การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทย ในช่วง 9 เดือนแรก (มค. - กย.) ของปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 27, 2010 14:46 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ ในช่วง 9 เดือนแรก (มค.- กย.) ของปี 2553 มีมูลค่ารวม 485,545.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.03 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 256,806.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.72 และมูลค่าการนำเข้า 228,738.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.16 โดยประเทศคู่ค้านำเข้าและส่งออก 10 อันดับแรก ดังนี้

สิงคโปร์นำเข้า (มค.-กย. 2553)

     ประเทศ                       มูลค่า US$Mil         เพิ่มขึ้น %       ส่วนแบ่งตลาด %
1.มาเลเซีย                           26,752.70           34.03               11.7
2.สหรัฐฯ                             25,951.20              25              11.35
3.จีน                                25,037.60           36.76              10.95
4.ญี่ปุ่น                               17,809.40           37.17               7.79
5.ไต้หวัน                             13,972.20           51.65               6.11
6.เกาหลีใต้                           12,806.60           28.54                5.6
7.อินโดนีเซีย                          12,196.20           23.05               5.33
8.ซาอุดิอาระเบีย                        7,992.30           34.97               3.49
9.ไทย                                7,661.80           30.01               3.35
10.ฟิลิปปินส์                            7,054.80           86.33               3.08

สิงคโปร์ส่งออก (มค.-กย. 2553)

      ประเทศ                       มูลค่า US$Mil       เพิ่มขึ้น  %       ส่วนแบ่งตลาด %
1.มาเลเซีย                            31,370.10          44.89              12.22
2.ฮ่องกง                              30,084.90          36.88              11.72
3.จีน                                 26,176.60          42.37              10.19
4.อินโดนีเซีย                           24,194.30          28.65               9.42
5.สหรัฐฯ                              16,372.30           32                 6.38
6.ญี่ปุ่น                                11,934.30          36.83               4.65
7.เกาหลีใต้                            10,564.20          15.79               4.11
8.อินเดีย                              9,702.20           39.98               3.78
9.ไทย                                9,366.20           29.79               3.65
10.ไต้หวัน                             9,363.40           57.78               3.65

2. การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทย ในช่วง 9 เดือนแรก (มค.- กย.) ของปี 2553

สิงคโปร์ยังคงได้เปรียบดุลการค้ากับไทย มูลค่า 1,704.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มูลค่า 1,323.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นการส่งออกและการนำเข้า ดังนี้

  • การส่งออก สิงคโปร์ส่งออกไปยังไทยคิดเป็นมูลค่า 9,366.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และไทยเป็นคู่ค้าส่งออกอันดับที่ 9 สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกเรียงลำดับตามมูลค่า ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์ น้ำมันสำเร็จรูป อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ของผสมมีกลิ่นหอมใช้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และเคมีภัณฑ์ไซคลิกไฮโดรคาร์บอน
  • สินค้าที่สิงคโปร์ส่งออกไปยังไทย 10 รายการแรก มูลค่า เพิ่มขึ้น/ลดลง และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
                    สินค้า                      มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ       เพิ่มขึ้น/ลดลง%        ส่วนแบ่งตลาด%
                                           มค.-กย.52   มค.-กย.53     2552  มค.-กย.53     2552  มค.-กย.53
1. แผงวงจรไฟฟ้า                              1,179.25    1,894.68    -16.38     60.67     3.16     3.34
2. สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง                        513.71       516.9    -31.32      0.62    17.17    14.61
3. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล             344.97      416.43    -23.27     20.72     5.29     5.17
4. เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์         346.55      401.59    -10.62     15.88     5.91     6.18
5. น้ำมันสำเร็จรูป                                325.59      321.52    -37.27     -1.25     1.07     0.79
6. อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซีสเตอร์และไดโอด              235.51      300.76    -28.91      27.7     4.86     4.48
7. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า                 158.9      197.67    -23.36      24.4    11.31     9.67
8. เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า                    74.06      165.68    -25.82     123.7     8.08      8.8
9. ของผสมมีกลิ่นหอมใช้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม          110.26      135.77     22.21     23.13    23.23    20.55
10. เคมีภัณฑ์ไซคลิกไฮโดรคาร์บอน                     51.51      132.74    -68.16    157.72     6.23     9.41
  • การนำเข้า สิงคโปร์นำเข้าจากไทยมูลค่า 7,661.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.35 โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 9 สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกเรียงลำดับตามมูลค่า ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องพ่นหรือฉีดเชื้อเพลิงของเตาเผา เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด มอเตอร์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และข้าว (รายละเอียดปรากฏตามตารางแนบ)
  • สินค้าที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทย 10 รายการแรก มูลค่า เพิ่มขึ้น/ลดลง และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
                 สินค้า                          มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ         เพิ่มขึ้น/ลดลง%         ส่วนแบ่งตลาด%
                                               มค.-กย.52   มค.-กย.53      2552  มค.-กย.53     2552 มค.-กย.53
1. น้ำมันสำเร็จรูป                                  1,478.62    2,016.29    -40.35      36.36      5.3     4.73
2. แผงวงจรไฟฟ้า                                  1,006.87    1,292.32     -0.57      28.35     3.72     3.31
3. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล                 368.88      420.94    -36.17      14.11     7.56     7.39
4. เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ               291.59      343.43    -26.67      17.78     9.19     7.99
5. เครื่องพ่นหรือฉีดเชื้อเพลิงของเตาเผา                     0.05      274.44    -44.58  531993.95      0.2    92.77
6.เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ     202.77         209    -30.08       3.07     4.34     3.67
7. เครื่องปรับอากาศ                                  119.19      161.08    -17.95      35.15    30.82    34.07
8. อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด                  118.78      152.57    -24.05      28.45     4.49     4.16
9. มอเตอร์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า                          117.62      125.61    102.65       6.79    19.37    18.55
10. ข้าว                                           103.78      109.19    -15.96       5.21    64.72    61.81
  • สินค้ารายการอื่นๆ ในกลุ่ม 50 รายการที่มีศักยภาพซึ่งสิงคโปร์นำเข้าจากไทย มูลค่า เพิ่มขึ้น/ลดลง และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
                 สินค้า                           มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ         เพิ่มขึ้น/ลดลง%         ส่วนแบ่งตลาด%
                                               มค.-กย.52  มค.-กย.53       2552  มค.-กย.53    2552  มค.-กย.53
1. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า                      33.8    93.97       -19.76    178.02      3.6     5.19
2. แก้วและกระจก                                     30.03    92.77        43.84     208.9    33.28    42.83
3. น้ำมันปิโตรเลียมดิบและจากแร่บิทูมินัส                     19.37    82.96    5338672.2    328.38     0.19     0.46
4. ยางพารา                                         14.29    67.55       -54.23     372.8    14.36    23.46
3. ตลับลูกปืน                                         28.46    56.26       -41.07     97.67     4.56     5.34
4. สิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบทำด้วยเหล็ก/เหล็กกล้า           13.73    51.34       287.35    274.02     2.42    11.85
5. วงจรพิมพ์                                         41.29    50.04       -41.94     21.18      8.2     8.88
8. ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และเครื่องอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับทำให้เย็นจนแข็ง  30.33    49.73       677.37     63.94    136.8    16.35
9. เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า                        21.65    36.01       -30.27     66.35      3.1      3.1
10. เครื่องสูบลม/พัดลมและเครื่องระบายอากาศ                6.65     18.6       -95.52    179.93     0.97     2.86

3. แนวโน้มการนำเข้าสินค้าจากไทย

สืบเนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลต่อการนำเข้าสินค้าจากไทยดังนี้

1) การนำเข้าสินค้าเกษตร และอาหาร จะได้รับผลกระทบมาก คาดว่า ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 เป็นต้นไป สินค้าที่นำเข้าจะมีราคาสูงขึ้นประมาณร้อยละ 5-7 โดยเฉพาะสินค้าผัก/ผลไม้สด อาหารกระป๋อง อาหารทะเลแช่เย็น/แช่แข็ง ข้าวหอมมะลิ เนื่องจากสิงคโปร์ต้องพึ่งการนำเข้าจากไทยเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ หากราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอีก ผู้นำเข้าบางรายอาจหันไปนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากประเทศผู้ผลิตอื่นๆในภูมิภาคที่มีค่าเงินอ่อนลง เพื่อให้สินค้านำเข้ามีราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดสิงคโปร์

2) กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม คาดว่า ปริมาณการนำเข้าจะคงที่ หรืออาจจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณการสั่งซื้อที่สิงคโปร์จะได้รับจากยุโรปและสหรัฐฯ

3) สำหรับสินค้าชนิดอื่นๆ (นอกเหนือจากสินค้าเกษตรและอาหาร) ผู้นำเข้าสิงคโปร์อาจจะลดปริมาณนำเข้าจากไทย และหันไปนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตอื่นๆ ที่ค่าเงินแข็งขึ้นน้อยกว่าไทย(ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย และจีน) รวมถึงประเทศที่มีค่าเงินอ่อนลง (เวียดนาม พม่า และฮ่องกง)

4) อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้าอื่นๆของสิงคโปร์ โดยเฉพาะจากมาเลเซีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย คาดว่า สินค้าจะมีราคาสูงขึ้นกว่าปัจจุบันประมาณร้อยละ 6-8

4. ผลกระทบ/ผลดี จากการแข็งค่าของเงินบาท ในด้านอื่นๆ ได้แก่

  • การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจากสิงคโปร์จะจับจ่ายใช้สอยอย่างประหยัดเมื่อเดินทางไปเที่ยวในประเทศไทย ในทางตรงข้าม นักท่องเที่ยวจากไทยจะเดินทางสู่สิงคโปร์และสร้างรายได้ให้สิงคโปร์เพิ่มขึ้น ดังนั้น ไทยอาจต้องมุ่งเน้นและเชิญชวนนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีค่าเงินแข็งขึ้นมากกว่าไทย เพื่อเน้นให้รายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้น
  • แรงงาน ทำให้รายได้ของแรงงานไทยเป็นเงินเหรียญสิงคโปร์เมื่อโอนเงินกลับไทยได้มูลค่าลดลง ดังนั้น จะส่งผลต่อการขยายตลาดแรงงานไทยในสิงคโปร์ ซึ่งบริษัทนายจ้างไม่สนใจให้ค่าแรงสูงขึ้นตามค่าเงิน
  • การการลงทุน นับเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของไทยที่ต้องเร่งฉกฉวย เนื่องจากนักลงทุนไทยจะได้ค่าเพิ่มในการนำเม็ดเงินไปลงทุนในสิงคโปร์ ซึ่งในปัจจุบัน สิงคโปร์ส่งเสริมการลงทุนด้าน Clean Energy

5. คาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจของสิงคโปร์

ปี 2553

สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2553 คาดว่า การเติบโตเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะได้รับการสนับสนุนจาก 2 ภาคสำคัญ คือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า Biomedical ที่มีผลผลิตมากและมูลค่าสูง และภาคการบริการด้านการเงินที่ได้รับการส่งเสริมจากกิจการธนาคารและการประกันภัย ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัว เพิ่มขึ้น โดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมได้คาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจปี 2553 ประมาณร้อยละ 15.0

ปี 2554

กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์คาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 2554 จะมีการเติบโตประมาณร้อยละ 4.0-6.0 โดยคาดว่า สภาวะเศรษฐกิจภายในภูมิภาคจะเป็นปัจจัยส่งเสริมการเติบโตเศรษฐกิจ แต่การขยายตัวจะเป็นไปอย่างช้าๆและอยู่ในระดับที่มั่นคง ธุรกิจการลงทุนฟื้นตัวและเริ่มดีขึ้น เนื่องจากภาครัฐให้การสนับสนุนนโยบายการเงินเกี่ยวกับที่พักอาศัย ซึ่งยังมีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆในประเทศพัฒนาแล้ว แต่ความแข็งแกร่งของการฟื้นตัวอาจจะถูกกดกันโดยอัตราการจ้างงานที่สูงขึ้น และการเงินของครอบครัวที่รายได้มีค่าเงินลดลง ทั้งนี้ ในภูมิภาคเอเชีย ความต้องการภายในประเทศคาดว่า จะเพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากนโยบายของภาครัฐสนับสนุนให้มีการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น สำหรับในสิงคโปร์การที่มีโรงงานผลิตสินค้าและแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญส่งผลกระตุ้นให้การค้าทั้งที่เป็นตัวสินค้าและการบริการ (ได้แก่ การท่องเที่ยว และการเงิน) ภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศและในภูมิภาคจะเป็นตัวสนับสนุนอีกแรงหนึ่งด้วย

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงสิงคโปร์ ยังคงต้องพึงระวังปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ การผันผวนของเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ และหนี้สินของ EU นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงด้านน้ำมันที่มีราคาผันแปร และภัยธรรมชาติ

ที่มา : Ministry of Trade and Industry, International Enterprise Singapore,

Singapore Department of Statistic

The Business Times & The Straits Times

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ