รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าภูมิภาคยุโรป (อิตาลี) ระหว่างวันที่ 16-30 พฤศจิกายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 20, 2010 11:22 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีในช่วง 2 สัปดาห์หลังของเดือนพฤศจิกายน 2553 กระเตื้องขึ้นเล็กน้อย โดยสถาบันศึกษาและวิเคราะห์เศรษฐกิจ (ISAE) ได้รายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2553 ได้เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 โดยเพิ่มจาก 100.1 จุด ในเดือนตุลาคม 2553 เป็น 101.6 จุด สูงสุดนับตั้งแต่มีนาคม 2551

นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจอื่นๆในเดือนพฤศจิกายน 2553 ก็ได้เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ได้แก่ กลุ่มผู้ค้าปลีกและกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 101.7 จุด และ 77.9 จุด จากเดือนตุลาคม 2553 เป็น 102.5 จุด และ 80.4 จุดตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลจากการคาดการณ์ว่าแนวโน้มของยอดจำหน่าย การจ้างงาน และคำสั่งซื้อจะเพิ่มขึ้นในขณะที่สินค้าจากคงคลังจะเพิ่มขึ้น

2. ISAE ได้รายงานผลการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน 2553 ว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนพฤศจิกายน 2553 เพิ่มสูงขึ้นเป็นเดือนที่ 3 และสูงสุดนับตั้งแต่กุมภาพันธ์เป็นต้นมา โดยเพิ่มขึ้นจาก 107.7 จุด ในเดือนตุลาคม 2553 เป็น 108.5 จุด

อย่างไรก็ดี ผลสำรวจความคิดเห็นต่อสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปกลับลดลงจาก 81.3 จุด ในเดือนตุลาคม 2553 เป็น 80.6 จุด และการคาดการณ์ต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคตไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เท่ากับ 97 จุด ในขณะที่การประเมินสถานะส่วนบุคคลและความคิดเห็นต่อสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันปรากฎว่าได้เพิ่มขึ้น จาก 119.3 จุด และ 114.7 จุด เป็น 121.7 จุด และ 115.7 จุด ตามลา ดับ รวมทั้งความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ของการออมที่มีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และความคิดเห็นต่องบประมาณภาคครัวเรือนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

3. ISTAT ได้รายงานว่ายอดขายของอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาส 2 ของปี 2553 เพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ยังคงต่า กว่าระดับก่อนหน้าวิกฤตเศรษฐกิจ และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2553 ยอดขายลดลง 26% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งเป็นปีก่อนหน้าการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ในไตรมาส 2 ของปี 2553 ธุรกรรมของการค้าอสังหาริมทรัพย์ในอิตาลีร้อยละ 93.2 เป็นธุรกรรมเพื่อบ้านพักอาศัย และ 5.9% เป็นธุรกรรมเพื่อการค้า โดยหากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนยอดขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อบ้านพักอาศัยเพิ่มขึ้น 2.6% ในขณะที่ยอดขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าลดลง 4.8%

4. กรรมาธิการยุโรปได้แถลงการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจอิตาลีล่าสุดว่าจะขยายตัวในอัตรา 1.1% ในปี 2553 และปี 2554 และขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1.4% ในปี 2555 โดยมีปัจจัยถ่วงที่ทา ให้เศรษฐกิจไม่สามารถกระเตื้องขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ค่อนข้างรุนแรงได้คือ การมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และการขาดการพัฒนาด้านประสิทธิภาพการผลิตที่เพียงพอ

นอกจากนี้ ยังได้คาดการณ์ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปจะค่อนข้างแกว่งตัว และมีอัตราการขยายตัวต่ำกว่า 2% ในช่วง 3 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ในปี 2553 จะเท่ากับ 1.7% และอ่อนตัวลงในปี 2554 และค่อยๆเพิ่มขึ้นเป็น 1.5-1.8% ในปี 2557 และอัตราการขยายตัวของยุโรป 27 ประเทศ จะเพิ่มขึ้น 2% ในปี 2557โดยประเทศที่จะช่วยให้อัตราการขยายตัวในปี 2554 เพิ่มขึ้น ได้แก่ เยอรมัน และสหราชอาณาจักร ส่วนประเทศที่จะทำให้อัตราการขยายตัวในปี 2554 ลดลง ได้แก่ สเปน ไอร์แลนด์ และกรีซ (ซึ่งคาดว่าจะมี GDP ในปี 2554 ลดลงเหลือ 0.2% และ 4.2% ตามลำดับ)

การขาดดุลงบประมาณของอิตาลี คณะกรรมาธิการยุโรปคาดการณ์ว่าในปี 2553 อิตาลีจะขาดดุล 5% ของ GDP (ปี 2552=5.3% ของ GDP) และลดลงเหลือ 4.3% ของ GDP ในปี 2554 และ3.5% ของ GDP ในปี 2555 ซึ่งไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดของสหภาพยุโรปที่เท่ากับ 3%

สอดคล้องกับการคาดการณ์ของรัฐบาลอิตาลีที่คาดว่าการขาดดุลงบประมาณในปี 2553 เท่ากับ 5% ของ GDP, 3.9% ของ GDP ในปี 2554 และ 2.7% ของ GDP ในปี 2555 หนี้สาธารณะของอิตาลี คณะกรรมาธิการยุโรปคาดการณ์ว่า

หนี้สาธารณะของอิตาลีจะเท่ากับ 118.9% ของ GDP ในปี 2553 ,120.2% ของ GDP ในปี 2554 และ 119.9% ของ GDP ในปี 2555 (รัฐบาลอิตาลีได้คาดการณ์ว่าหนี้สาธารณะในปี 2555 จะเท่ากับ 117.5% ของ GDP)

5. สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Moody’s) ได้รายงานผลการจัดอันดับว่าอิตาลียังคงอยู่ที่ระดับ Aa2 (อยู่ในระดับนี้ตั้งแต่ปี 2545) และเห็นว่าอิตาลียังคงมีสถานะที่มั่นคง (Stable) แม้ว่าจะมีหนี้สาธารณะสูงและมีการขาดดุลงบประมาณในปี 2552 ถึง 5.3% ของ GDP ก็ตาม อิตาลียังคงมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า ประเทศยุโรปอื่น เช่น โปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีซ และ สเปน

ทั้งนี้ มูดีส์ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าหากอิตาลีต้องการให้ประเทศอยู่ในอันดับที่ดีขึ้น ดัชนีอิตาลีจะต้องลดหนี้สาธารณะที่มีมูลค่ากว่า 1.8 ล้านล้านยูโร (Trillion EUROS) โดยการจัดทำงบประมาณเกินดุลขนานใหญ่ให้ได้ ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากอิตาลีเป็นประเทศเดียวที่ได้ผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังสงครามโลกโดยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เชื่องช้า โดยในปี 2552 มี GDP เพียง 5.2% และเกิดขาดดุลงบประมาณเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2543

อย่างไรก็ดี มูดีส์เห็นว่าอิตาลีมีการบริการจัดการด้านงบประมาณที่ดีขึ้นและคาดว่าในปี 2553 อิตาลีจะมี GDP เท่ากับ 1% และ 1.5% ในปี 2554

6. ISTAT ได้รายงานว่าอัตราการว่างงานของอิตาลีในเดือนตุลาคม 2553 เพิ่มขึ้น 8.6% (เดือนกันยายน 2553 =8.3%) สูงสุดนับแต่ปี 2551 โดยมีจำนวนคนที่อยู่ระหว่างการหางานทำถึง 2,167 ล้านคน (แยกเป็นอัตราการว่างงานในผู้ชายเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ที่เท่ากับ 7.3% เป็น 7.7% และในผู้หญิงเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ที่เท่ากับ 9.7% เป็น 10%)

ส่วนอัตราการจ้างงานในเดือนตุลาคม 2553 เท่ากับ 57% (เท่ากับเดือน กย. 53 แต่น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2552 0.1%) โดยมีจำนวนคนทำงาน 22.89 ล้านคน

7. ISTAT ได้รายงานว่าในเดือนตุลาคม 2553 การส่งออกของอิตาลีไปประเทศนอกสหภาพยุโรป มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 21.9% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 32% ทำให้อิตาลีขาดดุลการค้าราว 1 พันล้านยูโร (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนที่อิตาลีได้ดุลการค้า 76 พันล้านยูโร)

ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 อิตาลีส่งออกไปประเทศนอกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 15.9% ในขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้น 27.1% ทำให้ขาดดุลการค้าสะสมถึง 16,953 พันล้านยูโร คิดเป็นเกือบ 4 เท่าของการขาดดุลการค้าในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดดุล 4,383 พันล้านยูโร (ทั้งนี้หากไม่รวมการนำเข้าด้านพลังงานอิตาลีกลับได้ดุลการค้า 24.154 พันล้านยูโร ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ได้ดุลการค้า 29.961 พันล้านยูโร)

8. ISTAT ได้รายงานว่าในไตรมาส 3 ของปี 2553 อิตาลีมีต้นทุนด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (เพิ่มขึ้น 2.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน)โดยแยกเป็นต้นทุนด้านแรงงานเพิ่มขึ้น 0.1% ต้นทุนด้านค่าขนส่ง/ค่าเช่าเพิ่มขึ้น 0.8% ในขณะที่ต้นทุนด้านวัสดุก่อสร้างลดลง 0.3%

หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต้นทุนด้านแรงงานเพิ่มขึ้น 2.8% ต้นทุนด้านค่าขนส่ง/ค่าเช่าเพิ่มขึ้น 3.1% และต้นทุนด้านวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.7%

9. ธนาคารโลกได้รายงานว่าภาระภาษีในการดาเนินธุรกิจในอิตาลีสูงที่สุดในสหภาพยุโรป โดยมีอัตราภาษีทุกประเภทรวมแล้วประมาณ 68.6% (ภาษีนำเข้า ภาษีท้องถิ่น และภาษีด้านประกันสังคม) ซึ่งมากกว่าอัตราเฉลี่ยของสหภาพยุโรปที่เท่ากับ 44.2% และอัตราเฉลี่ยทั่วโลกที่เท่ากับ 47.8% รวมทั้งยังมีค่าใช้จ่ายด้านแรงงานที่ค่อนข้างหนักอีกด้วย

10. สมาคมผู้ค้าปลีกแห่งอิตาลี (Confcommercio)ได้รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภค ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของคนอิตาลีว่าคนอิตาลีร้อยละ 90 จะซื้อของขวัญในเทศกาลคริสต์มาสอย่างน้อย 1 อย่าง ซึ่งต้องเป็นสินค้าที่ได้ประโยชน์คุ้มค่า เช่น อาหาร เสื้อผ้า แม้ว่าประชาชนจะยังคงไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจก็ตาม โดยร้อยละ 66.2 จะให้ของขวัญเป็นขนมเทศกาล ช๊อคโกแลตและอาหารอื่นๆ และร้อยละ 62.3 ตั้งใจจะให้ของขวัญเป็นเสื้อผ้าเนื่องจากจะมีการจัดเทศกาลลดราคาสินค้าประเภทเสื้อผ้าให้เร็วขึ้นกว่าปีก่อนๆ คนอิตาลีร้อยละ 89.2 จะให้ของขวัญแก่ญาติพี่น้อง ร้อยละ 63.2 จะให้ของขวัญแก่เพื่อน ร้อยละ 66.3 จะซื้อของขวัญให้ตัวเอง และร้อยละ 9.4 แจ้งว่าจะไม่ซื้อของขวัญในเทศกาลคริสต์มาสนี้ (ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 แจ้งว่าไม่มีเงินพอที่จะซื้อ)

สินค้าที่คาดว่าจะขายดีได้แก่ สินค้าประเภทไฮเทคโนโลยี (เช่นโทรศัพท์มือถือ) หนังสือ ของเล่นและไวน์

นอกจากนี้ สมาคมผู้บริโภค Federconsumatori ได้เปิดเผยว่าภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีขึ้นจากปีก่อน ทำให้คาดว่าการใช้จ่ายของประชาชนอิตาลีในช่วงเทศกาลคริสต์มาสปีนี้จะลดลง 11% จากปีก่อน และลดลงถึง 29% จากปี 2551 โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่ายต่อครอบครัวราว 229 ยูโร (ปี 2552 มีมูลค่าใช้จ่ายประมาณ 258 ยูโรต่อครอบครัว)

11. รัฐบาลอิตาลีได้ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า 80 พันล้านยูโร ในทางตอนใต้ของอิตาลี (Plan for the South) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตให้แก่ธุรกิจต่างๆ และเพิ่มรายได้ให้แก่ประชากรที่ยังยากจนที่มีอยู่กว่าครึ่งประเทศในทางตอนใต้

แผนการลงทุนดังกล่าว ได้แก่ การสร้างสาธารณูปโภคใหม่ๆ การก่อสร้างทางรถไฟและโรงเรียนการงดเว้นการเก็บภาษีให้แก่บริษัทที่ไปลงทุนทำธุรกิจในทางตอนใต้ของประเทศ และการจัดตั้งธนาคาร Banca del Mezzogiorno เป็นต้น

12. นายกรัฐมนตรีเบอร์ลุสโคนีได้กล่าวในการประชุม “Regional Integrations, Infrastructure and Development and the Private Section” ว่าสหภาพยุโรปจำเป็นต้องไปลงทุนในอาฟริกาโดยเลือกลงทุนในโครงการที่จำเป็นและมีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะโครงการลงทุนในด้านสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศของอาฟริกา เช่น ด้านการขนส่ง ด้านพลังงาน และน้ำ

นอกจากนี้ นาย Paolo Scaroni, CEO ขององค์กรพลังงานแห่งอิตาลี (ENI)ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติ่มว่าปัจจุบันร้อยละ 52 ของผลผลิตน้ำมันของ ENI มาจากอาฟริกาหรือคิดเป็น 1.769 พันล้านบาร์เรลต่อวัน โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการผลิตน้ำมันได้เพิ่มขึ้นเท่าตัว และคาดว่าจนถึงปี 2556 จะเพิ่มขึ้นปีละ 2.5 % รวมทั้งมีแผนการลงทุนระยะ 4 ปี มูลค่า 53 พันล้านยูโร ซึ่งในจำนวนนี้ 14.4 พันล้านยูโรจะเป็นการลงทุนในอาฟริกา โดยเฉพาะประเทศที่มีศักยภาพด้านน้า มัน เช่น โตโก โมแซมบิก และมาลี

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ