์สูงมากทำให้แทบจะไม่มีการนำเข้าดอกหน้าวัวมาในสหภาพยุโรปเลย ดังนั้นผู้ปลูกเนเธอร์แลนด์จึงครองตลาดดอกหน้าวัว ทั้งนี้มีเกษตรกรในเนเธอร์แลนด์ประมาณ 65 รายที่มีความชำนาญในการผลิตไม้ตัดดอกหน้าวัว ส่วนอิตาลีเริ่มเป็นผู้จำหน่ายที่สำคัญไปยังตลาดสหภาพยุโรปขึ้นเรื่อยๆ การปลูกดอกหน้าวัวภายใต้ร่มแดดในประเทศเขตร้อนทำให้ดอกหน้าวัวเน่าเสียง่ายจากเชื้อแบคทีเรีย แต่เนเธอร์แลนด์ปลูกดอกหน้าวัวในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิและใช้วัสดุปลูกที่มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงทำให้เกิดโรคได้น้อยกว่า
ดอกปักษาสวรรค์ (Strelitzia)
แม้ว่าดอกปักษาสวรรค์ (Stirelitzia) จะมีต้นกำเนิดมาจากอาฟริกาใต้ แต่ในปัจจุบันมีการปลูกทั่วโลก ในสหภาพยุโรป ในประเทศเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่ปลูกดอกปักษาสวรรค์ในเรือนกระจก แต่ก็มีปลูกอยู่ประปรายในฝรั่งเศส สเปนและหมู่เกาะคานารี (สเปน) หรือ Madeira (โปรตุเกส) ทั้งนี้ผู้ปลูกในเนเธอร์แลนด์สามารถซัพพลายดอกปักษาสวรรค์ได้ในระยะเวลาที่ยาวนานต่อปี (สิงหาคม - มิถุนายน) และมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดอกปักษาสวรรค์ที่ซื้อขายกันในตลาดยุโรปเป็นสีส้มส่วนใหญ่ และเริ่มเห็นที่มีสีเหลืองมากขึ้น 'Yellow Josephien' อย่างไรก็ตามนักจัดดอกไม้มักจะใช้ดอกปักษาสวรรค์สำหรับโอกาสพิเศษและเนื่องจากมีตลอดปีทำให้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตนำไปใช้ในการจัดช่อมากขึ้น แต่ยังมีราคาแพงอยู่จึงทำให้ดอกปักษาสวรรค์ยังไม่เป็นที่นิยมเท่ากับดอกหน้าวัวหรือ Cymbidium
โปรเทีย (Protea) และฟินบอสอื่นๆ
ฟินบอสเป็นคำที่ใช้อ้างถึงพืชที่สำคัญที่ปกคลุมอยู่แถบภูมิภาคแหลมอาฟริกาใต้ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์ที่แตกต่างกันในหมู่กลุ่มไม้พันธุ์นี้ เช่น Protea, Leucospermum, Banksia, Leucodendron และ Grevillea กลุ่มไม้พันธุ์ฟินบอสเกือบทั้งหมดนำเข้าจากประเทศนอกสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในอาฟริกาใต้ นอกนั้นก็จะเป็นประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิสราเอล อาฟริกาตะวันออก ออสเตรเลีย ทั้งนี้ผลผลิตในยุโรปมาจากเกาะคานารีในสเปน เกษตรกรผู้ปลูกฟินบอสมีหลากหลายพันธุ์มาก โดยมีการปรับปรุงพันธุ์ เลือก ขยายพันธุ์และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มผลผลิตและพัฒนาพันธุ์ใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด กลุ่มดอกไม้พันธุ์ฟินบอสที่ขายดีที่สุดและส่งออกมาจากอาฟริกาใต้คือ Protea magnicifica (Queen Protea) Protea eximia (Duchess Protea) และ Protea repens (Sugarbush Protea) และมีการส่งออกโปรเทียเป็นแบบช่อดอกไม้ด้วย จากการสำรวจพบว่าฟินบอส สามารถจัดส่งแบบแช่เย็นได้ ก้านโปรเทียที่ขายอยู่ในตลาดมักมีความยาวน้อยกว่า 40 ซม. ในกรณีของการจัดช่อ Leucadendron จะตัดก้านให้สั้นประมาณ 35-50 ซม. และขายเหมือนลักษณะการขายใบไม้ แต่ถ้าเป็นการขายก้าน Leucospermum เดี่ยวจะขายก้านที่ขนาดความยาว 35-45 ซม. ในปัจจุบันผู้นำเข้าโปรเทียในเนเธอร์แลนด์มีความชำนาญในการนำเข้าโปรเทีย/ฟินบอสและอื่นๆ เช่น Banksia มากขึ้น มีผู้นำเข้าเพียงไม่กี่รายครองตลาดการค้าฟินบอสในยุโรปอยู่ มักจะขายผ่านการประมูลหรือขายตรงให้กับผู้ค้าส่งในยุโรปเลย
ดอกก้ามกุ้งหรือธรรมรักษา (Heliconia)
ดอกก้ามกุ้งเป็นดอกไม้พื้นเมืองเขตร้อนจริงๆ ที่ไม่สามารถทนอยู่ในอุณภูมิที่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสได้ ดอกก้ามกุ้งมักมีรูปทรงและขนาดที่ต่างกัน ส่วนใหญ่ที่นิยมคือ Heliconia Caribea ผู้นำเข้าในยุโรป คาดการณ์ว่าการประมูลครอบคลุมประมาณ 40-50% ของตลาดก้ามกุ้งในยุโรป การขายผ่านการประมูลมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 5% ต่อปี ผู้ปลูกในเนเธอร์แลนด์มีสัดส่วนของสินค้ามากที่สุดในการประมูลดอกก้ามกุ้ง ที่ เหลือเป็นการนำเข้ามาจาก เอกวาดอร์ คอสตาริกา และโคลัมเบีย ไอโวรี่โคสต์ จาไมก้า แทนซาเนีย บราซิล ซูรินัม และคาเมรูน
2. การบริโภค
ในปี 2007 การบริโภคดอกไม้ในอิตาลีมีมูลค่า 1,487 ล้านยูโร ตลาดอิตาลีเป็นตลาดใหญ่อันดับที่ 4 ของสหภาพยุโรป โดยตลาดฝรั่งเศสมีขนาดใหญ่กว่าอิตาลี 33 %ในขณะที่เนเธอร์แลนด์มีขนาดเล็กกว่าอิตาลี 38 % การบริโภคไม้ตัดดอกของอิตาลีในระหว่างปี 2005-2007 ลดลงเฉลี่ยปีละประมาณ 6.6 %โดยการบริโภคเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2002 เนื่องจากผู้บริโภคมีอำนาจซื้อลดลง ในปี 2002 อำนาจซื้อของผู้บริโภคสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของสหภาพยุโรป 12% แต่ในปี 2008 อำนาจซื้อกลับลดต่ำลงเท่ากับอัตราเฉลี่ย ซึ่งหมายความว่า ผู้บริโภคอิตาเลี่ยนมีเงินในการซื้อดอกไม้ได้น้อยลง การบริโภคดอกไม้เฉลี่ยต่อหัวลดลงจาก 33 ยูโรในปี 2002 เป็น 25 ยูโรในปี 2007 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลต่อการลดการบริโภคลง
การบริโภคดอกกล้วยไม้
ไม่มีตัวเลขที่สถิติการบริโภคเกี่ยวกับดอกกล้วยไม้ที่ชัดเจน ส่วนใหญ่ดอกไม้จากเขตร้อนขายผ่านผู้นำเข้ายุโรป ซึ่งประมาณ 20-30% ของดอกไม้เขตร้อนขายผ่านการประมูลในเนเธอร์แลนด์ การขายดอกกล้วยไม้เช่น Cymbidium, Phalaenopsis และดอกหน้าวัว จะใช้วิธีการประมูลเป็นหลัก
พฤติกรรมการบริโภคดอกไม้
ประมาณการว่า 1 ใน 3 ของดอกไม้ที่ขายในอิตาลีเป็นการขายแบบช่อดอกไม้เดี่ยว ดอกไม้ส่วนใหญ่จะนำไปจัดเป็นช่อแบบผสมและประดับตกแต่ง อย่างไรก็ดีพบว่ายอดขายของดอกไม้ช่อเดี่ยวครองส่วนแบ่งในตลาดมากที่สุด การขายดอกไม้แบบประดับตกแต่งก็มีอัตราการขยายตัวสูงเช่นเดียวกันในปีที่ผ่านมาตามธรรมเนียมแล้วการบริโภคไม้ตัดดอกแบบช่อผสมมีอย่างจำกัด ในอดีตอิตาลีไม่ได้ปลูกดอกไม้หลายชนิดมากนัก แต่ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มนิยมดอกไม้ที่หลากหลายชนิดมากขึ้น ผู้หญิงสาวชอบซื้อดอกไม้ที่จัดเป็นช่อง่ายๆมากกว่าที่จัดเป็นแบบดั้งเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นธรรมชาติ ดอกไม้แบบดั่งเดิมมักจะให้พร้อมกับของขวัญอย่างเป็นทางการและทำให้สูญเสียคุณค่าทางด้านอารมณ์ไป
ส่วนใหญ่ดอกเบญจมาศ และการ์ดิออรัสจะนำไปใช้ประดับตกแต่งหลุมศพ ยอดขายดอกไม้ชนิดนี้จะสูงมาก ในวันที่ 1 พฤศจิกายน (วัน All Souls Day) ในขณะที่ช่วงเวลาอื่นๆ ของปี ยอดขายของดอกเบญจมาศจะต่ำ มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในยุโรป สมาคม การตกแต่งหลุมศพได้สร้างค่านิยมที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกกระอักกระอ่วนใจ หากต้อง ซื้อดอกเบญจมาศไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ดอกกุหลาบเป็นดอกไม้ที่ใช้ในช่วงวันวาเลนไทน์และการแต่งงาน เช่นเดียวกับดอกกล้วยไม้ ฟรีเซีย และลิลลี่ ดอกหน้าวัว มักนาไปใช้ในการจัดเข้าช่อและเป็นของขวัญ ดอกมิโมซ่าจะขายดีในช่วงเดือน มีนาคมสำหรับวันผู้หญิง ในปี 2011 วันผู้หญิงตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ทั้งนี้ดอกคาร์เนชั่นเริ่มลดความนิยมลงในปีนี้เนื่องจากเห็นว่าเป็นดอกไม้ที่ไม่ทันสมัยผู้บริโภคอิตาลีจะนิยมซื้อดอกไม้ในช่วงโอกาสพิเศษเช่น วันวาเลนไทน์ วันผู้หญิง วันแม่และวันสำคัญทางศาสนาโดย ISMEA รายงานว่า ผู้บริโภค 12% ซื้อดอกไม้ในวันดังกล่าวโดยในช่วงต้นฤดูร้อนยอดขายดอกไม้จะต่ำ ข้อมูลในปี 2007 ปรากฎว่ามากกว่า 35% ผู้บริโภคซื้อดอกไม้สำหรับพิธีศพหรือนำ ไปประดับหลุมศพและ 27 %จะซื้อดอกไม้ไปร่วมพิธีฉลองหรือโอกาสพิเศษ เช่น วันแต่งงานวันล้างบาป วัน confirmation วันเกิด และวันครบรอบพฤติกรรมการบริโภคดอกกล้วยไม้ในยุโรป
ตลาดผู้บริโภคดอกไม้จากเขตร้อน (รวมถึงกล้วยไม้) แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ซื้อในโอกาสพิเศษและกลุ่มที่เกิดจากแรงกระตุ้นการซื้อ ผู้บริโภคจะซื้อดอกกล้วยไม้ในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด วันแต่งงาน หรือสร้างความสดชื่นในล๊อบบี้โรงแรม ร้านอาหารหรือในคูหางานแสดงสินค้า โดยปรกติผู้บริโภคจะมองหาสินค้าจำเพาะหรือที่น่าสนใจและเหมาะกับโอกาส (ซึ่งจะมีการวางแผนการซื้อ) โดยเฉพาะดอกไม้แปลกใหม่และเป็นของขวัญที่ทำให้ผู้รับแปลกใจและมีมูลค่า ดอกไม้สาหรับโอกาสพิเศษนี้จะเสนอขายโดยร้านขายดอกไม้ที่มีสินค้าหลากหลายชนิด มีการเพิ่มมูลค่าสินค้ารวมถึงจัดตามแบบที่ลูกค้าต้องการได้ ในส่วนของกลุ่มที่เกิดจากแรงกระตุ้นการซื้อ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะซื้อดอกไม้เพื่อสร้างความสดชื่นให้ตนเอง โดยไม่มีการวางแผนการซื้อ ดังนั้นราคาและความสะดวกในการเลือกซื้อจึงเป็นปัจจัยสำคัญ สินค้าที่เลือกซื้อส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าทั่วไปมีความหลากหลายน้อย มีราคาไม่สูงมากนัก สินค้าจะมีวางขายตลอดปีทั้งที่มาจากผู้ปลูกในยุโรปเองหรือจากประเทศอื่น ส่วนใหญ่จะวางขายอยู่ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตปั้มน้ำมันและแผงลอยตามถนน
ส่วนใหญ่ผู้บริโภคมักซื้อดอกไม้จากเขตร้อนจะเป็นการซื้อในโอกาสพิเศษ ไม่ซ้ำ แบบใคร และทำให้ผู้รับแปลกใจช่อดอกไม้จากเขตร้อนมักจะเป็นสิ่งสวยงามน่ามองและจัดช่อด้วยมือ หรือบางทีก็ใช้สำหรับกิจกรรมพิเศษหรือในล๊อบบี้โรงแรม ฯลฯ ดังนั้นดอกไม้เขตร้อนจึงหาซื้อได้จากร้านดอกไม้ระดับไฮเอนด์ ซึ่งทำให้ผู้ซื้อ ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีกเข้าใจถึงความพิเศษนี้จึงยินดีที่จะจ่ายแพง อย่างไรก็ดี ดอกหน้าวัวและกล้วยไม้เป็นดอกไม้เขตร้อนเฉพาะอย่างที่ได้รับความนิยมเป็นหลัก ซึ่งสินค้านี้จะสามารถขายได้กับทั้งสองกลุ่มตลาดข้างต้น ทั้งนี้คาดว่าตลาดนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ค้าส่งและค้าปลีกในยุโรปที่เพิ่มขึ้น
3. การนำเข้าและส่งออก
3.1 การนำเข้า
อิตาลีเป็นตลาดขนาดกลางของการค้าไม้ตัดดอก อิตาลีนำเข้าไม้ตัดดอกมากเป็นอันดับ 5 ของสหภาพยุโรป โดยในปี 2008 มีมูลค่า 4.5% ของการนำเข้าทั้งหมดของสหภาพยุโรป (ซึ่งมีขนาดการนำเข้าใกล้เคียงกับเบลเยี่ยม) ในปี 2009 อิตาลีนำเข้าไม้ตัดดอกจากทั่วโลกมีมูลค่า 212 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2010 (มค.-สค.) นำเข้ามูลค่า 143 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศที่นำเข้าหลักได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ไทย เอกวาดอร์ ฝรั่งเศส และอิสราเอล
ส่วนใหญ่อิตาลีนำเข้าสินค้าไม้ตัดดอกจากประเทศในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะจากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด85% ประเทศนอกสหภาพยุโรปที่สาคัญที่ส่งออกสินค้าไม้ตัดดอกมาอิตาลีคือ ไทย เอกวาดอร์ โดยมีส่วนแบ่งตลาด 7.8% และ 3.3% ตามลา ดับ ในปี 2004-2008 การนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นปีละ 2.1% ในขณะที่การนำเข้าจากเอกวาดอร์ลดลงปีละ 5.8% ผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่า สินค้าจำเพาะบางชนิดมีการนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตโดยตรง เช่น ดอกกุหลาบ Small-budded(หรือที่เรียกว่า Sweethearts) Hypericum, Gypsohpilla และ Solidago ยกตัวอย่างเช่น ประมาณ 90% ของ Gypsophilla นา เข้าตรงมาจากเอกวาดอร์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้ไปยังสหภาพ ยุโรป มากเป็นอันดับหนึ่ง (สัดส่วน 64%) ผู้ปลูกเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่ปลูก Cymbidium, Phalaenopsis ทั้งนี้ Phalaenopsis และรองเท้านารีจะปลูกอยู่ในเรือนกระจกที่ออกดอกตลอดปี
ส่วนไทยเป็นผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้รายใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้มากเป็นอันดับสองไปยังสหภาพยุโรปโดยมีสัดส่วน ประมาณ 24% ผู้ส่งออกไทยมีจุดแข็งในการส่งออกกล้วยไม้ตระกูลหวายแหล่งนำเข้าดอกกล้วยไม้ของอิตาลีที่สำคัญ ประกอบด้วย 2 ประเทศหลักคือ ไทยและเนเธอร์แลนด์ และแหล่งนำเข้าอื่นๆ ได้แก่ นิวซีแลนด์ ไต้หวัน และมาเลเซีย และเป็นที่น่าสังเกตว่า ไต้หวันส่งออกกล้วยไม้ไปอังกฤษมากที่สุด และมาเลเซียส่งออกไปยังกรีซมากที่สุด
จากการสำรวจตลาดและสัมภาษณ์ผู้นำเข้าแสดงให้เห็นว่าแหล่งนาเข้าสินค้าที่มีจุดแข็งในตลาดสหภาพยุโรป ได้แก่
- ละตินอเมริกา ได้แก่ โคลัมเบีย คอสตาริกา เอกวาดอร์ ส่งออกดอกก้ามกุ้ง (Heliconia) ดอกขิงแดง (Alpinia) ดอกคล้า (Calathea) ฯลฯ
- อาฟริกา ได้แก่ อาฟริกาใต้ และอาฟริกาตะวันออก ส่งออกดอกโปรเทียและฟินบอสอื่นๆ
- เอเชีย ได้แก่ ไทย ส่งออกดอกกล้วยไม้
นอกจากนี้มีประเทศไอโวรี่โคสต์ จาไมก้า แทนซาเนีย บราซิล ซูรินัม และคาเมรูน ซึ่งพบว่ามีบริษัทเพียงแค่หนึ่งหรือสองบริษัทจากประเทศเหล่านี้ที่ส่งออกมายังสหภาพยุโรป
สถิติการนำเข้ากล้วยไม้ ในปี 2009 อิตาลีนำเข้ากล้วยไม้มูลค่า 31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2010 (มค. - สค.) มูลค่า 19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่งมีมูลค่า 9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ (8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และนิวซีแลนด์ (0.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ผู้นำเข้าอิตาลีมักจะได้รับดอกไม้ 2-3 ครั้งต่ออาทิตย์ (ขึ้นอยู่กับฤดูกาล) ทั้งนี้ช่วงฤดูที่มีการซื้อขายมากที่สุดอยู่ที่ช่วงคริสต์มาสและฤดูใบไม้ผลิ (มักจะเป็นช่วงที่มีการจัดงานแต่งงาน รวมถึงการจัดงานฉลองครบรอบแต่งงานและการจัดงานทางศาสนา)
3.2 การส่งออก
อิตาลีเป็นผู้ส่งออกไม้ตัดดอกมากเป็นอันดับที่สามของสหภาพยุโรป โดยมีสัดส่วนเพียง 2.3% ของการส่งออกในสหภาพยุโรป การส่งออกไม้ตัดดอกของอิตาลีลดลงเฉลี่ยปีละ 1.3% ในระหว่างช่วงปี 2004 และ 2008 มีมูลค่า 67 ล้านยูโร (8.1 พันตันในปี 2008) สินค้าส่งออกหลักของอิตาลีได้แก่ ดอกไม้ที่ปลูกจากหน่อ ดอกไม้ฤดูร้อน และไม้ตัดดอกอื่นๆ (67%) และ คาร์เนชั่น (14%) การส่งออกคาร์เนชั่น เบญจมาศ และPrepared cut flower การขยายตัวที่ดีโดยเพิ่มขึ้นปีละ 6.1% 14% และ 33 % ตามลำดับ
ในปี 2009 อิตาลีส่งออกไม้ตัดดอกไปทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2010 (มค.-สค.) ส่งออกมูลค่า 68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศที่ส่งออกหลักได้แก่ เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และออสเตรีย ส่วนสถิติการส่งออกเฉพาะดอกกล้วยไม้ ในปี 2009 อิตาลีส่งออกกล้วยไม้ไปทั่วโลกมีมูลค่า 306,000 เหรียญสหรัฐฯ และในปี 2010 (มค. - สค.) ส่งออกกล้วยไม้มูลค่า 282,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปประเทศฝรั่งเศส โปรตุเกส มอลต้า กรีซ และออสเตรียเป็นหลัก
4. ช่องทางการจำหน่าย
4.1 ผู้ค้าส่ง
คาดการณ์ว่าร้อยละ 50 ของดอกไม้ที่ขายในอิตาลีเป็นผลผลิตภายในประเทศ ส่วนอีกร้อยละ 50 เป็นดอกไม้นำเข้า สินค้าที่นำเข้ามาส่วนใหญ่มาจากผู้ส่งออกจากเนเธอร์แลนด์ (85%) โดยผู้ค้าส่งอิตาลีมีส่วนแบ่งตลาด 27% ของผู้ส่งออกเนเธอร์แลนด์และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ช่องทางการซื้อขนาดใหญ่ของผู้ค้าส่งอิตาลีคือ ผู้ปลูกอิตาเลี่ยน (25%) มีผู้ค้าส่งหลายรายผลิตสินค้าเองประมาณ 19% ของการส่งสินค้าให้แก่ผู้ค้าส่งในอิตาลี ตลาดดอกไม้อิตาลีมีลักษณะแตกเป็นส่วนๆ และมีโครงสร้างการกระจายสินค้าแบบดั่งเดิมซึ่งถูกครอบงำ โดยผู้ขาย ผู้ปลูกในประเทศส่วนใหญ่ขายตรงให้แก่ผู้ค้าส่งในประเทศหรือร้านขายดอกไม้ แทนที่จะกระจายสินค้าผ่านตลาดกลาง เช่น ตลาดดอกไม้ในซานเรโม (San Remo) เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกคาดหวังจะได้รับราคาที่สูงกว่าและได้รับการชำระเงินเร็วกว่าถ้าขายตรง จึงส่งผลให้ตลาดดอกไม้ไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นและไม่ได้รับผลกำไรจากการขายจำนวนมากอย่างไรก็ดีผู้ประกอบการร่วมกับผู้ผลิตและบริษัทตัวแทนขายกำลังเริ่มมีบทบาทสาคัญในการซื้อขายและนำเข้ามากขึ้น
ตลาดค้าส่งในอิตาลีที่เกษตรกรผู้ปลูกสามารถเสนอสินค้าให้แก่ผู้ค้าส่งโดยตรง ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกทางตอนเหนือของอิตาลี ได้แก่ ซานเรโม (San Remo) เปสเชีย (Pescia) เอลโคลาโน (Ercolano) อัลเบนก้า (Albenga) เวียเรจโจ้ (Viareggio) เลชเช (Lecce) และวิคตอเรีย (Vittoria) และมีตลาดค้าส่งที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองใหญ่เช่น เจนัว มิลาน เมซินา โรม และ ตูริน ซึ่งผู้ค้าปลีกสามารถซื้อ สินค้าจากผู้ค้าส่งได้เช่นกัน
ตลาดค้าส่งในซานเรโมมีผู้ค้าส่งประมาณ 200 ราย ซึ่ง 7-8 รายเป็นผู้ค้าส่งต่างชาติ ได้แก่ Ciesse Flowers, Duferflowers, Musetti, B&B, Diemme ทั้งนี้ Ciesse Flowers, Duferflowers และ Diemanne ส่งออกสินค้าอย่างเดียว ส่วนผู้ค้าส่งรายอื่นเป็นรายเล็กและมักจะขายสินค้าเป็นช่วงๆ ผู้ซื้อที่ตลาดดอกไม้เป็นผู้ค้าส่งจากแคว้นอื่นและผู้ค้าปลีกด้วย
ตลาดดอกไม้ซาเรโมได้เริ่มมีการขายตามตารางการประมูลมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2008 เหตุผลที่ผู้ปลูกอิตาเลี่ยนไม่ยอมเสนอขายสินค้าผ่านการประมูลเนื่องจากกลัวที่จะต้องเปิดเผยราคาสินค้าอย่างโปร่งใส ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าตกต่ำ และมีกำไรน้อยลง ทั้งนี้คิดราคาค่าธรรมเนียมการประมูลคือ 3 % จากราคาประมูลสำหรับดอกไม้ในแคว้นซานเรโมและ 6 % จากดอกไม้จากนอกแคว้น และค่าธรรมเนียมในการจัดการอีก 3%
ผู้ค้าส่งอิตาลีรายหลักๆ ได้แก่ Central Fiori ในมิลาน Primaflor ในซานเรโม Ciccolella group ในบารี Floever ในเปสเชีย Euroflora ในคาราเต ไบรอันซา และ Colosseum id Fiorgio M.Rosario ในโรม
4.2 ผู้ค้าปลีก
ผู้ค้าดอกไม้แบบดั่งเดิมจะเป็นผู้ชี้นาตลาดในระดับการค้าปลีกโดยประมาณ 65% เป็นสมาชิกของสมาคม/องค์กรที่เกี่ยวข้องสมาคมที่ใหญ่ที่สุดคือ Interflora ซึ่งมีระดับคุณภาพ บริการและราคาที่สูงกว่าผู้ค้าโดยทั่วไปในระดับช่องทางการค้าปลีกร้านขายดอกไม้ตามถนนมีตั้งไว้เพื่อกระตุ้นแรงขายโดยเฉพาะ ซึ่งได้แก่ ตลาดแผงลอย ศูนย์กลางขายดอกไม้และต้นไม้ และซุปเปอร์มาร์เก็ต ทั้งนี้แม้ว่าซุปเปอร์มาร์เก็ตจะมีสัดส่วนตลาดเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ขายดอกไม้แต่ก็ยังมีส่วนแบ่งตลาดต่ำอยู่
4.3 ตัวกลางในการจำหน่ายดอกกล้วยไม้
เนื่องจากดอกไม้จากเขตร้อนส่วนใหญ่มีความไวต่อสภาพอากาศหนาวและจะต้องไม่เก็บรักษาแบบ precool หรือเก็บสินค้าในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าคำแนะนำ ผลกระทบต่ออากาศสะท้านหนาวคือ ทำให้ดอกบานช้าไม่ทันต่อการนำ ไปขายปลีก และทำให้ดอกหรือใบหลุด ดอกไม่เปิด เปลี่ยนสีหรือเหี่ยว
แม้ว่ามูลค่าการค้าของดอกไม้เขตร้อนจะมีมูลค่าน้อยมากในตลาดการค้าดอกไม้ระหว่างประเทศทำให้เกิดโครงสร้างของการค้าดอกไม้ระหว่างประเทศที่สมบูรณ์ตามที่ต้องการ กล่าวคือ ใช้อุณหภูมิต่ำ หลังการเก็บเกี่ยวและขนส่งซึ่งเรียกว่า cold chain
ในตลาดสหภาพยุโรป ดอกไม้เขตร้อนมีการกระจายสินค้าด้วยผู้ค้าส่งที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (หรือผู้นำเข้า) ซึ่งมักจะรวมเอาดอกไม้เขตร้อนและใบไม้ไว้ด้วยกัน ผู้ค้าส่งจะใช้ระบบเครือข่ายการกระจายสินค้าที่จำกัดอุณหภูมิ ทั้งนี้มีจำนวนจำกัดอยู่ที่ประมาณ 20 รายในยุโรป ส่วนดอกไม้เขตร้อนที่เหลือจะนำเข้าโดยผู้นำเข้าที่ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะแต่ต้องการซื้อดอกไม้เขตร้อนมาเพื่อเสริมมาตรฐานความหลายหลายในการเสนอขายสินค้าเท่านั้น
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่ถือว่าเป็นประตูสู่ยุโรปโดยถือครองส่วนแบ่งตลาดของผู้นำเข้ายุโรปทั้งสินค้าดอกไม้แบบดั้งเดิมและดอกไม้เขตร้อน อย่างไรก็ตามตลาดยุโรปอื่น เช่น เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ยอมรับการขายตรงของผู้ส่งออกด้วย
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ส่งออกที่มีการติดต่อจากผู้ค้าส่งซึ่งไม่คุ้นเคยกับการนำเข้าสินค้าชนิดนี้มักจะได้รับคำสั่งซื้อที่ผิดปรกติในเรื่องของการขนส่งและความต้องการเรื่องคุณภาพที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้นจึงทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถสร้างธุรกิจส่งออกที่ยั่งยืนได้ถ้าทำการค้ากับผู้นำเข้าข้างต้น ประกอบกับจะต้องใช้ความอดทนพยายามในการขายที่จะค้นหาผู้ซื้อที่มีประสิทธิภาพ (และมักจะมีขนาดเล็ก) เพื่อที่จะขายสินค้าที่มีอยู่ทั้งหมด
4.4 แนวโน้ม
ร้านค้าแบบดั้งเดิมยังคงเป็นจุดแข็งในอิตาลี ซุปเปอร์มาร์เก็ตยังไม่สามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดได้ คาดว่าผู้ค้าดอกไม้และตลาดแผงลอยริมทางยังคงเป็นจุดขายที่สำคัญในตลาด
กลุ่มผู้ค้าส่งในอิตาลีเริ่มมีจำนวนลดลง แต่ผู้ค้าส่งรายใหญ่กลับเพิ่มขนาดและผลักดันให้ผู้ค้าส่งรายเล็กต้องออกไปจากตลาด ทั้งนี้ผู้ค้าส่งรายใหญ่ของอิตาลีนำเข้าสินค้าจากเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นผู้ส่งออกที่สามารถส่งสินค้าที่หลากหลายและส่งมอบได้รวดเร็ว
แม้ว่าจะไม่สามารถระบุตัวเลขได้แต่อาจกล่าวได้ว่าดอกไม้จากเขตร้อนส่วนใหญ่จะขายผ่านคนจัดดอกไม้ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าปลีกอื่นๆ เช่น Do - It - Yourself
5. โครงสร้างราคา
ช่องทางการจำหน่ายแต่ละช่องทางจะมีราคาและผลกำไรที่แตกต่างกัน โครงสร้างราคาขึ้นอยู่กับลักษณะของช่องทางการกระจายสินค้าและบทบาทของผู้เล่นในแต่ละราย ผลกำไร(margin) ของผู้ค้าส่งจะอยู่ในช่วง 25% -50% ส่วนผลกำไรของผู้ค้าปลีกจะสูงกว่าอยู่ที่ประมาณ 50%-150% ซุปเปอร์มาร์เก็ตมีแนวโน้มที่จะมีผลกำไรต่ำกว่าร้านค้าดอกไม้
ราคาดอกไม้ที่ตลาดซานเรโมใกล้เคียงกับราคาในตลาดประมูลดอกไม้ที่เนเธอร์แลนด์ ดังนั้นราคาของดอกไม้ที่นำเข้าจากเนเธอร์แลนด์จะแพงกว่านิดหน่อย (เนื่องจากต้องบวกค่าขนส่งอีกประมาณ 15-20% จากราคาดอกไม้จากเนเธอร์แลนด์)
โครงสร้างราคาและผลกำไรของธุรกิจดอกไม้เขตร้อนจะใกล้เคียงกับไม้ตัดดอกอื่นๆ ผู้นำเข้ามักจะได้รับคอมมิชชั่นในราคาคงที่ (ส่วนใหญ่กำหนดโดยผู้นำเข้า) ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 5-25% ของราคายอดขายซึ่งขึ้นกับประเทศ กลุ่มตลาด การขนส่งที่ต้องการและตัวสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายจากการประมูลอยู่ที่ระหว่าง 10-12% สำหรับสินค้าปริมาณมากหรือมูลค่าสูง และสูงกว่า 20% สำหรับสินค้าปริมาณไม่มากหรือมีมูลค่าต่ำ โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายของการประมูลจะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศ
เนื่องจากมีการพัฒนารูปแบบชนิดพันธุ์ ความยาวและคุณภาพของดอกไม้เขตร้อนหลากหลายมากทำให้ไม่สามารถประเมินข้อมูลราคาได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้เทศกาลวันหยุดพิเศษ ฤดูกาลและความผันผวนของคุณภาพและอุปทาน เนื่องจากระดับราคาจะขึ้น อยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ภูมิอากาศ ที่เปลี่ยนแปลง โดยจะมีราคาต่ำสุดในช่วงฤดูร้อนและสูงสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมและในช่วงวันพิเศษเช่น วาเลนไทน์และวันแม่ แม้ว่าดอกไม้เขตร้อนเช่น ดอก ก้ามกุ้งและปักษาสวรรค์จะครองตลาดส่วนใหญ่แต่ก็ ขยายตัวในตลาดจาเพาะเท่านั้น ทั้งนี้ตลาดสินค้า ดอกไม้เขตร้อนเป็นตลาดของผู้ซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าจากละตินอเมริกาที่มีราคาต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้มีความต้องการซื้อตราบเท่าที่ผู้ผลิตในประเทศเหล่านั้นยังเพิ่มปริมาณการผลิตได้
ราคาดอกกล้วยไม้ที่สั่งซื้อโดยตรงจากไทยเฉลี่ยก้านละ 1.50 ยูโร ในขณะที่ราคาดอกกล้วยไม้ไทยที่สั่งซื้อผ่านเนเธอร์แลนด์เฉลี่ยก้านละ 2.50 ยูโร ทั้งนี้ราคาขายปลีกของกล้วยไม้ไทยในอิตาลีตกอยู่ประมาณ 7-15 ยูโรต่อช่อ (ขึ้นอยู่กับความหลากหลาย จำนวนก้านและจำนวนดอกในแต่ละก้าน)
6. กฎระเบียบและเงื่อนไขการนำเข้า
เป็นไปตามระเบียบของสหภาพยุโรป EU Regulation 407/2009 และ CITES Convention of Washington
ขั้นตอนการนำเข้า
7.1 ผู้ส่งออกไทยจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้ออกไปนอกราชอาณาจักรกับกรมวิชาการเกษตร
7.2 ผู้นำเข้าต้องจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้ากล้วยไม้ (RUB- Regiotro Ufficale Producttori) กับสำนักงาน Phytosanitaryในแคว้นนั้นๆ ด้วย (ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนประมาณ 50 ยูโร บวกค่าภาษีรายปีอีกราว 50 ยูโร)
7.3 แนบใบแจ้งหนี้ (invoice) ที่แสดงรายละเอียดของสินค้าทั้งด้านปริมาณและมูลค่า
7.4 แนบใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) ที่ออกโดยหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจจากไทย (กรมวิชาการเกษตร)
7.5 กรณีเป็นประเภท/สายพันธุ์ที่ CITES ระบุไว้ในรายชื่อพันธุ์พืชที่ได้รับการคุ้มครอง จะต้องแนบใบรับรอง CITES ที่ออกโดยหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจของไทย และใบอนุญาตนำเข้าที่ออกโดยกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจอิตาลี (Italian Ministry of Economic Development) ซึ่งได้รับมอบอำนาจจาก CITEX, Italian Ministry of Environment (ตาม Annex 2 (B)
7.6 เมื่อสินค้ามาถึงอิตาลี จะถูกตรวจสอบ ณ ด่านศุลกากรโดยเจ้าหน้าที่ Phytosanitary Veterinary หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสินค้าจะได้รับการตรวจปล่อย ทั้งนี้กระบวนการตรวจสอบจะใช้เวลา 1 วัน
8. ภาษีที่เกี่ยวข้อง
8.1 ภาษีนำเข้า =8.5% และ 5% (กรณีมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิด Form A)
8.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) = 10%
9. โอกาส (Opportunity)
9.1 มีการเปลี่ยนแปลงการเพิ่มมูลค่าสินค้า เช่นการจัดช่อการหุ้มดอกไม้และการติดฉลาก จากผู้ค้าส่งไปสู่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกในประเทศ กำลังพัฒนาแทน
9.2 โอกาสในการส่งออกไปประเทศแถบยุโรปใต้ยังมีสูง เช่น อิตาลี สเปน เนื่องจากเป็นประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่เอื้อต่อการขนส่งสินค้าดอกไม้เขตร้อนมากกว่า
9.3 ในด้านดอกกล้วยไม้ มีโอกาสอย่างมากในการส่งออกไปอิตาลี จากการสอบถามผู้นำเข้าแจ้งว่า กล้วยไม้ไทยมีคุณภาพดีและมีอายุใช้งานนาน และมีความหลากหลายทำให้สามารถนำไปจัดช่อได้ดีขึ้นซึ่งเหมาะกับลูกค้าระดับกลาง-สูง กล้วยไม้ไทยเป็นที่ชื่นชอบของคนอิตาลีโดยนิยมนำไปใช้ในโอกาสพิเศษ แช่น ตกแต่งโบสถ์ และงานแต่งงาน เป็นต้น
9.4 นอกจากกล้วยไม้ไทยแล้วสินค้าใบไม้และของที่ใช้ประดับแต่งช่อมีแนวโน้มที่ดีเช่นกัน
10. ปัญหาอุปสรรค (Threats)
10.1 มีการใช้วิธีการซื้อสินค้าแบบดั้งเดิมมากขึ้น เนื่องจากการซื้อด้วยวิธีประมูลต้องการสินค้าที่มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือได้และคงที่
10.2 ซุปเปอร์มาร์เก็ตและห่วงโซ่ต่างๆ ต้องการซัพพลายเออร์และสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เช่น Globalgap, FLO, MPS เพิ่มมากขึ้น
10.3 ดอกไม้เขตร้อน (Tropical Flowers) มีความอ่อนไหวที่จะได้รับความเสียหายจากความเย็นค่อนข้างมาก และต้องมีการส่งมอบสินค้าด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสมในแต่ละห่วงโซ่
10.4 ปัญหาในการขนส่งดอกไม้ในอิตาลีสำหรับร้านค้าที่อยู่ห่างไกลสนามบิน ซึ่งอิตาลียังไม่มีการบริหารจัดการด้านรถบรรทุกที่ใช้ขนส่งที่มีระบบการปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพและความสดของดอกไม้ ในขณะที่การขนส่งจากเนเธอร์แลนด์โดยรถบรรทุกที่มีระบบการปรับอุณหภูมิจะสะดวกกว่า
10.5 ผู้นาเข้าอิตาลีส่วนใหญ่เป็นผู้นำเข้ารายย่อยที่มีปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้งไม่มากและไม่มีความสามารถในการชำระเงินสำหรับการสั่งซื้อ lot ใหญ่ๆ ได้ปัญหาด้านการผลิต มีการพบเพลี้ยไฟในกล้วยไม้ตัดดอกที่ส่งออกมาอิตาลี และปัญหาคุณภาพผลผลิตไม่สม่ำเสมอรวมถึงยังไม่มีการพัฒนาพันธุ์ไม้ใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
10.6 มีผู้นำเข้าจำนวนหนึ่งสั่งกล้วยไม้และมีเจตนาที่จะไม่ชำระเงินค่าสินค้า ทั้งนี้มีพฤติกรรมที่ผิดปรกติในการนำเข้าสินค้า เช่น นำเข้าจำนวนมากเกินความต้องการของตลาด โดยในระยะแรกที่เริ่มสั่งกล้วยไม้จะมีการชำระเงินตรงแวลาเพื่อให้ผู้ส่งออกเชื่อถือ แต่ต่อมา 6 เดือนให้หลังก็จะเริ่มไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ตรงเวลา ในขณะเดียวกันจะสั่งซื้อปริมาณเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำเข้ารายใหม่หรือเคยทำงานอยู่กับผู้นำเข้ารายเดิมและก่อตั้งบริษัทนำเข้าในรูปแบบเฉพาะกิจและจะเลิกกิจการหรือเงียบหายไปในที่สุด ทั้งนี้เมื่อได้รับกล้วยไม้มาแล้วจะนำมาจำหน่ายในราคาต่ำ เนื่องจากไม่ต้องชำระเงินค่ากล้วยไม้
10.7 ปัญหาด้านต้นทุนโลจิสติกส์ สายการบินไทยทาการบินโดยตรงจากกรุงเทพฯ ไปอิตาลี อาทิตย์ละ 4 เที่ยว (ไปกรุงโรม) และอาทิตย์ละ 3 เที่ยว (ไปมิลาน) ทั้งนี้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ จากไทยมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง (ราคาประมาณ 50% ของราคาสินค้า - รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและบรรจุภัณฑ์แล้ว) เนื่องจากการขนส่งกล้วยไม้จากไทยมาอิตาลีจะต้องใช้การขนส่งทางเครื่องบินและต้องมีการเก็บรักษาแบบพิเศษในอุณหภูมิที่เหมาะสม หรือการขนส่งผ่านเนเธอร์แลนด์โดยรถบรรทุก ซึ่งสร้างให้เกิดระบบการกระจายสินค้าที่ยาวนานขึ้นไปพร้อมๆ กับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้วย อนึ่งผู้นำเข้าแจ้งว่าค่าภาษีสนามบินในอิตาลีมีอัตราสูงกว่าในเนเธอร์แลนด์ด้วย
10.8 ขาดการทำตลาดเชิงรุก เช่นการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติในต่างประเทศ การจัดคณะผู้แทนการค้า การประชาสัมพันธ์ในตลาดอิตาลีอย่างต่อเนื่องทุกปี ฯลฯ
11. แนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์
ดังที่ได้กล่าวข้างต้น การขนส่งดอกกล้วยไม้จำเป็นต้องใช้วิธีการขนส่งที่เป็นวิธีพิเศษและส่งผลต่อดอกไม้น้อยที่สุด อย่างไรก็ดี การขนส่งดอกกล้วยไม้มายังอิตาลีมี 2 ทางคือ การขนส่งโดยตรงทางเครื่องบิน (ซึ่งได้กล่าวถึงปัญหาแล้วในข้อ 10.7) และการขนส่งผ่านรถบรรทุกมาจาก เนเธอร์แลนด์ ซึ่งทา ให้ราคาดอกกล้วยไม้ของไทยสูงกว่าราคาประมูลในเนเธอร์แลนด์ประมาณ 20-30% แต่อย่างไรก็ดีการขนส่งทั้งสองทางทำให้ราคาดอกกล้วยไม้ในอิตาลีมีราคาพอๆ กัน เนื่องจากการขนส่งทางเครื่องบินโดยตรงเป็นการขนส่งสินค้าจำนวนไม่มากนักซึ่งส่งผลต่อราคาสินค้าให้สูงขึ้นอยู่ดี
12. แนวทางการเจาะตลาดและขยายการส่งออกกล้วยไม้ไทยในอิตาลี
ผู้นำเข้าในยุโรปพบว่าผู้นำเข้ามักจะเลือกซัพพลายเออร์โดยพิจารณาจาก คุณภาพของสินค้า ราคาทักษะในการสื่อสาร บรรจุภัณฑ์ มีสินค้าและส่งมอบสินค้าได้อย่างสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ดีแนวทางการเจาะตลาดกล้วยไม้ไทยในอิตาลีสามารถดำเนินการได้ดังนี้
12.1 พัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ใหม่ๆ มานำเสนอให้แก่ผู้นำเข้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้แก่ผู้นำเข้าอย่างสม่ำเสมอ
12.2 ลดต้นทุนโลจิสติกส์ในการขนส่งดอกกล้วยไม้ไทยมายังอิตาลีอาจใช้วิธีมีตัวกลางในการรวบรวมสินค้าให้ได้จำนวนมากพอเพื่อลดค่าขนส่งมายังอิตาลี
12.3 ดำเนินการด้านการตลาดเชิงรุก เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติในอิตาลี เช่น งาน Flomart, งาน Euroflora เป็นต้น รวมถึงการจัดคณะผู้แทนการค้าเดินทางมาพบผู้นำเข้าในอิตาลีเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและตรวจสอบสถานะผู้นำเข้า
12.4 จัดประชาสัมพันธ์สินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้นำเข้า/ผู้ค้าส่ง/ผู้ค้าปลีกในตลาดได้รับข้อมูลดอกกล้วยไม้ไทยอย่างถูกต้อง และสร้างภาพลักษณ์ว่าไทยเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้อันดับหนึ่งของโลก
12.5 จัดงานแสดงสินค้าดอกไม้ระดับนานาชาติในไทย เพื่อเชิญชวนให้ผู้นำเข้าเดินทางไปเยี่ยมชมงานและเจรจาการค้ากับผู้ส่งออกของไทย พร้อมทั้งเยี่ยมชมสวนดอกกล้วยไม้ และกระบวนการผลิต
13. สมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง
13.1 FEDERFIORI (Federazione Nazionale Fioristi) — http://www.federfiori.it - National Federation of florists
13.2 ANCEF (Associazione Nationale Commercianti Exportatori Fiori) - http://www.ancef.it -National association of floral traders and exporters in Italy
13.3 San Remo Flower market - http://www.sanremoflowermarket.it/ - Leading flower market in Italy
13.4 Assofioristi - http://www.assofioristi.it — Association of florists
13.5 ONCFV - http://www.pianteefioriditalia.it - National Liaison Body for Floriculture and Ornamental Horticulture
14. งานแสดงสินค้าไม้ตัดดอก
14.1 Flormart/Miflor - http://www.padovafiere.it จัดในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี (ครั้งล่าสุด 9-11 กันยายน 2010)
14.2 Euroflora - http://www.fiera.ge.it/euroflora (ครั้งต่อไป 21 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2011)
14.3 Ortogiardino - http://www.fierapordenone.it/orto/index.html จัดในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี (ครั้งล่าสุด 6-14 มีนาคม 2010)
15. นิตยสารเกี่ยวกับไม้ตัดดอก
15.1 Mercato Informa - http://www.sanremoflowermarket.it เป็นนิตยสารที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตและการค้าดอกไม้ในซานเรโม (เป็นภาษาอิตาเลี่ยน)
15.2 Flortecnica - http://www.flortecnica.it/ - ข้อมูลเกี่ยวกับพืชสวน
15.3 Il Fiorista - http:// www.federfiori.it นิตยสารสำหรับผู้ขายดอกไม้ในอิตาลี
15.4 Green Up - http://www.greenup.it นิตยสารด้านการค้าดอกไม้
15.5 Linea Verde - http://www.linea-verde.net - นิตยสารสำหรับผู้ผลิตพืชสวน
15.6 Giardini - http://www.giardini.biz - นิตยสารเกี่ยวกับพืชสวน
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th