สื่อมวลชนสหรัฐอเมริกาเตือนผู้บริโภคระมัดระวังการบริโภคปลาทูน่ากระป๋อง

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 9, 2010 10:38 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ปลาทูน่ากระป๋องจัดเป็นปลายอดนิยม และบริโภคสูงในสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 2 รองจากกุ้ง สหรัฐฯ บริโภคปลาทูน่ากระป๋องมากที่สุดในโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของผลผลิตรวมของโลก หรือ ประมาณ 1,000 ล้านปอนด์ต่อปี หรือคิดเป็นการบริโภคปลาทูน่ากระป๋องโดยเฉลี่ย 2.7 ปอนด์ (1.27 กิโลกรัม) ต่อคนในปี 2551

นิตยสาร Consumer Report Magazine: www.consumerreport.org จัดพิมพ์และจำหน่ายในสหรัฐฯ ฉบับประเดือนมกราคม 2554 รายงานว่า จากการทดสอบ โดยห้องทดลองเอกชน ซึ่งได้ข้อมูลการสุ่มตัวอย่างสินค้าปลาทูน่ากระป๋องและปลาทูน่าใส่ซองที่จำหน่ายในเขตนครนิวยอร์ก (ไม่ระบุแบรนด์) และพบว่า White Tuna (Albacore) มีสารตะกั่ว (Mercury) อยู่ในช่วงระหว่าง 0.217 — 0.775 ppm หรือมีระดับสารตะกั่วตกค้างค่อนข้างสูง ในขณะที่ Light Tuna (Skipjack) มีระดับสารตะกั่วตกค้างต่ำกว่า หรือ 0.018 — 0.176 ppm

US FDA สหรัฐฯ ให้คำแนะนำแก่สตรีมีครรภ์และเด็กเล็กว่าควรหลีกเลี่ยงบริโภคปลาที่มีสารตะกั่วตกค้างสูง เช่น mackerel, shark, swordfish และกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสารตะกั่วตกค้างไว้ไม่เกิน1 Part Per Million (ppm) และ US FDA สามารถดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ผลิตให้เรียกเก็บสินค้าออกจากร้านค้าได้

นิตยสารฯ แนะนำให้ผู้บริโภคสตรีมีครรภ์และเด็กเล็กควรระมัดระวังในการบริโภคปลาทูน่ากระป๋อง และควรเลือกปลาทูน่ากระป๋องชนิดที่ มีสารตะกั่วตกค้างระดับต่ำ นิตยสารแจ้งเพิ่มเติมว่า การจัดรายงานนี้ขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อตอกย้ำถึงรายงานของนิตยสารเรื่อง Mercury in Tuna ในปี 2549 ให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงภัยอันตรายของสารตะกั่วตกค้างในปลาทูน่ากระป๋อง

ปัจจุบัน สหรัฐฯ นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องและซอง (Pouch) ในช่วง 9 เดือนแรก (มกราคม-กันยายน) ของปี 2553 เป็นมูลค่า 375.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 45.97 หรือคิดเป็นสัดส่วนตลาดในสหรัฐฯร้อยละ 55 อนึ่ง ปลาทูน่ากระป๋องของในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็น Light Tuna (Skipjack แหล่งนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องของสหรัฐฯ นอกจากประเทศไทย ได้แก่ เอควาดอร์ ฟิจิ และ ฟิลิปปินส์

ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ

สถาบัน National Fish Institute (NFI) ได้ตอบโต้ต่อรายงานดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความกลัวให้แก่ผู้บริโภค แต่กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคบางกลุ่มในสหรัฐฯ เช่น Food Policy Initiatives มีความเห็นสนับสนุน วารสาร Consumer Report Magazine โดยให้ USA FDA ปรับปรุงมาตรฐานระดับปลอดภัยของสารตะกั่วให้ต่ำลง และมีการตรวจสอบสินค้าอาหารทะเล เพื่อให้ข้อมูลสารตะกั่วตกค้างในปลาทะเลที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค

Consumer Report Magazine เป็นนิตยสารที่รายงานและให้ข้อมูลด้านข้อดี/ข้อเสียของสินค้าอุปโภคบริโภคในสหรัฐฯ ที่ผู้บริโภคสหรัฐฯ ให้ความเชื่อถือค่อนข้างมาก ในขณะเดียวกัน ปลาทูน่ากระป๋องเป็นสินค้ารายการสำคัญของไทยในสหรัฐฯ ดังนั้น รายงานดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบต่อการลดบริโภคปลาทูน่ากระป๋องในสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าปลาทูน่าจากประเทศไทยในอนาคต

ภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารทะเลแปรรูปของไทย ควรพิจารณาวาแผนการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและสิ่งพิมพ์ในสหรัฐฯ ให้ผู้บริโภคมีความมั่นในในการบริโภคปลาทูน่ากระป๋องจากประเทศไทยว่ามีคุณค่าและได้มาตรฐานสากล

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ