สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศอิตาลีปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 21, 2010 17:02 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมของเศรษฐกิจอิตาลี

เศรษฐกิจอิตาลีในไตรมาส 3 เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวที่ดีขึ้นถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) +0.2% จะยังเจริญเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้ ได้แก่

1) การผลิตภาคอุตสาหกรรมอิตาลี เดือนตุลาคม เริ่มกลับมาฟื้นตัวโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7

2) การบริโภคของชาวอิตาเลียน ในเดือนกันยายนมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างช้า ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4

3) ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและบริษัทผู้ผลิตอิตาลี เดือนตุลาคมปรับตัวสูงขึ้น 107.7 จุด และ 99.8 จุด ตามลำดับ ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการภายในประเทศและการลงทุนเพิ่มขึ้นในอนาคต

4) การส่งออกและการนำเข้าของอิตาลี ช่วง 8 เดือนแรกมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 และ 20.2 ตามลำดับ ในด้านการส่งออกและการนำเข้าสู่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 และ 32 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจอิตาลียังคงต้องเผชิญกับปัญหาหลายอย่างที่ส่งผลให้เศรษฐกิจอิตาลีเจริญเติบโตช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป โดยมีสาเหตุดังนี้ ได้แก่

1) รายได้ของภาครัฐบาลจากการเก็บภาษี มีอัตราลดลงช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา หนี้สาธารณะของเดือนกันยายนมีมูลค่า 1,844.8 พันล้านยูโร (สิงหาคม 1,842.9 พันล้านยูโร) ซึ่งถือว่ามาตรการที่ทางรัฐบาลอิตาลีได้ออกมาในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐบาล การควบคุมด้านภาษี เป็นต้น ยังคงไม่เป็นไปตามเป้าที่รัฐบาลคาดไว้

2) ผลประกอบการและคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมอิตาลี เดือนกันยายนมีอัตราลดลงร้อยละ 0.3

3) อัตราการว่างงาน เดือนกันยายน 2553 เพิ่มขึ้น 0.2 แต่ก็ยังถือว่ามีอัตราที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

4) อัตราการจ้างงาน เดือนสิงหาคมในบริษัทขนาดใหญ่มีอัตราลดลงร้อยละ 0.1

5) การลดชั่วโมงการทำงาน ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 มีจำนวน 925,7 ล้านชั่วโมง เพิ่มขึ้น 50.5% (614,9 ล้านชั่วโมงระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2552)

ถึงแม้ว่าประเทศไอร์แลนด์จะประสบปัญหาวิฤกตเศรษฐกิจต่อจากประเทศกรีซและได้รับการช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้อิตาลีถูกจับตามองว่าอาจจะประสบปัญหาอย่างประเทศกรีซ และไอร์แลนด์ เพราะระบบเศรษฐกิจอิตาลีเจริญเติบโตช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป แต่ Mr. Giulio Tremonti รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอิตาลี ได้เปิดเผยในที่ประชุมที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ว่าจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศกรีซและประเทศไอร์แลนด์นั้น อิตาลียังถือเป็นประเทศที่แข็งแกร่ง ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การออมของประชาชนที่สูง ระบบธนาคารที่แข็งแกร่ง การเกษียณอายุการทำงาน งาน ครอบครัว จำนวนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่สูงและภาคการบริการที่ต่ำ และการระมัดระวังในการบริหารหนี้สาธารณะของรัฐบาล

จากการสำรวจของสถาบัน Credit Suisse เปิดเผยว่า ครอบครัวอิตาลีเป็นครอบครัวที่รวยเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศสมาชิก G7 รองจากประเทศฝรั่งเศล และรวยเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยครอบครัวชาวอิตาเลียนจะรักการออมเป็นสำคัญและเน้นการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจอิตาลีเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ กว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป แต่กับวิกฤตเศรษฐกิจโลกและวิกฤตเศรษฐหนี้ของกรีซที่เกิดขึ้นได้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจอิตาลีไม่ได้ตกอยู่ในสภาวะลำบากแต่อย่างไร การที่อิตาลีถูกจับตามองว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูงที่จะตกอยู่ภาวะลำบากเหมือนกรีซและไอร์แลนด์ อันเนื่องมาจากภาครัฐบาลมีหนี้สาธารณะที่สูง แต่อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจอิตาลียังคงขับเคลื่อนไปได้โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สาคัญได้แก่ การออมของประชาชนอยู่ในระดับสูง หนี้จากประชาชนและภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานยุโรป การขาดดุลการคลังค่อนข้างต่ำ โดยหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่เกิดในขึ้นภายประเทศ ไม่ได้กู้เงินจากภายนอกประเทศ ระบบธนาคารที่แข็งแกร่ง จึงส่งผลให้รัฐบาลอิตาลีสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

2.ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

                    เทียบกับไตรมาส 2 ปี 53           เทียบกับไตรมาส 3 ปี 52
ไตรมาส 3 ปี 53 (%)           +0.2                          +1.0
ที่มา:Istat

สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลีได้เปิดเผย ตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลี (GDP)ไตรมาส 3 ของปี 2553 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เปรียบเทียบจากไตรมาส 2 (+0.5%) และมีอัตราเพิ่มขึ้น 1% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยมาจากมูลค่าการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามภาคเกษตรกรรมกลับมีตัวเลขที่ลดลง

นอกจากนี้ ธนาคารแห่งชาติอิตาลีและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลีในปี 2553 และปี 2554 จะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1% ในขณะที่หน่วยงาน REF (Ricerche per l'economia e la finanza) คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลีในปี 2553 และปี 2554 จะเพิ่มขึ้น 1% และ 0.7% ตามลำดับ สำหรับศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลของสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งชาติ (Centro Studi Confindustria) ได้คาดการณ์ว่า GDP อิตาลี ในปี 2553 และ 2554 จะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1%

สำหรับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้มองว่า GDP อิตาลี มีแนวโน้มลดลงแต่สำหรับหนี้สาธารณะมีแนวโน้มดีขึ้น โดยคาดการณ์ว่า GDP อิตาลี ในปี 2553 จะเพิ่มขึ้น 1% (จาก 1.1% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา) ส่วนปี 2554 จะเพิ่มขึ้น 1.3% (จาก 1.5% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา) และปี 2555 จะเพิ่มขึ้น 1.6%

3. การผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production)

                    เทียบกับตุลาคม ปี 52           เทียบกับกันยายน ปี 53
ตุลาคม ปี 53 (%)             +7.1                        +0.7
ที่มา :ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งชาติ(Centro studi di Confindustria)

การผลิตภาคอุตสาหกรรมของเดือนตุลาคม 2553 มีอัตราเพิ่มขึ้นซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี อย่างไรก็ตามการที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจะกลับไปเป็นเหมือนก่อนเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ทางผู้ผลิตจะต้องเน้นการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึงแม้ว่าความต้องการของตลาดภายนอกประเทศยังคงชะลอตัว โดยผู้ผลิตอาจเน้นส่งออกสินค้าไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น จีน อินเดีย บราซิล เป็นต้น

จากผลสำรวจของ Prometeia-Intesa Sanpaolo เปิดเผยว่า ปี 2552 เป็นปีวิกฤตของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี โดยพบว่า 40% ของบริษัทที่ถูกสำรวจ ธุรกิจเกิดการขาดทุน นอกจากนี้ บริษัทขนาดเล็กของภาคอุตสาหกรรมแฟชั่นและเฟอร์นิเจอร์ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากพิษวิกฤตเศรษฐกิจ ในขณะที่บริษัทขนาดเล็กของภาคอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กกล้าได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทขนาดใหญ่

4. ผลประกอบการและคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรม

4.1 ผลประกอบการ

                    เทียบกับกันยายน ปี 52           เทียบกับสิงหาคม ปี 53
กันยายน ปี 53 (%)            +10.9                        -0.3

จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี ได้เปิดเผยว่า ในเดือนกันยายนผลประกอบการของภาคอุตสาหกรรมอิตาลีมีอัตราลดลง 0.3% เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้น 1% จากตลาดภายในประเทศและลดลง 3.2% จากตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ มีอัตราเพิ่มขึ้น 10.9% เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2552 และไตรมาส 3 มีอัตราเพิ่มขึ้น 2% เปรียบเทียบกับไตรมาส 2

4.2 คำสั่งซื้อ

                    เทียบกับกันยายน ปี 52           เทียบกับสิงหาคม ปี 53
กันยายน ปี 53 (%)            +17.9                        -1.2
คำสั่งซื้อภายในประเทศ
กันยายน ปี 53 (%)            +16.3                        +3.1
คำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
กันยายน ปี 53                +20.9                        -7.8
ที่มา:Istat

เดือนกันยายน 2553 คำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมมีอัตราลดลง 1.2 % โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศ

จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี พบว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นได้แก่

1) ภาคการผลิตยานพาหนะขนส่ง +26%

2) ภาคการผลิตโลหะ 24.1%

3) ภาคการผลิตเครื่องจักรกลและเครื่องอุปกรณ์ 21.3%

5. การบริโภค

                    เทียบกับกันยายน ปี 52           เทียบกับสิงหาคม ปี 53
กันยายน ปี 53 (%)             -1.6                        +0.4
ที่มา:สมาพันธ์ผู้ค้าปลีกรายย่อยแห่งชาติ(Confcommercio)

เดือนกันยายน 2553 การบริโภคของชาวอิตาเลียนมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างช้า ๆ โดยพบว่าปริมาณการสั่งซื้อสินค้าเพื่อการบริโภคของครอบครัวอิตาเลียนลดลงร้อยละ 2.8 แต่ความต้องการทางด้านการบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4

ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศยังคงห่างไกลจากช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จะเห็นได้จากช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศยังคงแปรผันขึ้นลงไม่แน่นอน ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 ความต้องการบริโภคของครอบครัวชาวอิตาเลียนยังมีตัวเลขที่อ่อนแอ อันเนื่องมาจากรายได้ของครอบครัวที่ไม่เพิ่มขึ้นอีกทั้งชาวอิตาเลียนยังไม่แน่ใจกับภาวะเศรษฐกิจในอนาคต แต่ในทางตรงกันข้ามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า และภาคการบริการ มีตัวเลขการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในเดือนตุลาคม

6. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

6.1 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี

                              เทียบกับกันยายน ปี 53           เทียบกับตุลาคม ปี 53
ดัชนีความเชื่อมั่น ตุลาคม ปี 53 (จุด)         107.2                      107.7

พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี เดือนตุลาคม 2553 ปรับตัวสูงที่สุดนับจากเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตอนเหนือของอิตาลีแต่สำหรับทางตอนกลางและตอนใต้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับปรับตัวลดลง

6.2 ความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี

                              เทียบกับกันยายน ปี 53           เทียบกับตุลาคม ปี 53
ดัชนีความเชื่อมั่น ตุลาคม ปี 53 (จุด)          98.6                       99.8
ที่มา: สถาบันเพื่อการวิเคราะห์และศึกษาเศรษฐกิจ(ISAE)

พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี เดือนตุลาคม 2553 ปรับตัวสูงที่สุดนับจากเดือนพฤษภาคม 2551 โดยมีปัจจัยมาจากยอดการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากตลาดต่างประเทศ การทยอยนำสินค้าในสต็อกออกมาจำหน่าย และความหวังในอนาคตอันใกล้ต่อภาคการผลิตอิตาลีจะมีแนวโน้มดีขึ้น

6.3 ความพึงพอใจของชาวอิตาเลียนต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ

จากการสำรวจของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี (Istat) ในช่วงต้นปี 2553 เกี่ยวกับความพึงพอใจของชาวอิตาเลียนที่มีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าร้อยละ 2.8 ของชาวอิตาเลียนพึงพอใจเป็นอย่างมาก ร้อยละ 48.4 พึงพอใจ และร้อยละ 49.3 ไม่พึงพอใจ โดยตัวเลขความพึงพอใจส่วนใหญ่มาจากทางตอนเหนือ แต่สำหรับทางตอนใต้มีตัวเลขความพึงพอใจน้อยที่สุด

7. การค้าระหว่างประเทศ

(%)                                         เทียบกับตุลาคม ปี 52           เทียบกับกันยายน ปี 53
การส่งออกสู่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป
ตุลาคม ปี 53                                        +21.9                        +1.6
การนำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป
ตุลาคม ปี 53                                          +32                        +3.2
ขาดดุลการค้า                                     1,002 ล้านยูโร
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ (Istat)

เดือนตุลาคม 2553 พบว่าตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าของอิตาลีแก่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น แต่สำหรับดุลการค้าเดือนตุลาคมมีผลขาดดุลเพิ่มขึ้น 76 ล้านยูโร เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 สำหรับไตรมาส 3 ปี 2553 พบว่า การส่งออกลดลง 0.7% และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 3% เปรียบเทียบจากไตรมาส 2

7.1 การส่งออกของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 อิตาลีส่งออกไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 216,160 ล้านยูโร เพิ่มขื้นร้อยละ 14

ตลาดส่งออกที่สำคัญทั่วโลก 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เยอรมัน มูลค่า 27,984 ล้านยูโร +15.7%

อันดับ 2 ฝรั่งเศส มูลค่า 24,998 ล้านยูโร +13.5%

อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา มูลค่า 13,294 ล้านยูโร +16.4%

          อันดับ 4 สเปน         มูลค่า 12,470 ล้านยูโร +18.4%

อันดับ 5 สหราชอาณาจักร มูลค่า 11,256 ล้านยูโร +16.1%

          อันดับ 59 ไทย         มูลค่า 570 ล้านยูโร    +14.9%

สินค้าส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เครื่องจักรกล มูลค่า 42,169 ล้านยูโร +5.1%

อันดับ 2 พาหนะยานยนต์ มูลค่า 15,661 ล้านยูโร +18.8%

อันดับ 3 เครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า 14,092 ล้านยูโร +17.3%

อันดับ 4 น้ามันแร่ มูลค่า 10,978 ล้านยูโร +55.4%

อันดับ 5 พลาสติก มูลค่า 9,338 ล้านยูโร +21.3%

7.2 การนำเข้าของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 อิตาลีมีการนำเข้าจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 231,629 ล้านยูโร เพิ่มขื้นร้อยละ 20.2

แหล่งนำเข้าที่สาคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เยอรมัน มูลค่า 36,542 ล้านยูโร +15.6%

อันดับ 2 ฝรั่งเศส มูลค่า 19,202 ล้านยูโร +15.4%

          อันดับ 3 จีน          มูลค่า 17,257 ล้านยูโร +32.4%

อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ มูลค่า 12,339 ล้านยูโร +16.0%

          อันดับ 5 สเปน        มูลค่า 10,147 ล้านยูโร +22.2%
          อันดับ 48 ไทย        มูลค่า 854 ล้านยูโร    +26.0%

สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

          อันดับ 1 น้ำมันแร่                   มูลค่า 44,397 ล้านยูโร +27.3%
          อันดับ 2 พาหนะยานยนต์              มูลค่า 20,519 ล้านยูโร +7.7%
          อันดับ 3 เครื่องจักรกล               มูลค่า 19,817 ล้านยูโร +15.4%
          อันดับ 4 เครื่องจักรไฟฟ้า             มูลค่า 18,923 ล้านยูโร +29.5%

อันดับ 5 ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม มูลค่า 9,389 ล้านยูโร +8.5%

7.3 การส่งออกมาไทย

การที่ค่าเงินยูโรมีมูลค่าที่ลดลงส่งผลโดยตรงให้สินค้าจากไทยมีราคาแพงขึ้น ในทางตรงกันข้ามสินค้าจากยุโรปมีราคาต่ำลง ซึ่งส่งผลให้ไทยตกอยู่ในภาวะลำบากในการส่งออกสินค้ามายังอิตาลีและประเทศในสหภาพยุโรป

ในระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 59 ของอิตาลี อิตาลีส่งออกมาไทยมีมูลค่า 570 ล้านยูโร เพิ่มขึ้น 14.9 %เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่

          - เครื่องจักรกล                 +5.6%
          - เครื่องจักรไฟฟ้า               +22.4%
  • เครื่องประดับเพชรพลอย โลหะมีค่า +48.7%
          - พลาสติก                     +29.9%

สินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยลดลง ได้แก่

          - ผลิตภัณฑ์เหล็ก เหล็กกล้า         -11.2%
          - เหล็ก เหล็กกล้า               -31.7%
          - อินทรีย์เคมี                   -17.3%

7.4 การนำเข้าจากไทย

ในระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 48 ของอิตาลี ซึ่งอิตาลีนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 854 ล้านยูโร เพิ่มขึ้น 26% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไทย ได้แก่

          - เครื่องจักรกล                 +52.4%
          - ยาง                        +82.2%
          - เครื่องจักรกลไฟฟ้า             +50.6%
          - ยานพาหนะ                   +62.0%
  • เครื่องประดับเพชรพลอย โลหะมีค่า +44.0%

สินค้าทิ่อิตาลีนำเข้าลดลงจากไทย ได้แก่

          - ปลาและอาหารทะเล            -0.2%
  • อาหารสำเร็จรูป(เนื้อสัตว์ ปลา) -35.7%
          - เครื่องแต่งกายถัก              -4.6%

ที่มา: World Trade Atlas

8. การลงทุนระหว่างประเทศ

จากข้อมูลของ สถาบันแห่งชาติอิตาลีสำหรับการค้าในต่างประเทศ (ICE) ได้เปิดเผยถึงแนวโน้มของการลงทุนของบริษัทอิตาลีในต่างประเทศ และการลงทุนจากบริษัทต่างประเทศในอิตาลี ระหว่างปี2550-2551 การลงทุนของบริษัทอิตาลีในต่างประเทศมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยมีจำนวนประมาณ 23,000 บริษัท และจำนวนของพนักงานกว่า 1,350,000 ราย

การลงทุนของบริษัทอิตาลีในต่างประเทศ (ถึง 1 มกราคม 2553) แบ่งได้ดังนี้

1.1 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 15 จำนวน 9,346 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 41 ของบริษัทอิตาลีทั้งหมดที่ลงทุนในต่างประเทศ

1.2 ยุโรปกลางและตะวันออก จำนวน 4,040 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 17

1.3 อเมริกาเหนือ จำนวน 2,592 บริษัท คิดเป็นร้อยละ11.4

1.4 ลาตินอเมริกา จำนวน 1,993 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 8.8

1.5 เอเชียและกลุ่มประเทศมหาสมุทรแปชีกฟีก จำนวน 2,215 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 9.8 โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นการลงทุนในประเทศจีน จำนวน 1,030 บริษัท

ในปี 2551 พบว่าจำนวนของบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในอิตาลีมีจำนวน 7,600 บริษัท ซึ่งมีจำนวนพนักงานกว่า 932,000 ราย ในส่วนของนักลงทุนต่างประเทศมีจำนวน 4,200 ราย (ประมาณ 3,000 ราย มาจากประเทศในยุโรป)

9. อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)

                    เทียบกับตุลาคม ปี 52           เทียบกับกันยายน ปี 53
ตุลาคม ปี 53 (%)             +1.7                        +0.2
ที่มา: Istat

จากข้อมูลของ Istat พบว่าเดือนตุลาคม 2553 อัตราเงินเฟ้อได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นนับจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ในขณะที่ข้อมูลตัวเลขจากหน่วยวัดราคาบริโภคของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป L'indice dei prezzi al consumo armonizzato per i Paesi membri dell'Unione Europea (IPCA) รายงานถึงอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าในปีเดียวกัน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า

โดยสินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้นและลดลงในเดือนตุลาคม ได้แก่

1. ราคาน้ำมันเบนซิน -0.6% เทียบจากเดือนก่อนหน้า +8.5% เทียบจากปีก่อนหน้า

2. ราคาของสินค้าอาหาร +0.3% เทียบจากเดือนก่อนหน้า +0.6% เทียบจากปีก่อนหน้า

3. ราคาของสินค้ายาสูบ +0.2% เทียบจากเดือนก่อนหน้า

4. ราคาของสินค้าบริการ +0.3% เทียบจากเดือนก่อนหน้า +2% เทียบจากปีก่อนหน้า

5. ราคาสินค้าเพื่อการบริโภคทั่วไป +1.7% เทียบจากปีก่อนหน้า

10. ตลาดแรงงาน

ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจอิตาลีจะฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกอย่างช้าๆ แต่ตลาดแรงงานในอิตาลียังคงต้องเผชิญปัญหาของอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและการจ้างงานที่ลดลง

10.1 อัตราการว่างงาน

                              กันยายน ปี 52           กันยายน ปี 53
อัตราการว่างงานทั้งหมด (%)           8.2                   8.3
อัตราการว่างงานในวัยรุ่น (15-24ปี)     26.1                  26.4
ที่มา : Eurostat

เดือนกันยายน 2553 พบว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 0.2 จุดจากเดือนสิงหาคม 2553 แต่ก็ยังถือว่ามีอัตราที่ต่ากว่ามาตรฐานของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประมาณ 2 จุด โดยผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่คือวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-24 ปี (1 ใน 4 ของอัตราการจ้างงาน) เนื่องจากมีสัญญาการทางานปีต่อปีหรือนายจ้างไม่ยอมต่อสัญญาให้

ในขณะที่ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้คาดการณ์ว่า อัตราการว่างงานของอิตาลีในปี 2553 2554 และปี 2555 อาจมีอัตรา 8.6% 8.5% และ 8.3% ตามลำดับ

10.2 อัตราการจ้างงาน

                              เทียบกับสิงหาคม ปี 52           เทียบกับกรกฎาคม ปี 53
อัตราการจ้างงาน สิงหาคม 53 (%)           -1.4                         -0.1
ที่มา : Istat

เดือนสิงหาคม 2553 พบว่าการจ้างงานในบริษัทขนาดใหญ่ มีอัตราลดลง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการจ้างงานในรูปแบบสัญญาชั่วคราวหรือปีต่อปีและการทางานอิสระ อย่างไรก็ดี ทางธนาคารแห่งชาติอิตาลี ได้เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2553 การจ้างงานมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเล็กน้อยโดยมีจานวนเพิ่มขึ้น 40,000 ตำแหน่ง

10.3 การลดชั่วโมงการทำงาน

สถาบันประกันสังคมแห่งชาติอิตาลี (Istituto Nazionale Previdenza Sociale-INPS) ได้เปิดเผยถึงจำนวนบริษัทที่ได้ลดชั่วโมงการทำงานของพนักงานลงอันเนื่องมาจากผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น เดือนตุลาคม 2553 พบว่า มีจำนวน 100,8 ล้านชั่วโมง (-2.3%) เปรียบเทียบกับเดือนกันยายน นอกจากนี้ ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 มีจานวน 925,7 ล้านชั่วโมง เพิ่มขึ้น 50.5% (614,9 ล้านชั่วโมงระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2552)

SMEs ในอิตาลี

การที่อุตสาหกรรมภายในประเทศมีการพัฒนาไม่ได้หมายความว่าจะต้องมาจากธุรกิจขนาดใหญ่เสมอไป ในทางตรงกันข้ามธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดย่อมก็สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนที่สาคัญต่อระบบเศรษฐกิจได้เช่นกัน อย่างเช่นประเทศอิตาลี

ความสำคัญของ SMEs ในประเทศอิตาลี

จากอดีตจนถึงปัจจุบันธุรกิจในอิตาลีส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอิตาลีที่นิยมเป็นนายตัวเอง โดยครอบครัวชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่นิยมมีกิจการเป็นของตนเองโดยเริ่มจากกิจการภายในครอบครัว บริหารงานระบบครอบครัวแบบสืบทอดรุ่นสู่รุ่น อาศัยความรู้ในงานและประสบการณ์สั่งสมในการบริหารงานมาโดยตลอด ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้อิตาลีมีลักษณะแตกต่างไปจากประเทศอื่น ๆ

สำหรับการส่งออกของธุรกิจขนาดย่อมอิตาลีส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าที่มีคุณภาพสูง โดยเน้นสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น สินค้าในภาคอุตสาหกรรมแฟชั่นหรือสินค้าที่มีดีไซน์ชั้นสูง มีความเป็นอิตาเลียนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังมีสินค้าเกษตรกรรมและอาหารอีกด้วย เป็นที่น่าสังเกตุในจำนวนของผู้นำการส่งออกที่สำคัญทั่วโลกอิตาลีถือเป็นประเทศที่ติดอันดับต้น ๆ ของผู้นำการส่งออกทั่วโลก โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญในไตรมาส 3 ปี 2553 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ (อัตราร้อยละ 7.9) อุปกรณ์สำหรับเครื่องจักรเครื่องยนต์และยานพาหนะเพื่อการขนส่ง (อัตราร้อยละ 7.8) ผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิคส์ (อัตราร้อยละ 3.4) และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เครื่องแต่งกายและรองเท้า (อัตราร้อยละ 3.2) เป็นต้น

ข้อมูลทั่วไป

จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติ (Istat) พบว่าปี 2549 จำนวนบริษัทในอิตาลีมีทั้งหมด 4,338,766 บริษัท โดยจำนวนดังกล่าวเป็นของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 4,335,446 บริษัท ถือเป็นร้อยละ 99.9% ของจำนวนบริษัททั้งหมดในประเทศ และอิตาลียังถือเป็นประเทศที่มีจำนวน SMEs มากที่สุดในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. บริษัทที่มีจำนวนพนักงานต่ำกว่า 10 คน มีสัดส่วนร้อยละ 95

2. บริษัทที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 10-49 คน มีสัดส่วนร้อยละ 4.5

3. บริษัทที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 50-249 คน มีสัดส่วนร้อยละ 0.5

ในส่วนของสัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะพบว่าในส่วนของภาคการบริการของบริษัทที่มีการจ้างงานระหว่าง 1-9 คน มีอัตราสูงสุดร้อยละ 75.8 โดยภาคบริการ SMEs ที่มีสัดส่วนส่งสูดได้แก่ กิจการการจำหน่ายที่อยู่อาศัย การเช่า การให้ข้อมูล การสำรวจและกิจการที่ใช้ความรู้ความชำนาญ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ25.2

ระหว่างปี 2549-2551 พบว่าธุรกิจขนาดย่อมอิตาลีที่มีการจ้างงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัทมีจำนวนกว่า 69,017 บริษัท (ร้อยละ 33.1) โดยในจำนวนดังกล่าวบริษัทส่วนใหญ่ร้อยละ 30.7 ได้ปรับเปลี่ยนนวัตกรรมการบริหารด้านการตลาดหรือกระบวนการผลิต ในส่วนบริษัทที่มีการจ้างงานตั้งแต่ 10-49 คน มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 สำหรับ 50-249 คน มีอัตราร้อยละ 49.8 และ 250 คนขึ้น มีอัตราร้อยละ 65.1

ในด้านภาคอุตสาหกรรมที่มีการปรับเปลี่ยนการบริหารแบ่งได้ ดังนี้

1. ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 41.1

2. ภาคการก่อสร้าง ร้อยละ 20.3

3. ภาคการบริการ ร้อยละ 23.9

โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารแบ่งได้ ดังนี้

          1. ภาคอุตสาหกรรมเภสัชกรรม                         ร้อยละ 75.5

2. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้า ร้อยละ 69.1

          3. ภาคอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์                           ร้อยละ 63.4
          4. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์                      ร้อยละ 58.4

สำหรับภาคการบริการที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารแบ่งได้ ดังนี้

          1. การสื่อสาร        ร้อยละ 66.3

2. การผลิตซอฟต์แวร์ ร้อยละ 60.9

3. การสำรวจและพัฒนา ร้อยละ 60.8

สถานการณ์ SMEs ในปี 2553

จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลกระทบให้บริษัทในอิตาลีปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีขนาดเล็ก แต่อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลของหน่วยงานอุตสาหกรรมการค้าของอิตาลี (Centro studi Unioncamere) พบว่าธุรกิจ SMEs* อิตาลีมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันสองไตรมาสหลังจากเกิดเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 มีแนวโน้มที่สดใส โดยไตรมาส 3 ปี 2553 การผลิตของภาคอุตสาหกรรมอิตาลีมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ผลการประกอบการเพิ่มขึ้นร้อยละ1.4 คำสั่งซื้อมีการฟื้นตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และการส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ซึ่งถือเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่ทำให้ธุรกิจ SMEs อิตาลีมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้ง

Mr. Ferruccio Dardanello ประธานของ Unioncamere ได้เปิดเผยว่า สัญญาณของการกลับมาฟื้นตัวธุรกิจ SMEs อิตาลีมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีหลายบริษัทที่การบริหารเป็นไปอย่างดีแต่ก็ยังพบว่ามีอีกหลายบริษัทที่ยังประสบความยากลาบากในการกลับมาฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัททางตอนใต้และอุตสาหกรรมจากงานฝีมือ นอกจากนี้ Mr. Ferruccio ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า เป็นสิ่งจาเป็นที่ธุรกิจ SMEs ควรได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐบาล เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ธุรกิจที่ประสบความยากลำบากกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งรัฐบาลควรมีมาตรการในการปรับอัตราภาษีให้แก่ษริษัทและการจ้างงาน สนับสนุนให้มีการบริโภคภายในประเทศ และช่วยเหลือทางด้านเงินกู้แก่เจ้าของกิจการ

  • ผลสำรวจจากบริษัทตัวอย่าง 1,200 บริษัทที่มีจำนวนการจ้างงานตั้งแต่ 1-500 คน

การผลิตและผลประกอบการของธุรกิจ SMEs อิตาลี ในไตรมาส 3 ปี 2553

จากข้อมูลของ ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลของหน่วยงานอุตสาหกรรมการค้าของอิตาลี (Centro studi Unioncamere) พบว่า ในไตรมาส 3 ปี 2553 ตัวเลขการผลิตของธุรกิจ SMEs อิตาลีมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดนับจากไตรมาส 3 ปี 2551 โดยไตรมาส 3 ปี 2552 ตัวเลขการผลิตมีอัตราลดลงร้อยละ 12.9

บทสรุป

ในขณะที่ทั่วโลกถูกกระทบจากกระแสโลกาภิวัฒน์และได้มีการปรับนโยบายเพื่อความอยู่รอด ขององค์กร อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว สินค้าที่ผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่มีราคาถูก หลั่งไหลเข้าสู่อิตาลีมากขึ้น รวมทั้งแนวโน้มการบริโภคในอิตาลีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเปิดรับสินค้าใหม่ๆ ที่สามารถทดแทนสินค้าดั้งเดิม (MADE-IN-ITALY) มากขึ้น ดังนั้น หากธุรกิจขนาดย่อยไม่มีการปรับตัว อาจมีผลทาให้กิจการ ดั้งเดิมเหล่านี้ตายลงได้ ในปัจจุบันธุรกิจรายย่อยในอิตาลีได้มีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยได้มีการรวมตัวกันเป็นสมาคม ร่วมมือและสนับสนุนกันทางการค้า การฝึกอบรม และการปรับตัวด้านการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของตนมากขึ้น

จากการสำรวจของสมาพันธ์ FEDERMANAGER ได้รายงานว่า ในอนาคตบริษัทที่บริหารงานในระบบดั้งเดิมดังกล่าว มีแนวโน้มในการลงทุนด้านบุคลากรฝ่ายบริหารมากขึ้นและพร้อมรับสถานการณ์ โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง พร้อมกันนี้ได้คาดการณ์ว่าจำนวนธุรกิจครอบครัวจะลดลงด้วย โดยสมาพันธ์ฯได้ ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรม (CONFINDUSTRIA)แห่งอิตาลี และองค์กรต่างๆ จัดอบรมหลัก สูตรการบริหารองค์กรแก่ผู้บริหารจากบริษัทต่างๆ และแก่ผู้บริหารรุ่นใหม่ รวมทั้งกิจกรรม อื่นๆ มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อ

  • เพิ่มประสิทธิภาพและวิสัยทัศน์ของบุคลากร
  • พัฒนากลยุทธ์การบุกตลาด รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นฐานด้านการสื่อสารและภาษา
  • พัฒนาการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย

ทั้งนี้ เพื่อเพิ่ม VALUE ADDED แก่สินค้าและคุณภาพการบริการ มุ่งเน้นการผลิตสินค้าคุณภาพสูงและความเป็นอิตาลี เพื่อสร้างความแตกต่างจากสินค้าราคาถูกที่หลั่งไหลเข้ามาจากโลกที่มีการแข่งขันสูง

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน เห็นว่าสินค้าไทยที่จะเข้าสู่ตลาดอิตาลีนั้น ไม่ควรเน้นผลิตสินค้าราคาถูก (ซึ่งไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย) แต่ควรเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีดีไซน์และงานฝีมือมากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันกับสินค้าของอิตาลีได้ และควรมีการร่วมมือ/ทาธุรกิจร่วมกันระหว่างผู้ผลิต/นักออกแบบของอิตาลีและไทยในการผลิตสินค้าคุณภาพที่ตรงใจผู้บริโภคชาวอิตาเลียนที่ยังคงนิยมเลือกใช้สินค้าที่มีความเป็นอิตาเลียน

ช่องทางการเข้าตลาดอิตาลีของผู้ประกอบการ SMEsไทย โดยผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มสินค้าหัตถกรรมไทยอาจจะเข้ามาทดสอบตลาดอิตาลีโดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า L’artigiano (www.artigianoinfiera.it) ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าหัตถกรรมจากทั่วโลกโดยเป็นงานขายปลีก ซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ ปีช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งถือเป็นช่วงที่ชาวอิตาเลียนจะจับใช้ซื้อของขวัญเป็นจำนวนมากเพื่อต้อนรับเทศกาล คริสมาส์ตและปีใหม่ โดยในปี 2552 มีผู้เข้าร่วมแสดงงานฯ จานวน 2,900 ราย จาก 109 ประเทศ และผู้เข้าร่วมงานฯจำนวน 3 ล้านคน โดยในปีนี้ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-12 ธันวาคม 2553 ณ ศูนย์แสดงสินค้า Rho ซึ่งมีผู้ประกอบการไทยมาร่วมแสดงงานฯในครั้งนี้ด้วย โดยพบว่าสินค้าที่เป็นที่นิยมและจำหน่ายดีในงาน ได้แก่ กระเป๋าที่ทำจากเศษผ้า

ทั้งนี้ อิตาลีมีสมาคมและหน่วยงาน SMEs ที่มีหน้าที่ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนธุรกิจ SMEs ได้แก่ Confapi (Confederazione italiana della piccola e media industria privata) ตั้งอยู่ที่ Via del Plebiscito 117-00186 Roma,Italia โทรศัพท์ +39 06 690151 โทรสาร +39 06 6791488 www.confapi.org ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ร่วมมือกับหน่วยงาน PMI ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีแก่ธุรกิจ SMEs ตั้งอยู่ที่ Viale Franco Angeli 5, Roma www.pmi.it โดยมีจำนวนสมาชิกกว่า 120,000 บริษัท และจำนวนพนักงานกว่า 2,3 ล้านคน

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ