การค้าระหว่างประเทศ ไทย-แคนาดา มกราคม-ตุลาคม ๒๕๕๓

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 17, 2010 11:25 —กรมส่งเสริมการส่งออก

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ

  • การค้าระหว่างไทย-แคนาดา ในปี ๒๕๕๒ มีมูลค่า ๑,๙๒๗.๑๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งออกมีมูลค่า ๑,๒๕๓.๘๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้า ๖๗๓.๓๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยได้ดุลการค้า ๕๘๐.๔๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • การค้าระหว่างไทย-แคนาดา ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม ๒๕๕๓ มีมูลค่า ๑,๙๐๕.๐๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ๒๐.๖๕% การส่งออกมีมูลค่า ๑,๑๕๖.๗๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น ๐.๗๒% ของการส่งออกรวมของไทย ขยายตัว ๑๒.๐๘% การนำเข้ามีมูลค่า ๗๔๘.๓๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ๓๖.๘๓% ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า ๔๐๘.๓๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ

การส่งออกของไทยไปแคนาดา

  • ระหว่างปี ๒๕๕๐-๒๕๕๒ แคนาดาเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ ๒๘ ของไทย และไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ ๑๗ ของแคนาดา การส่งออกของไทยไปแคนาดามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละร้อยละ ๘ โดยในปี ๒๕๕๑ มีมูลค่าสูงสุดที่ ๑,๔๒๗.๖๘ ล้านเหรียญ เนื่องจากเป็นช่วงที่เศรษฐกิจของแคนาดาขยายตัวอย่างมาก สำหรับปี ๒๕๕๒ การส่งออกลดลงเนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก
  • การส่งออกของไทยไปแคนาดาเฉลี่ยเดือนละประมาณ ๑๑๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปกติระหว่างเดือน สิงหาคม-กันยายน เป็นเดือนที่ไทยส่งออกไปแคนาดามากที่สุด เนื่องจาก เป็นช่วงการสั่งสินค้าสำหรับเทศกาลวันคริสมาสต์ และวันปีใหม่ ที่เป็นช่วงที่ประชาชนจับจ่ายมากที่สุดของแต่ละปีและในเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ไทยส่งออกไปแคนาดาน้อยที่สุด เนื่องจาก ในช่วงนี้ไม่มีเทศกาลวันหยุดสำคัญ ไทยมีการส่งออกมายังแคนาดาเดือน

ต.ค.๕๓ มูลค่า ๑๒๕.๖๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๓.๐๐% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. ๕๓ และเพิ่มขึ้น ๑๖.๒๙% เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค. ๕๒

สินค้าส่งออกของไทยไปแคนาดา

  • โครงสร้างสินค้าส่งออกในช่วง ม.ค.-ก.ย. ๕๓ สินค้าส่งออกของไทยอันดับแรกเป็นกลุ่มสินค้าอาหารร้อยละ ๓๓.๔๑ รองลงมาเป็นกลุ่มสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ ๑๕.๖๔ อันดับสามเป็นกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ยาง ร้อยละ ๘.๓๙ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ ๕.๘๐ สินค้าเสื้อผ้า/สิ่งทอร้อยละ ๔.๖๒ สินค้าอุปกรณ์ก่อสร้างร้อยละ ๓.๙๑ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับร้อยละ ๒.๔๑ สินค้าอุปกรณ์ชิ้นส่วนรถยนต์ ร้อยละ ๒.๘๔ สินค้า
ผลิตภัณฑ์พลาสติก ๐.๘๓% ตามลำดับ

สินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ระหว่าง ม.ค.-ต.ค. ๕๓ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและ แปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ข้าว ยางพารา เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง

สินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในเดือน ต.ค. ๕๓ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา ผลไม้กระป๋องแปรรูป อัญมณีเครื่องประดับ เลนซ์ และเครื่องกีฬา ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป

ในจำนวนสินค้าส่งออก ๑๕ อันดับแรก สินค้าที่มีการส่งออกลดลง ระหว่าง ม.ค.-ต.ค. ๕๓ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และสินค้าอัญมณี เครื่องประดับ โดยสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีปัจจัยลบ เนื่องจากไทยเผชิญคู่แข่ง ตลาดกลางและล่าง (Medium to Low End product) อาทิ จีน บังคลาเทศ อินเดีย เม็กซิโก กัมพูชา เวียดนาม อินโดนิเซีย ที่มีราคาถูกกว่า (Low cost country) สำหรับตลาดบน (Premium Product) อาทิ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน ซึ่งมีแบรนด์สินค้าระดับโลกและมีการวางจำหน่ายผ่านร้านค้าของตนเอง (Outlet Retail) รวมทั้งมีดีไซน์ รูปแบบ สีสรร ลวดลายฝีมือตัดเย็บที่ถูกรสนิยมของชาวแคนาดา

สินค้าอัญมณีเครื่องประดับได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว/ทำให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอยในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย โดยสินค้าอัญมณีเครื่องประดับเป็นสินค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งราคาทองคำและเงินซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสินค้า อัญมณีมีราคาปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาทำให้ต้นทุนสินค้าไทยสูงขึ้นและราคาสินค้าไทยสูงตามไปด้วย

สินค้าที่มีการส่งออกลดลงในเดือน ต.ค. ๕๓ ได้แก่ ยางพารา ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เลนซ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เหล็ก/เหล็กกล้า เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี ไก่แปรรูป ผลไม้แช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

ส่วนแบ่งตลาดในแคนาดา

ในช่วงระหว่างปี ๒๕๕๐-๒๕๕๒ ไทยครองส่วนแบ่งตลาดในแคนาดาเฉลี่ยประมาณ ๐.๕๘% เป็นอันดับที่ ๑๗-๑๘ โดยคู่แข่งขันของไทย ได้แก่ สหรัฐฯครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ ๑ เฉลี่ย ๕๑.๐๒% จีน ๑๐.๗๘% เม็กซิโก ๕.๓๖% ญี่ปุ่น ๓.๓๓% เยอรมันนี ๒.๗๙% เกาหลีใต้ ๑.๔๖% มาเลเซีย ๐.๖๗% สิงค์โปร์ ๐.๓๒% เวียดนาม ๐.๒๓% อินโดนิเซีย ๐.๒๕% ฟิลิปปินส์ ๐.๑๙% ตามลำดับ

ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในแคนาดาในปี ๒๕๕๑ ที่ ๐.๕๗ % เพิ่มขึ้นเป็น ๐.๖๓% ในปี ๒๕๕๒ สำหรับมค-ตค ๕๓ มีส่วนแบ่ง ๐.๕๙% ลดลง จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด ๐.๖๒ % เนื่องจากราคาสินค้าไทยสูงกว่าคู่แข่งขัน (จากค่าเงินไทยที่แข็งค่าขึ้นและต้นทุนการผลิตสินค้าที่สูงขึ้น) รวมทั้งผู้ส่งออกไทยให้ความสำคัญต่อตลาดแคนาดาน้อยกว่าตลาดอื่น โดยมีสาเหตุจากกฎระเบียบนำเข้าที่ซับซ้อนเข้มงวด ตลาดมี ขนาดเล็กและอยู่ห่างไกล

สินค้านำเข้าจากแคนาดา

ไทยนำเข้าสินค้าจากแคนาดา ได้แก่ เยื่อกระดาษ ปุ๋ยโปแตส ทองคำ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช แผงวงจรไฟฟ้า พืชและผลิตภัณฑ์จาก พืช สินแร่โลหะ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้า เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ไทยนำเข้าทองคำเพิ่มขึ้น อย่างมาก

เศรษฐกิจแคนาดา

  • สถานการณ์เศรษฐกิจไตรมาสที่ ๓ แคนาดาเริ่มชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจสหรัฐเหลือ ๑.๐% จากไตรมาสที่ ๒ ที่มีอัตราขยายตัว ๒.๓% และคาดว่าทั้งปี GDP แคนาดาจะอยู่ที่ 2.8-๒.๙% และงบประมาณตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (Stimulus Plan) ของแคนาดาลดลง
  • หน่วยงาน Statistics Canada ได้แถลงข้อมูลเศรษฐกิจ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ดังนี้

๑) Real GDP -๐.๑% (ก.ย. ๒๕๕๓) เทียบกับ ๐.๓% ในเดือน ส.ค. ๕๓

๒) อัตราว่างงาน: ๗.๖% (พ.ย. ๕๓) ลดลง -๐.๓% เทียบกับ ๗.๙% ในเดือน ตค ๕๓

๓) การส่งออกสินค้า: ๓๓,๕๑๔.๔๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +๔.๕๔% (ต.ค. ๕๓) เมื่อเทียบกับ ก.ย. ๕๓

๔) การนำเข้าสินค้า: ๓๕,๒๒๖.๐๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +๑.๖๐% (ต.ค. ๕๓) เมื่อเทียบกับ ก.ย. ๕๓

๕) อัตราเงินเฟ้อ: เพิ่มขึ้น +๐.๓% (ก.ย. ๕๓) เทียบกับ ๐.๒% ในเดือน ส.ค. ๕๓

ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจแคนาดา

  • ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาคธุรกิจบริการ (Service Sector) ภาคการค้าส่ง และการค้าปลีก (Wholesale and Retail Trade) ภาครัฐ (Public Sector)
  • ภาคธุรกิจบริการ เพิ่มขึ้น ๐.๑% ในเดือน ก.ย. ๕๓ ในหมวดการค้าปลีก โรงแรม และ ธุรกิจอาหารและภัตตาคาร การศึกษา (Education) และพยาบาล (Healthcare) เพิ่มขึ้น ๐.๕%
  • ภาคการค้าส่ง/ปลีก เพิ่มขึ้น ๐.๕% ในเดือน ก.ย. ๕๓ โดยในภาคค้าปลีกมีการขยายตัวในเกือบทุกสินค้า และยอดจำหน่ายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าประเภทอุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์แต่งสวน กลับมีอัตรายอดจำหน่ายลดลง เนื่องจากการหดตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ใน
ภาคค้าส่ง มีการขยายตัวเนื่องจากเป็นฤดูกาลการสั่งสต็อกสินค้าเพิ่มเพื่อเตรียมตัวเข้าฤดูเทศกาล คริสต์มาสและปีใหม่ที่เป็นช่วงที่ชาวแคนาดา
จับจ่ายใช้สอยมากที่สุดของปี
  • ปัจจัยอื่นที่สนับสนุนเศรษฐกิจแคนาดา ได้แก่ ภาคการใช้จ่ายของผู้บริโภค (Consumer Spending) ที่เพิ่มขึ้น โดยในไตรมาส ๓ ของปี ๕๓ มีการขยายตัว ๐.๙% และภาคธุรกิจมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ๔.๖% ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มที่สูงสุดตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ รวมทั้งระดับการสต็อกสินค้าของธุรกิจเพิ่มขึ้นจาก ๑๕ พันล้านเหรียญ ไปเป็น ๑๗.๕ พันล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้น ๑๖.๖๖% ระหว่างไตรมาส ๒ และ ๓ ของปี ๕๓

ปัจจัยที่ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจแคนาดา

  • ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ลดลง ได้แก่ ภาคเหมืองแร่ (Mining) พลังงานการขุดเจาะ (Oil and Gas Extraction) และเหมืองแร่โลหะ อาทิ ทองแดง นิกเกิ้ล ตะกั๋ว สังกะสี ภาคการผลิต (Manufacturing) ภาคการเงิน/ประกันภัย (Finance and Insurance)
  • ภาคเหมืองแร่ (Mining) พลังงานการขุดเจาะ (Oil and Gas Extraction) ลดลง ๒.๐% ในเดือน ก.ย. ๕๓ โดยมีสาเหตุจากอากาศที่แปรปรวนไม่เอื้ออำนวยต่อการขุดเจาะ รวมทั้งราคาสินค้าพลังงานที่การผันผวนทำให้ บริษัทส่วนใหญ่ชะลอการตัดสินใจในการ
  • ภาคการผลิต ลดลง ๐.๖% ในเดือน ก.ย. ๕๓ โดยทั้งหมวดสินค้าไม่คงทน (Non-Durable Goods) ลดลง -๐.๔% และหมวดสินค้าคงทน Durable Goods) ลดลง -๐.๘% ในสินค้าหมวด โลหะ เครื่องจักร เฟอร์นิเจอร์ และสินค้าแร่ธาตุที่ไม่ใช่โลหะ Non-Metallic Mineral
  • ภาคการเงิน/ประกันภัย ลดลง ๐.๗% ในเดือน ก.ย.๕๓ หลังจากที่เพิ่ม ๐.๔% ในเดือน ส.ค. ๕๓ โดยอุปสงค์ในด้าน การขอกู้ยืมเงินที่ลดลง การกู้ จำนองเพื่อที่อยู่อาศัย ธุรกรรมที่เกี่ยวกับกองทุน เบี้ยประกันภัยที่ลดลง รวมถึงการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลง
  • ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจแคนาดา ได้แก่ การส่งออกที่ส่งสัญญาณลดลงระหว่างไตรมาสที่ ๓ ของปี ๕๓ ที่มีอัตราลดลง -๔.๓๓% เนื่องจากเงินสกุลดอลล่าร์แคนาดาที่แข็งค่าขึ้น โดยนับตั้งแต่เดือน มีนาคม ๒๕๕๒ ถึง พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ค่าเงินแคนาดาปรับแข็งค่าขึ้น ๒๖%

ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออก

  • อัตราการว่างงานในเดือน พ.ย. ๕๓ ที่ระดับ ๗.๖% มีการปรับในทิศทางที่ดีขึ้นโดย ลดลง ๐.๓% ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. ๒๕๕๒ โดยเป็นงานในภาคบริการ Service Sector, Healthcare และ Social Assistance ที่ขยายตัว ๖.๑% ภาคค้าปลีก/ส่ง ขยายตัว ๒.๒% ภาคการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ +๗.๕% ภาคพลังงานน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ +๗.๙% ในขณะที่ภาคการผลิตลดลง -๒.๖%
  • การคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจ โดยธนาคารแห่งชาติแคนาดา และสถาบันการเงินที่สำคัญของแคนาดา

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โตรอนโต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ