กล้วยไม้นับเป็นสินค้าที่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งได้รับความนิยมจากชาวแคนาดาเป็นอย่างมาก และมักจะมอบให้เป็นของขวัญตามเทศกาลต่างๆ ปัจจุบันชาวแคนาดานิยมปลูกกล้วยหม้ในห้องเรืองกระจกแสง และยังนำเข้ากล้วยไม้ประเภทต่างๆ จากทั่วโลก น.ส.ศิริรัตน์ วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์ เผยว่า ชาวแคนนาดานิยมกล้วยไม้เป็นอย่างมาก โดยจะนำมาเป็นของขวัญมอบให้ในวันเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น โดยในปีหนึ่งๆ แคนาดานำเข้ากล้วยไม้จากต่างประเทศแบบตัดดอกถึง 2.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ช่วงดือน ม.ค.-ก.ย. 53) ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.62 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 52 ในปัจจุบันผู้นำเข้าแคนาดาจะนำเข้ากล้วยไม้ไทยเป็นอันดับ 2 เฉพาะในลักษณะไม้ตัดดอก เนื่องจากข้อปฏิบัติด้าน Phytosanitary ที่ห้ามไม่ให้มีดินหรือแมลงติดมากับกล้วยไม้ โดยในช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค. 53) มูลค่าการส่งออกกล้วยไม้จากไทยไปแคนาดาอยู่ที่ 0.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
“แม้การนำเข้ากล้วยไม้ไทยจะติดอันดับหนึ่งในสองของแคนาดาก็ตาม แต่ยังติดที่ค่าขนส่งที่มีราคาสูง และทางแคนาดาเองสามารถที่จะปลูกกล้วยไม้ในเรือนกระจกเองได้ ทำให้กล้วยไม้ไทยที่จำหน่ายที่แคนาดามีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่ากล้วยไม้ที่ปลูกได้เองในประเทศ และผู้ประกอบการไทยเองมีเพียงร้อยละ 2-3 เท่านั้นที่ได้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) แต่ในเรื่องนี้ทางกรมส่งเสริมการส่งออกได้รับแจ้งจากทางอัครราชทูต (ฝ่ายการเกษตร) ประจำกรุงวอชิงตันดี.ซี.ว่าในปัจจุบันประเทศไทยได้จัดให้การผลิตกล้วยไม้เป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งทางกระเกษตรฯ ว่าได้ร่วมมือกับสมาคมผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทยได้พยายามที่จะผลักดันให้การเพาะปลูกกล้วยไม้ไทยเข้าสู่ระบบ GAP ให้มากที่สุด เพื่อสร้างมตราฐานสูงสุดสำหรับการเพาะปลูก และเพื่อประโยชน์ในการขยายตลาดต่อไป” น.ส.ศิริรัตน์ กล่าวเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ทางกรมส่งเสริมการส่งออกมีโครงการที่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กล้วยไม้ไทยสายพันธุ์ใหม่ๆ ให้ชาวแคนาดารู้จักในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตกล้วยไม้ที่มีชื่อเสียง นอกเหนือจากกล้วยหม้ตัดดอกที่พบเห็นเพียงไม่กี่ชนิดในท้องตลาดต่อไป
ที่มา: http://www.depthai.go.th