รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าภูมิภาคอาเซียน ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 27, 2010 16:42 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเทศสิงคโปร์

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคม 2553

เศรษฐกิจ-ภาวะการค้า

1. Monetary Authority of Singapore (MAS) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยที่คอยเฝ้าระวังสถานการณ์เศรษฐกิจสิงคโปร์อย่างใกล้ชิดรวม 22 ราย ซึ่งได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ โดยผลของการสำรวจสรุป ดังนี้

(1) การเติบโต GDP ช่วงไตรมาสที่ 3 (กค.-กย.) ปี 2553 เป็นการเติบโตอย่างชะลอตัว ไม่เป็นไปตามที่ ได้คาดหวังไว้ อัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ซึ่งเป็นอัตรา ที่ต่ำกว่าการสำรวจเมื่อเดือนกันยายน 2553 ที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 11.6

(2) สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 4 (ตค.-ธค.) ปี 2553 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 12.8 (การสำรวจในเดือนกันยายน 2553 จะขยายตัวร้อยละ 12.6)

(3) ตลาดแรงงาน อัตราการว่างงานสำรวจในเดือนธันวาคม 2553 จะเป็นร้อยละ 2.1 (จากการสำรวจในเดือนกันยายน 2553 เป็นร้อยละ 2.2)

(4) การคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2553 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 เป็นอัตราที่สูงกว่าการสำรวจในเดือนกันยายน 2553 ซึ่งคาดการณ์ไว้ร้อยละ 14.9 โดยผลการสำรวจการเติบโตในเดือนกันยายนและธันวาคม 2553 แบ่งตามภาคอุตสาหกรรมดังนี้

              ภาคอุตสาหกรรม                 สำรวจเดือนกันยายน 2553(%)      สำรวจเดือนธันวาคม 2553(%)
GDP                                                 14.9                          15
     การผลิต                                         28.7                         30.1
     การบริการด้านการเงิน                              10.6                         11.5
     การก่อสร้าง                                       10                           8.7
     การค้าส่งและการค้าปลีก                             15.9                         15.7
     โรงแรมและภัตตาคาร                                8.8                          8.4
Private Consumption                                  5.8                           6
การส่งออกสินค้าทั่วไปที่ผลิตในประเทศ                        19.5                          24

ทั้งนี้ คาดว่า การเติบโตของเศรษฐกิจสิงคโปร์ ปี 2553 อาจจะมีอัตราระหว่างร้อยละ 15.0-15.9

(5) CPI inflation ปี 2553 ที่ทำการสำรวจในเดือนธันวาคม 2553 คาดว่า จะเป็นร้อยละ 2.8 (สำรวจ ในเดือนกันยายน 2553 ร้อยละ 2.9) สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 4 (ตค.-ธค.) ปี 2553 คาดว่า CPI inflation —median จะเป็นร้อยละ 3.9

(6) นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2554 จะมีการเติบโตร้อยละ 5.1 หรืออาจจะอยู่ระหว่าง ร้อยละ 5.0-5.9 ในขณะที่ CPI Inflation จะเป็นร้อยละ 2.9

(7) DBS Bank คาดว่า อัตราแลกเปลี่ยนต่อเหรียญสหรัฐฯ จะเป็น 1.22 เหรียญสิงคโปร์

2.การคาดการณ์การเติบโต GDP และตัวชี้วัดสำคัญของสิงคโปร์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2553, ปี 2553 และปี 2554 ดังนี้

Forecasts of Key Macroeconomic Indicators for Q4 2010 (ไตรมาสที่ 4 ปี 2553)
             Key Macroeconomic Indicators                 Median    Mean     Min     Max

Year-on-Year % Change

(unless otherwise stated)

GDP                                                        12.8     12.5     8.5     15.3
Manufacturing                                              23.5       23       8     44.3
Financial Services                                          7.5      8.3     6.7     10.5
Construction                                                6.7        6    -0.7       10
Wholesale & Retail Trade                                   12.9       13      10     16.4
Hotels & Restaurants                                        7.1      7.3     4.5       11
Private Consumption                                           5      5.1     3.5      8.1
Non-oil Domestic Exports                                     22       22    11.3     34.5
CPI                                                         3.9      3.9     3.5      4.7
Unemployment Rate (end-period, SA %)                          2        2     1.7      2.3
Exchange Rate (end-period, S$ per US$)                      1.3    1.292    1.26     1.33
3-month US$ SIBOR (end-period, % per annum)                 0.3     0.32     0.3     0.45
3-month S$ Interbank Rate (end-period, % per annum)        0.47     0.48    0.31      0.7
Bank Loans (end-period, % growth)                            12     11.6     7.4     13.5

Forecasts of Key Macroeconomic Indicators for 2010 (ปี 2553)
  Key Macroeconomic Indicators                       Sep Survey            Current Survey
     Year-on-Year % Change                               Median  Median     Mean      Min     Max
(unlss otherwise stated)
GDP                                                       14.9      15     14.8     13.2      16
Manufacturing                                             28.7    30.1     29.9     26.2      35
Financial Services                                        10.6    11.5     11.5       11      12
Construction                                                10     8.7      8.5      6.9     9.6
Wholesale & Retail Trade                                  15.9    15.7     15.8       15      17
Hotels & Restaurants                                       8.8     8.4      8.3      6.5     9.5
Private Consumption                                        5.8       6        6      5.5     6.7
Non-oil Domestic Exports                                  19.5      24     24.2       20    33.4
CPI                                                        2.9     2.8      2.8      2.7       3
Unemployment Rate (end-period, SA %)                       2.2     2.1        2      1.7     2.2
Exchange Rate (end-period, S$ per US$)                    1.35    1.29    1.294     1.26    1.36
3-month US$ SIBOR (end-period, % per annum)               0.43     0.3     0.32      0.3    0.45
3-month S$ Interbank Rate (end-period, % per annum)       0.58    0.47     0.47     0.31     0.7
Bank Loans (end-period, % growth)                          9.1     9.5     10.2      7.4      14

Forecasts of Quarterly GDP Growth for  2011 (ปี 2554)
  Period under forecast            Median     Mean     Min      Max

Year-on-Year % Change

         2010 Q4                    12.8      12.5     8.5     15.3
         2011 Q1                     4.9       4.8     1.1      7.5
         2011 Q2                     1.8       1.9    -3.5      5.8
         2011 Q3                      7          7     5.3      9.4
         2011 Q4                     6.8       7.3     5.2     13.8

Forecasts of GDP Growth and CPI Inflation for 2011 (ปี 2554)
  Key Macroeconomic Indicators     Sep Survey                urrent Survey
     Year-on-Year % Change           Median         Median     Mean    Min    Max
               GDP                     5              5.1       5.2      4      7
               CPI                    2.5             2.9       2.8     2.1    3.4

Forecasts of Key Macroeconomic Indicators for 2011(ปี 2554)
             Key Macroeconomic Indicators                 Median     Mea     Min     Max

Year-on-Year % Change

(unless otherwise stated)

GDP                                                        5.1       5.2      4       7
Manufacturing                                              5.6       5.2     0.3     11.2
Financial Services                                         7.5       7.1     4.5      10
Construction                                                5         5      -0.3    8.2
Wholesale & Retail Trade                                   5.5       6.3     3.9      13
Hotels & Restaurants                                       6.3       7.1     2.8     12.1
Private Consumption                                         5         5      2.9     7.2
Non-oil Domestic Exports                                    12      11.1      2       18
CPI                                                        2.9       2.8     2.1     3.4
Unemployment Rate (end-period, SA %)                        2         2      1.6     2.6
Exchange Rate (end-period, S$ per US$)                     1.24     1.241    1.2     1.33
3-month US$ SIBOR (end-period, % per annum)                0.5      0.72     0.3     1.55
3-month S$ Interbank Rate (end-period, % per annum)        0.7      0.69     0.35    1.25
Bank Loans (end-period, % growth)                           8        8.3      4      12.8

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. สิงคโปร์กับสวีเดน จากการเยือนสวีเดนของ Dr. Ng Eng Hen, Minister for Education and Second Minister for Defence สิงคโปร์ โดยได้เข้าเยี่ยมคารวะ Mr. Jan Bjorklund, Deputy Prime Minister and Minister for Education สวีเดน ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย ได้ยืนยันในความร่วมมือและลงนาม Memorandum of Understanding (MOU) ระหว่างกันในด้านการศึกษา การค้นคว้าวิจัย การคิดค้นนวตกรรมใหม่ๆ และการสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่าง National University of Singapore (NUS), Nanyang Technological University (NTU) และ Singapore Management University (SMU) กับสถาบันของสวีเดนจำนวน 13 แห่ง รวม Karolinska Institutet (KI)

2. สิงคโปร์กับ Jiangsu ของจีน ได้ทำการต่อสัญญาความร่วมมือ Singapore-Jiangsu Cooperation Council (SJCC) ต่อไปอีก เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งสามารถขยายพื้นที่ดำเนินธุรกิจจากภาคใต้ของเมือง Jiangsu ไปยังภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมือง Nantong และ Lianyungang ที่มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ จากการประชุม SJCC ครั้งที่ 4 สามารถยืนยันสัญญาได้ถึง 15 โครงการ และสำหรับ MOU ที่สำคัญ คือ (1) MOU ระหว่าง IE Singapore และ Nanjing Municipal People’s Government (2) MOU ระหว่าง IE Singapore และ Suzhou Industrial Park Administrative Committee (SIPAC) ส่วนในปี 2554 ทั้ง 2 ฝ่ายวางแผนเพื่อมุ่งเน้นใน 6 กลุ่มสำคัญ คือ 1) การค้าและเศรษฐกิจ 2) การบริการด้านสิ่งแวดล้อม 3) การศึกษาวิชาชีพและวิชาช่าง รวมถึงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา 4) การท่องเที่ยว 5) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 6) การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของ Jiangsu นอกจากนี้ ได้มีการลงนาม MOU กับหน่วยงานของเมือง Suzhou และ Nanjing เพื่อประสานความร่วมมือในด้านใหม่ๆ รวมถึงความร่วมมือในการจัดงาน Youth Olympic Games ในปี 2557 ณ เมือง Nanjing

การลงทุนในประเทศ

1.บริษัท Unilever สร้าง Global Centre ในสิงคโปร์ ด้วยเงินลงทุนประมาณ 60.3 ล้านเหรียญสิงคโปร์ พื้นที่ 2.2 เฮกตาร์ ณ เขต Buona Vista จะเปิดดำเนินการในปี 2556 เป็นศูนย์แห่งที่ 2 สำหรับการผึกอบรมและพัฒนาบุคคลากรเพื่อเป็นผู้นำในอนาคต และเป็นสำนักงานใหญ่สำหรับเอเชียที่ดูแลอัฟริกาและยุโรปกลางและตะวันออก ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายในการสร้างรายได้ให้เป็น 2 เท่า ภายใน 10 ปีข้างหน้า คาดว่า รายได้ร้อยละ 70-80 จะมาจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ บริษัทฯเลือกสิงคโปร์ เป็นที่ตั้งศูนย์ฯ เนื่องจากสิงคโปร์ได้กลายเป็น Knowledge Hub และภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างมากในการลงทุนด้านการศึกษา ทำให้บริษัทฯสามารถจัดหาบุคคลากรที่มีคุณภาพได้อย่างสะดวก

2. บริษัท Ultratech (สหรัฐฯ) ลงทุน 125 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สร้างโรงงาน ณ Kaki Bukit ผลิต Semiconductor Devices และ Advanced Light-emitting Diode Parts ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับโทรทัศน์และมือถือ อีกทั้งตั้งเป็นสำนักงานใหญ่สำหรับตลาดโลก ซึ่งจะมีการจ้างงาน 300 อัตรา คาดว่า ธุรกิจของบริษัทฯ ร้อยละ 75 มาจากภูมิภาคเอเชีย

การลงทุนในต่างประเทศ

1. การเข้าไปลงทุนในจีน Mr. Goh Chok Tong, Senior Minister สิงคโปร์ ให้คำแนะนำแก่บริษัทขนาดเล็กของสิงคโปร์เพื่อการเข้าไปลงทุนในจีน ได้แก่ (1) ใช้สิทธิประโยชน์จาก China-Singapore Free Trade Agreement เพื่อลดค่าใช้จ่ายต้นทุน (2) ใช้ประโยชน์จาก Business Councils ที่มีสัมพันธไมตรีกับภาครัฐซึ่งดูแลมณฑลในจีน เพื่อลดความเสี่ยงการเริ่มต้นในการลงทุน และ (3) ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่งของ Singapore-Chinese Business Association (SCBA) เพื่อช่วยเหลือและเพิ่มโอกาสในการลงทุนและดำเนินธุรกิจการค้าในจีนที่กำลังเติบโตอย่างมาก ทั้งนี้ ด้วยวัฒนธรรมและภาษาพูดที่คล้ายคลึงกัน รวมถึงสัมพันธไมตรีอันแน่นแฟ้นระหว่างสิงคโปร์กับจีน ซึ่งจีนเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับ 3 ของสิงคโปร์ อีกทั้ง บริษัทจีนตั้งอยูในสิงคโปร์มากกว่า 3,000 ราย โดย 160 บริษัท ขึ้นทะเบียนหุ้นกับ Singapore Exchange รวมถึงสิงคโปร์มีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาต่างๆในจีน เช่น Suzhou Industrial Park และ Tianjin Eco-City ทำให้คาดหวังว่า การเข้าไปลงทุนในจีนจะเป็นไปด้วยความสะดวกและมีความเสี่ยงน้อย

2. บริษัทสิงคโปร์ลงทุนเพิ่มขึ้นในมาเลเซีย ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2553 สิงคโปร์ได้รับการอนุมัติให้ลงทุนในมาเลเซียจำนวน 75 โครงการ มูลค่า 1.134 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2552 สิงคโปร์เข้าไปลงทุนในมาเลเซียเป็นอันดับที่ 4 รองจากญี่ปุ่น ฮ่องกง และสหรัฐฯ การลงทุนจากปี 2549 ถึงเดือนสิงหาคม ปี 2553 มีมูลค่ารวม 19.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 43 เป็นการลงทุนในช่วงปัจจุบันที่ดำเนินการอยู่ ทั้งนี้มูลค่าการค้ารวมระหว่างสิงคโปร์กับมาเลเซียในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2553 มีมูลค่า 32.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 12.6 ของการค้ารวมของมาเลเซีย

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคม 2553

1. รายงานผลของคณะนักธุรกิจสิงคโปร์เข้าร่วมงาน TIEE 2010 (Exhibitor จำนวน 2 ราย และแขกพิเศษ จำนวน 1 ราย)

2. ประสานงานการลงโฆษณางานแสดง สินค้าแฟชั่นและเครื่องหนัง 2554 (BIFF & BIL 2011)

3. รายงานข้อมูลการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Singapore International Jewellery Show 2011

4. ประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงการ Thailand Trade Exhibition ณ บริเวณสถานทูต ไทย และ VivoCity

5. ประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงการส่งเสริมการขายสินค้าไทยร่วมกับซุปเปอร์ มาร์เก็ต Isetan และ FairPrice

6. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจ/ผู้นำเข้าสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้า Bangkok Gems & Jewelry Fair 2011, Thailand International Furniture Fair 2011

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ