กฏระเบียบและสาขาการลงทุนในโครเอเชีย

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 20, 2010 14:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ความเป็นไปได้ในการลงทุน

การถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สินในโครเอเชีย สามารถทำได้ง่ายที่สุดโดยการจดทะเบียนบริษัทและทำธุรกรรมในนามของบริษัทนั้นๆ เพราะตามกฏหมาย บริษัทที่ก่อตั้งโดยนักลงทุนต่างชาติ มีสิทธิเท่าเทียมกับบริษัทท้องถิ่น รูปแบบการจัดตั้งบริษัทที่สำคัญที่สุดคือ Shareholding และ limited liability

การลงทุนได้รับการสนับสนุนทางด้านภาษีเป็นเวลา 10 ปี

  • ร้อยละ 50 เมื่อเงินลงทุนอย่างน้อย 1.5 ล้านยูโร และบริษัทสาขาจำนวน 10 แห่ง
  • ร้อยละ 65 เมื่อเงินลงทุนระหว่าง 1.5 และ 4 ล้านยูโร และบริษัทสาขาจำนวน 30 แห่ง
  • ร้อยละ 85 เมื่อเงินลงทุนระหว่าง 4 — 8 ล้านยูโร และบริษัทสาขาจำนวน แห่ง 50 แห่ง
  • 100 เปอร์เซนต์ เมื่อเงินลงทุนมากกว่า 8 ล้านยูโร และบริษัทสาขาจำนวน 45 แห่ง

การนำเข้าสินค้าหลักจะไม่เสียภาษีศุลกากร

กฏระเบียบทางการค้า

กฏหมายหลักที่สำคัญทางการค้าคือ The Trade Act และ the Customs Code กฏหมายทั้งสองเริ่มใช้ในปี 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับกฏของ WTO ซึ่งโครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกในปี 2543 การนำเข้าใน โครเอเชียทำได้อย่างอิสระ การขออนุญาตการนำเข้าใช้หลักการทั่วๆไปที่ใช้ในกฏการค้าระหว่างประเทศ แต่มีสินค้าที่ต้องได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ (sensible goods) เช่นโลหะล้ำค่า อุปกรณ์/เครื่องมือที่ก่อให้เกิดอันตราย สินค้าเพื่อสุขภาพ และเกี่ยวกับสัตวแพทย์ ซึ่งสินค้าเหล่านี้อาจจะต้องมีใบรับรองคุณภาพจากประเทศผู้นำเข้า

ระบบศุลกากรของโครเอเชียได้ถูกปรับให้ทันสมัยหลังจากเข้าร่วมสมาชิก WTO และภาษีศุลกากรได้ปรับลดลงตามสนธิสัญญา MFN ตามการตกลงกับ WTO อัตราภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 และหลังจากนั้นอีก 5 ปีต่อมา ภาษีศุลกากรของโครเอเชียลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 5 เพื่อคุ้มครองตลาดสินค้าเกษตรภายในประเทศ จึงมีการจำกัดปริมาณการนำเข้าและคิดอัตราภาษีค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

ตามข้อตกลงชั่วคราวระหว่างสหภาพยุโรปและโครเอเชีย ซึ่งได้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2545 สินค้านำเข้าจากโครเอเชียสู่สหภาพยุโรป จึงไม่มีการจำกัดโควต้าและภาษีการนำเข้า ในขณะเดียวกัน โครเอเชียก็ตกลงลดภาษีการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550โครเอเชียยกเลิกภาษีนำเข้าและโควต้า สำหรับสินค้าที่นำเข้าจากสหภาพยุโรปเช่นกัน

ที่มา: www.apiu.hr

สคร. ณ กรุงบูดาเปสต์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ