สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างไทย-สเปน ช่วง ม.ค.-พ.ย. ปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 21, 2010 13:31 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตารางแสดงมูลค่าการค้าไทย-สเปน ช่วง 11 เดือนแรกของปี 2553
                                 พ.ย. 2553                          ม.ค.-พ.ย. 2553
                                         เพิ่ม/ลด (%)                         เพิ่ม/ลด %) จาก
                    มูลค่า Mil. US$)       จากเดือนก่อน      มูลค่า (Mil. US$)    ช่วงเดียวกันปีก่อน
ส่งออก                  103.31             +2.52            1,010.56            +42.40
นำเข้า                   46.42            +32.48              432.55            +21.49
การค้ารวม               149.73            +10.25            1,443.12             +35.4
ดุลการค้า                 56.89            -13.44              578.01            +63.44
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ในเดือนพฤศจิกายน 2553 ไทยกับสเปนมีมูลค่าการค้ารวม 149.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายส่งออกไปสเปน 103.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.52 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีหมวดสินค้าสำคัญที่ปรับตัวเพิ่ม คือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (37.63%) ยางพารา (25.63%) และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (2.74%) แต่ก็มีสินค้าหลักหลายรายการที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-13.72%) กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง (-1.62%) และรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (-23.64%) ขณะที่นำเข้าจากสเปน มูลค่า 46.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.48 ทั้งนี้ ไทยได้ดุลการค้าในเดือนนี้เพิ่มขึ้นอีก 56.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ในช่วง 11 เดือนแรก ปี 2553 ไทย-สเปน มียอดการค้ารวม 1,443.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยไทยมียอดส่งออกมาสเปนรวม 1,010.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.40 ซึ่งสามารถแบ่งโครงสร้างสินค้าส่งออก ได้ดังนี้

ตารางแสดงโครงสร้างสินค้าส่งออกไทยมายังสเปน ช่วง 11 เดือนแรกของปี 2553
ที่             ประเภทสินค้า                  มูลค่า (Mil. UD)        สัดส่วน (%)       เปลี่ยนแปลง (%)
1 เกษตรกรรมกสิกรรม+ปศุสัตว์+ประมง)                 201.6                19.9              +58.56
2 อุตสาหกรรมการเกษตร                             85.3                8.44              +40.68
3 อุตสาหกรรม                                    723.6               71.61              +38.70
                                    รวม      1,010.6               100.0              +42.40
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

เมื่อเทียบกับช่วง 11 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา พบว่าประเภทสินค้าเกษตรกรรม มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 58.56 และสามารถเพิ่มสัดส่วนมาอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 20 อันเนื่องมาจากมีความต้องการยางพาราเพิ่มสูงมาก เช่นเดียวกับความต้องการบริโภคสินค้ากุ้งแช่สด/แช่แข็ง ขณะเดียวกัน ประเภทสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัวได้ดีร้อยละ 40.68 โดยเฉพาะจากสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ที่เติบโตสูงมาก โดยมีสัดส่วนรวมร้อยละ 8.44 ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมมีสัดส่วนรวมที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 71.61 แต่ก็ยังสามารถเติบโตได้ดีร้อยละ 38.70

ในรอบ 11 เดือน หมวดสินค้าส่งออกไทยใน 10 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกของไทยถึงร้อยละ 68.19 ล้วนมีอัตราการขยายตัวในอัตราสูงทั้งสิ้น (ดูรายละเอียดในตารางข้างล่าง) ขณะเดียวกันนำเข้าจากสเปนเป็นมูลค่า 432.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.49 ทำให้ไทยได้ดุลการค้าจากสเปนสะสมในปีนี้แล้ว จำนวน 578.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.44 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยมายังสเปน 10 อันดับแรก ช่วง 11 เดือนแรกของปี 2553
  ที่                สินค้า                    มูลค่า Mil. USD)         สัดส่วน (%)       เปลี่ยนแปลง (%)
 1 เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                 154.5                15.28            +15.05
 2 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                    129.5                12.81            +92.67
 3 ยางพารา                                      115.4                11.42            +183.8
 4 กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง                               57.8                 5.72            +62.91
 5 รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ                      57.3                 5.67           +277.03
 6 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                       48.1                 4.76           +113.75
 7 ผลิตภัณฑ์ยาง                                     35.8                 3.54            +32.32
 8 เลนส์                                          32.9                 3.26            +24.28
 9 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                  29.1                 2.88             +9.23
10 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ                    28.8                 2.85           +102.43
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

จากโครงสร้างสินค้าส่งออกของไทย พบว่าสินค้า 5 อันดับแรก มีสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 50 ของยอดส่งออกทั้งหมด โดยมีเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และยางพารา ครองสัดส่วนสูงเกินร้อยละ 10 ทั้ง 3 รายการ แต่ถ้านับรวมสินค้า 10 อันดับแรก ก็จะมีสัดส่วนการส่งออกเกือบร้อยละ 70 จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของสินค้าที่เหลือไม่ค่อยมีผลกระทบกับยอดการส่งออกมากนัก

ถึงแม้ผลการส่งออกของไทยในตลาดสเปนจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ตอนต้นปี 2553 มาจนถึงกลางปี แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ สินค้าหลักได้แสดงสัญญาณการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลได้ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมีปัญหาการว่างงานเรื้อรังที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ รวมทั้งปัญหาที่รัฐบาลได้ออกมาตรการด่วนในการตัดค่าใช้จ่ายของภาครัฐอย่างเฉียบพลันควบคู่ไปกับการขึ้นอัตราภาษี ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยลบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ได้สินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปที่ขยายตัวสูงมาชดเชยมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เริ่มปรับตัวลดลง นอกจากนั้น สินค้ายางพาราก็ยังมีความต้องการในตลาดอย่างต่อเนื่องจนมีสัดส่วนเกินกว่าระดับร้อยละ 10 รวมทั้งสินค้ากุ้งแช่เย็น/แช่แข็งของไทยที่สามารถเพิ่มปริมาณและมูลค่าการส่งออกได้ในระดับที่น่าพอใจเช่นกัน

ในช่วงเดียวกันไทยนำเข้าสินค้าจากสเปนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 21.49 ซึ่งสินค้าส่วนมากเป็นสินค้าที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก โลหะ และสัตว์น้ำสด เป็นต้น รองลงมาเป็นสินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักรต่างๆและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์/เภสัชกรรม โดยมีรายละเอียดการนำเข้าสินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุด ดังนี้

ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสเปน 5 อันดับแรก ช่วง 11 เดือนแรก ปี 2553
                   สินค้า                     มูลค่า (Mil. USD)       สัดส่วน %)        เปลี่ยนแปลง (%)
เคมีภัณฑ                                         70.7                 16.35              +43.38
เครื่องจักรกลและสวนประกอบ                         51.2                 11.84              +11.84
ผลิตภัณฑเวชกรรมและเภสัชกรรม                       40.3                  9.31               -7.56
สัตวน้ำสดแชเย็น/แชแข็ง/แปรรูป/กึ่งสำเร็จรูป             30.5                  7.04              +21.08
ผลิตภัณฑโลหะ                                     23.0                  5.31              +66.14
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

สถานการณทางเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสเปนที่มีผลกระทบกับการส่งออกของไทย

สเปน เป็นประเทศหนึ่งของสหภาพยุโรป ที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้หลังจากเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกเมื่อสองปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ มีสาเหตุหลักมาจากการล่มสลายของธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญมาโดยตลอด รวมทั้งมีความสามารถทางการผลิตและความสามารถในการแข่งขันต่ำ ซึ่งจัดว่าอยู่ในลำดับท้ายๆของสหภาพยุโรป กอปรกับนโยบายการบริหารประเทศและข้อกฎหมายที่มีลักษณะสังคมนิยมและไม่เอื้อกับการสร้างงาน

ปัญหาประชากรที่ว่างงานเกือบ 5 ล้านคนยังคงเป็นปัญหาใหญ่เรื้อรังอยู่ต่อไป ซึ่งขณะนี้มีอัตราสูงกว่าร้อยละ 20 ของตลาดแรงงาน ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาโดยการปรับย้ายโครงสร้างแรงงานที่ตกงานจำนวนมากจากอุตสาหกรรมการก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆไม่สามารถกระทำได้โดยง่ายและรวดเร็ว ดังนั้น การฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการปฏิรูปกันอย่างจริงจังจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อจะลดอัตราคนว่างงานลงให้ได้ระดับมาตรฐานของประเทศอื่นๆในยุโรป

นอกจากนั้น ยังมีผลกระทบจากภายนอกคือปัญหาวิกฤติหนี้ของกรีซในช่วงกลางปีที่นักลงทุนกังวลว่าจะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆที่ใช้เงินสกุลยูโรเช่นเดียวกัน จนสหภาพยุโรปและ IMF ต้องเข้ามาช่วยแก้ไขและให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน และขณะนี้ไอร์แลนด์ก็ประสบปัญหาสถาบันการเงินเช่นเดียวกัน จึงทำให้โปรตุเกสและสเปนถูกจับตามองเป็นพิเศษว่าจะเป็นประเทศในลำดับต่อไปที่เผชิญกับวิกฤติหนี้และถูกลดความน่าเชื่อถือลงเป็นลำดับ ทั้งนี้ ยังไม่รวมผลกระทบจากมาตรการรัดเข็มขัดที่ต้องเร่งขจัดปัญหาการขาดดุลการคลังอย่างเร่งด่วน เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการเงินของประเทศและของสหภาพยุโรปโดยรวม โดยการตัดค่าใช้จ่ายภาครัฐและเร่งหารายได้จากภาษี ซึ่งล้วนแต่กระทบกับความเป็นอยู่ของประชากรทั้งสิ้น ดังนั้น จึงก่อให้เกิดการต่อต้านโดยการสไตรค์และการประท้วงจากผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการในขณะนี้ คือ การออกมาตรการแก้ไขตลาดการเงิน พร้อมทั้งปฏิรูประบบการเงินและระบบสวัสดิการ ตลอดจนการควบคุมการบริหารการเงินของรัฐบาลในแคว้นต่างๆให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

โดยสรุปในภาพรวมแล้ว ในปี 2553 สเปนจะมีอัตราการขยายตัวติดลบอยู่ร้อยละ -0.3 และจะปรับเป็นบวกได้เล็กน้อยในปี 2554 ในอัตราร้อยละ 0.7 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการเติบโตของสหภาพยุโรปที่ร้อยละ 1.5 โดยจะต้องพยายามปรับสภาพสมดุลทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อสร้างมูลค่าการส่งออกให้มากที่สุดเนื่องจากไม่สามารถคาดหวังการเติบโตจากความต้องการภายในประเทศขณะนี้ได้ ควบคู่ไปกับการควบคุมค่าใช้จ่ายของภาครัฐอย่างเข้มงวดต่อไป และในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 1.7 แต่อย่างไรก็ตาม สภาพเศรษฐกิจยังคงมีสภาพเปราะบางและอ่อนไหวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ต้องคอยจับตามองอย่างใกล้ชิด

สำหรับการส่งออกของไทยในตลาดสเปนในปีนี้คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ถึงระดับมูลค่า 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 40 ในปี 2553 เนื่องจากตัวเลขฐานมูลค่าการส่งออกในปีที่ผ่านมาปรับตัวลดลงมากจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของโลกถึงร้อยละ 40 เช่นกัน และจะสามารถสร้างดุลการค้าให้กับประเทศได้กว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่จากปัญหาเรื้อรังต่างๆของสเปน และฐานการส่งออกของไทยในสเปนที่ปรับตัวขึ้นสูงในปีนี้ คาดว่าในปี 2554 มูลค่าการส่งออกของไทยจะขยายตัวได้ในกรอบร้อยละ 7-10

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ