รายงานภาวะสินค้าอาหารปรุงแต่งแช่แข็ง ในไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 24, 2010 10:49 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ขอบเขต - HS Code 16 เนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย(เฉพาะส่วนอาหารแช่แข็ง)

  • HS Code 2004 ผัก ผลไม้แปรรูป ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสียแช่แข็ง

1. ความต้องการบริโภค

ไต้หวันมีการพัฒนาด้านการค้าและอุตสาหกรรมในระดับสูงประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่แบบเร่งรีบ ครอบครัวที่สามีและภรรยาต้องทำงานทั้ง 2 คน มีจำนวนมากขึ้น ทำให้มีการบริโภคอาหารปรุงแต่งแช่แข็งเพิ่มขึ้นเนื่องจากอาหารดังกล่าวเก็บได้นาน สะดวกในการปรุงและรับประทาน มีสุขอนามัยดีกว่าเนื่องจากไม่ใส่สารกันบูด จากข้อมูลของยูโรมอนิเตอร์ (Euromonitor International) ระบุว่า ตลาดสินค้าอาหารปรุงแต่งแช่แข็งในไต้หวันในปี 2010 มีมูลค่าประมาณ 8 พันล้านเหรียญไต้หวัน (1 เหรียญไต้หวัน = 1 บาทโดยประมาณ)

2. ภาวะการผลิตและการส่งออกของไต้หวัน

2.1 การผลิตอาหารปรุงแต่งแช่แข็งของไต้หวันยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น การผลิตในปี 2009 มีปริมาณ 178,893 ตัน มูลค่า 16,876 ล้านเหรียญไต้หวัน แม้ว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกการผลิตยังคงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.87 และ 3.36 ตามลาดับ

สำหรับการผลิตในปี 2010 (มกราคม — กันยายน) ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วยปริมาณ 127,258 ตัน มูลค่า 12,463 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.42 และ 3.36 ตามลาดับ

2.2 คาดการณ์การส่งออกในปี 2010

ไต้หวันส่งออกสินค้าปลาและอาหารทะเลมากที่สุด โดยเฉพาะปลาไหลปรุงแต่งแช่แข็ง มูลค่าประมาณ 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดสำคัญคือ ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีการส่งออกกุ้ง ปลาหมึก และปลาอื่น ๆ ประปราย ตลาดสำคัญคือประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลี

สำหรับการส่งออกอาหารเนื้อปศุสัตว์นั้น มีการส่งออกเนื้อสุกรปรุงแต่ง มูลค่าประมาณ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดสำคัญคือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ฟิลิปปินส์

ในส่วนของผักและผลไม้นั้น มูลค่าส่งออกประมาณ 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่สำคัญคือถั่วแระ หน่อไม้ เห็ดต่าง ๆ ตลาดสำคัญคือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สิงค์โปร์ ฮ่องกง

3. การนำเข้า

3.1 การนำเข้าทั่วไป

การนำเข้าอาหารปรุงแต่งแช่แข็งของไต้หวันในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมายังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลกรมศุลกากรไต้หวัน (Directorate General of Customs, Taiwan) ในปี 2009 นำเข้ารวม 119.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2008 ร้อยละ 5.47 การนำเข้าสินค้าประเภทต่าง ๆ ปรากฎดังนี้

  • ผักและผลไม้ปรุงแต่งแช่แข็ง มูลค่า 79.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แหล่งนำเข้าที่สำคัญคือ สหรัฐฯ แคนาดา เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
  • ปลาปรุงแต่งแช่แข็ง มูลค่า 20.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แหล่งนำเข้าที่สำคัญคือ ไทย เวียตนาม จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เป็นต้น
  • สัตว์น้ำจำพวกกุ้ง ปู หอย ปรุงแต่งแช่แข็ง มูลค่า 19.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แหล่งนำเข้าที่สำคัญคือ ไทย เวียตนาม แคนาดา ญี่ปุ่น มาเลเซีย เป็นต้น
  • เนื้อปศุสัตว์ปรุงแต่งแช่แข็ง มูลค่า 418,000 เหรียญสหรัฐฯ แหล่งนำเข้าที่สำคัญคือ สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย

จากสถิติข้างต้นจะเห็นได้ว่าการนำเข้าเนื้อปศุสัตว์มีมูลค่าน้อย เนื่องจากชาวไต้หวันไม่นิยมบริโภคเนื้อปศุสัตว์แช่แข็ง อีกทั้งกฎระเบียบการนำเข้าเนื้อปศุสัตว์ของไต้หวันมีความเข้มงวด

สำหรับการนำเข้าในปี 2010 มกราคม — กันยายน มีการนำเข้าอาหารปรุงแต่งแช่แข็งแล้ว มูลค่า 106.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2009 ร้อยละ 19.57

3.2 การนำเข้าจากไทย

สินค้าอาหารปรุงแต่งแช่แข็งที่ไต้หวันนำเข้าจากไทยมีเพียงอาหารจำพวกสัตว์น้ำเท่านั้น ในส่วนของเนื้อปศุสัตว์นั้นไม่มีการนำเข้าเนื่องจากไต้หวันห้ามนำเข้าจากไทยเพราะเป็นเขตระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคนิวคาสเซิล

ในปี 2009 ไต้หวันนำเข้าปลาปรุงแต่งแช่แข็งจากไทย ได้แก่ ปลากะตัก ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาไหล ปลาโอแถบ Silver Anchovy ไข่ปลา มูลค่าประมาณ 7.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการนำเข้ากุ้ง หอย ปลาหมึก ฯลฯ มูลค่าประมาณ 2.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

4. ภาวะการจำหน่ายและการบริโภค

จากการวิเคราะห์ของยูโรมอนิเตอร์ในปี 2010 ระบุว่า บะหมี่แช่แข็งได้รับความนิยมสูง เนื่องจากเป็นอาหารที่มีภาพลักษณ์ของสุขอนามัยที่ดีเมื่อเทียบกับบะหมี่ชนิดอื่น ๆ เนื่องจากเก็บรักษาด้วยอุณหภูมิต่ำโดยไม่ใส่สารกันบูด นอกจากนี้บะหมี่ถือเป็นอาหารที่ชาวไต้หวันคุ้นเคยและมีความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย

อาหารปรุงแต่งแช่แข็งซึ่งเป็นอาหารดั่งเดิมของชาวจีน เช่น ขนมจีบ ซาลาเปา ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน เนื่องจากการประกอบอาหารเหล่านี้มีขั้นตอนที่ซับซ้อนและต้องใช้เวลานาน ดังนั้น การซื้ออาหารปรุงแต่งแช่แข็งซึ่งมีตัวเลือกที่หลากหลายและสะดวกรวดเร็วจึงเป็นที่นิยมมากขึ้น ไก่ชิ้นนักเก็ต (Nuggets) เป็นอาหารปรุงแต่งแช่แข็งที่ได้รับความนิยมสูงในตลาดไต้หวันคาดว่ามีสัดส่วนเท่ากับ 56% ของเนื้อสัตว์ปีกปรุงแต่งแช่แข็งทั้งหมดในปี 2010 ถึงแม้ชาวไต้หวันจะมีความเคยชินและนิยมปรุงอาหารจากเนื้อไก่สดมากกว่าเนื้อไก่แช่เย็นหรือแช่แข็ง แต่เนื่องจากวัฒนธรรมการบริโภคแบบชาวตะวันตกที่แพร่กระจายเข้าสู่ไต้หวัน ทำให้ไก่ชิ้นนักเก็ตได้ความนิยมมากโดยเฉพาะในหมู่เด็กหรือวัยรุ่น มีการปรุงอาหารด้วยไก่ชิ้นนักเก็ต เป็นอาหารประจามื้อ หรือเป็นอาหารทานเล่นมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับอาหารสัตว์ปีกปรุงแต่งแช่แข็งอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมคือ ไก่พริกไทดำ ปีกไก่ผัดซ้อสหรือปีกไก่เค็ม เป็นต้น

ในส่วนของเนื้อสัตว์เท้ากีบแช่แข็งนั้น ลูกชิ้นหมูและลูกชิ้นหมูผสมเห็ดได้รับความนิยมสูงสุด ซึ่งมีสัดส่วนของยอดจำหน่ายในปี 2010 เท่ากับ 92% ทั้งนี้ลูกชิ้นหมูเป็นส่วนผสมสำคัญในการปรุงซุบและการปรุงอาหารประเภทสุกี้ ซึ่งมียอดจำหน่ายที่สม่ำเสมอตลอดทั้งปีโดยไม่มีความแตกต่างของฤดูกาล

กุ้งปรุงแต่งแช่แข็งมีสัดส่วน 39% ของจำพวกอาหารทะเลในปี 2010 รองลงมาคือลูกชิ้นปลาหมึก ซึงมีสัดส่วน 32% ในปี 2010 ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตในไต้หวันย้ายฐานไปยังประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น เวียตนามและไทยมากขึ้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต

สำหรับอาหารประเภทผักนั้น เนื่องจากไต้หวันมีผลผลิตผักสดออกสู่ตลาดตลอดทั้งปีและมีราคาถูก ทำให้ผักแช่แข็งไม่เป็นที่นิยม มีเพียงผักแช่แข็งบางชนิดเท่านั้นที่ได้รับความนิยมเช่น มันฝรั่งสำหรับปรุงมันฝรั่งเส้นทอด ผักรวมมิตร ถั่วลันเตา แคร็อท ซึ่งปกติชาวไต้หวันจะใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงข้าวผัดหรือปรุงซุป

อาหารประเภทเนื้อปศุสัตว์ปรุงแต่งแช่แข็งและเบเกอรี่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากหาซื้ออาหารปรุงสาเร็จทดแทนได้ง่ายจากร้านจำหน่ายอาหาร ตลาดสด หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยเฉพาะร้านค้าปลีกเหล่านี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วง 2 -3 ปีที่ผ่านมา

5. กฎระเบียบและอัตราภาษีนำเข้า

5.1 ไต้หวันห้ามนำเข้าเนื้อปศุสัตว์สด แช่เย็นและแช่แข็งจากประเทศที่เป็นเขตระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย โรคนิวคาสเซิล เป็นต้น สำหรับการนำเข้าอาหารปรุงสุกจะต้องผ่านขั้นตอนการยื่นขอเปิดตลาด โดยจะต้องเสนอรายงานผลการวิจัยทดลองกำจัดเชื้อโรค และต้องมีการขึ้นทะเบียบตรวจรับรองโรงงานก่อนการส่งออก ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ทั้งนี้ ผู้ผลิตไก่ปรุงสุกของประเทศไทยเคยได้รับการขึ้นทะเบียนเพื่อส่งออกไปไต้หวันจำนวน 5 โรงงาน แต่ถูกระงับการนำเข้าจากไต้หวันเมื่อ 23 มกราคม 2547 เนื่องจากไทยเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก ซึ่งฝ่ายไทยจะต้องยื่นเรื่องต่อไต้หวันเพื่อขอฟื้นฟูสถานะภาพปลอดโรคระบาด เมื่อไต้หวันยอมรับแล้วจึงจะส่งออกได้อีก

สำหริบสินค้าจำพวกผักผลไม้บางชนิดมีโควต้า เช่น ถัวลิสง ถั่วแดง กระเทียม ผู้ที่ประสงค์จะขอนำเข้าต่อยื่นขอจัดสรรโควต้าก่อน มิเช่นนั้นจะต้องชำระภาษีนำเข้าในอัตราสูง

5.2 อัตราภาษีนำเข้าสินค้าอาหารปรุงแต่แช่แข็ง แยกตามประเภทต่าง ๆ ในไต้หวัน

  • เนื้อปศุสัตว์ปรุงแต่แช่แข็ง มีอัตราระหว่าง 15 — 40% สินค้าที่อัตราภาษีสูงคือ เครื่องในสัตว์ 30% เนื้อเป็ด เนื้อสุกร 40%
  • ปลา อัตราภาษีระหว่าง 15 — 30 % สินค้าอัตราภาษีสูงได้แก่ ปลาแฮริ่ง ซาร์ดีน แมคเคอเรล อัตราภาษี 30%
  • อาหารทะเลจำพวกกุ้ง หอย ปู อัตราภาษีระหว่าง 20 — 40 % สินค้าที่ภาษีสูงได้แก่ ปลาหมึก 40% หอยเปาฮื้อ 36%
  • อาหารจำพวกผักผลไม้ อัตราภาษีระหว่าง 20 — 25 %

6. การตลาด

6.1 ผู้ค้าและแบรนด์ในตลาดไต้หวัน

Laurel Enerprises Corp เป็นผู้นาในวงการอาหารปรุงแต่งแช่แข็งด้วยส่วนแบ่งตลาด 14% ในปี 2009 บริษัทดังกล่าวมีความเชี่ยวชาญในด้านอาหารปรุงแต่งแช่แข็ง และมีสินค้าอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานที่หลากหลาย เช่น ซุป เบเกอรี่ ปลา/อาหารทะเล เนื้อปศุสัตว์ มีการใช้กลยุทธ์โฆษณาและการจัดกิจกรรมการตลาด เช่นการโฆษณาทางทีวีบ่อยครั้ง และเน้นการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์

Uni-President Enterprises Corp มียอดขายอันดับ 2 ในไต้หวัน ด้วยส่วนแบ่งตลาด 11% รองลงมาคือ General Mills ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดไต้หวัน ตั้งแต่ปี 2007 มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยมา

ราคาต่อหน่วยในปี 2010 เพิ่มขึ้นน้อยมาก ผู้ประกอบการพยายามต่อสู้กับคู่แข่งด้วยการตรึงราคาไว้ สินค้าแบรนด์เนมจะใช้กลยุทธ์ตั้งราคาที่ดึงดูดลูกค้าและจัดกิจกรรมส่งเสริมการจาหน่าย ณ จุดขายบ่อยครั้ง

คาดว่าการใช้กลยุทธ์ลดราคาเพื่อกระตุ้นยอดขายยังคงมีอยู่ต่อไป ถึงแม้ผู้บริโภคจะให้ความสาคัญของคุณภาพมากกว่าราคา แต่การลดราคาในบางช่วงจะช่วยเพิ่มยอดขายได้ ซึ่งจะมีผลทำให้ระดับราคาต่อหน่วยจะลดต่ำลงในช่วง 5 ปีข้างหน้า

6.2 ช่องทางการจัดจำหน่าย

ช่องทางการจำหน่ายอาหารปรุงแต่งแช่แข็งในไต้หวันที่สำคัญคือ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ตซึ่งมีสัดส่วนเกินกว่า 96% สำหรับร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำและอื่น ๆ มีสัดส่วนรวมกันประมาณ 4 % เท่านั้น

6.3 โอกาสสินค้าของไทยและคู่แข่ง

สินค้าไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปตลาดไต้หวันคือสัตว์น้ำปรุงแต่งแช่แข็ง โดยเฉพาะกุ้งเทมปุระ ปลาและอาหารทะเลปรุงต่าง อาหารประเภทขนมจีบ ซาลาเปา ฯลฯ สินค้าไทยต้องผจญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากเวียตนาม เนื่องจากชาวไต้หวันไปลงทุนในเวียตนามมากขึ้น ทำให้มีการนำเข้าเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อความอยู่รอด

อุปสรรค์ของไทยอีกประการหนึ่งคือ ผู้บริโภคในไต้หวันมีความเชื่อถือต่อสินค้าในไทยน้อยกว่าสินค้าของญี่ปุ่นและยุโรป ทาให้ไม่สามารถตั้งราคาจำหน่ายระเดียวกับสินค้าของญี่ปุ่นและยุโรป

ผู้ผลิตของไทยควรพยายามสร้างแบรนด์ และพัฒนามาตรฐานสินค้าของตนเองให้สูงขึ้น เพื่อการแข็งขันในระยะยาว

7. ข้อมูลเพิ่มเติม

งานแสดงสินค้าอาหารในไต้หวัน Taipei International Food Fair 2011 วันที่ 23 — 26 มิถุนายน 2554 จัดโดย Taiwan External Trade and Development Council (TAITRA) ที่ Nankang Exhibition Hall ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.foodtaipei.com.tw

8. สรุปและข้อเสนอแนะ

คาดว่าตลาดอาหารปรุงแต่งแช่แข็งของไต้หวันยังมีโอกาสขยายตัวได้อีก ซึ่งเป็นไปตามวิถีชีวิตของประชาชนในสังคมเมืองที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ผู้ส่งออกไทยที่ประสงค์จะขยายตลาดเข้ามายังไต้หวัน จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับรสนิยมของชาวไต้หวัน เช่นการผลิตสินค้าบะหมี่แช่แข็ง และขนมจีบ เกี๊ยว ซาลาเปา รวมทั้งอาศัยความได้เปรียบในฐานะที่อาหารไทยเป็นอาหารยอดนิยมของโลก ทาการผลิตอาหารไทยแช่แข็งโดยใช้วัตถุอาหารทะเลซึ่งไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบอยู่แล้ว ทั้งนี้ อาหารไทยที่ชาวไต้หวันรู้จักดีได้แก่ กุ้งกระเบื้อง(กุ้งพระจันทร์) ต้มยำกุ้ง ปลามะนาว ส้มตำ ยำทะเล เป็นต้น

ผู้ที่ประสงค์จะขยายตลาดไปยังไต้หวันติดต่อผู้นาเข้าได้ตามรายชื่อดังแนบ

รายชื่อผู้นำเข้าปลาอาหารปรุงแต่งแช่แข็งในไต้หวัน

ปลาและอาหารทะเล

HAI LI TRADING CO., LTD.

Executive Chen Chi-Chuan

3F, 3, Lane 30, Kang Ting Rd., Taipei 10842

TEL 02-23612048 FAX 02-23110341

EYEAR 1986

YILIN KIBUN CORPORATION

Executive S. M. Lin

33, Towgong 2nd Rd., Towliu City, Yunlin Hsien 640

TEL 05-5575505 FAX 05-5575562

EMAIL kikuchi@yilinkibun.com.tw

URL http://www.yilikibun.com.tw

UCode 16096277

EYEAR 1997

SUN FERST ENTERPRISE CO., LTD.

1Fl. No.29 Lane 113 Sec.3 Chien Kuo N. Rd. Taipei 10455

TEL 02-25010633 FAX 02-25010632

UCode 16167504

EYEAR 1997

FOODTEC INDUSTRIAL CO., LTD.

Executive C. S. Lin

3F-2, 182, Sung Chiang Rd., Taipei 10471

TEL 02-25231395 FAX 02-25222712

EMAIL cathcl58@ms6.hinet.net

UCode 70435160

EYEAR 1999

HONTHINE TRADE COMPANY LIMITED

Executive H. T. Li

21, Alley 12, Lane 493, Wan Ta Rd., Taipei 100

TEL 02-23050917 FAX 02-23323088

UCode 84264526

EYEAR 1993

YEN & BROTHERS ENTERPRISE CO., LTD.

Executive Yuan-Po Yen

37, Lane 449, Wan Ta Rd., Taipei 10851

TEL 02-23073500 FAX 02-23014458

EMAIL hq@mail.yens.com.tw

URL http://www.yens.com.tw

UCode 15882261

EYEAR 1980

SUSHI EXPRESS CO., LTD.

Executive Stanley Chen

No. 481, 2F, Chung Hsiao East Road, Section 6, Nangang District, Taipei 115

TEL 02-27881198 FAX 02-27882369

EMAIL liumark99@spoonful.com.tw

URL http://www.sushi-express.com.tw

UCode 97286918

EYEAR 1996

ผักปรุงแต่ง

LONG GEE COMPANY

Executive Scott Chang

128 Wu Kong 1st Rd., Wu Ku Ind. Park, Taipei Hsien 24843

TEL 02-22995709 FAX 02-22989570

EMAIL mail@dragonfoods.com

URL http://www.dragonfoods.com

UCode 07700160

EYEAR 1982

ASIA FROZEN FOOD CORP.

Executive C. C. Lin

10F-2,No.6 Sihwei 3 Rd, Lingya District ,Kaohsiung City 800

TEL 07-5357388 FAX 07-5358108

EMAIL asiafood@ms23.hinet.net

URL http://www.asiafd.com

UCode 12120450

EYEAR 1977

KEEPER INTERNATIONAL CORPORATION

Executive Jim H. Sheu

6F-1, 2, Lane 609, Chung Hsin Rd., Sec. 5, Sanchung City, Taipei Hsien 24159

TEL 02-29996512 FAX 02-29996661

EMAIL keeper.food@keep.com.tw

URL http://www.keeper.com.tw

UCode 12333307

EYEAR 1981

DI SHENG COMPANY LIMITED

10Fl.-1, No.2-94, Song Pu Bei Lane, Neau Song Hsiang, Kaohsiung Hsien 833

TEL 07-7331370 FAX 07-7338372

UCode 13013470

EYEAR 2002

GOOD LAND FOODS CO., LTD.

Executive Allic Tzen

1F, No.55 Longsir Rd., Lonjing Hsiang, Taichung Hsien. 43443

TEL 04-26316633 FAX 04-26520033

EMAIL glfoods@ms45.hinet.net

UCode 16493331

EYEAR 1998

JIM KEEPER CO., LTD.

9F-1 No.301 Sung Chiang Rd. Taipei 10469

TEL 02-27128945 FAX 02-29996661

UCode 22157928

EYEAR 1986

HUESBRO INDUSTRIAL INC.

Executive W. P. Hu

2F., No.262, Jian Kang Rd., Zhong He City, Taipei Hsien 235

TEL 02-22260650 FAX 02-22266589

EMAIL huesbro@ms10.hinet.net

UCode 22163647

EYEAR 1986

MING CHI FOODS CO., LTD.

Executive C. H. Lin

761, Jang S. Rd., Sec. 2, Fenyuan Shiang, Changhua 502

TEL 049-2521666

FAX 049-2521647

EMAIL yaa.fang@msa.hinet.net

URL http://www.yaa-fang.com.tw

UCode 22702265

EYEAR 1987

DAY & DAY FROZEN FOOD SERVICE AGENCY INC.

Executive Chun-Liang Kao

No.43-56, Nansing Community, Dasi Township, Taoyuan Hsien 335

TEL 03-3807388 FAX 03-3896074

EMAIL daynday@ms11.hinet.net

UCode 22885525

EYEAR 1988

HOME CHAIN FOODS CO., LTD.

Executive C. C. Han

9F, 222 Ta Tung Rd., Sec. 3, Hsichih City, Taipei Hsien 22103

TEL 02-86471694

FAX 02-86471352

EMAIL gnops02@mail.gwg-fsd.com.tw

UCode 23309178

EYEAR 1989

JIUN YNG ENTERPRISE LIMITED

No.56, Cheng Tu Rd., Shi Tun Dist., Taichung 407

TEL 04-24268801 FAX 04-24268803

UCode 79994798

EAGLE COLD STORAGE ENTERPRISE CO., LTD.

Executive L. F. Yang

No.3, Gongyecyu 2nd Rd., Situn District, Taichung City 40767

TEL 04-23591313 FAX 04-23500210

EMAIL alicetseng@cooleagle.com.tw

URL http://www.cooleagle.com.tw

UCode 23641978

EYEAR 1990

MCCAIN FOODS TAIWAN LIMITED

Executive L. P. Ku

6F., No.180, Sec. 2, Minsheng E. Rd., Jhongshan District, Taipei City 10480

TEL 02-25163266 FAX 02-25165200

http://www.longfong.com/

UCode 16446577

EYEAR 1998

COSTCO PRESIDENT TAIWAN INC.

Executive Richard Chang

1F., No.656, Chung Hwa 5th Road, Kaohsiung 806

TEL 07-3380006 FAX 07-3380025

EMAIL cherrychen@costco.com.tw

UCode 96972798

EYEAR 1996

HAVI FOOD SERVICES (TAIWAN) LIMITED

Executive Charles Chang

2F, 322-1 Hsien Fu Rd., Taoyuan City, Taoyuan Hsien 33051

TEL 03-3223550 FAX 03-3222762

EMAIL maggie-chen@hfsw.com.tw

URL http://www.hfsw.com.tw

UCode 97161121

EYEAR 1996

รายงานโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2)

โทรศัพท์ 886-2-2723 1800 โทรสาร 886-2-2723 1821

อีเมล์ : thaicom.taipei@msa.hinet.net

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ