สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าไทย-อิตาลีประจำเดือนธันวาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 4, 2011 14:21 —กรมส่งเสริมการส่งออก

วิกฤตการเงินไอร์แลนด์ที่มีต่อเศรษฐกิจอิตาลี

จากภาวะวิกฤตเศรษฐหนี้ของกรีซที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้หลายประเทศในยุโรป โดยเฉพาะประเทศโปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปน และอิตาลี ซึ่งถูกจับตามองว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์เหมือนกรีซ เนื่องจากมีสถานภาพทางการเงินที่เปราะบางและยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มที่ ส่งผลให้หลายประเทศเกิดความตระหนักและระมัดระวังกับเหตุการณ์ดังกล่าวมากขึ้น โดยมีการวางมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันมิให้เป็นเกิดเหตุการณ์เหมือนประเทศกรีซ และล่าสุดประเทศไอร์แลนด์ได้ประสบปัญหาวิกฤตการเงินต่อจากประเทศกรีซแล้ว ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ มาจาก

1. หนี้ของภาคธนาคาร เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไอร์แลนด์เป็นประเทศขนาดเล็ก แต่มีจำนวนธนาคารอยู่เป็นจำนวนมาก โดยธนาคารส่วนใหญ่จะปล่อยเงินกู้แก่บริษัท ประชาชนเป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตขึ้นส่งผลให้ธนาคารไม่ได้รับการชำระหนี้จากบริษัทและประชาชน และธนาคารต้องแบกภาระดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินจากแหล่งอื่น ๆ

2. หนี้สินจากประชาชน ระบบเศรษฐกิจไอร์แลนด์มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากตั้งแต่ปี 1995 จนถึงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้มีการลงทุนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัย โดยประชาชนจำนวนมากได้มีการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารได้

3. รัฐบาล ภาครัฐบาลของไอร์แลนด์ (Fianna Fail) ได้รับคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้ามเพียง 3 เสียง ซึ่งส่งผลให้เห็นถึงเสถึยรภาพทางการเมืองว่ามีความไม่แน่นอน

4. การลงทุนจากต่างประเทศ ในอดีตไอร์แลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่ระบบเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตช้าและถือเป็นประเทศที่ไม่รวยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรป แต่ไอร์แลนด์มีมาตรการทางด้านภาษีที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ส่งผลให้มีนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่กับเหตุการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นส่งผลให้นักลงทุนเกิดความไม่แน่ใจในเสถียรภาพของประเทศ

ผลกระทบและการช่วยเหลือแก่ประเทศไอร์แลนด์

1. ความน่าเชื่อถือ สถาบันจัดลำดับความน่าเชื่อถือที่มีชื่อเสียงได้มีการลดระดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์ ดังนี้

          สถาบันจัดลำดับความน่าเชื่อถือ           ระดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์
            Standard & Poor’s                     Fitch Rating
                    A                                  BBB+

2. แผนการช่วยเหลือ จากการยืนมือเข้ามาช่วยเหลือของสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยมีการอนุมัติให้ไอร์แลนด์กู้ยืมเงิน 85 พันล้านยูโร ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยแบ่งเป็นจานวน 35 พันล้านยูโรเพื่อช่วยเหลือระบบธนาคาร และจำนวน 50 พันล้านยูโรเพื่อช่วยเหลือภาครัฐบาล โดยเงินกู้ยืมดังกล่าวทางรัฐบาลจะชำระคืนดอกเบี้ย 6 % ใน 3 ปีข้างหน้า

3. การช่วยเหลือจากภาครัฐบาล ธนาคารในไอร์แลนด์ประสบปัญหาเป็นอย่างมากกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ ส่งผลให้ภาครัฐบาลได้ยืนมือเข้ามาช่วยเหลือโดยรัฐบาลจะเป็นผู้ถือหุ้นมากกว่าครึ่งหนึ่งกับการช่วยเหลือในครั้งนี้

4. มาตรการของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลคาดการณ์ในการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในปี 2556 และ 2557 ในอัตราร้อยละ 22 และ 23 ตามลำดับ และจะมีการตัดลดค่าใช้จ่ายประมาณ 10 พันล้านยูโร

ผลกระทบต่ออิตาลี

เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้อิตาลีถูกจับตามองว่าอาจจะประสบปัญหาอย่างประเทศกรีซ และไอร์แลนด์ เพราะระบบเศรษฐกิจอิตาลีเจริญเติบโตช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป แต่ Mr. Giulio Tremonti รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอิตาลี ได้เปิดเผยในที่ประชุมที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ว่าจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับกรีซ ไอร์แลนด์ นั้น อิตาลียังถือเป็นประเทศที่แข็งแกร่งซึ่งมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การออมของประชาชนที่สูง ระบบธนาคารที่แข็งแกร่ง การเกษียณอายุการทำงาน งาน ครอบครัว จำนวนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่สูงและภาคการบริการที่ต่า และการระมัดระวังในการบริหารหนี้สาธารณะของรัฐบาล

จากการสำรวจของสถาบัน Credit Suisse เปิดเผยว่า ครอบครัวอิตาลีเป็นครอบครัวที่รวยเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศสมาชิก G7 รองจากประเทศฝรั่งเศล และรวยเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยครอบครัวชาวอิตาเลียนจะรักการออมเป็นสาคัญและเน้นการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย

นอกจากนี้ นักเขียนข่าวจากหนังสือพิมพ์ 24 ore ของอิตาลี ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจที่ขายดีที่สุดในอิตาลี มีความเห็นว่าอิตาลีมีหลายปัจจัยที่เป็นตัวช่วยให้ไม่ต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเหมือนกรีซและไอร์แลนด์ได้แก่

1) ความร่ำรวยของครอบครัวชาวอิตาเลียน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้อิตาลีแตกต่างไปจากประเทศอื่น กอปรกับระบบธนาคารอิตาลีที่แข็งแกร่ง ระมัดระวังในการปล่อยกู้

2) หนี้สาธารณะจากนอกประเทศ สิ้นเดือนมิถุนายน 2553 รัฐบาลอิตาลีมีหนี้สินที่กู้จากต่างประเทศจำนวน 837 พันล้านยูโร ซึ่งต่ำกว่าประเทศเยอรมัน (จำนวน 978 พันล้านยูโร) และฝรั่งเศส (จำนวน 1,037 พันล้านยูโร)

3) อัตราการว่างงาน อิตาลีและเยอรมันมีอัตราการว่างงานต่ำที่สุด โดยประเทศที่มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดได้แก่ สเปน ไอร์แลนด์ และกรีซ

4) การปล่อยกู้ของธนาคารอิตาลีในต่างประเทศ จากข้อมูลของธนาคาร Deutsche เปิดเผยว่า ธนาคารของอิตาลี มีการปล่อยกู้แก่ประเทศ กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส เพียง 26 พันล้านยูโร โดยประเทศที่มีการปล่อยกู้มากที่สุดแก่ 3 ประเทศดังกล่าว ได้แก่ เยอรมัน (จำนวน 213 พันล้านยูโร) และฝรั่งเศส (จำนวน 142 พันล้านยูโร)

แต่อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ Telegraph ของประเทศอังกฤษ มีความเห็นว่าอิตาลีมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ตามกรีซ และไอร์แลนด์ อันเนื่องมาจากการเพิ่มผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นกอปรกับความไม่มั่นคงของรัฐบาลในขณะนี้

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจอิตาลีเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ กว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป แต่กับวิกฤตเศรษฐกิจโลกและวิกฤตเศรษฐหนี้ของกรีซที่เกิดขึ้นได้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจอิตาลีไม่ได้ตกอยู่ในสภาวะลำบากแต่อย่างไร การที่อิตาลีถูกจับตามองว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูงที่จะตกอยู่ในภาวะลำบากเหมือนกรีซและไอร์แลนด์ อันเนื่องมาจากภาครัฐบาลมีหนี้สาธารณะที่สูง แต่อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจอิตาลียังคงขับเคลื่อนไปได้โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สาคัญได้แก่ การออมของประชาชนอยู่ในระดับสูง หนี้จากประชาชนและภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานยุโรป การขาดดุลการคลังค่อนข้างต่ำ โดยหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนึ้ที่เกิดในขึ้นภายประเทศ ไม่ได้กู้เงินจากภายนอกประเทศ ระบบธนาคารที่แข็งแกร่ง จึงส่งผลให้รัฐบาลอิตาลีสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และการปล่อยกู้ให้แก่ประเทศกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสมีจำนวนต่ำ

การนำเข้าของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2553 อิตาลีมีการนำเข้าจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 348,734.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 16.4

แหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

          อันดับ 1 เยอรมัน           มูลค่า 55,223.6 ล้านเหรียญสหรัฐ +12.1%
          อันดับ 2 ฝรั่งเศส           มูลค่า 29,015.8 ล้านเหรียญสหรัฐ +11.3%
          อันดับ 3 จีน               มูลค่า 26,660.0 ล้านเหรียญสหรัฐ +31.2%

อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ มูลค่า 18,682.5 ล้านเหรียญสหรัฐ +12.7%

          อันดับ 5 สเปน             มูลค่า 15,306.9 ล้านเหรียญสหรัฐ +17.7%
          อันดับ 47 ไทย             มูลค่า 1,290.0 ล้านเหรียญสหรัฐ +24.3%

สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

          อันดับ 1 น้ำมันแร่               มูลค่า 65,723.4 ล้านเหรียญสหรัฐ +23.8%
          อันดับ 2 พาหนะยานยนต์          มูลค่า 30,720.6 ล้านเหรียญสหรัฐ +3.4%
          อันดับ 3 เครื่องจักรกล           มูลค่า 29,545.5 ล้านเหรียญสหรัฐ +10.9%
          อันดับ 4 เครื่องจักรไฟฟ้า         มูลค่า 29,455.3 ล้านเหรียญสหรัฐ +27.4%

อันดับ 5 เหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก มูลค่า 14,158.2 ล้านเหรียญสหรัฐ +51.8%

การส่งออกของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2553 อิตาลีส่งออกไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 323,234.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 9.9

ตลาดส่งออกที่สำคัญทั่วโลก 5 อันดับแรก ได้แก่

          อันดับ 1 เยอรมัน           มูลค่า 42,147.3 ล้านเหรียญสหรัฐ +12.2%
          อันดับ 2 ฝรั่งเศส           มูลค่า 37,615.4 ล้านเหรียญสหรัฐ +10.2%

อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา มูลค่า 19,664.6 ล้านเหรียญสหรัฐ +13.6%

          อันดับ 4 สเปน             มูลค่า 18,813.7 ล้านเหรียญสหรัฐ +13.7%

อันดับ 5 สหราชอาณาจักร มูลค่า 17,486.0 ล้านเหรียญสหรัฐ +15.6%

          อันดับ 60 ไทย             มูลค่า 837.5 ล้านเหรียญสหรัฐ +10.2%

สินค้าส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เครื่องจักรกล มูลค่า 62,368.8 ล้านเหรียญสหรัฐ +0.9%

อันดับ 2 พาหนะยานยนต์ มูลค่า 23,634.9 ล้านเหรียญสหรัฐ +15.3%

อันดับ 3 เครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า 21,095.4 ล้านเหรียญสหรัฐ +12.4%

          อันดับ 4 น้ำมันแร่           มูลค่า 16,236.5 ล้านเหรียญสหรัฐ +46.3%
          อันดับ 5 พลาสติก           มูลค่า 13,953.3 ล้านเหรียญสหรัฐ +16.5%

ที่มา : World Trade Atlas

สถานการณ์การค้าของไทย

1. การส่งออกของไทยไปยังอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2553 ไทยส่งสินค้าออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,549.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง เป็นต้น

สินค้าส่วนใหญ่สามารถส่งออกเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2553 สินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ (+212.8%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+143.1%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+121.3%) ยางพารา (+123.3%) และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+77.1%) สิ่งทออื่นๆ (+106%) ผ้าผืน (+71.3%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น เคมีภัณฑ์ (-52.9%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (-7.7%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (-18.7%) ข้าว (-14%) และปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (-0.7%) เป็นต้น

สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2553 ไทยส่งออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 151.28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เทียบกับเดือนตุลาคม 2553 โดยปกติจะพบว่าการส่งออกสินค้าของไทยมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ เดือนพฤษภาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไปและจะกลับตัวเพิ่มขื้นในช่วงเดือนกันยายน นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าของเดือนกันยายนส่วนใหญ่จะมีมูลค่าการส่งออกสูงกว่าเดือนมิถุนายนของทุกปี

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยในเดือนพฤศจิกายน เช่น เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ยางพารา และปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง เป็นต้น

โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+140.6%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป(+83.2%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (+51.6%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป(+29%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (-42%) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-27.4%) ผ้าผืน (-20%) เป็นต้น

2. การนำเข้าของไทยจากอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2553 ไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,324.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้านำเข้าที่สาคัญจากอิตาลี เช่น เครื่องจักรและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เป็นต้น

โดยในปีนี้ ไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเล็กน้อย ซึ่งสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น ด้ายและเส้นใย (+63.8%) เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน (+60.1%) เคมีภัณฑ์ (+38.1%) เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยศาสตร์ (+35.6%) และสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (+25.2%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-60.5%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (-28.8%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (-15.6%) และเครื่องประดับอัญมณี (-6.1%) เป็นต้น

สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2553 ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 136.5 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.1 เปรียบเทียบจากเดือนตุลาคม 2553 โดยปกติจะพบว่าไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุดคือ เดือนมีนาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไปและกลับมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมของทุกปี

สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี ได้แก่ เครื่องจักรและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น

โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่ ขนมหวานและชอคโกแลต (+298.4%) เครื่องประดับเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ (+179.5%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+100.6%) สินค้าทุนอื่นๆ(+90.6%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์(+90.72%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (-11.7%) เครื่องใช้ไฟฟ้าใน (-2%) เป็นต้น

3. การคาดการณ์การส่งออกในปี 2554

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน มีความเห็นว่า การส่งออกไทยสำหรับปีหน้าจะสามารถส่งออกได้ตามเป้าที่ประมาณการไว้ ถึงแม้ในครึ่งปีหลังพบว่าอิตาลีมีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นและลดลงของบางสินค้า ซึ่งอาจมีสาเหตุหนึ่งมาจากค่าเงินบาทที่แข็งตัวส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยต้องแจ้งราคาขายใหม่ทุก ๆ 3 เดือน โดยผู้ส่งออกไทยไม่สามารถให้ราคาขายตลอดทั้งปีแก่ผู้นำเข้าได้ ส่งผลให้ผู้นำเข้าไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ทั้งปี และผู้ส่งออกไทยเองก็เสียโอกาสในการส่งออกสินค้าต่อเนื่องทั้งปี โดยสินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นและลดลงในปีหน้า ได้แก่

1. อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ของไทยมาโดยตลอด และคาดว่าอิตาลีจะนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นจากไทยในปีหน้า

2. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ พบว่าในปีนี้มียอดการส่งออกดีขึ้น เพราะในขณะนี้อิตาลีกำลังเสาะหา Supplier จากเมืองไทย กอปรกับมีผู้ผลิตอิตาลีได้เข้าไปตั้งฐานผลิตในเมืองไทยแล้ว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลให้ยอดการส่งออกไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วนประกอบรถบรรทุก รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอุปกรณ์ประกอบ ต่างๆ เพิ่มขึ้น

3. ยางพารา เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยอีกรายการหนึ่งและมียอดการส่งออกเพิ่มขึ้นมากว่าปีที่ผ่านมา

4. ปลาหมึกสด แช่แข็งแช่เย็น เป็นสินค้าที่ตลาดอิตาลีต้องการเป็นอย่างมากแต่ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถส่งออกได้ตามความต้องการเพราะสินค้ามีจำกัด จึงถือเป็นการเสียโอกาสเป็นอย่างมาก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ