ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในตลาดกลางค้าส่งผักผลไม้ ประเทศเยอรมนี
สคร.แฟรงก์เฟิร์ต นำโดยผู้อำนวยการอาวุโส น.ส.จตุพร วัฒนสุวรรณ ได้ร่วมกับผู้นำเข้าสำคัญของเยอรมันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าผักผลไม้ไทยในตลาดกลางค้าส่งผักผลไม้ใน 3 เมืองสำคัญในเดือนกันยายน 2553 ที่ผ่านมา ผลปรากฎว่า ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามกิจกรรมส่งเสริมการขายในครั้งนี้นับเป็นกิจกรรมใหม่และเป็นโครงการนำร่องของการขยายช่องทางการตลาดผ่านบริษัทค้าส่งซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของตลาดเยอรมัน โดยมีจุดประสงค์ในการเจาะกลุ่มผู้ค้าปลีกผักผลไม้ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกผู้จำหน่ายผักผลไม้ในเมืองดังกล่าวและบริเวณใกล้เคียงให้รู้จักสินค้าผักผลไม้ไทยหลากหลายประเภทมากขึ้น รู้วิธีปอกและจัดเก็บอย่างถูกต้อง ทำให้สามารถนำเสนอสินค้าแก่ผู้บริโภค (end consumer) ได้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าผักผลไม้ไทย ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยจัดขึ้นในตลาดค้าส่ง 3 แห่งในเมืองสำคัญทางการค้า ได้แก่ นครแฟรงก์เฟิร์ต ซาร์บรุคเค่นและชตุดการ์ด เมืองละ 1 วัน ในวันที่ 1/15/23 กันยายน 2553 รวม 3 วัน ตั้งแต่เวลา 03.00 — 10.00 น.
ลักษณะและรูปแบบของกิจกรรม:
(1) การจัดซุ้มสำหรับสาธิตและแจกชิมอาหารไทยบริเวณหน้าบริษัทค้าส่งภายในตลาดค้าส่ง โดยเลือกบริษัท ใหญ่ที่มีลูกค้ามาก ใช้เนื้อท ประมาณ 2-3 ตารางเมตรจัดสาธิตพร้อมตั้งแสดงผลไม้แกะสลักและแบนเนอร์ อาหารและผักผลไม้ไทยเพื่อให้เป็นจุดดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้แวะเข้ามาชมและชิม
(2) การจัดจ้างผู้สาธิตการปรุงอาหารและเครื่องดื่มจากผักไทยอย่างง่ายๆ และสาธิตการปอกผลไม้ไทยพร้อมอธิบายสรรพคุณและแจกชิมแก่ลูกค้าซึ่งเป็นร้านค้าปลีกผู้จำหน่ายผักผลไม้ในเมืองดังกล่าวและบริเวณใกล้เคียง ปรากฎว่าได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างมาก
(3) การจัดวางสินค้าผักผลไม้ไทยที่เป็นเครื่องปรุงของอาหารและเครื่องดื่มในแต่ละชนิด พร้อมอธิบายวิธีทำอย่างง่ายๆ เพื่อ ให้ลูกค้า สามารถทำตามได้
(4) การแจกตำราอาหารไทย แผ่นพับประชาสัมพันธ์ผักไทยและผักไม้ไทย รวมทั้งโปสเตอร์ผักผลไม้ไทยแก่ลูกค้าที่สนใจ
การประชาสัมพันธ์ โดยบริษัทผู้นำเข้า/บริษัทค้าส่งร่วมกับสคร.แฟรงก์เฟิร์ต ดังนี้
(1) การส่งจดหมายเชิญไปยังบริษัทค้าปลีกซึ่งเป็นลูกค้าสำคัญของบริษัทค้าส่งทั้ง 3 บริษัทเพื่อให้มาร่วมกิจกรรมในวันที่กำหนด โดยเลือกวันพุธ/พฤหัสซึ่งลูกค้ามีเวลาในการสนทนาและซักถามมากกว่าอื่นที่เน้นการซื้อขายธุรกิจอย่างเร่งรีบเช่นวันจันทร์
(2) การติดป้ายแสดงวันที่จะจัดกิจกรรมไว้บริเวณหน้าบริษัทค้าส่งเพื่อประชาสัมพันธ์กับลูกค้าที่สนใจ
(3) การติดตั้งแบนเนอร์อาหารไทย ผักไทย และผลไม้ไทยในบริเวณจัดกิจกรรมในวันงาน
(4) การแจกตำราอาหารไทย แผ่นพับประชาสัมพันธ์ผักไทยและผักไม้ไทย รวมทั้งโปสเตอร์ผักผลไม้ไทยแก่ลูกค้าที่สนใจ
สินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุด จำแนกตามยอดจำหน่ายสินค้า ได้แก่
(1) ขิงสด
(2) ยอดหน่อไม้ฝรั่ง
(3) ตะไคร้
(4) พริกสด
(5) ใบตอง
ทั้งนี้ ผลไม้ไทยที่สั่งเข้ามาเพอื่ แจกชิมและจำหน่ายประสบปัญหาขาดแคลนในช่วงดังกล่าว ทำให้มีสินค้าจำนวนน้อยและสินค้าบางชนิดมีคุณภาพไม่ดีพอที่จะแจกชิมหรือจำหน่าย อาทิเช่น มะม่วง เงาะ มังคุด เป็นต้น
ความเห็นเพิ่มเติมของสำนักงาน:
(1) กิจกรรมดังกล่าวประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ค้าปลีกอย่างมากสามารถเพิ่มยอดสั่งซื้อสินค้าจากไทยได้อย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ยอดสั่งซื้อในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นเป็น 38,971 ยูโร หรือประมาณ 1.5 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 140 เมื่อเทียบกันช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 125 เมื่อเทียบกันมูลค่าในเดือนสิงหาคม 2553 ทั้งนี้ผู้นำเข้าเชื่อมั่นว่าจะสามารถเพิ่มยอดจำหน่ายสินค้าผักผลไม้ไทยได้มากขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาบ้างก็ตาม
(2) สำหรับการประชาสัมพันธ์ผักไทยเน้นการนำเสนอเมนูง่ายๆ ที่เน้นการใช้ผักไทยเป็นเครื่องปรุงหลักเพื่อให้ลูกค้าได้ลองชิมและรู้จักผักมากขึ้น รวมทั้งเกิดไอเดียในการนำไปรับประทานและแนะนำลูกค้าของตนต่อไป เมนูที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ผักชุบแป้งทอด ต้มข่า ต้มยำและแกงเขียวหวาน เสิร์ฟพร้อมข้าวหอมมะลิหุงใหม่ๆ และน้ำชาจากตะไคร้ และขิงซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากทำให้ร่างกายอบอุ่น เหมาะ กับอากาศเย็นๆและสามารถปรุงได้ง่ายมาก
(3) การประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยด้วยการสาธิตการปอกผลไม้ ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้ เงาะ มังคุด พร้อมอธิบายสรรพคุณและแจกชิมแก่ลูกค้าได้รับความสนใจจากลูกค้ามากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะม่วงน้ำดอกไม้ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีรสชาติหวานหอม เสี้ยนน้อยกว่ามะม่วงที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดซึ่งนำเข้ามาจากอเมริกาใต้
(4) จากผลการจัดกิจกรรมและสรุปผลจากผู้นำเข้า สินค้าผักผลไม้ของไทยนับว่ายังมีลู่ทางและมีศักยภาพสูง เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะขิงและตะไคร้ซึ่งได้รับความนิยมมากและมียอดสั่งซื้อหลังกิจกรรมเพ่มิสูงขึ้นมากที่สุด ทั้งนี้สินค้าทั้งสองประเภทเป็นสินค้าที่เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆในตลาดเยอรมันอันเป็นผลสืบเนื่องจากผลการวิจัยทางการแพทย์ที่ได้รับภาพสินค้าให้มากเพื่อรักษาตลาดไว้ให้ได้
(5) ปัญหาและอุปสรรคสำคัญสำหรับสินค้าผักผลไม้ไทย นอกจากปัญหาสินค้าขาดแคลนในบางฤดูกาล ปัญหาคุณภาพสินค้าไม่ได้ตามมาตรฐานและปัญหาสินค้าและค่าขนส่งสินค้าจากไทยมีราคาแพงขึ้นแล้ว ปัจจุบันสินค้าไทยยังประสบปัญหา การตรวจพบสารตกค้างอยู่มากส่งผลให้สินค้าจากไทยถูกตรวจเข้มตามกฎของสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ต้นปี 2553 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะถูกดำเนินมาตรการที่รุนแรงกว่าเดิมจนอาจถึงขั้นห้ามนำเข้าผักหลายชนิดในที่สุดหากผู้ส่งออกไทยยังไม่สามารถลดระดับและจำกัดปริมาณสารตกค้างให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสหภาพยุโรปได้ อันจะส่งผลต่อการนำเข้าสินค้าไทยประเภทอื่นและธุรกิจร้านอาการไทย รวมทั้งภาพลักษณ์ของประเทศไทยในภาพรวมอีกด้วย โดยปัจจุบันผู้นำเข้าหลายรายจำเป็นต้องงดนำเข้าสินค้าจากไทยและหันไปหาสินค้าทดแทนจากประเทศอื่น ซึ่งอาจจะทำให้ไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาดและความน่าเชื่อถือในที่สุด จึงสมควรที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหานี้และเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรและผู้ส่งออกทุกรายให้เล็งเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
สำนักงานส่งเสริมการค้า ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
ที่มา: http://www.depthai.go.th